คอลัมน์ “The Golf Touch” โดย “วันปีย์ สัจจมาร์ค”
จากการติดตามชมชัยชนะรายการที่ 79 ของ ไทเกอร์ วูดส์ ตั้งแต่เทิร์นโปรมา ทำให้ผมอยากพูดคุยเกี่ยวกับความรับผิดชอบและพัฒนาการของวงสวิงที่นักกอล์ฟพึงมีแก่ตัวเอง แน่นอนว่าเราอาจจะไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับกลไกการสวิงหรือการทำงานของร่างกายอย่างลึกซึ้งมากเพียงพอที่จะแก้ไขวงสวิงตัวเองได้ และที่แน่นอนที่สุดเรามองวงสวิงตัวเองไม่ขาด โดยทั่วไปแล้วนักกอล์ฟมักต้องมีโค้ชผู้ฝึกสอนที่ช่วยปรับวงสวิงให้กับเรา แม้กระทั่งนักกอล์ฟที่เก่งถึงระดับอาชีพก็ต้องใช้บริการครูฝึกสอนเช่นเดียวกัน
การให้ผู้ฝึกสอนแต่ละคนปรับวงสวิงให้กับเรา สิ่งที่เราต้องการคือความเชี่ยวชาญและความชำนาญในการสังเกตและสื่อสารข้อมูลที่ควรปฏิบัติรวมถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติกลับมาสู่ตัวเรา เมื่อเราเข้าใจว่าต้องทำอะไรและทำอย่างไร หน้าที่การฝึกซ้อมเพื่อให้ทำได้ให้สำเร็จตามเป้าหมายเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของนักกีฬาแต่ละคน แต่สิ่งที่ตัวนักกีฬาควรจะมีส่วนร่วมคือการบ่งชี้ว่าพัฒนาการของวงสวิงหรือเกมตัวเองนั้นควรจะไปสู่ทิศทางใด หมายความว่าเราวางแผนร่วมกับโค้ชว่าต้องทำอะไรด้วยกันบ้าง
ถ้าถอยหลังไปถึงช่วงก่อนทำงานด้วยกันกับโค้ชคนนั้น ตัวเราควรจะต้องมีการวางแผนให้กับตัวเองเสียก่อนว่าต้องการอะไรบ้าง หลังจากนั้นถึงทำการบ้านว่าอะไรมาก่อนและอะไรมาที่หลัง และโค้ชคนไหนเหมาะสมกับการช่วยเราในแต่ละช่วงตามแผนที่เราวางให้กับตัวเอง ดังนั้นนักกีฬาหนึ่งคนก็มีโอกาสที่จะเปลี่ยนโค้ชไปเรื่อยๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการตามแผนของตัวเอง
ถ้าจำกันได้ ไทเกอร์เคยมีโค้ชสมัยเด็กๆ ก่อนที่จะหันมาดูวงกับ บุทช์ ฮาร์มอน หลังจากที่เขาได้พัฒนาจังหวะและกลไกการสวิงที่มีประสิทธิภาพได้อย่างเป็นที่น่าพอใจแล้ว ไทเกอร์ก็เริ่มมาทำงานกับ แฮงค์ ฮานีย์ ที่เน้นเรื่องระนาบสวิง การควบคุมความผิดพลาดให้น้อยลงและสวิงได้ผลงานสม่ำเสมอกว่าเดิม และ ฌอน โฟลีย์ โค้ชคนปัจจุบันก็กำลังต่อยอดและช่วยปรับให้ไทเกอร์รีดและบังคับลูกกอล์ฟให้บินไปในระดับต่างๆ ตามทิศทางที่เขาต้องการจะกำหนด
ถ้าดูดีๆ จะเห็นเลยว่าโค้ชแต่ละคนมีหน้าที่ในการช่วยไทเกอร์ให้ทำได้ในสิ่งที่เขาต้องการตามขั้นตอนเท่านั้นเอง โดยมีคำสอนของคุณพ่อ เอิร์ล วูดส์ เป็นที่ปรึกษาหลัก แต่โค้ชใหญ่และผู้กำหนดเส้นทางพัฒนาการวงสวิงจริงๆ แล้วคือตัวไทเกอร์เอง
