ผู้จัดการรายวัน- “กฟผ.” เร่งปั่นไฟจากน้ำและแม่เมาะหวังช่วยเบรกต้นทุนค่าไฟหลังก๊าซแหล่งอาทิตย์สะดุดจนทำให้ต้องพึ่งดีเซลและน้ำมันเตาแล้ว 3-7 วัน มั่นใจไร้ปัญหาผลกระทบต่อประชาชน พร้อมเร่งรณรงค์คนไทยรักสายส่งหวังแก้ปัญหาการลักขโมยจนก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงระบบไฟฟ้า
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยถึงกรณีที่ท่อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์รั่วจนทำให้ไม่สามารถส่งก๊าซธรรมชาติได้ทันกำหนดเมื่อวันที่ 16 มี.ค.ว่า กฟผ.จะแจ้งถึงปริมาณการใช้น้ำมันเตา และดีเซลแทนการใช้ก๊าซฯผลิตไฟในช่วงที่ผ่านมาต่อนายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงานในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารเชื้อเพลิง ที่จะหารือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวันที่ 1 เม.ย.นี้โดยเบื้องต้นทางกระทรวงพลังงานยืนยันแล้วว่าภาระดังกล่าวจะไม่ผลักไปยังค่าไฟให้กับประชาชน
“ช่วงที่มีปัญหาระยะแรกเราเดินเครื่องผลิตไฟด้วยดีเซล 1-2 วันไม่มากนักและเปลี่ยนมาเป็นน้ำมันเตาที่มีราคาต่ำกว่าดีเซลแล้วเฉลี่ย 3-7 วันเฉลี่ยใช้วันละ 3 ล้านลิตรซึ่งจะใช้เท่าใดและนานเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่าก๊าซฯจะส่งมอบได้หรือไม่ซึ่งเร็วๆ นี้ก็คงได้รับคำตอบ”นายสมบัติกล่าว
อย่างไรก็ตามกฟผ.ได้บริหารจัดการเพื่อไม่ให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นด้วยการพยายามเดินเครื่องผลิตไฟจากเชื้อเพลิงที่ต่ำมากขึ้นทั้งการประสานไปยังกรมชลประทานในการระบายนำเพื่อผลิตไฟเพิ่มอีก 20 ล้านหน่วย และจะเร่งเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าแม่เมาะจากลิกไนต์ เป็น 10 หน่วยในวันที่ 1 เม.ย.นี้ซึ่งจะมีส่วนทำให้ต้นทุนรวมลดต่ำได้ ส่วนแหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่คาบเกี่ยว(เจดีเอ)กำลังการผลิต 440 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งตามแผนจะต้องส่งเข้าไปที่โรงไฟฟ้าจะนะประมาณ 150 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ตอนนี้โรงไฟฟ้าจะนะใช้เพียง 40 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคาดว่าในช่วงสัปดาห์หน้าจะเดินเครื่องได้เต็มกำลังผลิต
สำหรับปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(พีค)ในช่วงเดือนมี.ค.นี้อยู่ที่ระดับ 2.1 หมื่นเมกะวัตต์ ซึ่งใกล้เคียงกับปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 2.25 หมื่นเมกะวัตต์ โดยส่วนหนึ่งเกิดจากมีฝนตกลงมาบ้างทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยไม่ได้สูงมากนัก โดยอุณหภูมิที่ลดลงทุกๆ 1 องศาจะสามารถช่วยลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 400 เมกะวัตต์
นายสมบัติยังได้กล่าวถึงโครงการ “คนไทย รักสายส่ง” เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ความเข้าใจและความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการช่วยกันป้องกันหรือแจ้งเหตุการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เสาส่งไฟฟ้าแรงสูงและอุปกรณ์ ซึ่งขณะนี้เกิดปัญหาการลักขโมยถอดน็อตที่ส่งผลกระทบถึงขั้นเสาส่งไฟฟ้าล้มลงเมื่อวันที่ 7 มี.ค. ซึ่งทำให้สูญสียมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก
“ คงต้องขอความร่วมมือทุกส่วนช่วยสอดส่องดูแล รวมถึง กฟผ.มีความคิดที่จะใช้เทคนิคใหม่ในปั๊มโลโก้ของ กฟผ.ลงไปบนอุปกรณ์ของเสาส่งไฟฟ้าทุกต้น และอาจจะมีการตั้งกล้องทีวีวงจรปิดในพื้นที่เสาส่งไฟฟ้าต้นที่มีความเสี่ยงสูงด้วย รวมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลไปยังร้านรับซื้อของเก่าและประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซค์ และสามารถแจ้งข้อมูลหากพบผู้มีพฤติกรรมน่าสงสัยมายังศูนย์ได้ที่หมายเลข 1130 และ1129 “นายสมบัติกล่าว
ปตท.สผ.แจงมีปัญหาเทคนิค
