คอลัมน์สุดฟากสนาม โดย ธีรพัฒน์ อัครเศรณี
สถานการณ์ในวงการฟุตบอลบ้านเราขณะนี้ รุ่มร้อนไม่แพ้อากาศช่วงหลังสงกรานต์ ในวันที่อุณหภูมิใกล้แตะ 40 องศาเซลเซียส เข้าไปทุกขณะ เหมือนธรรมชาติกำลังทดสอบความสามารถในการอยู่บนโลกใบนี้ของมนุษย์เรายังไงชอบกล
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการเผชิญหน้ากันครั้งสำคัญของ นายเนวิน ชิดชอบ เจ้าของทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด กับ นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เพื่อตั้งคำถามถึงความโปร่งใสในการบริหารงานของ นายวรวีร์ มะกูดี แบบตาต่อตาเป็นครั้งแรก แถมออกสื่อและสายตาประชาชนเสียด้วย
เจอมือซักฟอกที่ผ่านร้อนผ่านหนาวเวทีการเมืองมาอย่างช่ำชอง โชกโชน และ ชอกช้ำ (ในบางที) อย่าง “เนวิน” ออกอาวุธแบบออมๆ แค่ 70-80 เปอร์เซ็นต์ เพราะรู้ตัวดีว่าไม่ได้อยู่ในสภาฯ ปรากฏว่า นายกวรวีร์ ยังออกอาการให้เห็น แถมบรรดาองครักษ์พิทักษ์ “ยี” ยังไม่ยอมทำหน้าที่พิทักษ์ “ขุน” ในกระดาน ปล่อยให้โดนไล่ไปเรื่อย
ผมมองโลกในแง่ดี ว่า ปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่ทุกวันนี้ สำนวนฝรั่งเขาเรียกว่า “Good Problem” เกิดจากการ “บูม” ของไทยลีก จนทำให้กลายเป็นลีกที่เกิดมูลค่าขึ้นอย่างมหาศาล จากสมัยก่อนที่ไม่มีใครแล บางสนามคนดูน้อยกว่าผู้เล่นเสียด้วยซ้ำ จนทุกวันนี้ต้องมามีปัญหาเรื่อง “ลิขสิทธิ์” กัน ก็เพราะมีคนเห็นค่า หลังจากที่ สยามสปอร์ตฯ จับมือขายสิทธิให้กับทาง ทรูฯ ถ่ายทอดสดจนประสบความสำเร็จ หมดสัญญานี้มีค่ายอื่นอย่าง แกรมมี่ มาจองกฐินรอแล้ว
การเรียกร้องเรื่อง “ลีกสำรอง” ก็เหมือนกัน เมื่อลีกใหญ่ประสบความสำเร็จ ก็ย่อมมีคนอยากจะทำให้ได้อย่างมาตรฐานอินเตอร์ที่เขาทำกัน คือ ต้องมีลีกสำรองเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เล่นเยาวชน หรือผู้เล่นสำรองที่ไม่ค่อยได้ลงเล่นได้ลับฝีเท้า อาจจะไม่มีเกมเท่าทีมชุดใหญ่ หรือไม่จำเป็นต้องมีครบทุกทีมเหมือนในไทยพรีเมียร์ลีก
โลกของ “ไทยลีก” มันหมุนเร็วจนฝ่ายจัดการแข่งขันตามไม่ทัน หลายครั้งหลายหนที่มีปัญหา ทั้งเรื่องการบริหารจัดการ ความปลอดภัย โปรแกรมการแข่งขัน ผู้ตัดสิน ฯลฯ ยังไม่รวมประเด็นที่เกี่ยวข้องความโปร่งใสทางบัญชีของสมาคมด้วย หากนายกสมาคมยังไม่คิดปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารและบุคลากร รับรองว่าไปไม่รอด
เรื่อง “ลิขสิทธิ์” ก็เหมือนกัน จะไปอ้างตรรกะเดิมว่า สมัยก่อนไม่มีใครสนใจเลยยกให้เจ้าหนึ่งเขาทำไป พอเจริญขึ้นมาแล้วก็เลยจะต้องให้สัญญาลักษณะ “ผูกขาด” กันต่อไป ฟังดูแล้วมันคนละเรื่องเดียวกันยังไงชอบกล
ทำไมไม่เปิด “ประมูล” เสียให้โปร่งใส เซ็นสัญญาเพื่อคืนผลประโยชน์กลับมายังไทยลีกหรือสมาคม ให้เป็นเรื่องเป็นราว มากน้อยเท่าไหร่ก็ว่ากันไป คนเขาจะได้ไม่มาติฉินนินทาเอาได้
แล้ว “ประมูล” กันยังไง ก็มองไม่เห็นว่าจะมีค่ายไหนมีศักยภาพและความใกล้ชิดเท่า “สยามสปอร์ตฯ” เพียงแต่ทำให้มันสง่างามเสียเท่านั้น ดีกว่าบริษัทได้ไปฟรีๆ แต่สุดท้ายต้องมาเสียเวลาแก้ภาพพจน์อย่างที่ผ่านมา อนาคตใครจะอยากมายุ่งกับสมาคมฟุตบอลฯ
ลด “ทิฐิ” แล้วทำให้เหมือน “สากล” เขาทำกันเถิดครับ เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้กับคนรุ่นใหม่ได้เดินต่อไปด้วย