จากการติดตามชมชัยชนะรายการที่ 79 ของ ไทเกอร์ วูดส์ ตั้งแต่เทิร์นโปรมา ทำให้ผมอยากพูดคุยเกี่ยวกับความรับผิดชอบและพัฒนาการของวงสวิงที่นักกอล์ฟพึงมีแก่ตัวเอง แน่นอนว่าเราอาจจะไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับกลไกการสวิงหรือการทำงานของร่างกายอย่างลึกซึ้งมากเพียงพอที่จะแก้ไขวงสวิงตัวเองได้ และที่แน่นอนที่สุดเรามองวงสวิงตัวเองไม่ขาด โดยทั่วไปแล้วนักกอล์ฟมักต้องมีโค้ชผู้ฝึกสอนที่ช่วยปรับวงสวิงให้กับเรา แม้กระทั่งนักกอล์ฟที่เก่งถึงระดับอาชีพก็ต้องใช้บริการครูฝึกสอนเช่นเดียวกัน
การให้ผู้ฝึกสอนแต่ละคนปรับวงสวิงให้กับเรา สิ่งที่เราต้องการคือความเชี่ยวชาญและความชำนาญในการสังเกตและสื่อสารข้อมูลที่ควรปฏิบัติรวมถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติกลับมาสู่ตัวเรา เมื่อเราเข้าใจว่าต้องทำอะไรและทำอย่างไร หน้าที่การฝึกซ้อมเพื่อให้ทำได้ให้สำเร็จตามเป้าหมายเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของนักกีฬาแต่ละคน แต่สิ่งที่ตัวนักกีฬาควรจะมีส่วนร่วมคือการบ่งชี้ว่าพัฒนาการของวงสวิงหรือเกมตัวเองนั้นควรจะไปสู่ทิศทางใด หมายความว่าเราวางแผนร่วมกับโค้ชว่าต้องทำอะไรด้วยกันบ้าง
ถ้าถอยหลังไปถึงช่วงก่อนทำงานด้วยกันกับโค้ชคนนั้น ตัวเราควรจะต้องมีการวางแผนให้กับตัวเองเสียก่อนว่าต้องการอะไรบ้าง หลังจากนั้นถึงทำการบ้านว่าอะไรมาก่อนและอะไรมาที่หลัง และโค้ชคนไหนเหมาะสมกับการช่วยเราในแต่ละช่วงตามแผนที่เราวางให้กับตัวเอง ดังนั้นนักกีฬาหนึ่งคนก็มีโอกาสที่จะเปลี่ยนโค้ชไปเรื่อยๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการตามแผนของตัวเอง
ถ้าจำกันได้ ไทเกอร์เคยมีโค้ชสมัยเด็กๆ ก่อนที่จะหันมาดูวงกับ บุทช์ ฮาร์มอน หลังจากที่เขาได้พัฒนาจังหวะและกลไกการสวิงที่มีประสิทธิภาพได้อย่างเป็นที่น่าพอใจแล้ว ไทเกอร์ก็เริ่มมาทำงานกับ แฮงค์ ฮานีย์ ที่เน้นเรื่องระนาบสวิง การควบคุมความผิดพลาดให้น้อยลงและสวิงได้ผลงานสม่ำเสมอกว่าเดิม และ ฌอน โฟลีย์ โค้ชคนปัจจุบันก็กำลังต่อยอดและช่วยปรับให้ไทเกอร์รีดและบังคับลูกกอล์ฟให้บินไปในระดับต่างๆ ตามทิศทางที่เขาต้องการจะกำหนด
ถ้าดูดีๆ จะเห็นเลยว่าโค้ชแต่ละคนมีหน้าที่ในการช่วยไทเกอร์ให้ทำได้ในสิ่งที่เขาต้องการตามขั้นตอนเท่านั้นเอง โดยมีคำสอนของคุณพ่อ เอิร์ล วูดส์ เป็นที่ปรึกษาหลัก แต่โค้ชใหญ่และผู้กำหนดเส้นทางพัฒนาการวงสวิงจริงๆ แล้วคือตัวไทเกอร์เอง