ธนาคารสินเอเชียเผยนโยบายปี 2551 เป็นปีแห่งการขยายธุรกิจอย่างแท้จริง ตั้งเป้าเติบโตต่อเนื่องทั้งเงินกู้และเงินฝาก ในระดับ 55% และ 37% ตามลำดับ โดยเน้นการขยายสินเชื่อธุรกิจทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ขณะที่มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงสุดในระบบถึง 31.92% พร้อมดันสินทรัพย์แตะ 1 แสนล้านบาทในปี 2552
นายธงชัย อานันโทไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารสินเอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ ACL Bank เปิดเผยว่า ในปี 2551 ธนาคารตั้งเป้าขยายสินเชื่อธุรกิจ 55% ซึ่งจะมีผลทำให้ขนาดสินเชื่อเพิ่มเป็น 51,000 ล้านบาท ในส่วนของเงินฝากจะขยายฐานเงินฝากอีก 37.3% รวมถึงจะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในธุรกิจลีสซิ่งอีกด้วย
ทั้งนี้ หลังจาก 3 ปีที่ผ่านมาธนาคารสามารถเติบโตได้ถึง 3 เท่าตัว จากขนาดสินทรัพย์ 21,274 ล้านบาทเป็น 60,680 ล้านบาท โดยมีการเติบโตที่ดีทั้งธุรกิจสินเชื่อและเงินฝากขณะที่มีการจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) ที่ประสบผลสำเร็จ และยังคงมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(BIS) สูงสุดในระบบธนาคารคืออยู่ที่ 31.92% ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กำหนดมาตรฐานไว้ที่ 8.5% โดยเชื่อว่าหากเติบโตได้ในแนวทางดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ธนาคารสามารถก้าวสู่การเป็นธนาคารขนาด 100,000 ล้านบาทในปี 2552
โดยตั้งแต่สิ้นปี 2547–2550 ธนาคารมีการขยายสินทรัพย์ถึง 3 เท่าตัว คือจากสินทรัพย์ขนาด 21,274 ล้านบาทเป็น 60,680 ล้านบาท ยอดสินเชื่อรวมเติบโตจาก 8,474 ล้านบาท เป็น 33,920 ล้านบาท เงินฝากขยายจาก 10,743 ล้านบาท เป็น 41,234 ล้านบาท และมีจัดการสินทรัพย์ที่มีปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี NPL ลดลงจากเมื่อต้นปี 2547 ที่ 8,753 ล้านบาทหรือคิดเป็น 42% เหลือเพียง 1,752 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5.1% และตั้งเป้าปีนี้จะลดเหลือ 1,100 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.5%
"ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นับจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้น ธนาคารสินเอเซียเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในทุกๆ ด้าน โดยสินทรัพย์ขยายตัวถึง 3 เท่าตัวและมีการเติบโตที่ดีในทุกธุรกิจ ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากความสำเร็จของการจัดการระบบงานภายใน การวางรูปแบบธุรกิจต่างๆ รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยง และการสร้างรูปแบบธุรกิจสาขาที่ถูกต้อง"นายธงชัยกล่าว
ทั้งนี้ ในปี 2551 ธนาคารจะมุ่งขยายธุรกิจสินเชื่อซึ่งถือเป็นธุรกิจหลักของธนาคารภายใต้ 2 สายงานหลัก คือ สายงานบรรษัทธุรกิจซึ่งดูแลสินเชื่อธุรกิจในส่วนกลางจะเติบโตจาก 23,000 ล้านบาท เป็น 31,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้น 38% และจากสายงานธุรกิจสาขา ที่ตั้งเป้าเติบโตจาก 8,000 ล้านบาท เป็น 18,000 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
