คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
เมื่อเป็นองค์กรที่มีอำนาจควบคุม กุมกิจกรรมฟุตบอลอันเป็นกีฬายอดฮิตจากทั่วโลกมาอยู่ในมือ พร้อมๆกับความเจริญพัฒนาของโลก โดยเฉพาะทางด้านเท็คนอลลอจี้ที่ส่งเสริมให้ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า สามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล มันก็ต้องมีคนเห็นโอกาสในการทำเงินเข้ากระเป๋าของตัวเองโดยมิชอบเสมอมา แต่สิ่งที่พวกเขากระทำนั้นไม่อาจรอดหูรอดตาชาวโลกไปได้ แม้จะต้องใช้เวลาร่วม 2 ทศวรรษจึงจะสามารถฉีกหน้ากากคนโกงให้ยอมหมอบอย่างแน่นิ่ง ไม่ทำตนเย่อหยิ่งอย่างองอาจอยู่บนเวทีอีกต่อไป
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา จเวา อาเวลั้นช์ ( Joao Havelange ) อดีตประธาน ฟีฟ่า วัย 95 ปี ชาวบราซิว ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งใน คณะกรรมการโอลิมพิคสากล ( International Olympic Committee - IOC ) แล้ว เพื่อหลบเลี่ยงการเข้าพบคณะกรรมาธิการที่ทำการสอบสวนกรณีการทุจริตในวงการฟุตบอลที่ตนมีเอี่ยวอย่างเต็มๆเพียง 3 วันก่อนถึงกำหนด
ความจริงพ่อแม่ของเขาเป็นชาวเบลเจี่ยม แต่ได้ตัดสินใจโยกย้ายมาตั้งรกราก เริ่มชีวิตใหม่ที่ประเทศบราซิว จเวา เรียนจบทางด้านกฎหมายและประกอบอาชีพเป็นทนายความตั้งแต่ปี 1936 ขณะเดียวกันก็เล่นกีฬาด้วย ทั้งว่ายน้ำและโปโลน้ำ เขาเคยเข้าร่วมแข่ง โอลิมพิค เกมส์ ปี 1936 ที่กรุงแบร์ลิน ในฐานะนักกีฬาว่ายน้ำของ บราซิว และในปี 1952 ที่กรุงเฮลซิงกิ ในฐานะนักโปโลน้ำ
ต่อจากนั้นเขาก็เริ่มเขยิบฐานะมาเป็นฝ่ายบริหารในองค์กรกีฬา เริ่มต้นด้วยการเป็นกรรมการในคณะกรรมการโอลิมพิคแห่งประเทศบราซิว ในปี 1955 อีก 3 ปีต่อมาได้ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์กีฬาแห่งชาติ อันนี้ควบคุม ดูแลกีฬาหลายชนิด รวมทั้งฟุตบอลด้วย ซึ่งต่อมา สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งประเทศบราซิว ( Brazilian Football Confederation - CBF ) เพิ่งจะแยกตัวออกมาเป็นอิสระในปี 1979 นี่เอง จเวา ก้าวขึ้นเป็นประธาน ฟีฟ่า ตั้งแต่ปี 1974 ก่อนที่จะยอมลงจากตำแหน่งในปี 1998 ปล่อยให้ โชเซ็ฟ บลั๊ทเท่อร์ เลขาธิการของเขาขึ้นมาสง้อมตำแหน่งใหญ่บ้าง แต่สำหรับ IOC นั้น จเวา เข้าไปนั่งเจ๋ออยู่ตั้งแต่ปี 1963 นับถึงปีนี้ก็เกือบครบครึ่งศตวรรษแล้วครับ
พูดถึงความเปลี่ยนแปลงในวงการฟุตบอลของโลกที่นับเป็นฝีมือของ จเวา ในระหว่างดำรงตำแหน่งผู้นำ 24 ปีนั้น มีมากเหลือเกิน เช่น นำสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกสู่ทวีปอเมริกาเหนือคือ สหรัฐอเมริกา ปี 1994 ก่อกำเนิดการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง ฟุตบอลเยาวชนโลก U-17 และ U-20 ฟุตบอลชิงแช้มป์ระหว่างทวีปต่างๆ ( FIFA Confederations Cup ) รางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของ ฟีฟ่า เพิ่มจำนวนทีมในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายจาก 16 ทีมในปี 1974 มาเป็น 32 ทีม เป็นการเพิ่มโอกาสให้ทีมจากทวีปอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น รวมทั้ง การผลักดันฟุตซอลให้เป็นที่นิยมไปทั่วโลกด้วย