สถานการณ์ในวงการฟุตบอลบ้านเราขณะนี้ รุ่มร้อนไม่แพ้อากาศช่วงหลังสงกรานต์ ในวันที่อุณหภูมิใกล้แตะ 40 องศาเซลเซียส เข้าไปทุกขณะ เหมือนธรรมชาติกำลังทดสอบความสามารถในการอยู่บนโลกใบนี้ของมนุษย์เรายังไงชอบกล
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการเผชิญหน้ากันครั้งสำคัญของ นายเนวิน ชิดชอบ เจ้าของทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด กับ นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เพื่อตั้งคำถามถึงความโปร่งใสในการบริหารงานของ นายวรวีร์ มะกูดี แบบตาต่อตาเป็นครั้งแรก แถมออกสื่อและสายตาประชาชนเสียด้วย
เจอมือซักฟอกที่ผ่านร้อนผ่านหนาวเวทีการเมืองมาอย่างช่ำชอง โชกโชน และ ชอกช้ำ (ในบางที) อย่าง “เนวิน” ออกอาวุธแบบออมๆ แค่ 70-80 เปอร์เซ็นต์ เพราะรู้ตัวดีว่าไม่ได้อยู่ในสภาฯ ปรากฏว่า นายกวรวีร์ ยังออกอาการให้เห็น แถมบรรดาองครักษ์พิทักษ์ “ยี” ยังไม่ยอมทำหน้าที่พิทักษ์ “ขุน” ในกระดาน ปล่อยให้โดนไล่ไปเรื่อย
ผมมองโลกในแง่ดี ว่า ปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่ทุกวันนี้ สำนวนฝรั่งเขาเรียกว่า “Good Problem” เกิดจากการ “บูม” ของไทยลีก จนทำให้กลายเป็นลีกที่เกิดมูลค่าขึ้นอย่างมหาศาล จากสมัยก่อนที่ไม่มีใครแล บางสนามคนดูน้อยกว่าผู้เล่นเสียด้วยซ้ำ จนทุกวันนี้ต้องมามีปัญหาเรื่อง “ลิขสิทธิ์” กัน ก็เพราะมีคนเห็นค่า หลังจากที่ สยามสปอร์ตฯ จับมือขายสิทธิให้กับทาง ทรูฯ ถ่ายทอดสดจนประสบความสำเร็จ หมดสัญญานี้มีค่ายอื่นอย่าง แกรมมี่ มาจองกฐินรอแล้ว
การเรียกร้องเรื่อง “ลีกสำรอง” ก็เหมือนกัน เมื่อลีกใหญ่ประสบความสำเร็จ ก็ย่อมมีคนอยากจะทำให้ได้อย่างมาตรฐานอินเตอร์ที่เขาทำกัน คือ ต้องมีลีกสำรองเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เล่นเยาวชน หรือผู้เล่นสำรองที่ไม่ค่อยได้ลงเล่นได้ลับฝีเท้า อาจจะไม่มีเกมเท่าทีมชุดใหญ่ หรือไม่จำเป็นต้องมีครบทุกทีมเหมือนในไทยพรีเมียร์ลีก
โลกของ “ไทยลีก” มันหมุนเร็วจนฝ่ายจัดการแข่งขันตามไม่ทัน หลายครั้งหลายหนที่มีปัญหา ทั้งเรื่องการบริหารจัดการ ความปลอดภัย โปรแกรมการแข่งขัน ผู้ตัดสิน ฯลฯ ยังไม่รวมประเด็นที่เกี่ยวข้องความโปร่งใสทางบัญชีของสมาคมด้วย หากนายกสมาคมยังไม่คิดปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารและบุคลากร รับรองว่าไปไม่รอด
เรื่อง “ลิขสิทธิ์” ก็เหมือนกัน จะไปอ้างตรรกะเดิมว่า สมัยก่อนไม่มีใครสนใจเลยยกให้เจ้าหนึ่งเขาทำไป พอเจริญขึ้นมาแล้วก็เลยจะต้องให้สัญญาลักษณะ “ผูกขาด” กันต่อไป ฟังดูแล้วมันคนละเรื่องเดียวกันยังไงชอบกล
ทำไมไม่เปิด “ประมูล” เสียให้โปร่งใส เซ็นสัญญาเพื่อคืนผลประโยชน์กลับมายังไทยลีกหรือสมาคม ให้เป็นเรื่องเป็นราว มากน้อยเท่าไหร่ก็ว่ากันไป คนเขาจะได้ไม่มาติฉินนินทาเอาได้
แล้ว “ประมูล” กันยังไง ก็มองไม่เห็นว่าจะมีค่ายไหนมีศักยภาพและความใกล้ชิดเท่า “สยามสปอร์ตฯ” เพียงแต่ทำให้มันสง่างามเสียเท่านั้น ดีกว่าบริษัทได้ไปฟรีๆ แต่สุดท้ายต้องมาเสียเวลาแก้ภาพพจน์อย่างที่ผ่านมา อนาคตใครจะอยากมายุ่งกับสมาคมฟุตบอลฯ
ลด “ทิฐิ” แล้วทำให้เหมือน “สากล” เขาทำกันเถิดครับ เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้กับคนรุ่นใหม่ได้เดินต่อไปด้วย