ก.พลังงานยุค“รมต.หลังบ้าน”หมดท่าค่าไฟฟ้าพุ่งไม่หยุด ล่าสุดจ่อปรับค่าเอฟทีซ้ำเดิมประชาชน หลังแหล่งก๊าชในพม่าปิดซ่อมช่วงสงกรานต์ ด้านกฟผ.ระดมโรงไฟฟ้าทุกแห่งสำรองน้ำมันเตาและดีเซล รับมือแหล่งก๊าซพม่าหยุดส่งปริมาณก๊าซกว่า 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตหายไปจากระบบ ด้านโรงไฟฟ้าราชบุรีและไตรเอ็นเนอยี ต้องหยุดเดินเครื่องตามไปด้วย แต่พร้อมใช้น้ำมันดีเซลผลิตไฟยันกระทบค่าไฟฟ้าพุ่งช่วงเดือนมิ.ย.-ก.ย.แน่นอน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 11-18 เมษายนนี้ แหล่งก๊าซธรรมชาติจากพม่า จะหยุดซ่อม Gas Compressor ซึ่งจะทำให้ก๊าซธรรมชาติจากพม่าหยุดส่งเข้าระบบ เป็นผลให้โรงไฟฟ้าในประเทศไทยต้องหันมาเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้น้ำมันเตาหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงแทน ทำให้ภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก และมีผลกระทบต่อค่าเอฟที หรือค่าไฟฟ้าผันแปรเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
นายอภิชาต ดิลกโศภณ รองผู้ว่าการควบคุมระบบ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า ขณะที่ทางกฟผ.ได้รับการแจ้งจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)PTTEP ในฐานะผู้ถือหุ้นแหล่งก๊าซธรรมชาติยายาดาและเยตากุนของสหภาพพม่า ว่าในช่วงวันที่ 11-20 เมษายน 2551 ที่จะถึงนี้ จะมีการปิดซ่อมประจำปีแหล่งก๊าซธรรมชาติดังกล่าว และจะไม่สามารถจัดก๊าซธรรมชาติเพื่อมาผลิตไฟฟ้าในปริมาณ กว่า 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันได้ จะส่งผลกระทบไปยังโรงไฟฟ้าราชบุรีและโรงไฟฟ้าไตเอ็นเนอยี่ รวมกำลังการผลิตเกือบ 4,000 เมกะวัตต์ จะต้องหยุดการดำเนินงานลง เนื่องจากไม่มีก๊าซฯไปป้อนโรงไฟฟ้าได้
จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้กฟผ.จึงได้สั่งให้ทุกโรงไฟฟ้าเตรียมการสำรองน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล เพื่อเป็นเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าอย่างน้อยเป็นเวลา 3 วัน และให้โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซจากอ่าวไทยเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้ปริมาณสำรองไฟฟ้าต่ำกว่า 15 % หรือไม่ให้เกิดปัญหาไฟฟ้า
“กฟผ.จะสั่งให้โรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนค่าเชื้อเพลิงต่ำ ทำการเดินเครื่องก่อน เช่น พลังน้ำ และถ่านหิน มากขึ้น หากปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นหรือมีช่วงพีคเกิดขึ้น และก๊าซธรรมชาติไม่เพียงพอ ก็จะสั่งให้โรงไฟฟ้าเดินเครื่องใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลแทน เป็นแนวทางสุดท้าย เพื่อไม่ให้การผลิตไฟฟ้ามีต้นทุนสูงมากจนเกินไป”
นายณรงค์ สีตสุวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน)RATCH กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับกฟผ.กรณีที่จะมีการปิดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติในสหภาพพม่าระหว่างวันที่ 11-18 เมษายน 2551 นี้แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้โรงไฟฟ้าราชบุรีขนาดกำลังการผลิตกว่า 3,600 เมกะวัตต์ จำเป็นต้องหยุดดำเนินการ เนื่องจากไม่มีปริมาณก๊าซฯมาป้อนเป็นเชื้อเพลิงได้
ด้านนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เพื่อรับมือกับการปิดซ่อมประจำปีของแหล่งก๊าซในพม่าอยู่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทางผู้ผลิตได้มีแผนที่จะเปิดซ่อมบำรุงในช่วงเดือนเมษายน 2551 ซึ่งหากปริมาณก๊าซในอ่าวไทยสามารถป้อนโรงไฟฟ้าได้ไม่มีปัญหา ก็ไม่จำเป็นต้องเลื่อนการปิดซ่อมบำรุงออกไป