แม้ว่าจะเป็นกรณีทุจริตในวงการฟุตบอล แต่ IOC ก็ต้องเข้ามาตรวจสอบ เพราะดันมีกรรมการในองค์กรเข้าไปเกี่ยวพันถึง 3 คน นั่นคือ อิ๊สซ่า อายาตู ( Issa Hayatou ) ประธานสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งทวีปอัฟริกา ชาวกาเมอรูน ลามีน ดิอั๊ค ( Lamine Diack ) ประธานสหพันธ์กรีฑานานาชาติ ชาวเซเนกัล และ จเวา อาเวลั้นช์ โดยทาง IOC ได้มอบหมายให้คณะกรรมการด้านจริยธรรมเข้ามาตรวจสอบเป็นปีแล้วเนื่องจากมีสารคดีแสดงความไม่ชอบมาพากลนี้ออกอากาศทางโทรทัศน์ช่อง บีบีซี ของอังกฤษเกี่ยวกับการรับเงินใต้โต๊ะจาก ISL บริษัทที่เข้ามาดูแลการตลาดให้ ฟีฟ่า เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก
บีบีซี บอกว่า ตอนนั้น จเวา รับเงินใต้โต๊ะไป 1 ล้าน ยูเอส ดอลเล่อร์ส หรือประมาณ 30 ล้านบาทจากการเอื้อประโยชน์ดังกล่าวให้ ISL ซึ่งในปัจจุบันไม่มีตัวตน เพราะล้มละลายหายสาบสูญไปตั้งแต่ปี 2001
แม้ว่าจะอยู่ในขั้นสงสัยว่าทุจริต แต่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา จเวา อาเวลั้นช์ ได้ชิงประกาศลาออกจากตำแหน่งกรรมการใน IOC ทำให้การดำเนินการกับตัวเขายุติโดยปริยาย ส่งผลให้หลุดรอดจากการถูกลงโทษทางวินัยไปได้ แต่บัดนี้ชาวโลกได้รับรู้แล้วว่า เกียรติประวัติ คุณงามความดีที่สั่งสมมายาวนานถึง 48 ปีใน คณะกรรมการโอลิมพิคสากล รวมถึงองค์กรอื่นๆในวงการกีฬา เอาเป็นว่าทุกสิ่งอันในชีวิตของหมอนี่บัดนี้ถูกเปิดเผยแล้วว่า มันเน่าไปหมด รายต่อไป กำลังตามมาครับ
เมื่อเป็นองค์กรที่มีอำนาจควบคุม กุมกิจกรรมฟุตบอลอันเป็นกีฬายอดฮิตจากทั่วโลกมาอยู่ในมือ พร้อมๆกับความเจริญพัฒนาของโลก โดยเฉพาะทางด้านเท็คนอลลอจี้ที่ส่งเสริมให้ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า สามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล มันก็ต้องมีคนเห็นโอกาสในการทำเงินเข้ากระเป๋าของตัวเองโดยมิชอบเสมอมา แต่สิ่งที่พวกเขากระทำนั้นไม่อาจรอดหูรอดตาชาวโลกไปได้ แม้จะต้องใช้เวลาร่วม 2 ทศวรรษจึงจะสามารถฉีกหน้ากากคนโกงให้ยอมหมอบอย่างแน่นิ่ง ไม่ทำตนเย่อหยิ่งอย่างองอาจอยู่บนเวทีอีกต่อไป
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา จเวา อาเวลั้นช์ ( Joao Havelange ) อดีตประธาน ฟีฟ่า วัย 95 ปี ชาวบราซิว ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งใน คณะกรรมการโอลิมพิคสากล ( International Olympic Committee - IOC ) แล้ว เพื่อหลบเลี่ยงการเข้าพบคณะกรรมาธิการที่ทำการสอบสวนกรณีการทุจริตในวงการฟุตบอลที่ตนมีเอี่ยวอย่างเต็มๆเพียง 3 วันก่อนถึงกำหนด
ความจริงพ่อแม่ของเขาเป็นชาวเบลเจี่ยม แต่ได้ตัดสินใจโยกย้ายมาตั้งรกราก เริ่มชีวิตใหม่ที่ประเทศบราซิว จเวา เรียนจบทางด้านกฎหมายและประกอบอาชีพเป็นทนายความตั้งแต่ปี 1936 ขณะเดียวกันก็เล่นกีฬาด้วย ทั้งว่ายน้ำและโปโลน้ำ เขาเคยเข้าร่วมแข่ง โอลิมพิค เกมส์ ปี 1936 ที่กรุงแบร์ลิน ในฐานะนักกีฬาว่ายน้ำของ บราซิว และในปี 1952 ที่กรุงเฮลซิงกิ ในฐานะนักโปโลน้ำ