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบมจ.ปตท.สผ.กล่าวว่า ก๊าซแหล่งอาทิตย์เริ่มผลิตก๊าซตั้งแต่ 26 มี.ค.ด้วยอัตรา 80 ล้านลบ.ฟุตต่อวันและเริ่มเพิ่มระดับเป็น 130 ล้านลบ.ฟุตต่อวันคาดว่าสัปดาห์นี้จะเพิ่มเป็น 200 ล้านลบ.ฟุตต่อวันหลังจากนั้นจะเริ่มเดินเครื่องคอมเพรสเซอร์ชุดที่ 2 ซึ่งจะทำให้เพิ่มอัตราผลิตก๊าซเป็น 330 ล้านลบ.ฟุตต่อวันในที่สุด ซึ่งช่วงกลางมี.ค.มีปัญหาเกี่ยวกับระบบเล็กน้อยเนื่องจากเป็นแท่นผลิตใหม่แต่ไม่ได้มีการรั่วไหลตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยถึงกรณีที่ท่อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์รั่วจนทำให้ไม่สามารถส่งก๊าซธรรมชาติได้ทันกำหนดเมื่อวันที่ 16 มี.ค.ว่า กฟผ.จะแจ้งถึงปริมาณการใช้น้ำมันเตา และดีเซลแทนการใช้ก๊าซฯผลิตไฟในช่วงที่ผ่านมาต่อนายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงานในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารเชื้อเพลิง ที่จะหารือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวันที่ 1 เม.ย.นี้โดยเบื้องต้นทางกระทรวงพลังงานยืนยันแล้วว่าภาระดังกล่าวจะไม่ผลักไปยังค่าไฟให้กับประชาชน
“ช่วงที่มีปัญหาระยะแรกเราเดินเครื่องผลิตไฟด้วยดีเซล 1-2 วันไม่มากนักและเปลี่ยนมาเป็นน้ำมันเตาที่มีราคาต่ำกว่าดีเซลแล้วเฉลี่ย 3-7 วันเฉลี่ยใช้วันละ 3 ล้านลิตรซึ่งจะใช้เท่าใดและนานเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่าก๊าซฯจะส่งมอบได้หรือไม่ซึ่งเร็วๆ นี้ก็คงได้รับคำตอบ”นายสมบัติกล่าว
อย่างไรก็ตามกฟผ.ได้บริหารจัดการเพื่อไม่ให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นด้วยการพยายามเดินเครื่องผลิตไฟจากเชื้อเพลิงที่ต่ำมากขึ้นทั้งการประสานไปยังกรมชลประทานในการระบายนำเพื่อผลิตไฟเพิ่มอีก 20 ล้านหน่วย และจะเร่งเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าแม่เมาะจากลิกไนต์ เป็น 10 หน่วยในวันที่ 1 เม.ย.นี้ซึ่งจะมีส่วนทำให้ต้นทุนรวมลดต่ำได้ ส่วนแหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่คาบเกี่ยว(เจดีเอ)กำลังการผลิต 440 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งตามแผนจะต้องส่งเข้าไปที่โรงไฟฟ้าจะนะประมาณ 150 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ตอนนี้โรงไฟฟ้าจะนะใช้เพียง 40 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคาดว่าในช่วงสัปดาห์หน้าจะเดินเครื่องได้เต็มกำลังผลิต
สำหรับปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(พีค)ในช่วงเดือนมี.ค.นี้อยู่ที่ระดับ 2.1 หมื่นเมกะวัตต์ ซึ่งใกล้เคียงกับปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 2.25 หมื่นเมกะวัตต์ โดยส่วนหนึ่งเกิดจากมีฝนตกลงมาบ้างทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยไม่ได้สูงมากนัก โดยอุณหภูมิที่ลดลงทุกๆ 1 องศาจะสามารถช่วยลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 400 เมกะวัตต์
นายสมบัติยังได้กล่าวถึงโครงการ “คนไทย รักสายส่ง” เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ความเข้าใจและความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการช่วยกันป้องกันหรือแจ้งเหตุการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เสาส่งไฟฟ้าแรงสูงและอุปกรณ์ ซึ่งขณะนี้เกิดปัญหาการลักขโมยถอดน็อตที่ส่งผลกระทบถึงขั้นเสาส่งไฟฟ้าล้มลงเมื่อวันที่ 7 มี.ค. ซึ่งทำให้สูญสียมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก
“ คงต้องขอความร่วมมือทุกส่วนช่วยสอดส่องดูแล รวมถึง กฟผ.มีความคิดที่จะใช้เทคนิคใหม่ในปั๊มโลโก้ของ กฟผ.ลงไปบนอุปกรณ์ของเสาส่งไฟฟ้าทุกต้น และอาจจะมีการตั้งกล้องทีวีวงจรปิดในพื้นที่เสาส่งไฟฟ้าต้นที่มีความเสี่ยงสูงด้วย รวมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลไปยังร้านรับซื้อของเก่าและประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซค์ และสามารถแจ้งข้อมูลหากพบผู้มีพฤติกรรมน่าสงสัยมายังศูนย์ได้ที่หมายเลข 1130 และ1129 “นายสมบัติกล่าว
ปตท.สผ.แจงมีปัญหาเทคนิค
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบมจ.ปตท.สผ.กล่าวว่า ก๊าซแหล่งอาทิตย์เริ่มผลิตก๊าซตั้งแต่ 26 มี.ค.ด้วยอัตรา 80 ล้านลบ.ฟุตต่อวันและเริ่มเพิ่มระดับเป็น 130 ล้านลบ.ฟุตต่อวันคาดว่าสัปดาห์นี้จะเพิ่มเป็น 200 ล้านลบ.ฟุตต่อวันหลังจากนั้นจะเริ่มเดินเครื่องคอมเพรสเซอร์ชุดที่ 2 ซึ่งจะทำให้เพิ่มอัตราผลิตก๊าซเป็น 330 ล้านลบ.ฟุตต่อวันในที่สุด ซึ่งช่วงกลางมี.ค.มีปัญหาเกี่ยวกับระบบเล็กน้อยเนื่องจากเป็นแท่นผลิตใหม่แต่ไม่ได้มีการรั่วไหลตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด