คอลัมน์ “Final Quarter” โดย “ลุงแซม”
เปิดฉากอย่างเร้าใจสำหรับศึกอเมริกัน ฟุตบอล เอ็นเอฟแอล (NFL) ฤดูกาล 2012/13 ปรากฏว่า "แชมป์เก่า" นิวยอร์ก ไจแอนท์ส กับทีมเต็งจ๋าอย่าง กรีนเบย์ แพ็คเกอร์ส พลิกล็อกหัวทิ่มคารังด้วยน้ำมือ ดัลลัส คาวบอยส์ และซานฟรานซิสโก โฟร์ตีไนเนอร์ส ตามลำดับ ทั้งยังมีถึง 5 ทีมที่ทำแต้มถึงหลัก 40 ขณะที่ เพย์ตัน แมนนิง ทำเอากระแส "ทีโบว์ มาเนีย" ในเดนเวอร์ จางหายไม่เหลือควัน ระเบิดฟอร์มนำ "ม้าป่า" บรองโกส์ โขยก พิตต์สเบิร์ก สตีลเลอร์ส ชนิดสะใจแฟนๆ แต่ประเด็นที่ผู้เล่นจะหยิบยกมาแลกเปลี่ยนทรรศนะในคอลัมน์ตอนนี้คือ ผลงานของควอเตอร์แบ็ก "รุคกี้" ที่ได้สตาร์ทพร้อมกันมากสุดเป็นประวัติการณ์ 5 ราย
เริ่มที่ แอนดรูว์ ลัก "นัมเบอร์วัน ดราฟท์"เกมแรก็โดน ชิคาโก แบร์ส รับน้องอ่วม เกมนี้เห็นใจอดีตสตาร์สแตนฟอร์ดยิ่งนัก เนื่องจากแนว อินเดียนาโปลิส โคลต์ส ต้องรื้อกันใหม่ เจฟฟ์ แซทเทอร์เดย์ เซ็นเตอร์ตัวเก๋าโยกไปอยู่กับแพ็คเกอร์ส ขณะที่เครื่องมือในเกมบุกแยกไปคนละทิศละทาง โจเซป แอดดาย (รันนิงแบ็ก), ดัลลัส คลาร์ก (ปีกใน) หรือว่า ปิแอร์ การ์ซอง (ปีกนอก) ทำให้เป้าของ ลัก เหลือแค่ เรจจี เวย์น ซึ่งเกมแรกถือว่าจูนกันได้ดีทีเดียว (เวย์น รับไป 135 หลา) คอบี ฟลีเนอร์ ปีกในที่สนิทกันมาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย ประเดิมเยี่ยมรับ 82 หลา อย่างไรก็ดี ควอเตอร์แบ็กวัย 22 ปี ต้องใช้งาน โดนัลด์ บราวน์ ตัววิ่งสารพัดประโยชน์ให้เป็นนิสัย ส่วนอีกเรื่องที่ต้องติงคือ ลัก ต้องฝึกกำลังแขนมากกว่านี้ การบอมบ์ใน NFL ต้องขว้างเผื่อไว้ก่อน ขืนน้ำหนักขาดบ่อยๆ ตัวคุมปีกคู่แข่งลูบปากรอโฉบอยู่แล้ว ทว่าผลงานขว้าง 309 หลา 1 ทัชดาวน์ เสีย 3 อินเทอร์เซปต์ หนึ่งฟัมเบิลให้ทีมรับสุดแกร่ง ดังนั้น ลัก ต้องเรียนรู้อีกมาก ยังพอสอบซ่อมกันไหว
