คอลัมน์ “สุดฟากสนาม” โดย “ธีรพัฒน์ อัครเศรณี”
“ยูโร 2012 ฉบับจอดำ” ไม่เพียงสร้างเรื่องให้ถกเถียงกันแต่เฉพาะในเมืองไทย ในเมืองนอกก็มีประเด็นที่ “แรง” ไม่แพ้กันครับ นั่นก็คือ เรื่อง “โกล์ ไลน์ เทคโนโลยี” ที่มีคำถามมานานว่า ถึงเวลาหรือยังที่จะนำมาใช้ในเกมลูกหนัง นอกจากนั้น ประเด็นนี้ยังถูก “ขาใหญ่” ในวงการฟุตบอลระดับโลกนำมาบลัฟฟ์กันอย่างดุเดือด
เหตุจากความผิดพลาดของไลน์แมนผู้มีหน้าที่จับจ้องมองเส้นประตูอย่าง วิคเตอร์ คาสเซีย ในนัดรอบแรกของฟุตบอลยูโรเที่ยวนี้ ระหว่าง ยูเครน กับ อังกฤษ เหมือนเป็นการฉีกหน้าเจ้าสำนักยุโรป อย่าง มิเชล พลาตินี ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่นาน เพิ่งจะออกมาคุยโวว่าระบบผู้ตัดสิน 5 คนของยูฟ่า มีความผิดพลาดน้อยมาก
แต่ขึ้นชื่อว่า มนุษย์ก็คือมนุษย์ละครับ ไม่ใช่เครื่องจักร ประสาทตาเราถูกสร้างให้มีความละเอียดอ่อนและเคลื่อนไหว ไม่ใช่แข็งทื่อ เพื่อจับจ้องอะไรอยู่ที่เดียว แถมต้องจับสังเกตวัตถุที่มาเร็วๆ ด้วย โอ๊ย เป็นใครก็มองไม่ทันหรอกครับ ดังนั้น จึงมักมีความผิดพลาดที่เขาเรียกว่า “Human Error” เกิดขึ้นอยู่เสมอกับการตัดสินกีฬาที่วัดการทำสกอร์ที่เส้นแบบนี้
เมื่อ ยูฟา เพลี่ยงพล้ำ เซปป์ แบล็ตเตอร์ ซึ่งเคยเป็นผู้นำในแนวคิด “ความผิดพลาด คือ เสน่ห์ของฟุตบอล” มาตลอด แต่เที่ยวนี้รีบแจ้นออกมาหาคะแนนเสียงทันที ว่า ถึงเวลาของโกล์ไลน์ หรือเทคโนโลยีที่เส้นประตูแล้ว “ฟีฟา” พร้อมที่จะนำวิทยาการนี้มาใช้ในเกมลูกหนังให้เร็วที่สุด อย่างช้าน่าจะภายในปลายปีนี้
อยากจะถามพี่เค้าจังว่า ทำไมเพิ่งจะคิดได้ ทีทัวร์นาเมนต์ที่ฟีฟาดูแลอย่าง ฟุตบอลโลก 2010 ลูกยิงของ แฟรงค์ แลมพาร์ด ข้ามเส้นธรณีโกล์เยอรมนี ไปเกือบวา ผู้ตัดสินไม่ให้ประตูเฉย ตอนนั้นไม่ทราบว่าพี่เซปป์แกไปอยู่ที่ไหน
ความผิดพลาดกรณี “โกสต์ โกล์” (Ghost Goal) เกิดขึ้นมานานหลายทศวรรษ คลาสสิกที่สุด และถูกกล่าวขานเป็นตำนานมาอีกหลายสิบปี ก็คือ ประตูของอังกฤษ ซึ่ง เจฟฟ์ เฮิร์สต์ ยิง เยอรมนี ในฟุตบอลโลกนัดชิงชนะเลิศปี 1966 โดยลูกนั้นไม่มีใครมั่นใจว่าบอลข้ามเส้นไปทั้งใบแล้วหรือยัง แต่ผู้ตัดสินกลับชี้ให้เป็นสกอร์ของทีม “สิงโตคำราม” ไม่น่าเชื่อว่าถึงเวลานี้ ค.ศ.2012 เราก็ยังต้องมาถกเถียงเรื่องเดิมกันอีก
ในวันที่กีฬาเทนนิสตัดสินใจนำ “ฮอล์คอายส์” มาช่วยในการตัดสินของ แชร์ อัมไพน์ นั้น ก็ไม่ได้มีคนเห็นด้วยกันไปทั้งหมดหรอกนะครับ เพราะมันไม่ใช่วิทยาการที่ทำให้มนุษย์ดูดีขึ้น แต่กลับทำให้คนบางกลุ่มดูแย่ลง เหมือนถูกจับผิดเช่นกรรมการหรือผู้กำกับเส้น (ผมชอบคำนี้จัง แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า ไลน์แมน ไม่ทราบว่ากำกับแล้วเส้นมันยอมทำตามบ้างรึเปล่า ฮ่า ฮ่า)
นักเทนนิสระดับโลกบางคนอย่าง โรเจอร์ เฟเดอร์เรอร์ แรกๆ ออกอาการต้านอยู่เหมือนกัน ไม่ยอมใช้สิทธิ “ขอดู” คนดูบางคนก็บ่นว่าเสียเวลา แต่ถึงเวลานี้ทุกคนยอมรับกันหมดสิ้นไม่มีปัญหาอะไรแล้ว เพราะในที่สุด “ความถูกต้อง” มันควรจะอยู่เหนือประเด็นอื่นใด
จะว่าไปแล้วนี่คือแนวโน้มความผิดพลาดที่เกิดต่อเนื่องในทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลใหญ่ๆ ช่วงหลัง เพราะวันนี้นักเตะแข็งแรงขึ้น สตั้ดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลูกฟุตบอลก็เบาและเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น มีเพียงผู้ตัดสินเท่านั้นที่ประสิทธิภาพไม่ต่างจากเดิม
จบ ยูโรเที่ยวนี้คงต้องถามใจทั้ง ยูฟ่า และฟีฟ่าหล่ะ ว่าโลกมันเปลี่ยนแปลงไปขนาดนี้แล้ว ถึงเวลา “โกล์ไลน์ เทคโนโลยี” รึยัง?
“ยูโร 2012 ฉบับจอดำ” ไม่เพียงสร้างเรื่องให้ถกเถียงกันแต่เฉพาะในเมืองไทย ในเมืองนอกก็มีประเด็นที่ “แรง” ไม่แพ้กันครับ นั่นก็คือ เรื่อง “โกล์ ไลน์ เทคโนโลยี” ที่มีคำถามมานานว่า ถึงเวลาหรือยังที่จะนำมาใช้ในเกมลูกหนัง นอกจากนั้น ประเด็นนี้ยังถูก “ขาใหญ่” ในวงการฟุตบอลระดับโลกนำมาบลัฟฟ์กันอย่างดุเดือด
เหตุจากความผิดพลาดของไลน์แมนผู้มีหน้าที่จับจ้องมองเส้นประตูอย่าง วิคเตอร์ คาสเซีย ในนัดรอบแรกของฟุตบอลยูโรเที่ยวนี้ ระหว่าง ยูเครน กับ อังกฤษ เหมือนเป็นการฉีกหน้าเจ้าสำนักยุโรป อย่าง มิเชล พลาตินี ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่นาน เพิ่งจะออกมาคุยโวว่าระบบผู้ตัดสิน 5 คนของยูฟ่า มีความผิดพลาดน้อยมาก
แต่ขึ้นชื่อว่า มนุษย์ก็คือมนุษย์ละครับ ไม่ใช่เครื่องจักร ประสาทตาเราถูกสร้างให้มีความละเอียดอ่อนและเคลื่อนไหว ไม่ใช่แข็งทื่อ เพื่อจับจ้องอะไรอยู่ที่เดียว แถมต้องจับสังเกตวัตถุที่มาเร็วๆ ด้วย โอ๊ย เป็นใครก็มองไม่ทันหรอกครับ ดังนั้น จึงมักมีความผิดพลาดที่เขาเรียกว่า “Human Error” เกิดขึ้นอยู่เสมอกับการตัดสินกีฬาที่วัดการทำสกอร์ที่เส้นแบบนี้
