ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ชี้สินเชื่อส่วนบุคคลไตรมาส 1 ชะลอตัวเกือบ 3% สถาบันการเงินระมัดระวังในการอนุมัติ หลังปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทั้งราคาน้ำมัน และค่าครองชีพ
วันนี้(16 พ.ค.) บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล (โดยครอบคลุมสินเชื่อเงินสดที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันทั้งของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และNon-Bank โดยไม่รวมสินเชื่อบัตรเครดิต) นับได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการแข่งขันที่รุนแรงในขณะนี้ ดังเห็นได้ว่าที่ผ่านมาผู้ประกอบการต่างพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อรูปแบบใหม่ (Product Innovation) โดยพยายามที่จะสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์สินเชื่อเงินสดให้หลากหลาย (Product Differentiation) อาทิ การสร้างความแตกต่างทางด้านราคา เช่น อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เช่น สมาร์ทการ์ด การส่งเสริมการขาย เช่น การสะสมคะแนนเพื่อรับของรางวัล เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการใช้สินเชื่อที่ไม่เหมือนกัน และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังได้สรุปภาพรวมธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในไตรมาส 1 ปี 2551 ดังนี้ 1.จำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลในไตรมาส 1 ปี 2551 ชะลอตัว: สถาบันการเงินระมัดระวังในการอนุมัติ ภาพรวมปริมาณสินเชื่อส่วนบุคคลในทุกกลุ่มผู้ประกอบการไตรมาส 1 ปี 2551 มีปริมาณบัญชีทั้งสิ้น 10,846,2041 บัญชี โดยขยายตัวร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากที่มีการเติบโตร้อยละ 9.9 ในปี 2550
ทั้งนี้ ปริมาณบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลที่ขยายตัวในไตรมาส 1 ปี 2551 ชะลอตัวนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก สถาบันการเงินได้เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อ โดยเฉพาะในเรื่องของความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ขอสินเชื่อในภาวะที่เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงต่างๆ และผู้บริโภคที่กำลังเผชิญกับภาระรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าการแข่งขันในธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลระหว่างสถาบันการเงินจะมีความเข้มข้น สถาบันการเงินต่างแข่งกันออกผลิตภัณฑ์ใหม่ อัตราดอกเบี้ยที่จูงใจ พร้อมกับรายการส่งเสริมการขาย เพื่อต้องการขยายฐานสินเชื่อ แต่ในขณะเดียวกันสถาบันการเงินจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพสินเชื่อของตนเช่นกัน
2.ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคล ไตรมาส 1 ปี 2551 ชะลอตัวลง ภาพรวมยอดสินเชื่อคงค้างส่วนบุคคลทั้งระบบในไตรมาส 1 ปี 2551 มีมูลค่าประมาณ 206,552 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 10.8 ในปี 2550 ทั้งนี้สาเหตุของการชะลอตัวของยอดสินเชื่อคงค้างส่วนบุคคลที่ชะลอตัวลงส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก การที่ธนาคารพาณิชย์และNon-Bank มีการตัดบัญชีหนี้สูญออกจากระบบเร็วขึ้น
3.ยอดค้างชำระสินเชื่อส่วนบุคคลเกิน 3 เดือนขึ้นไป...ชะลอตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ภาพรวมยอดค้างชำระสินเชื่อส่วนบุคคลเกิน 3 เดือนขึ้นไป ในไตรมาส 1 ปี 2551 มีมูลค่าประมาณ 9,580 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 23.1 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 31.7 ในปี 2550 อย่างไรก็ตามการขยายตัวของยอดค้างชำระสินเชื่อส่วนบุคคลเกิน 3 เดือนขึ้นไป ในไตรมาส 1 ปี 2551 จะชะลอลงก็ตาม แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูง ในขณะที่เมื่อเทียบสัดส่วนระหว่างยอดค้างชำระสินเชื่อส่วนบุคคลเกิน 3 เดือนขึ้นไป กับยอดสินเชื่อรวม พบว่า ในไตรมาส 1 ปี 2551 ยอดค้างชำระสินเชื่อส่วนบุคคลเกิน 3 เดือนขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 4.6 ของยอดสินเชื่อคงค้าง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.5 ในปี 2550 ทั้งนี้สาเหตุของการขยายตัวของยอดค้างชำระสินเชื่อส่วนบุคคลเกิน 3 เดือนขึ้นไป ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงนั้นน่าจะมาจากผู้บริโภคเผชิญกับภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคบางรายประสบกับปัญหาสภาพคล่อง ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อได้