นายธงชัยกล่าวอีกว่า ธนาคารมองว่าตลาดสินเชื่อต่างจังหวัดยังมีศักยภาพสูงและมีความต้องการสินเชื่ออยู่มาก ประกอบกับมั่นใจในแนวทางการดำเนินธุรกิจของสาขาว่าจะสามารถแข่งขันในตลาดนี้ได้ ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจในส่วนกลางเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดลูกค้าที่มีคุณภาพ มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง มีการใช้วงเงินอย่างสม่ำเสมอ ธนาคารจึงได้วางกลยุทธ์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เน้นความเข้าใจในธุรกิจของลูกค้า เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และนำเสนอรูปแบบสินเชื่อที่เหมาะสมกับธุรกิจ นอกจากนี้ธนาคารจะร่วมกับธนาคารขนาดใหญ่ในการให้สินเชื่อแบบ Syndicate Loan อีกด้วย
นอกจากนี้ ธนาคารได้กำหนดกลยุทธ์การบริหารสาขาให้เปรียบเสมือนศูนย์ธุรกิจที่สามารถให้บริการลูกค้าได้ครบวงจร มีการจัดรูปแบบการให้สินเชื่อที่มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับธุรกิจ และมีขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อที่รวดเร็วทันกับความต้องการ จากปัจจุบันธนาคารมีสาขารวมทั้งสิ้น 12 สาขา โดยในปีนี้ธนาคารได้ตั้งเป้าหมายการเปิดสาขาเพิ่มขึ้นอีก 7 สาขา โดยแบ่งเป็นสาขาในกรุงเทพมหานคร 5 สาขา และสาขาต่างจังหวัด 2 สาขา ทำให้ธนาคารจะมีสาขารวมทั้งสิ้น 19 สาขาภายในปี 2551 และธนาคารตั้งเป้าขยายสาขาให้ครบ 40 สาขาภายในปี 2553 ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมและครอบคลุมการให้บริการในรูปแบบการทำธุรกิจของธนาคาร
สำหรับธุรกิจเงินฝากธนาคารตั้งเป้าขยายฐานเงินฝากจาก 41,234 ล้านบาท ณ ปัจจุบัน เป็น 60,000 ล้านภายในสิ้นปี 2551 หรือคิดเป็นการเติบโต 37.3% ทั้งนี้ ธนาคารมีแผนงานที่จะออกรูปแบบเงินฝากที่สอดคล้องกับภาวะดอกเบี้ย สภาพการณ์ในตลาด และความต้องการของผู้ฝาก รวมถึงยึดหลักการมอบผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่ผู้ฝาก จึงเชื่อว่ารูปแบบเงินฝากใหม่ๆ และการบริการที่ดี จะสามารถดึงดูดใจผู้ฝากเงินปัจจุบัน รวมถึงสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ได้อีกด้วย
ในส่วนของธุรกิจลีสซิ่งนั้น ธนาคารให้บริการผ่านบริษัทในกลุ่มธนาคารคือ บริษัทลีสซิ่งสินเอเซีย จำกัด ปัจจุบันมีขนาดสินเชื่ออยู่ที่ 4,000 ล้านบาท และในปี 2551 นี้ ตั้งเป้าเติบโตแบบก้าวกระโดดเป็น 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทกำลังดำเนินการปรับระบบงานภายในทั้งหมด โดยเน้นความรวดเร็วในการอนุมัติซึ่งเป็นหัวใจหลักสำหรับการทำเช่าซื้อรถยนต์มือสอง รวมถึงจะมีการเสริมทีมงานเพิ่มเติมในจำนวนหลายเท่าตัวจากปัจจุบัน โดยใช้บุคลากรที่มีประสบการณ์ตรงและมีความ สามารถเป็นที่ยอมรับ
"เราถือว่าขนาดของธนาคารและรูปแบบธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ถือเป็นจุดแข็งของธนาคาร เพราะจะทำให้ธนาคารสามารถบริหารความสัมพันธ์และดูแลลูกค้าได้อย่างทั่วถึง และมี Cost to Income Ratio (อัตราส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยต่อรายได้รวม)ที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ ธนาคารให้บริการโดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง(Customer Centric) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการให้บริการต่างๆ ซึ่งออกมาในรูปแบบการให้บริการที่รวดเร็ว ยืดหยุ่น และตอบสนองความต้องการ" นายธงชัยกล่าว
นายธงชัย อานันโทไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารสินเอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ ACL Bank เปิดเผยว่า ในปี 2551 ธนาคารตั้งเป้าขยายสินเชื่อธุรกิจ 55% ซึ่งจะมีผลทำให้ขนาดสินเชื่อเพิ่มเป็น 51,000 ล้านบาท ในส่วนของเงินฝากจะขยายฐานเงินฝากอีก 37.3% รวมถึงจะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในธุรกิจลีสซิ่งอีกด้วย
ทั้งนี้ หลังจาก 3 ปีที่ผ่านมาธนาคารสามารถเติบโตได้ถึง 3 เท่าตัว จากขนาดสินทรัพย์ 21,274 ล้านบาทเป็น 60,680 ล้านบาท โดยมีการเติบโตที่ดีทั้งธุรกิจสินเชื่อและเงินฝากขณะที่มีการจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) ที่ประสบผลสำเร็จ และยังคงมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(BIS) สูงสุดในระบบธนาคารคืออยู่ที่ 31.92% ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กำหนดมาตรฐานไว้ที่ 8.5% โดยเชื่อว่าหากเติบโตได้ในแนวทางดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ธนาคารสามารถก้าวสู่การเป็นธนาคารขนาด 100,000 ล้านบาทในปี 2552
โดยตั้งแต่สิ้นปี 2547–2550 ธนาคารมีการขยายสินทรัพย์ถึง 3 เท่าตัว คือจากสินทรัพย์ขนาด 21,274 ล้านบาทเป็น 60,680 ล้านบาท ยอดสินเชื่อรวมเติบโตจาก 8,474 ล้านบาท เป็น 33,920 ล้านบาท เงินฝากขยายจาก 10,743 ล้านบาท เป็น 41,234 ล้านบาท และมีจัดการสินทรัพย์ที่มีปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี NPL ลดลงจากเมื่อต้นปี 2547 ที่ 8,753 ล้านบาทหรือคิดเป็น 42% เหลือเพียง 1,752 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5.1% และตั้งเป้าปีนี้จะลดเหลือ 1,100 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.5%
"ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นับจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้น ธนาคารสินเอเซียเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในทุกๆ ด้าน โดยสินทรัพย์ขยายตัวถึง 3 เท่าตัวและมีการเติบโตที่ดีในทุกธุรกิจ ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากความสำเร็จของการจัดการระบบงานภายใน การวางรูปแบบธุรกิจต่างๆ รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยง และการสร้างรูปแบบธุรกิจสาขาที่ถูกต้อง"นายธงชัยกล่าว
ทั้งนี้ ในปี 2551 ธนาคารจะมุ่งขยายธุรกิจสินเชื่อซึ่งถือเป็นธุรกิจหลักของธนาคารภายใต้ 2 สายงานหลัก คือ สายงานบรรษัทธุรกิจซึ่งดูแลสินเชื่อธุรกิจในส่วนกลางจะเติบโตจาก 23,000 ล้านบาท เป็น 31,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้น 38% และจากสายงานธุรกิจสาขา ที่ตั้งเป้าเติบโตจาก 8,000 ล้านบาท เป็น 18,000 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
นายธงชัยกล่าวอีกว่า ธนาคารมองว่าตลาดสินเชื่อต่างจังหวัดยังมีศักยภาพสูงและมีความต้องการสินเชื่ออยู่มาก ประกอบกับมั่นใจในแนวทางการดำเนินธุรกิจของสาขาว่าจะสามารถแข่งขันในตลาดนี้ได้ ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจในส่วนกลางเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดลูกค้าที่มีคุณภาพ มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง มีการใช้วงเงินอย่างสม่ำเสมอ ธนาคารจึงได้วางกลยุทธ์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เน้นความเข้าใจในธุรกิจของลูกค้า เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และนำเสนอรูปแบบสินเชื่อที่เหมาะสมกับธุรกิจ นอกจากนี้ธนาคารจะร่วมกับธนาคารขนาดใหญ่ในการให้สินเชื่อแบบ Syndicate Loan อีกด้วย
นอกจากนี้ ธนาคารได้กำหนดกลยุทธ์การบริหารสาขาให้เปรียบเสมือนศูนย์ธุรกิจที่สามารถให้บริการลูกค้าได้ครบวงจร มีการจัดรูปแบบการให้สินเชื่อที่มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับธุรกิจ และมีขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อที่รวดเร็วทันกับความต้องการ จากปัจจุบันธนาคารมีสาขารวมทั้งสิ้น 12 สาขา โดยในปีนี้ธนาคารได้ตั้งเป้าหมายการเปิดสาขาเพิ่มขึ้นอีก 7 สาขา โดยแบ่งเป็นสาขาในกรุงเทพมหานคร 5 สาขา และสาขาต่างจังหวัด 2 สาขา ทำให้ธนาคารจะมีสาขารวมทั้งสิ้น 19 สาขาภายในปี 2551 และธนาคารตั้งเป้าขยายสาขาให้ครบ 40 สาขาภายในปี 2553 ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมและครอบคลุมการให้บริการในรูปแบบการทำธุรกิจของธนาคาร
สำหรับธุรกิจเงินฝากธนาคารตั้งเป้าขยายฐานเงินฝากจาก 41,234 ล้านบาท ณ ปัจจุบัน เป็น 60,000 ล้านภายในสิ้นปี 2551 หรือคิดเป็นการเติบโต 37.3% ทั้งนี้ ธนาคารมีแผนงานที่จะออกรูปแบบเงินฝากที่สอดคล้องกับภาวะดอกเบี้ย สภาพการณ์ในตลาด และความต้องการของผู้ฝาก รวมถึงยึดหลักการมอบผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่ผู้ฝาก จึงเชื่อว่ารูปแบบเงินฝากใหม่ๆ และการบริการที่ดี จะสามารถดึงดูดใจผู้ฝากเงินปัจจุบัน รวมถึงสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ได้อีกด้วย
ในส่วนของธุรกิจลีสซิ่งนั้น ธนาคารให้บริการผ่านบริษัทในกลุ่มธนาคารคือ บริษัทลีสซิ่งสินเอเซีย จำกัด ปัจจุบันมีขนาดสินเชื่ออยู่ที่ 4,000 ล้านบาท และในปี 2551 นี้ ตั้งเป้าเติบโตแบบก้าวกระโดดเป็น 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทกำลังดำเนินการปรับระบบงานภายในทั้งหมด โดยเน้นความรวดเร็วในการอนุมัติซึ่งเป็นหัวใจหลักสำหรับการทำเช่าซื้อรถยนต์มือสอง รวมถึงจะมีการเสริมทีมงานเพิ่มเติมในจำนวนหลายเท่าตัวจากปัจจุบัน โดยใช้บุคลากรที่มีประสบการณ์ตรงและมีความ สามารถเป็นที่ยอมรับ
"เราถือว่าขนาดของธนาคารและรูปแบบธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ถือเป็นจุดแข็งของธนาคาร เพราะจะทำให้ธนาคารสามารถบริหารความสัมพันธ์และดูแลลูกค้าได้อย่างทั่วถึง และมี Cost to Income Ratio (อัตราส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยต่อรายได้รวม)ที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ ธนาคารให้บริการโดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง(Customer Centric) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการให้บริการต่างๆ ซึ่งออกมาในรูปแบบการให้บริการที่รวดเร็ว ยืดหยุ่น และตอบสนองความต้องการ" นายธงชัยกล่าว