ส่วนที่สอบตกเห็นจะหนีไม่พ้น แบรนดอน วีเดน รุคกี้วัย 28 ปีของ คลีฟแลนด์ บราวน์ส ที่แข่งกันขว้างเสียอินเทอร์เซปต์กับ ไมเคิล วิค คนละ 4 หน เพียงแต่จอมทัพ ฟิลาเดลเฟีย อีเกิลส์ พอมีทีเด็ดเหลือบ้างขว้าง 2 สกอร์ ทัชดาวน์พลิกแซงเฮเกิดขึ้นปลายควอเตอร์สุดท้าย นี่ถือเป็นคุณสมบัติของยอดผู้เล่นที่ผิดพลาดอย่างไร เมื่อถึงช่วงเข้าด้ายเข้าเข็มต้องฝ่าไปให้ได้ ซึ่งดูเหมือนคุณสมบัตินี้หาไม่เจอในตัว วีเดน ที่ขว้างบอลสะเปะสะปะ คอมพลีทเพียง 12 จาก 35 ครั้ง ระยะ 118 หลา เรตติ้งการขว้าง 5.1 น่าเกลียดสิ้นดี แถมอินเทอร์เซปต์ที่เกิดขึ้นโดนคู่แข่งฉกง่ายๆ ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าไม่แม่นในแผนเอาเสียเลย เช่นเดียวกับแฟนๆ ไมอามี ดอลฟินส์ ต้องรอคอย แดน มาริโน คนใหม่แห่งแฟรนไชส์ต่อไป ในเมื่อ ไรอัน แทนเนฮิลล์ ควอเตอร์แบ็กแฟนสวย ผลงานไม่เอาอ่าว 3 อินเทอร์เซปต์ที่เสียให้ ฮุสตัน เท็กแซนส์ สองในนั้นเป็นการปักหลักในพ็อคเกตแต่ดันขว้างบอลโดนแนวแรกคู่แข่งปัดให้ลอยก่อนโฉบไปกินง่ายๆ เรื่องนี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับผู้เล่นที่สูง 6 ฟุต 4 นิ้ว งานนี้ โจ ฟิลบิน อดีตยอดโค้ชเกมบุกแพ็คเกอร์ส ซึ่งปัจจุบันได้โอกาสเป็นหัวหน้าโค้ช คงต้องปรึกษา ไมค์ เชอร์แมน ดีไซน์แผนการบุกให้เนียนขึ้น เรจจี บุช ต้องขยันใช้กันหน่อย มิเช่นนั้น แมตต์ มัวร์ อาจได้ลงมาคุมเกมแทนตั้งแต่กลางซีซัน
ด้าน รัสเซลล์ วิลสัน ถือว่าผลงานไม่เด่นแต่ก็ไม่ถึงกับเลวร้ายกับผลงานขว้าง 153 หลา หนึ่งทัชดาวน์ เสียหนึ่งอินเทอร์เซปต์ เกมบุกพ่าย อริโซนา คาร์ดินัลส์ 16-20 งานนี้ต้องรอดูกันต่อว่า พีท แคร์รอลล์ เฮดโค้ช ซีแอตเทิล ซีฮอว์คส ตัดสินใจถูกหรือไม่กับการให้ควอเตอร์แบ็กดราฟท์รอบ 3 ที่เด่นเพียงแค่เกมพรีซีซันลงนำทัพ แทนที่จะเป็น แมตต์ ฟลินน์ สำรองฝีมือฉกาจซึ่งอุตส่าห์ไปเซ็นจากแพ็คเกอร์ส ข้อดีของ วิลสัน คือพลังแขน แต่สิ่งที่ทำให้ผู้เล่นรายนี้เสียเปรียบคู่แข่งคือ การมีส่วนสูงเพียง 5 ฟุต 11 นิ้ว หรือ 180 เซนติเมตร ทำให้แนวต้องมูฟพ็อคเกต หรือไม่ วิลสัน ก็ต้องวิ่งออกข้างเพื่อหาปีกตัวว่าง ซึ่งถ้าไม่ว่องไวพอโอกาสเสี่ยงโดนแซ็คเต็มดอกสูงทีเดียว
มาถึงไฮไลท์สำคัญอย่าง โรเบิร์ต กริฟฟิน เดอะ เธิร์ด "นัมเบอร์ทูว์ ดราฟท์" ผลงานสุดบรรเจิดขว้างเข้าเป้า 19 จาก 26 ครั้ง ได้ระยะถึง 320 หลา 2 ทัชดาวน์ ไม่เสียเทิร์นโอเวอร์แม้แต่หนเดียว แถมวิ่งเอง 10 หนได้ตั้ง 42 หลา นี่คือคุณสมบัติจอมทัพที่ วอชิงตัน เรดสกินส์ ตามหามานาน และดูเหมือนการสร้างทีมแบบผันมาเป็นเน้นการดราฟท์ผู้เล่นจากมหาวิทยาลัยส่งผลดีต่อ "อินเดียนแดง" เมื่อรันนิงแบ็กดราฟท์รอบ 6 อย่าง อัลเฟรด มอร์ริส วิ่งเข้าตา ยิ่งเกมภาคพื้นดินติดเครื่อง งานของ "อาร์จีทรี" ย่อมง่ายขึ้น ทั้งนี้ต้องชมเชยจอมทัพวัย 22 ปีด้วย ดีกรี "ไฮส์แมน โทรฟี" ที่เลือกขว้างได้ฉลาด รอจนวินาทีสุดท้ายให้เป้าหมายว่างก่อนปล่อยบอล ดั่งเช่นขว้างในจังหวะโดนผู้เล่น นิวออร์ลีนส์ เซ็นต์ส ปรี่เข้าหา บอลเสียบเข้ามือ การ์ซอง วิ่งโกยเป็นสกอร์ 88 หลา ชัยชนะเหนือ ดรูว์ บรีส์ ถึงถิ่นนักบุญ 40-32 ยิ่งทวีความมั่นใจขึ้น จากนี้ต้องดูว่าระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาจะพิสูจน์คุณค่าในตัว กริฟฟิน เดอะ เธิร์ด ได้มากแค่ไหน
เปิดฉากอย่างเร้าใจสำหรับศึกอเมริกัน ฟุตบอล เอ็นเอฟแอล (NFL) ฤดูกาล 2012/13 ปรากฏว่า "แชมป์เก่า" นิวยอร์ก ไจแอนท์ส กับทีมเต็งจ๋าอย่าง กรีนเบย์ แพ็คเกอร์ส พลิกล็อกหัวทิ่มคารังด้วยน้ำมือ ดัลลัส คาวบอยส์ และซานฟรานซิสโก โฟร์ตีไนเนอร์ส ตามลำดับ ทั้งยังมีถึง 5 ทีมที่ทำแต้มถึงหลัก 40 ขณะที่ เพย์ตัน แมนนิง ทำเอากระแส "ทีโบว์ มาเนีย" ในเดนเวอร์ จางหายไม่เหลือควัน ระเบิดฟอร์มนำ "ม้าป่า" บรองโกส์ โขยก พิตต์สเบิร์ก สตีลเลอร์ส ชนิดสะใจแฟนๆ แต่ประเด็นที่ผู้เล่นจะหยิบยกมาแลกเปลี่ยนทรรศนะในคอลัมน์ตอนนี้คือ ผลงานของควอเตอร์แบ็ก "รุคกี้" ที่ได้สตาร์ทพร้อมกันมากสุดเป็นประวัติการณ์ 5 ราย
เริ่มที่ แอนดรูว์ ลัก "นัมเบอร์วัน ดราฟท์"เกมแรก็โดน ชิคาโก แบร์ส รับน้องอ่วม เกมนี้เห็นใจอดีตสตาร์สแตนฟอร์ดยิ่งนัก เนื่องจากแนว อินเดียนาโปลิส โคลต์ส ต้องรื้อกันใหม่ เจฟฟ์ แซทเทอร์เดย์ เซ็นเตอร์ตัวเก๋าโยกไปอยู่กับแพ็คเกอร์ส ขณะที่เครื่องมือในเกมบุกแยกไปคนละทิศละทาง