โดยเฉพาะทางบมจ.ปตท.สผ.จะเร่งจัดส่งก๊าซฯจากแหล่งอาทิตย์ให้ได้ตามสัญญาที่ทำไว้ 330 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ จากปัจจุบันส่งก๊าซเพิ่มขึ้นมาได้แล้วที่ประมาณ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หลังจากที่ทำการทดสอบเดินเครื่องและมีก๊าซรั่วไหลออกมาบ้างตามข้อต่อ ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งสหภาพพม่าที่ผลิตได้ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30 % ของความต้องการใช้ก๊าซในประเทศที่อยู่ในระดับประมาณ 3,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 11-18 เมษายนนี้ แหล่งก๊าซธรรมชาติจากพม่า จะหยุดซ่อม Gas Compressor ซึ่งจะทำให้ก๊าซธรรมชาติจากพม่าหยุดส่งเข้าระบบ เป็นผลให้โรงไฟฟ้าในประเทศไทยต้องหันมาเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้น้ำมันเตาหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงแทน ทำให้ภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก และมีผลกระทบต่อค่าเอฟที หรือค่าไฟฟ้าผันแปรเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
นายอภิชาต ดิลกโศภณ รองผู้ว่าการควบคุมระบบ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า ขณะที่ทางกฟผ.ได้รับการแจ้งจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)PTTEP ในฐานะผู้ถือหุ้นแหล่งก๊าซธรรมชาติยายาดาและเยตากุนของสหภาพพม่า ว่าในช่วงวันที่ 11-20 เมษายน 2551 ที่จะถึงนี้ จะมีการปิดซ่อมประจำปีแหล่งก๊าซธรรมชาติดังกล่าว และจะไม่สามารถจัดก๊าซธรรมชาติเพื่อมาผลิตไฟฟ้าในปริมาณ กว่า 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันได้ จะส่งผลกระทบไปยังโรงไฟฟ้าราชบุรีและโรงไฟฟ้าไตเอ็นเนอยี่ รวมกำลังการผลิตเกือบ 4,000 เมกะวัตต์ จะต้องหยุดการดำเนินงานลง เนื่องจากไม่มีก๊าซฯไปป้อนโรงไฟฟ้าได้
จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้กฟผ.จึงได้สั่งให้ทุกโรงไฟฟ้าเตรียมการสำรองน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล เพื่อเป็นเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าอย่างน้อยเป็นเวลา 3 วัน และให้โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซจากอ่าวไทยเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้ปริมาณสำรองไฟฟ้าต่ำกว่า 15 % หรือไม่ให้เกิดปัญหาไฟฟ้า
“กฟผ.จะสั่งให้โรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนค่าเชื้อเพลิงต่ำ ทำการเดินเครื่องก่อน เช่น พลังน้ำ และถ่านหิน มากขึ้น หากปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นหรือมีช่วงพีคเกิดขึ้น และก๊าซธรรมชาติไม่เพียงพอ ก็จะสั่งให้โรงไฟฟ้าเดินเครื่องใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลแทน เป็นแนวทางสุดท้าย เพื่อไม่ให้การผลิตไฟฟ้ามีต้นทุนสูงมากจนเกินไป”
นายณรงค์ สีตสุวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน)RATCH กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับกฟผ.กรณีที่จะมีการปิดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติในสหภาพพม่าระหว่างวันที่ 11-18 เมษายน 2551 นี้แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้โรงไฟฟ้าราชบุรีขนาดกำลังการผลิตกว่า 3,600 เมกะวัตต์ จำเป็นต้องหยุดดำเนินการ เนื่องจากไม่มีปริมาณก๊าซฯมาป้อนเป็นเชื้อเพลิงได้
ด้านนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เพื่อรับมือกับการปิดซ่อมประจำปีของแหล่งก๊าซในพม่าอยู่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทางผู้ผลิตได้มีแผนที่จะเปิดซ่อมบำรุงในช่วงเดือนเมษายน 2551 ซึ่งหากปริมาณก๊าซในอ่าวไทยสามารถป้อนโรงไฟฟ้าได้ไม่มีปัญหา ก็ไม่จำเป็นต้องเลื่อนการปิดซ่อมบำรุงออกไป
โดยเฉพาะทางบมจ.ปตท.สผ.จะเร่งจัดส่งก๊าซฯจากแหล่งอาทิตย์ให้ได้ตามสัญญาที่ทำไว้ 330 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ จากปัจจุบันส่งก๊าซเพิ่มขึ้นมาได้แล้วที่ประมาณ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หลังจากที่ทำการทดสอบเดินเครื่องและมีก๊าซรั่วไหลออกมาบ้างตามข้อต่อ ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งสหภาพพม่าที่ผลิตได้ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30 % ของความต้องการใช้ก๊าซในประเทศที่อยู่ในระดับประมาณ 3,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน