ฝ่ายวิจัย แบงก์กรุงเทพคาดแนวโน้มค่าเงินบาทเดือนพ.ค.แกว่งตัวในกรอบ 31.00-31.70 บาท มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากสัญญาณคงดอกเบี้ยนโยบายของกนง.ที่จะทำให้มีเงินบางส่วนไหลเข้า ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมี.ค.ที่ปรับตัวดีขึ้น แต่ยังคงต้องจับตาดูราคาน้ำมันที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)ประเมินแนวโน้มค่าเงินบาทในเดือนพฤษภาคม 2551 คาดค่าเงินบาทมีแนวโน้มแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 31.00-31.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากในเดือนมีนาคมการส่งออกขยายตัวร้อยละ 14.4 การลงทุนภาคเอกชน การบริโภคเอกชน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวพร้อมกันเป็นเดือนที่ห้าต่อเนื่อง รัฐบาลใหม่ได้ออกมาตรการต่างๆเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ราคาข้าวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ช่วยสร้างกำลังซื้อให้กับเกษตรกร เศรษฐกิจไทยในปี 2551 น่าจะมีการขยายตัวดีขึ้น
ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มอ่อนค่าลงไม่มากนัก แม้ว่าข้อมูลทางเศรษฐกิจหลายตัวบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ในระดับสูงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะชะลอตัว แต่ Fed ได้อัดฉีดสภาพคล่องให้แก่ระบบทั้งโดยการลดอัตราดอกเบี้ย การประมูลเงินทุน ส่งผลให้ปัญหาสภาพคล่องตึงตัวปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ในเดือนมีนาคม เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างมาก Fed ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 18 มีนาคมลงอีกร้อยละ 0.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงต่อเนื่องตลอดปลายเดือนมีนาคมและต้นเดือนเมษายน ก่อนจะกลับมาแข็งค่าได้บ้างในช่วงปลายเดือนเมษายนหลังจากตลาดคาดว่า Fed อาจจะลดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 0.25
ส่วนค่าเงินบาทในเดือนมีนาคม มีค่าเฉลี่ยที่ 31.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 3.66 โดยหลังจากที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วในช่วงปลายเดือนกุมพันธ์ เนื่องจากการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ค่าเงินบาทเริ่มทรงตัวได้ที่ระดับ 31.30-31.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการส่งออกในไตรมาส 1 ยังคงขยายตัวสูงที่ร้อยละ 16.9 แต่มีการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าทุนและน้ำมันดิบในระดับสูง ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มเกินดุลลดต่ำลง
ทั้งนี้ ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนพฤษภาคมมีแนวโน้มแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 31.00-31.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มดีขึ้นได้แก่ การส่งออกขยายตัวร้อยละ 14.4 (มี.ค.51) การลงทุนภาคเอกชน การบริโภคเอกชน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวพร้อมกันเป็นเดือนที่ห้าต่อเนื่อง รัฐบาลใหม่ได้ออกมาตรการต่างๆเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงราคาข้าวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ช่วยสร้างกำลังซื้อให้กับเกษตรกร โดยเศรษฐกิจไทยในปี 2551 น่าจะมีการขยายตัวดีขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อไป เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวรุนแรงกว่าที่ได้ประเมินไว้ก่อนหน้า
สำหรับประเด็นที่จะต้องจับตาคือการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดีเซลทะลุ 32 บาทต่อลิตร กนง. ส่งสัญญาณที่จะคงอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วันในไตรมาส 2 ที่ร้อยละ 3.25 ทำให้มีเงินไหลเข้าอย่างต่อเนื่องและธปท.จำเป็นต้องปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างช้าๆ เพื่อลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ หลังจากอุปสงค์และการลงทุนภายในประเทศขยายตัวดีขึ้นมาก
ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)ประเมินแนวโน้มค่าเงินบาทในเดือนพฤษภาคม 2551 คาดค่าเงินบาทมีแนวโน้มแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 31.00-31.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากในเดือนมีนาคมการส่งออกขยายตัวร้อยละ 14.4 การลงทุนภาคเอกชน การบริโภคเอกชน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวพร้อมกันเป็นเดือนที่ห้าต่อเนื่อง รัฐบาลใหม่ได้ออกมาตรการต่างๆเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ราคาข้าวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ช่วยสร้างกำลังซื้อให้กับเกษตรกร เศรษฐกิจไทยในปี 2551 น่าจะมีการขยายตัวดีขึ้น
ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มอ่อนค่าลงไม่มากนัก แม้ว่าข้อมูลทางเศรษฐกิจหลายตัวบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ในระดับสูงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะชะลอตัว แต่ Fed ได้อัดฉีดสภาพคล่องให้แก่ระบบทั้งโดยการลดอัตราดอกเบี้ย การประมูลเงินทุน ส่งผลให้ปัญหาสภาพคล่องตึงตัวปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ในเดือนมีนาคม เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างมาก Fed ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 18 มีนาคมลงอีกร้อยละ 0.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงต่อเนื่องตลอดปลายเดือนมีนาคมและต้นเดือนเมษายน ก่อนจะกลับมาแข็งค่าได้บ้างในช่วงปลายเดือนเมษายนหลังจากตลาดคาดว่า Fed อาจจะลดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 0.25
ส่วนค่าเงินบาทในเดือนมีนาคม มีค่าเฉลี่ยที่ 31.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 3.66 โดยหลังจากที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วในช่วงปลายเดือนกุมพันธ์ เนื่องจากการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ค่าเงินบาทเริ่มทรงตัวได้ที่ระดับ 31.30-31.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการส่งออกในไตรมาส 1 ยังคงขยายตัวสูงที่ร้อยละ 16.9 แต่มีการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าทุนและน้ำมันดิบในระดับสูง ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มเกินดุลลดต่ำลง
ทั้งนี้ ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนพฤษภาคมมีแนวโน้มแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 31.00-31.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มดีขึ้นได้แก่ การส่งออกขยายตัวร้อยละ 14.4 (มี.ค.51) การลงทุนภาคเอกชน การบริโภคเอกชน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวพร้อมกันเป็นเดือนที่ห้าต่อเนื่อง รัฐบาลใหม่ได้ออกมาตรการต่างๆเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงราคาข้าวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ช่วยสร้างกำลังซื้อให้กับเกษตรกร โดยเศรษฐกิจไทยในปี 2551 น่าจะมีการขยายตัวดีขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อไป เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวรุนแรงกว่าที่ได้ประเมินไว้ก่อนหน้า
สำหรับประเด็นที่จะต้องจับตาคือการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดีเซลทะลุ 32 บาทต่อลิตร กนง. ส่งสัญญาณที่จะคงอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วันในไตรมาส 2 ที่ร้อยละ 3.25 ทำให้มีเงินไหลเข้าอย่างต่อเนื่องและธปท.จำเป็นต้องปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างช้าๆ เพื่อลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ หลังจากอุปสงค์และการลงทุนภายในประเทศขยายตัวดีขึ้นมาก