เมื่อ ยูฟา เพลี่ยงพล้ำ เซปป์ แบล็ตเตอร์ ซึ่งเคยเป็นผู้นำในแนวคิด “ความผิดพลาด คือ เสน่ห์ของฟุตบอล” มาตลอด แต่เที่ยวนี้รีบแจ้นออกมาหาคะแนนเสียงทันที ว่า ถึงเวลาของโกล์ไลน์ หรือเทคโนโลยีที่เส้นประตูแล้ว “ฟีฟา” พร้อมที่จะนำวิทยาการนี้มาใช้ในเกมลูกหนังให้เร็วที่สุด อย่างช้าน่าจะภายในปลายปีนี้
อยากจะถามพี่เค้าจังว่า ทำไมเพิ่งจะคิดได้ ทีทัวร์นาเมนต์ที่ฟีฟาดูแลอย่าง ฟุตบอลโลก 2010 ลูกยิงของ แฟรงค์ แลมพาร์ด ข้ามเส้นธรณีโกล์เยอรมนี ไปเกือบวา ผู้ตัดสินไม่ให้ประตูเฉย ตอนนั้นไม่ทราบว่าพี่เซปป์แกไปอยู่ที่ไหน
ความผิดพลาดกรณี “โกสต์ โกล์” (Ghost Goal) เกิดขึ้นมานานหลายทศวรรษ คลาสสิกที่สุด และถูกกล่าวขานเป็นตำนานมาอีกหลายสิบปี ก็คือ ประตูของอังกฤษ ซึ่ง เจฟฟ์ เฮิร์สต์ ยิง เยอรมนี ในฟุตบอลโลกนัดชิงชนะเลิศปี 1966 โดยลูกนั้นไม่มีใครมั่นใจว่าบอลข้ามเส้นไปทั้งใบแล้วหรือยัง แต่ผู้ตัดสินกลับชี้ให้เป็นสกอร์ของทีม “สิงโตคำราม” ไม่น่าเชื่อว่าถึงเวลานี้ ค.ศ.2012 เราก็ยังต้องมาถกเถียงเรื่องเดิมกันอีก
ในวันที่กีฬาเทนนิสตัดสินใจนำ “ฮอล์คอายส์” มาช่วยในการตัดสินของ แชร์ อัมไพน์ นั้น ก็ไม่ได้มีคนเห็นด้วยกันไปทั้งหมดหรอกนะครับ เพราะมันไม่ใช่วิทยาการที่ทำให้มนุษย์ดูดีขึ้น แต่กลับทำให้คนบางกลุ่มดูแย่ลง เหมือนถูกจับผิดเช่นกรรมการหรือผู้กำกับเส้น (ผมชอบคำนี้จัง แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า ไลน์แมน ไม่ทราบว่ากำกับแล้วเส้นมันยอมทำตามบ้างรึเปล่า ฮ่า ฮ่า)
นักเทนนิสระดับโลกบางคนอย่าง โรเจอร์ เฟเดอร์เรอร์ แรกๆ ออกอาการต้านอยู่เหมือนกัน ไม่ยอมใช้สิทธิ “ขอดู” คนดูบางคนก็บ่นว่าเสียเวลา แต่ถึงเวลานี้ทุกคนยอมรับกันหมดสิ้นไม่มีปัญหาอะไรแล้ว เพราะในที่สุด “ความถูกต้อง” มันควรจะอยู่เหนือประเด็นอื่นใด
จะว่าไปแล้วนี่คือแนวโน้มความผิดพลาดที่เกิดต่อเนื่องในทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลใหญ่ๆ ช่วงหลัง เพราะวันนี้นักเตะแข็งแรงขึ้น สตั้ดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลูกฟุตบอลก็เบาและเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น มีเพียงผู้ตัดสินเท่านั้นที่ประสิทธิภาพไม่ต่างจากเดิม
จบ ยูโรเที่ยวนี้คงต้องถามใจทั้ง ยูฟ่า และฟีฟ่าหล่ะ ว่าโลกมันเปลี่ยนแปลงไปขนาดนี้แล้ว ถึงเวลา “โกล์ไลน์ เทคโนโลยี” รึยัง?