สำหรับแนวโน้มการแข่งขันสินเชื่อส่วนบุคคล ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แนวโน้มสินเชื่อส่วนบุคคลในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่รุมเร้า อาทิ ราคาน้ำมันที่ยังคงมีความผันผวนสูง ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น น่าที่จะยังคงสามารถเติบโตได้ แม้ว่าอาจเป็นอัตราที่ชะลอลง ในสถานการณ์เช่นนี้ผู้บริโภคบางกลุ่มอาจประสบกับภาวะสภาพคล่อง ทำให้ต้องหันมาพึ่งพาสินเชื่อมากขึ้น และเนื่องจากสินเชื่อบุคคลเป็นสินเชื่อที่เข้าถึงวิถีชีวิตประจำวันของลูกค้ารายย่อยได้มากกว่า
โดยกลุ่มสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ หรือ Non-bank จะยังคงเน้นทำตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อเป็นการชดเชยสินเชื่อบัตรเครดิต การทำการตลาดจะเป็นไปในรูปของการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยในแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษที่แตกต่างกัน เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกได้ตามความต้องการ โดยคำนึงถึงความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อของลูกค้าเป็นหลัก
นอกจากนี้การขยายฐานลูกค้าของผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ธนาคาร ยังคงมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าผู้มีรายได้น้อย หรือต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน เนื่องจากเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ และเน้นการขยายฐานสินเชื่อไปยังต่างจังหวัดคงจะมีมากขึ้น เพราะความต้องการสินเชื่อยังคงมีอยู่มาก อย่างไรก็ตามแนวโน้มการอนุมัติสินเชื่อคงมีความเข้มงวดมาก เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อระบบสินเชื่อของสถาบันการเงิน ซึ่งการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่ออาจส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของสินเชื่อให้ชะลอลงได้
วันนี้(16 พ.ค.) บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล (โดยครอบคลุมสินเชื่อเงินสดที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันทั้งของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และNon-Bank โดยไม่รวมสินเชื่อบัตรเครดิต) นับได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการแข่งขันที่รุนแรงในขณะนี้ ดังเห็นได้ว่าที่ผ่านมาผู้ประกอบการต่างพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อรูปแบบใหม่ (Product Innovation) โดยพยายามที่จะสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์สินเชื่อเงินสดให้หลากหลาย (Product Differentiation) อาทิ การสร้างความแตกต่างทางด้านราคา เช่น อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เช่น สมาร์ทการ์ด การส่งเสริมการขาย เช่น การสะสมคะแนนเพื่อรับของรางวัล เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการใช้สินเชื่อที่ไม่เหมือนกัน และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังได้สรุปภาพรวมธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในไตรมาส 1 ปี 2551 ดังนี้ 1.จำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลในไตรมาส 1 ปี 2551 ชะลอตัว: สถาบันการเงินระมัดระวังในการอนุมัติ ภาพรวมปริมาณสินเชื่อส่วนบุคคลในทุกกลุ่มผู้ประกอบการไตรมาส 1 ปี 2551 มีปริมาณบัญชีทั้งสิ้น 10,846,2041 บัญชี โดยขยายตัวร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากที่มีการเติบโตร้อยละ 9.9 ในปี 2550