ต่อจากนั้นเขาก็เริ่มเขยิบฐานะมาเป็นฝ่ายบริหารในองค์กรกีฬา เริ่มต้นด้วยการเป็นกรรมการในคณะกรรมการโอลิมพิคแห่งประเทศบราซิว ในปี 1955 อีก 3 ปีต่อมาได้ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์กีฬาแห่งชาติ อันนี้ควบคุม ดูแลกีฬาหลายชนิด รวมทั้งฟุตบอลด้วย ซึ่งต่อมา สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งประเทศบราซิว ( Brazilian Football Confederation - CBF ) เพิ่งจะแยกตัวออกมาเป็นอิสระในปี 1979 นี่เอง จเวา ก้าวขึ้นเป็นประธาน ฟีฟ่า ตั้งแต่ปี 1974 ก่อนที่จะยอมลงจากตำแหน่งในปี 1998 ปล่อยให้ โชเซ็ฟ บลั๊ทเท่อร์ เลขาธิการของเขาขึ้นมาสง้อมตำแหน่งใหญ่บ้าง แต่สำหรับ IOC นั้น จเวา เข้าไปนั่งเจ๋ออยู่ตั้งแต่ปี 1963 นับถึงปีนี้ก็เกือบครบครึ่งศตวรรษแล้วครับ
พูดถึงความเปลี่ยนแปลงในวงการฟุตบอลของโลกที่นับเป็นฝีมือของ จเวา ในระหว่างดำรงตำแหน่งผู้นำ 24 ปีนั้น มีมากเหลือเกิน เช่น นำสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกสู่ทวีปอเมริกาเหนือคือ สหรัฐอเมริกา ปี 1994 ก่อกำเนิดการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง ฟุตบอลเยาวชนโลก U-17 และ U-20 ฟุตบอลชิงแช้มป์ระหว่างทวีปต่างๆ ( FIFA Confederations Cup ) รางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของ ฟีฟ่า เพิ่มจำนวนทีมในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายจาก 16 ทีมในปี 1974 มาเป็น 32 ทีม เป็นการเพิ่มโอกาสให้ทีมจากทวีปอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น รวมทั้ง การผลักดันฟุตซอลให้เป็นที่นิยมไปทั่วโลกด้วย
แม้ว่าจะเป็นกรณีทุจริตในวงการฟุตบอล แต่ IOC ก็ต้องเข้ามาตรวจสอบ เพราะดันมีกรรมการในองค์กรเข้าไปเกี่ยวพันถึง 3 คน นั่นคือ อิ๊สซ่า อายาตู ( Issa Hayatou ) ประธานสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งทวีปอัฟริกา ชาวกาเมอรูน ลามีน ดิอั๊ค ( Lamine Diack ) ประธานสหพันธ์กรีฑานานาชาติ ชาวเซเนกัล และ จเวา อาเวลั้นช์ โดยทาง IOC ได้มอบหมายให้คณะกรรมการด้านจริยธรรมเข้ามาตรวจสอบเป็นปีแล้วเนื่องจากมีสารคดีแสดงความไม่ชอบมาพากลนี้ออกอากาศทางโทรทัศน์ช่อง บีบีซี ของอังกฤษเกี่ยวกับการรับเงินใต้โต๊ะจาก ISL บริษัทที่เข้ามาดูแลการตลาดให้ ฟีฟ่า เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก
บีบีซี บอกว่า ตอนนั้น จเวา รับเงินใต้โต๊ะไป 1 ล้าน ยูเอส ดอลเล่อร์ส หรือประมาณ 30 ล้านบาทจากการเอื้อประโยชน์ดังกล่าวให้ ISL ซึ่งในปัจจุบันไม่มีตัวตน เพราะล้มละลายหายสาบสูญไปตั้งแต่ปี 2001
แม้ว่าจะอยู่ในขั้นสงสัยว่าทุจริต แต่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา จเวา อาเวลั้นช์ ได้ชิงประกาศลาออกจากตำแหน่งกรรมการใน IOC ทำให้การดำเนินการกับตัวเขายุติโดยปริยาย ส่งผลให้หลุดรอดจากการถูกลงโทษทางวินัยไปได้ แต่บัดนี้ชาวโลกได้รับรู้แล้วว่า เกียรติประวัติ คุณงามความดีที่สั่งสมมายาวนานถึง 48 ปีใน คณะกรรมการโอลิมพิคสากล รวมถึงองค์กรอื่นๆในวงการกีฬา เอาเป็นว่าทุกสิ่งอันในชีวิตของหมอนี่บัดนี้ถูกเปิดเผยแล้วว่า มันเน่าไปหมด รายต่อไป กำลังตามมาครับ