โจเซป แอดดาย (รันนิงแบ็ก), ดัลลัส คลาร์ก (ปีกใน) หรือว่า ปิแอร์ การ์ซอง (ปีกนอก) ทำให้เป้าของ ลัก เหลือแค่ เรจจี เวย์น ซึ่งเกมแรกถือว่าจูนกันได้ดีทีเดียว (เวย์น รับไป 135 หลา) คอบี ฟลีเนอร์ ปีกในที่สนิทกันมาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย ประเดิมเยี่ยมรับ 82 หลา อย่างไรก็ดี ควอเตอร์แบ็กวัย 22 ปี ต้องใช้งาน โดนัลด์ บราวน์ ตัววิ่งสารพัดประโยชน์ให้เป็นนิสัย ส่วนอีกเรื่องที่ต้องติงคือ ลัก ต้องฝึกกำลังแขนมากกว่านี้ การบอมบ์ใน NFL ต้องขว้างเผื่อไว้ก่อน ขืนน้ำหนักขาดบ่อยๆ ตัวคุมปีกคู่แข่งลูบปากรอโฉบอยู่แล้ว ทว่าผลงานขว้าง 309 หลา 1 ทัชดาวน์ เสีย 3 อินเทอร์เซปต์ หนึ่งฟัมเบิลให้ทีมรับสุดแกร่ง ดังนั้น ลัก ต้องเรียนรู้อีกมาก ยังพอสอบซ่อมกันไหว
ส่วนที่สอบตกเห็นจะหนีไม่พ้น แบรนดอน วีเดน รุคกี้วัย 28 ปีของ คลีฟแลนด์ บราวน์ส ที่แข่งกันขว้างเสียอินเทอร์เซปต์กับ ไมเคิล วิค คนละ 4 หน เพียงแต่จอมทัพ ฟิลาเดลเฟีย อีเกิลส์ พอมีทีเด็ดเหลือบ้างขว้าง 2 สกอร์ ทัชดาวน์พลิกแซงเฮเกิดขึ้นปลายควอเตอร์สุดท้าย นี่ถือเป็นคุณสมบัติของยอดผู้เล่นที่ผิดพลาดอย่างไร เมื่อถึงช่วงเข้าด้ายเข้าเข็มต้องฝ่าไปให้ได้ ซึ่งดูเหมือนคุณสมบัตินี้หาไม่เจอในตัว วีเดน ที่ขว้างบอลสะเปะสะปะ คอมพลีทเพียง 12 จาก 35 ครั้ง ระยะ 118 หลา เรตติ้งการขว้าง 5.1 น่าเกลียดสิ้นดี แถมอินเทอร์เซปต์ที่เกิดขึ้นโดนคู่แข่งฉกง่ายๆ ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าไม่แม่นในแผนเอาเสียเลย เช่นเดียวกับแฟนๆ ไมอามี ดอลฟินส์ ต้องรอคอย แดน มาริโน คนใหม่แห่งแฟรนไชส์ต่อไป ในเมื่อ ไรอัน แทนเนฮิลล์ ควอเตอร์แบ็กแฟนสวย ผลงานไม่เอาอ่าว 3 อินเทอร์เซปต์ที่เสียให้ ฮุสตัน เท็กแซนส์ สองในนั้นเป็นการปักหลักในพ็อคเกตแต่ดันขว้างบอลโดนแนวแรกคู่แข่งปัดให้ลอยก่อนโฉบไปกินง่ายๆ เรื่องนี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับผู้เล่นที่สูง 6 ฟุต 4 นิ้ว งานนี้ โจ ฟิลบิน อดีตยอดโค้ชเกมบุกแพ็คเกอร์ส ซึ่งปัจจุบันได้โอกาสเป็นหัวหน้าโค้ช คงต้องปรึกษา ไมค์ เชอร์แมน ดีไซน์แผนการบุกให้เนียนขึ้น เรจจี บุช ต้องขยันใช้กันหน่อย มิเช่นนั้น แมตต์ มัวร์ อาจได้ลงมาคุมเกมแทนตั้งแต่กลางซีซัน
ด้าน รัสเซลล์ วิลสัน ถือว่าผลงานไม่เด่นแต่ก็ไม่ถึงกับเลวร้ายกับผลงานขว้าง 153 หลา หนึ่งทัชดาวน์ เสียหนึ่งอินเทอร์เซปต์ เกมบุกพ่าย อริโซนา คาร์ดินัลส์ 16-20 งานนี้ต้องรอดูกันต่อว่า พีท แคร์รอลล์ เฮดโค้ช ซีแอตเทิล ซีฮอว์คส ตัดสินใจถูกหรือไม่กับการให้ควอเตอร์แบ็กดราฟท์รอบ 3 ที่เด่นเพียงแค่เกมพรีซีซันลงนำทัพ แทนที่จะเป็น แมตต์ ฟลินน์ สำรองฝีมือฉกาจซึ่งอุตส่าห์ไปเซ็นจากแพ็คเกอร์ส ข้อดีของ วิลสัน คือพลังแขน แต่สิ่งที่ทำให้ผู้เล่นรายนี้เสียเปรียบคู่แข่งคือ การมีส่วนสูงเพียง 5 ฟุต 11 นิ้ว หรือ 180 เซนติเมตร ทำให้แนวต้องมูฟพ็อคเกต หรือไม่ วิลสัน ก็ต้องวิ่งออกข้างเพื่อหาปีกตัวว่าง ซึ่งถ้าไม่ว่องไวพอโอกาสเสี่ยงโดนแซ็คเต็มดอกสูงทีเดียว
มาถึงไฮไลท์สำคัญอย่าง โรเบิร์ต กริฟฟิน เดอะ เธิร์ด "นัมเบอร์ทูว์ ดราฟท์" ผลงานสุดบรรเจิดขว้างเข้าเป้า 19 จาก 26 ครั้ง ได้ระยะถึง 320 หลา 2 ทัชดาวน์ ไม่เสียเทิร์นโอเวอร์แม้แต่หนเดียว แถมวิ่งเอง 10 หนได้ตั้ง 42 หลา นี่คือคุณสมบัติจอมทัพที่ วอชิงตัน เรดสกินส์ ตามหามานาน และดูเหมือนการสร้างทีมแบบผันมาเป็นเน้นการดราฟท์ผู้เล่นจากมหาวิทยาลัยส่งผลดีต่อ "อินเดียนแดง" เมื่อรันนิงแบ็กดราฟท์รอบ 6 อย่าง อัลเฟรด มอร์ริส วิ่งเข้าตา ยิ่งเกมภาคพื้นดินติดเครื่อง งานของ "อาร์จีทรี" ย่อมง่ายขึ้น ทั้งนี้ต้องชมเชยจอมทัพวัย 22 ปีด้วย ดีกรี "ไฮส์แมน โทรฟี" ที่เลือกขว้างได้ฉลาด รอจนวินาทีสุดท้ายให้เป้าหมายว่างก่อนปล่อยบอล ดั่งเช่นขว้างในจังหวะโดนผู้เล่น นิวออร์ลีนส์ เซ็นต์ส ปรี่เข้าหา บอลเสียบเข้ามือ การ์ซอง วิ่งโกยเป็นสกอร์ 88 หลา ชัยชนะเหนือ ดรูว์ บรีส์ ถึงถิ่นนักบุญ 40-32 ยิ่งทวีความมั่นใจขึ้น จากนี้ต้องดูว่าระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาจะพิสูจน์คุณค่าในตัว กริฟฟิน เดอะ เธิร์ด ได้มากแค่ไหน