คอลัมน์ Final Quarter โดย ลุงแซม
หากพูดว่า "ไมอามี ฮีท" ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแชมป์ศึกบาสเกตบอล เอ็นบีเอ (NBA) แบบปัจจุบันทันด่วน เฟรนไชส์อย่าง "โอกลาโฮมา ซิตี ธันเดอร์" ก็น่าจะเรียกว่าเป็นทีมที่รังสรรค์สร้างเพื่อเป็นแชมป์ในอนาคต ซึ่งอาจไม่ไกลเกินฝัน
ตั้งแต่กลุ่มนักลงทุนจากโอกลาโฮมา ซิตี ซึ่งนำโดย เคลย์ เบนเนตต์ ทุ่มเงินซื้อเฟรนไส์ ซีแอตเทิล ซูเปอร์โซนิกส์ ในปี 2006 ให้หลังอีกสองปี เบนเนตต์ ก็พาทีมโยกมาปักหลักยังโอกลาโฮมา และก็เปลี่ยนชื่อเป็น "ธันเดอร์" แต่เรายังคงเห็นสาวกพันธุ์แท้สวมยูนิฟอร์ม "โซนิกส์" ตามเชียร์ทีมดั่งเช่นเกม 3 ที่บุกอัด เดนเวอร์ นักเก็ตส์ ถึงเป๊ปซี่ เซ็นเตอร์ 97-94 คะแนน ซึ่งแฟนๆ ยัดห่วง NBA สมหวังเสียที เมื่อเคเบิลทีวีเจ้าใหญ่ของเมืองไทยคว้าลิขสิทธิมากำนัลแด่สมาชิก เรียกว่ามาช้าดีกว่าไม่มา ผู้เขียนจึงไม่พลาดเกาะติดสถานการณ์อยู่หน้าจอแก้ว เพราะว่ากันตามจริงโอกาสได้เห็นฟอร์ม ธันเดอร์ แบบเต็มๆ 4 ควอเตอร์นั้นหายากยิ่งนัก สืบเนื่องจาก ธันเดอร์ ผลงานยังเต๊าะแต๊ะต่อเนื่องจากยุค ซูเปอร์โซนิกส์
อย่างไรก็ดี เฟรนไชส์เริ่มเห็นแสงสว่างไกลๆ ตรงปลายถ้ำ เมื่อใช้สิทธิดราฟท์อันดับ 2 ของปี 2007 เลือกฟอร์เวิร์ดสูงเพรียวจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส นามว่า "เควิน ดูแรนท์" เข้ามา แม้ออกตัวตะกุกตะกักอยู่บ้างในปีรุคกี้ แต่ให้หลังอีกแค่ 2 ปี ดาวรุ่งทีมชาติสหรัฐอเมริกาก็พา ธันเดอร์ ผงาดคว้าแชมป์กลุ่มนอร์ธเวสต์ ดิวิชัน เข้าเพลย์ออฟเป็นปีที่สองติดต่อกัน โดยซีซัน 2010/11 ทำท่าจะเข้าสู่รอบสองสำเร็จ จากการขึ้นนำ เดนเวอร์ นักเก็ตส์ 3-1 เกม จะว่าไปแฟนๆ อาจฝันไปถึงการผ่านเข้าสู่รอบชิงแชมป์สายตะวันตก เมื่อโชคเข้าข้าง เมมฟิส กริซลีย์ส ทีมอันดับ 8 กำลังจะพลิกล็อกเขี่ย ซานอันโตนิโอ สเปอร์ส ตกรอบแรกจากการขึ้นแท่นเช่นกัน ซึ่งหากทั้งสองทีมได้ไปตัดเชือกกันทางฟากเวสต์เทิร์น คอนเฟอเรนซ์ ธันเดอร์ ทีมอันดับ 4 จะได้สิทธิเล่นในบ้านมากกว่า 1 เกม ในซีรีส์ชนะ 4 จาก 7 เกม ถึงขั้นนั้น สกอตต์ บรูกส์ ดีกรีโค้ชยอดเยี่ยมแห่งปี 2010 คงให้ลูกทีมโฟกัสกับปัจจุบัน อย่าเพิ่งมองไปถึงการชน "แชมป์เก่า" แอลเอ เลเกอร์ส หรือ ดัลลัส แมฟเวอร์ริกส์
