เซปป์ แบลตเตอร์ ประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) รีบออกตัวว่าตนไม่รู้ว่าคณะกรรมการบริหารรายใดเป็น “เทวา” หรือ “ซาตาน” หลังจาก ลอร์ด เดวิด ทรีสแมน เปิดเผยว่ามีฟีฟ่าเมมเบอร์ 4 รายฮั้วกับอังกฤษ เพื่อขอรับผลประโยชน์แลกกับการยกคะแนนโหวตเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 ให้
ภายหลังจากอดีตประธานสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (เอฟเอ) เข้าชี้แจงต่อรัฐสภาของสหราชอาณาจักรเมื่อวันอังคารที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา ถึงเหตุผลที่อังกฤษล้มเหลวในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 ซึ่งเป็นรัสเซียที่ได้รับหน้าเสื่อ ทำให้เรื่องการคอร์รัปชันของบอร์ดบริหารฟีฟ่า 4 ราย ประกอบด้วย แจ็ก วอร์เนอร์ รองประธานฟีฟ่าชาวตรินิแดดแอนด์โตเบโก, นิโคลัส เลออซ จากปารากวัย, ริคาร์โด เตเซรา จากบราซิล และ “บังยี” วรวีร์ มะกูดี รักษาการนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ปูดออกมาจนกลายเป็นข่าวใหญ่ตามสื่อชั้นนำทั่วโลก
ทันทีที่ทราบเรื่อง แบลตเตอร์ วัย 75 ปีที่เตรียมลงสมัครเลือกตั้งชิงเก้าอี้ประธานฟีฟ่าสมัยที่ 4 ในการประชุมสมัชชาใหญ่ ครั้งที่ 61 ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ ณ สำนักงานใหญ่ฟีฟ่า ในนครซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก็ออกมากล่าวว่า “ผมเป็นประธาน (ฟีฟ่า) และผมก็มีจริยธรรมของผมเอง ซึ่งผมตอบได้แค่เรื่องของตัวเองเท่านั้น ไม่สามารถตอบแทนสมาชิกในคณะกรรมการบริหารได้พวกเขาไม่ได้ถูกเลือกมาโดยสภากรรมการชุดเดียวกันกับที่ผมได้รับการเลือกตั้ง แต่มาจากทั่วทุกสารทิศ ดังนั้น ผมจึงบอกไม่ได้ว่าในบรรดาพวกเขาทั้งหมด ใครบ้างที่เป็นเทวดาหรือเป็นซาตาน”
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารฟีฟ่าประกอบด้วยสมาชิก 24 ราย แต่ในรายของ อามอส อดามู และ เรย์นัลด์ เตมารี สองบอร์ดฟีฟ่าฉาวที่พัวพันการคอร์รัปชันขายเสียงโหวตเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 เมื่อปลายปีที่แล้วถูกสั่งแบน โดย อดามู โดนห้ามยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมในวงการลูกหนังโลกเป็นเวลา 3 ปี และปรับเงินอีก 10,000 ฟรังก์สวิส (ประมาณ 300,000 บาท) ขณะที่ เตมารี โดนลงโทษเป็นเวลา 1 ปีและถูกปรับเงิน 5,000 ฟรังก์สวิส (ประมาณ 150,000 บาท) หลังจาก “ซันเดย์ ไทม์” สื่อเมืองผู้ดีเปิดโปงว่าเรียกร้องเงินจากประเทศผู้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และ 2022
ด้าน แบลตเตอร์ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงการตรวจสอบกรณีอื้อฉาวล่าสุดว่า “นี่เป็นข้อมูลใหม่ที่ได้รับการเปิดเผย ซึ่งคงต้องให้เวลากับเราในการรวบรวมหลักฐานและเริ่มลงมือสืบสวนเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกกล่าวถึง และผมขอย้ำว่าหากเรามีหลักฐานที่ชัดเจนก็จะดำเนินการลงโทษขั้นเด็ดขาดทันที แต่ตัวผมเองตกใจมากหลังจากได้ทราบข่าวนี้”
ภายหลังจากอดีตประธานสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (เอฟเอ) เข้าชี้แจงต่อรัฐสภาของสหราชอาณาจักรเมื่อวันอังคารที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา ถึงเหตุผลที่อังกฤษล้มเหลวในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 ซึ่งเป็นรัสเซียที่ได้รับหน้าเสื่อ ทำให้เรื่องการคอร์รัปชันของบอร์ดบริหารฟีฟ่า 4 ราย ประกอบด้วย แจ็ก วอร์เนอร์ รองประธานฟีฟ่าชาวตรินิแดดแอนด์โตเบโก, นิโคลัส เลออซ จากปารากวัย, ริคาร์โด เตเซรา จากบราซิล และ “บังยี” วรวีร์ มะกูดี รักษาการนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ปูดออกมาจนกลายเป็นข่าวใหญ่ตามสื่อชั้นนำทั่วโลก
ทันทีที่ทราบเรื่อง แบลตเตอร์ วัย 75 ปีที่เตรียมลงสมัครเลือกตั้งชิงเก้าอี้ประธานฟีฟ่าสมัยที่ 4 ในการประชุมสมัชชาใหญ่ ครั้งที่ 61 ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ ณ สำนักงานใหญ่ฟีฟ่า ในนครซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก็ออกมากล่าวว่า “ผมเป็นประธาน (ฟีฟ่า) และผมก็มีจริยธรรมของผมเอง ซึ่งผมตอบได้แค่เรื่องของตัวเองเท่านั้น ไม่สามารถตอบแทนสมาชิกในคณะกรรมการบริหารได้พวกเขาไม่ได้ถูกเลือกมาโดยสภากรรมการชุดเดียวกันกับที่ผมได้รับการเลือกตั้ง แต่มาจากทั่วทุกสารทิศ ดังนั้น ผมจึงบอกไม่ได้ว่าในบรรดาพวกเขาทั้งหมด ใครบ้างที่เป็นเทวดาหรือเป็นซาตาน”
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารฟีฟ่าประกอบด้วยสมาชิก 24 ราย แต่ในรายของ อามอส อดามู และ เรย์นัลด์ เตมารี สองบอร์ดฟีฟ่าฉาวที่พัวพันการคอร์รัปชันขายเสียงโหวตเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 เมื่อปลายปีที่แล้วถูกสั่งแบน โดย อดามู โดนห้ามยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมในวงการลูกหนังโลกเป็นเวลา 3 ปี และปรับเงินอีก 10,000 ฟรังก์สวิส (ประมาณ 300,000 บาท) ขณะที่ เตมารี โดนลงโทษเป็นเวลา 1 ปีและถูกปรับเงิน 5,000 ฟรังก์สวิส (ประมาณ 150,000 บาท) หลังจาก “ซันเดย์ ไทม์” สื่อเมืองผู้ดีเปิดโปงว่าเรียกร้องเงินจากประเทศผู้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และ 2022
ด้าน แบลตเตอร์ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงการตรวจสอบกรณีอื้อฉาวล่าสุดว่า “นี่เป็นข้อมูลใหม่ที่ได้รับการเปิดเผย ซึ่งคงต้องให้เวลากับเราในการรวบรวมหลักฐานและเริ่มลงมือสืบสวนเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกกล่าวถึง และผมขอย้ำว่าหากเรามีหลักฐานที่ชัดเจนก็จะดำเนินการลงโทษขั้นเด็ดขาดทันที แต่ตัวผมเองตกใจมากหลังจากได้ทราบข่าวนี้”