ออเดอร์ข้าวโลกพุ่งมาไทย หลังคู่แข่งหยุดส่งออก ทำปริมาณข้าวที่ซื้อขายกันหายไปทันที 6-7 ล้านตัน ผู้ส่งออกเผยเป็นโอกาสดีก็จริงแต่ไม่ควรโดดฮุบ เหตุดันส่งออกมากเกินไป ในประเทศจะขาดแคลน แนะพาณิชย์มีมาตรการคุมส่งออกอย่าให้ทั้งปีเกิน 9 ล้านตัน โอดราคาพุ่งทุกวัน ผู้ส่งออกขาดทุนยับ เสียหายแล้วหลายพันล้านบาท พร้อมขอให้ช่วยตรวจสต๊อกโรงสี หลังข่าวถูกกักตุน "มิ่งขวัญ" เปิดประเด็นใหม่ ชี้แรงงานในเมืองจะขาดแคลน เพราะคนหันกลับบ้านนอกไปทำนา หอการค้าไทยเตรียมศึกษาปัญหาข้าวทั้งระบบ ก่อนเสนอมาตรการต่อรัฐบาล
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ เปิดเผยถึงสถานการณ์การค้าข้าวในตลาดโลกว่า ขณะนี้เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นแล้วว่า ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญๆ ทั้งเวียดนาม อินเดีย จีน และอียิปต์ ได้ชะลอการส่งออกข้าวหรือบางประเทศได้หยุดการส่งออก ทำให้ตัวเลขการค้าข้าวในตลาดโลกหายไปทันที 6-7 ล้านตัน และคำสั่งซื้อข้าว (ออเดอร์) ที่ขาดหายไปนี้ได้พุ่งเข้ามาหาไทยทันที ซึ่งถามว่าเป็นโอกาสของไทยหรือไม่ ก็ต้องตอบว่าเป็นแต่ปัญหา ก็คือ ไทยจะมีปริมาณข้าวเพียงพอเพื่อการส่งออกหรือไม่
"ตอนนี้ผู้ส่งออกข้าวที่เป็นคู่แข่งของไทย ได้ชะลอการส่งออก บางประเทศงดส่งออกเลย โดยเวียดนามปกติส่งออกปีละ 4.5 ล้านตัน ตอนนี้เหลือ 3.5 ล้านตัน อินเดีย 4.5 ล้านตัน หายไปเลย อียิปต์ และจีน ปกติส่งออกปีละ 1 ล้านตัน ก็ไม่ให้ส่งออกเลย รวมๆ แล้วตัวเลขส่งออกข้าวหายไป 6-7 ล้านตัน ทำให้ออเดอร์ข้าวทั้งหมดพุ่งมาหาไทย" นายชูเกียรติกล่าว
นายชูเกียรติกล่าวว่า ไทยค่อนข้างจะโชคดี จะแต่ละปีสามารถผลิตข้าวได้มากถึง 18 ล้านตัน บริโภคในประเทศ 9 ล้านตัน เหลือส่งออก 9 ล้านตัน ซึ่งหากไทยส่งออกไม่เกิน 9 ล้านตัน ก็จะไม่มีปัญหาการขาดแคลน แต่ถ้าส่งออกเหมือนที่ผ่านๆ มาเดือนละ 1 ล้านตัน ทั้งปีอาจจะทะลุถึง 11-12 ล้านตัน แบบนี้มีปัญหาการขาดแคลนเกิดขึ้นแน่ ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ ต้องเข้ามาควบคุมดูแลไม่ให้การส่งออกเกินไปกว่า 9 ล้านต้น
"ปีนี้เราตั้งเป้าส่งออกไว้ที่ 8.75 ล้านตัน ต้องคุมไม่ให้ส่งออกเกินไปกว่านี้ มากสุดก็ไม่ควรเกิน 9 ล้านตัน ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ไม่มีมาตรการคุมส่งออก แต่จากนี้ไปต้องดูแลการส่งออกอย่างใกล้ชิด ถ้าครึ่งปีหลังส่งออกมากไป ต้องมีมาตรการอะไรออกมาดูแล"
นายชูเกียรติกล่าวว่า ราคาข้าวที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นนี้ ไม่ใช่ว่าผู้ส่งออกจะได้ประโยชน์ เพราะในการค้าขายข้าว ปกติมีการทำสัญญากันล่วงหน้า 2-3 เดือน ซึ่งตอนทำสัญญากับตอนขายจริง ราคาข้าวได้เพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้ผู้ส่งออกหลายรายยอมทิ้งสัญญา โดยยอมจ่ายเป็นเงินชดใช้ให้กับผู้ซื้อแทน เพราะหากส่งมอบตามสัญญา จะขาดทุนมหาศาล ซึ่งขณะนี้ผู้ส่งออกหลายรายได้ขาดทุนจากการที่ข้าวขึ้นราคาแล้วหลายพันล้านบาท
ทั้งนี้ ราคาข้าวเมื่อเดือนธ.ค.2550 ข้าวขาว 100% อยู่ที่ตันละ 360 เหรียญสหรัฐ ราคาล่าสุดเมื่อวันที่ 9 เม.ย.2551 ตันละ 854 เหรียญสหรัฐ ข้าวหอมมะลิจากตันละ 620 เหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็นตันละ 1,130 เหรียญสหรัฐ และยังมีแนวโน้มว่าราคาจะเพิ่มขึ้นโดยต้องจับตาการเปิดประมูลข้าวของของฟิลิปปินส์ในวันที่ 17 เม.ย.นี้ว่าราคาจะเป็นเท่าไร ซึ่งราคาล่าสุดข้าว 258% ที่ฟิลิปปินส์ประมูล คือ 745 เหรียญสหรัฐ
