คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
ผมเคยบอกแล้วว่า เป้าหมายของ มีเชล ปลาตีนี นาโปเลองลูกหนัง อดีตกัปตันทีมชาติฝรั่งเศสในยุคทศวรรษที่ 80 ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสหสมาคมฟุตบอลยุโรป หรือ ยูเอ็ฟฟ่า ( Union of European Football Associations - UEFA ) ก็คือ ต้องการเป็นประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ที่ยังมี โชเซฟ บลั๊ทเท่อร์ ( Jeseph Blatter ) ผู้นำสูงสุดชาวสวิสยืนขวางอยู่ ซึ่ง เซ็พ ก็ดันเอ่ยว่า ไอ้ที่เคยบอกไว้ตั้งแต่ปี 2011 ว่า เขาจะลงจากตำแหน่งเสียทีเมื่อครบวาระในปี 2015 นั้น ตอนนี้เปลี่ยนใจแล้วนะ เพราะคนในวัยนี้บางคนอาจไม่ไหวแล้ว แต่สำหรับเขายังสดอยู่มากๆเลย นั่นเป็นเหตุให้ มีเชล ฉุนขาด และเริ่มดำเนินการเขย่าบัลลังก์
หลังจากที่พยายามผลักดันเรื่องการกำหนดเพดานอายุผู้ดำรงตำแหน่งให้ไม่เกิน 72 ปี รวมทั้งต้องอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 3 วาระเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่หรือ ฟีฟ่า ค็องเกร๊ส เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแต่ไร้ผล เรื่องดังกล่าวถูกถอดออกจากวาระการประชุม คราวนี้ สุดยอดมิดฟีลด์เมืองน้ำหอมงัดแผนป่วนเมืองแนวใหม่ขึ้นมาใช้ หมอนี่เพิ่งนำเสนอแนวความคิดที่จะเชิญ บราซิว และ อารเกนตีน่า เข้าร่วมการแข่งขัน ยูโร 2020 ( Euro 2020 ) หรือ ฟุตบอลชิงแช้มพ์แห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 16
มีเชล ให้เหตุผลว่า ก็ที ฟุตบอลชิงแช้มพ์แห่งชาติอเมริกาใต้ ( Copa America ) ยังเชิญทีมชาติจากทวีปอื่นมาร่วมการแข่งขันตั้งหลายสิบปีแล้ว ทำไม ยูเอ็ฟฟ่า จะทำไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น นอกจาก บราซิว กับ อารเกนตีน่า ก็ยังมี เมฮีโก และ ญี่ปุ่น ที่ได้รับการทาบทามด้วยเช่นกัน
ผมว่าเรื่องระหว่าง มีเชล ปลาตีนี กับ เซ็พ บลั๊ทเท่อร์ มันเริ่มขบเหลี่ยมกันมาได้ระยะหนึ่งแล้วครับ โดยทางฝ่าย ยูเอ็ฟฟ่า กำหนดให้จัดการแข่งขัน ยูโร 2020 ใน 13 เมืองของทวีปยุโรป เพื่อต้องการให้กระจายออกไปมากกว่า 1 หรือ 2 ประเทศเจ้าภาพอย่างที่ผ่านมา อันนี้ มีเชล อ้างว่า เพื่อแก้ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะต้องนำมาลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานกันใหม่ เช่น สนามแข่งขัน สนามบิน ถนนหลวง หรือโรงแรมที่พัก ดังนั้น ผมว่า เขาคงหมายถึงเมืองต่างๆที่มีสนามแข่งขันดีๆ อยู่แล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น จาก 4 ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่หนแรกในปี 1960 มีการเพิ่มเป็น 8 ทีมในปี 1980 เพิ่มเป็น 16 ทีมในปี 1996 และในปี 2016 ก็จะเพิ่มเป็น 24 ทีม นี่มันเป็นท้าทายหวังเทียบชั้นกับ ฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ที่มี 32 ทีมของ ฟีฟ่า ซึ่งจะมีขึ้นในอีก 2 ปีถัดไปหรืออย่างไรกัน
ทางฝ่าย ฟีฟ่า เองก็ไม่เบา ท่าทางจะปล่อยให้ กาตาร์ ซึ่งได้สิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022 นั้น แหกประเพณีไปจัดการแข่งขันในฤดูหนาว ทั้งนี้ ก็เพื่อหลีกเลี่ยงอากาศที่ร้อนอบอ้าวแถวๆ 50 องศา เซลเซียส ในช่วงเวลากลางปี ซึ่งย่อมส่งผลกระทบชิ่งอย่างแรงไปยังลีกของชาติต่างๆ ในทวีปยุโรป ทำให้ปฏิทินการแข่งขันต้องยุ่งเหยิงไปหมด อย่างน้อยตอนนี้ก็มี อังกฤษ ที่ออกมาส่งเสียงโวยวาย ไม่ยอมรับ
นอกจากนั้น สิ่งที่ยั่วโมโห ยูเอ็ฟฟ่า ให้ควันออกหูยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ กำลังมีความพยายามที่จะตัดทอนอำนาจของฝั่งยุโรป โดยมีการพูดถึงการลดจำนวนโควต้าทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย จากโซนทวีปยุโรปลง ซึ่งตอนนี้ในจำนวน 32 ทีมจากทุกโซน ทวีปยุโรปมีโควต้าอยู่ตั้ง 13 ทีม รวมถึง กรรมการบริหารใน ฟีฟ่า ที่มี 25 คนนั้น กรรมการที่มาจากชาติยุโรปในปัจจุบันมีโควต้าอยู่ 8 คน อันเป็นเสียงที่ค่อนข้างมีน้ำหนักก็จะต้องถูกลดจำนวนลงอีก
ยูเอ็ฟฟ่า เป็นองค์กรใหญ่ที่ทรงอิทธิพล นี่ก็พอจะเทียบชั้นได้กับ ฟีฟ่า ซึ่งหากมีผู้นำคนใดมีความมุ่งมั่นและกล้าท้าทาย เซ็พ บลั๊ทเท่อร์ แล้ว รับรองว่า ฟีฟ่า ต้องสั่นสะเทือนแน่นอน เนื่องด้วยเป้าหมายที่ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงของ มีเชล ปลาตีนี ซึ่งไม่ต้องการรั้งรอไปไกลกว่า 2015 อีกแล้ว เซ็พ ต้องลงจากตำแหน่งตรงนั้น ไม่เช่นนั้นสรรพสิ่งก็ต้องเกิดขึ้นมาเป็นระยะ เพื่อกดดันให้หมอนี่จำต้องรู้จักสะกดคำว่า “พอ”
ผมเคยบอกแล้วว่า เป้าหมายของ มีเชล ปลาตีนี นาโปเลองลูกหนัง อดีตกัปตันทีมชาติฝรั่งเศสในยุคทศวรรษที่ 80 ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสหสมาคมฟุตบอลยุโรป หรือ ยูเอ็ฟฟ่า ( Union of European Football Associations - UEFA ) ก็คือ ต้องการเป็นประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ที่ยังมี โชเซฟ บลั๊ทเท่อร์ ( Jeseph Blatter ) ผู้นำสูงสุดชาวสวิสยืนขวางอยู่ ซึ่ง เซ็พ ก็ดันเอ่ยว่า ไอ้ที่เคยบอกไว้ตั้งแต่ปี 2011 ว่า เขาจะลงจากตำแหน่งเสียทีเมื่อครบวาระในปี 2015 นั้น ตอนนี้เปลี่ยนใจแล้วนะ เพราะคนในวัยนี้บางคนอาจไม่ไหวแล้ว แต่สำหรับเขายังสดอยู่มากๆเลย นั่นเป็นเหตุให้ มีเชล ฉุนขาด และเริ่มดำเนินการเขย่าบัลลังก์
หลังจากที่พยายามผลักดันเรื่องการกำหนดเพดานอายุผู้ดำรงตำแหน่งให้ไม่เกิน 72 ปี รวมทั้งต้องอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 3 วาระเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่หรือ ฟีฟ่า ค็องเกร๊ส เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแต่ไร้ผล เรื่องดังกล่าวถูกถอดออกจากวาระการประชุม คราวนี้ สุดยอดมิดฟีลด์เมืองน้ำหอมงัดแผนป่วนเมืองแนวใหม่ขึ้นมาใช้ หมอนี่เพิ่งนำเสนอแนวความคิดที่จะเชิญ บราซิว และ อารเกนตีน่า เข้าร่วมการแข่งขัน ยูโร 2020 ( Euro 2020 ) หรือ ฟุตบอลชิงแช้มพ์แห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 16
มีเชล ให้เหตุผลว่า ก็ที ฟุตบอลชิงแช้มพ์แห่งชาติอเมริกาใต้ ( Copa America ) ยังเชิญทีมชาติจากทวีปอื่นมาร่วมการแข่งขันตั้งหลายสิบปีแล้ว ทำไม ยูเอ็ฟฟ่า จะทำไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น นอกจาก บราซิว กับ อารเกนตีน่า ก็ยังมี เมฮีโก และ ญี่ปุ่น ที่ได้รับการทาบทามด้วยเช่นกัน
ผมว่าเรื่องระหว่าง มีเชล ปลาตีนี กับ เซ็พ บลั๊ทเท่อร์ มันเริ่มขบเหลี่ยมกันมาได้ระยะหนึ่งแล้วครับ โดยทางฝ่าย ยูเอ็ฟฟ่า กำหนดให้จัดการแข่งขัน ยูโร 2020 ใน 13 เมืองของทวีปยุโรป เพื่อต้องการให้กระจายออกไปมากกว่า 1 หรือ 2 ประเทศเจ้าภาพอย่างที่ผ่านมา อันนี้ มีเชล อ้างว่า เพื่อแก้ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะต้องนำมาลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานกันใหม่ เช่น สนามแข่งขัน สนามบิน ถนนหลวง หรือโรงแรมที่พัก ดังนั้น ผมว่า เขาคงหมายถึงเมืองต่างๆที่มีสนามแข่งขันดีๆ อยู่แล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น จาก 4 ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่หนแรกในปี 1960 มีการเพิ่มเป็น 8 ทีมในปี 1980 เพิ่มเป็น 16 ทีมในปี 1996 และในปี 2016 ก็จะเพิ่มเป็น 24 ทีม นี่มันเป็นท้าทายหวังเทียบชั้นกับ ฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ที่มี 32 ทีมของ ฟีฟ่า ซึ่งจะมีขึ้นในอีก 2 ปีถัดไปหรืออย่างไรกัน
ทางฝ่าย ฟีฟ่า เองก็ไม่เบา ท่าทางจะปล่อยให้ กาตาร์ ซึ่งได้สิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022 นั้น แหกประเพณีไปจัดการแข่งขันในฤดูหนาว ทั้งนี้ ก็เพื่อหลีกเลี่ยงอากาศที่ร้อนอบอ้าวแถวๆ 50 องศา เซลเซียส ในช่วงเวลากลางปี ซึ่งย่อมส่งผลกระทบชิ่งอย่างแรงไปยังลีกของชาติต่างๆ ในทวีปยุโรป ทำให้ปฏิทินการแข่งขันต้องยุ่งเหยิงไปหมด อย่างน้อยตอนนี้ก็มี อังกฤษ ที่ออกมาส่งเสียงโวยวาย ไม่ยอมรับ
นอกจากนั้น สิ่งที่ยั่วโมโห ยูเอ็ฟฟ่า ให้ควันออกหูยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ กำลังมีความพยายามที่จะตัดทอนอำนาจของฝั่งยุโรป โดยมีการพูดถึงการลดจำนวนโควต้าทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย จากโซนทวีปยุโรปลง ซึ่งตอนนี้ในจำนวน 32 ทีมจากทุกโซน ทวีปยุโรปมีโควต้าอยู่ตั้ง 13 ทีม รวมถึง กรรมการบริหารใน ฟีฟ่า ที่มี 25 คนนั้น กรรมการที่มาจากชาติยุโรปในปัจจุบันมีโควต้าอยู่ 8 คน อันเป็นเสียงที่ค่อนข้างมีน้ำหนักก็จะต้องถูกลดจำนวนลงอีก
ยูเอ็ฟฟ่า เป็นองค์กรใหญ่ที่ทรงอิทธิพล นี่ก็พอจะเทียบชั้นได้กับ ฟีฟ่า ซึ่งหากมีผู้นำคนใดมีความมุ่งมั่นและกล้าท้าทาย เซ็พ บลั๊ทเท่อร์ แล้ว รับรองว่า ฟีฟ่า ต้องสั่นสะเทือนแน่นอน เนื่องด้วยเป้าหมายที่ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงของ มีเชล ปลาตีนี ซึ่งไม่ต้องการรั้งรอไปไกลกว่า 2015 อีกแล้ว เซ็พ ต้องลงจากตำแหน่งตรงนั้น ไม่เช่นนั้นสรรพสิ่งก็ต้องเกิดขึ้นมาเป็นระยะ เพื่อกดดันให้หมอนี่จำต้องรู้จักสะกดคำว่า “พอ”