ทั้งนี้ ปริมาณบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลที่ขยายตัวในไตรมาส 1 ปี 2551 ชะลอตัวนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก สถาบันการเงินได้เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อ โดยเฉพาะในเรื่องของความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ขอสินเชื่อในภาวะที่เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงต่างๆ และผู้บริโภคที่กำลังเผชิญกับภาระรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าการแข่งขันในธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลระหว่างสถาบันการเงินจะมีความเข้มข้น สถาบันการเงินต่างแข่งกันออกผลิตภัณฑ์ใหม่ อัตราดอกเบี้ยที่จูงใจ พร้อมกับรายการส่งเสริมการขาย เพื่อต้องการขยายฐานสินเชื่อ แต่ในขณะเดียวกันสถาบันการเงินจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพสินเชื่อของตนเช่นกัน
2.ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคล ไตรมาส 1 ปี 2551 ชะลอตัวลง ภาพรวมยอดสินเชื่อคงค้างส่วนบุคคลทั้งระบบในไตรมาส 1 ปี 2551 มีมูลค่าประมาณ 206,552 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 10.8 ในปี 2550 ทั้งนี้สาเหตุของการชะลอตัวของยอดสินเชื่อคงค้างส่วนบุคคลที่ชะลอตัวลงส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก การที่ธนาคารพาณิชย์และNon-Bank มีการตัดบัญชีหนี้สูญออกจากระบบเร็วขึ้น
3.ยอดค้างชำระสินเชื่อส่วนบุคคลเกิน 3 เดือนขึ้นไป...ชะลอตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ภาพรวมยอดค้างชำระสินเชื่อส่วนบุคคลเกิน 3 เดือนขึ้นไป ในไตรมาส 1 ปี 2551 มีมูลค่าประมาณ 9,580 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 23.1 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 31.7 ในปี 2550 อย่างไรก็ตามการขยายตัวของยอดค้างชำระสินเชื่อส่วนบุคคลเกิน 3 เดือนขึ้นไป ในไตรมาส 1 ปี 2551 จะชะลอลงก็ตาม แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูง ในขณะที่เมื่อเทียบสัดส่วนระหว่างยอดค้างชำระสินเชื่อส่วนบุคคลเกิน 3 เดือนขึ้นไป กับยอดสินเชื่อรวม พบว่า ในไตรมาส 1 ปี 2551 ยอดค้างชำระสินเชื่อส่วนบุคคลเกิน 3 เดือนขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 4.6 ของยอดสินเชื่อคงค้าง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.5 ในปี 2550 ทั้งนี้สาเหตุของการขยายตัวของยอดค้างชำระสินเชื่อส่วนบุคคลเกิน 3 เดือนขึ้นไป ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงนั้นน่าจะมาจากผู้บริโภคเผชิญกับภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคบางรายประสบกับปัญหาสภาพคล่อง ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อได้
สำหรับแนวโน้มการแข่งขันสินเชื่อส่วนบุคคล ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แนวโน้มสินเชื่อส่วนบุคคลในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่รุมเร้า อาทิ ราคาน้ำมันที่ยังคงมีความผันผวนสูง ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น น่าที่จะยังคงสามารถเติบโตได้ แม้ว่าอาจเป็นอัตราที่ชะลอลง ในสถานการณ์เช่นนี้ผู้บริโภคบางกลุ่มอาจประสบกับภาวะสภาพคล่อง ทำให้ต้องหันมาพึ่งพาสินเชื่อมากขึ้น และเนื่องจากสินเชื่อบุคคลเป็นสินเชื่อที่เข้าถึงวิถีชีวิตประจำวันของลูกค้ารายย่อยได้มากกว่า
โดยกลุ่มสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ หรือ Non-bank จะยังคงเน้นทำตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อเป็นการชดเชยสินเชื่อบัตรเครดิต การทำการตลาดจะเป็นไปในรูปของการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยในแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษที่แตกต่างกัน เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกได้ตามความต้องการ โดยคำนึงถึงความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อของลูกค้าเป็นหลัก
นอกจากนี้การขยายฐานลูกค้าของผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ธนาคาร ยังคงมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าผู้มีรายได้น้อย หรือต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน เนื่องจากเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ และเน้นการขยายฐานสินเชื่อไปยังต่างจังหวัดคงจะมีมากขึ้น เพราะความต้องการสินเชื่อยังคงมีอยู่มาก อย่างไรก็ตามแนวโน้มการอนุมัติสินเชื่อคงมีความเข้มงวดมาก เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อระบบสินเชื่อของสถาบันการเงิน ซึ่งการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่ออาจส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของสินเชื่อให้ชะลอลงได้