นายชูเกียรติกล่าวว่า ผู้ส่งออกยังมีปัญหาไม่สามารถหาซื้อข้าวได้ โดยข้าวนาปรังปี 2551 ที่คาดว่าจะมีผลผลิต 6.5 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 4.29 ล้านตันข้าวสารนั้น ขณะนี้เก็บเกี่ยวไปแล้ว 60% แต่ยังไม่มีข้าวถึงมือผู้ส่งออกเลย ไม่รู้ว่าข้าวไปไหน เชื่อว่าน่าจะมีการกักตุนเพื่อเก็งกำไร จึงอยากให้กระทรวงพาณิชย์เข้าไปตรวจสอบสต๊อกของโรงสีด้วย
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้แนวโน้มผู้ใช้แรงงานในเมืองจะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อไปทำงานภาคการเกษตรมากขึ้น เพราะขณะนี้ราคาผลผลิตภาคเกษตรมีราคาสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าว ทำให้คนสนใจกลับไปทำนา โดยปัจจุบันราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นมาก วันที่ 10 เม.ย. 2551 ข้าวหอมมะลิส่งออกตันละ 34,000-36,000 บาท ข้าวเจ้าส่งออกตันละ 26,400-26,700 บาท ส่วนข้าวในสต๊อกรัฐบาลจะเก็บสำรองเอาไว้กันขาดแคลน เพราะไม่อยากเห็นความวุ่นวายเกิดขึ้นในไทยเหมือนกันหลายๆ ประเทศ
นายดุสิต นนทะนาคร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าไทย ได้สั่งการสถาบันยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของหอการค้าไทย ศึกษา และวิเคราะห์ปัญหาของข้าวไทยทั้งระบบ เพื่อวางแผนแก้ปัญหาและจัดทำข้อเสนอแนะ เสนอแนะต่อรัฐบาล โดยผ่านคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เพราะขณะนี้ราคาข้าวที่สูงขึ้น และปัญหาการผลิต ถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ที่ทุกคนเป็นห่วง และต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ และเอกชนร่วมกันแก้ไข รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อทำให้ไทยได้ประโยชน์จากข้าวอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในช่วงที่มีราคาแพง
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ เปิดเผยถึงสถานการณ์การค้าข้าวในตลาดโลกว่า ขณะนี้เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นแล้วว่า ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญๆ ทั้งเวียดนาม อินเดีย จีน และอียิปต์ ได้ชะลอการส่งออกข้าวหรือบางประเทศได้หยุดการส่งออก ทำให้ตัวเลขการค้าข้าวในตลาดโลกหายไปทันที 6-7 ล้านตัน และคำสั่งซื้อข้าว (ออเดอร์) ที่ขาดหายไปนี้ได้พุ่งเข้ามาหาไทยทันที ซึ่งถามว่าเป็นโอกาสของไทยหรือไม่ ก็ต้องตอบว่าเป็นแต่ปัญหา ก็คือ ไทยจะมีปริมาณข้าวเพียงพอเพื่อการส่งออกหรือไม่
"ตอนนี้ผู้ส่งออกข้าวที่เป็นคู่แข่งของไทย ได้ชะลอการส่งออก บางประเทศงดส่งออกเลย โดยเวียดนามปกติส่งออกปีละ 4.5 ล้านตัน ตอนนี้เหลือ 3.5 ล้านตัน อินเดีย 4.5 ล้านตัน หายไปเลย อียิปต์ และจีน ปกติส่งออกปีละ 1 ล้านตัน ก็ไม่ให้ส่งออกเลย รวมๆ แล้วตัวเลขส่งออกข้าวหายไป 6-7 ล้านตัน ทำให้ออเดอร์ข้าวทั้งหมดพุ่งมาหาไทย" นายชูเกียรติกล่าว
นายชูเกียรติกล่าวว่า ไทยค่อนข้างจะโชคดี จะแต่ละปีสามารถผลิตข้าวได้มากถึง 18 ล้านตัน บริโภคในประเทศ 9 ล้านตัน เหลือส่งออก 9 ล้านตัน ซึ่งหากไทยส่งออกไม่เกิน 9 ล้านตัน ก็จะไม่มีปัญหาการขาดแคลน แต่ถ้าส่งออกเหมือนที่ผ่านๆ มาเดือนละ 1 ล้านตัน ทั้งปีอาจจะทะลุถึง 11-12 ล้านตัน แบบนี้มีปัญหาการขาดแคลนเกิดขึ้นแน่ ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ ต้องเข้ามาควบคุมดูแลไม่ให้การส่งออกเกินไปกว่า 9 ล้านต้น
"ปีนี้เราตั้งเป้าส่งออกไว้ที่ 8.75 ล้านตัน ต้องคุมไม่ให้ส่งออกเกินไปกว่านี้ มากสุดก็ไม่ควรเกิน 9 ล้านตัน ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ไม่มีมาตรการคุมส่งออก แต่จากนี้ไปต้องดูแลการส่งออกอย่างใกล้ชิด ถ้าครึ่งปีหลังส่งออกมากไป ต้องมีมาตรการอะไรออกมาดูแล"
นายชูเกียรติกล่าวว่า ราคาข้าวที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นนี้ ไม่ใช่ว่าผู้ส่งออกจะได้ประโยชน์ เพราะในการค้าขายข้าว ปกติมีการทำสัญญากันล่วงหน้า 2-3 เดือน ซึ่งตอนทำสัญญากับตอนขายจริง ราคาข้าวได้เพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้ผู้ส่งออกหลายรายยอมทิ้งสัญญา โดยยอมจ่ายเป็นเงินชดใช้ให้กับผู้ซื้อแทน เพราะหากส่งมอบตามสัญญา จะขาดทุนมหาศาล ซึ่งขณะนี้ผู้ส่งออกหลายรายได้ขาดทุนจากการที่ข้าวขึ้นราคาแล้วหลายพันล้านบาท
ทั้งนี้ ราคาข้าวเมื่อเดือนธ.ค.2550 ข้าวขาว 100% อยู่ที่ตันละ 360 เหรียญสหรัฐ ราคาล่าสุดเมื่อวันที่ 9 เม.ย.2551 ตันละ 854 เหรียญสหรัฐ ข้าวหอมมะลิจากตันละ 620 เหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็นตันละ 1,130 เหรียญสหรัฐ และยังมีแนวโน้มว่าราคาจะเพิ่มขึ้นโดยต้องจับตาการเปิดประมูลข้าวของของฟิลิปปินส์ในวันที่ 17 เม.ย.นี้ว่าราคาจะเป็นเท่าไร ซึ่งราคาล่าสุดข้าว 258% ที่ฟิลิปปินส์ประมูล คือ 745 เหรียญสหรัฐ
นายชูเกียรติกล่าวว่า ผู้ส่งออกยังมีปัญหาไม่สามารถหาซื้อข้าวได้ โดยข้าวนาปรังปี 2551 ที่คาดว่าจะมีผลผลิต 6.5 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 4.29 ล้านตันข้าวสารนั้น ขณะนี้เก็บเกี่ยวไปแล้ว 60% แต่ยังไม่มีข้าวถึงมือผู้ส่งออกเลย ไม่รู้ว่าข้าวไปไหน เชื่อว่าน่าจะมีการกักตุนเพื่อเก็งกำไร จึงอยากให้กระทรวงพาณิชย์เข้าไปตรวจสอบสต๊อกของโรงสีด้วย
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้แนวโน้มผู้ใช้แรงงานในเมืองจะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อไปทำงานภาคการเกษตรมากขึ้น เพราะขณะนี้ราคาผลผลิตภาคเกษตรมีราคาสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าว ทำให้คนสนใจกลับไปทำนา โดยปัจจุบันราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นมาก วันที่ 10 เม.ย. 2551 ข้าวหอมมะลิส่งออกตันละ 34,000-36,000 บาท ข้าวเจ้าส่งออกตันละ 26,400-26,700 บาท ส่วนข้าวในสต๊อกรัฐบาลจะเก็บสำรองเอาไว้กันขาดแคลน เพราะไม่อยากเห็นความวุ่นวายเกิดขึ้นในไทยเหมือนกันหลายๆ ประเทศ
นายดุสิต นนทะนาคร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าไทย ได้สั่งการสถาบันยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของหอการค้าไทย ศึกษา และวิเคราะห์ปัญหาของข้าวไทยทั้งระบบ เพื่อวางแผนแก้ปัญหาและจัดทำข้อเสนอแนะ เสนอแนะต่อรัฐบาล โดยผ่านคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เพราะขณะนี้ราคาข้าวที่สูงขึ้น และปัญหาการผลิต ถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ที่ทุกคนเป็นห่วง และต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ และเอกชนร่วมกันแก้ไข รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อทำให้ไทยได้ประโยชน์จากข้าวอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในช่วงที่มีราคาแพง