แม้ผู้เขียนไม่ได้เป็นแฟนตัวยงของ ธันเดอร์ แต่ก็อดมองการณ์ไกลถึง "แลร์รี โอไบรอัน" ไปไม่ได้ เหตุผลแรกคือ เฟรนไชส์แห่งนี้มีซูเปอร์สตาร์อย่าง ดูแรนท์ ที่สามารถฝากผีฝากไข้ได้ อายุอานามเพียง 22 ปี ทว่า ดูแรนท์ ถือเป็นตัวท็อปการทำคะแนนของลีกช่วง 2 ปีมานี้ เมื่อเข้าสู่เพลย์ออฟ 2010/11 ก็เฉลี่ย 30.3 แต้มต่อเกม สถิติเป็นรองแค่ "ซูเปอร์แมน" ดไวท์ ฮาวเวิร์ด เซ็นเตอร์จอมแกร่งของ ออร์แลนโด แมจิก เท่านั้น อีกทั้งเมื่อหันซ้ายแลขวา ดูแรนท์ ไม่เดียวดาย เมื่อ รัสเซลล์ เวสต์บรูก ถือเป็นการ์ดคู่ใจที่ช่วยแบกทีมมาด้วยกัน "แอร์ คองโก" เซอร์เก อิบากา ผลงานดีขึ้นเป็นลำดับ เจมส์ ฮาร์เดน กล้าที่จะเล่นเมื่อได้โอกาส การมาของ เคนดริก เพอร์กินส์ เซ็นเตอร์ที่โดดเด่นเรื่องเกมรับและมีประสบการณ์แชมป์กับ บอสตัน เซลติกส์ มาแล้ว ทำให้แฟนๆ ลืมชื่อ เจฟฟ์ กรีน ในบัดดล ตรงนี้คงต้องให้เครดิต แซม เพรสติ ผู้จัดการทั่วไปที่แต่งทัพจน ธันเดอร์ แข็งแกร่งมีสมดุลภายในทีมขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบัน ธันเดอร์ เป็นเพียงหนึ่งเดียวจากทั้งหมด 16 ทีมในโพสต์ซีซันที่ทำเฉลี่ยหลักร้อย (102.8 แต้ม) นั่นหมายความว่าคู่แข่งต้องทำได้มากกว่าถึงจะล้ม ธันเดอร์ ลงได้ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นสถิติที่เก็บเฉพาะ 4 เกมแรกในการเจอกับ นักเก็ตส์ ซึ่งหลายท่านคงทราบดีว่า นักเก็ตส์ เป็นบาสฯ ประเภทแลกหมัด เกมป้องกันแทบไม่มี จึงไม่น่าแปลกใจกับตัวเลขข้างต้น ดังนั้นเส้นทางข้างหน้าถือเป็นบทพิสูจน์สำหรับการก้าวกระโดดไปถึงแชมป์ แม้วันนี้ยังเต็มไปด้วยขวากหนามขวางหน้า เพราะนอกจาก เลเกอร์ส กับ แมฟเวอร์ริกส์ ฟากตะวันออกมีทั้ง ชิคาโก บูลส์, ไมอามี ฮีท หรือว่า บอสตัน เซลติกส์ ยืนจังก้ารอประชัน
แต่ไม่รู้สิ ผู้เขียนเริ่มจะมีความเชื่อในทีมธันเดอร์ เชื่อในฝีมือการดูตัวผู้เล่นของ เพรสติ ถ้าทีมยังสามารถเก็บขุมพลังอายุน้อยแต่ฝีมือฉกาจกลุ่มนี้เอาไว้ได้ ค่อยๆ เพาะบ่มประสบการณ์กันไป บวกกับการเทรดหรือดราฟท์ผู้เล่นเจ๋งๆ เข้ามาเพิ่ม เราคงได้เห็นยุคที่ ดูแรนท์ นำ ธันเดอร์ ขึ้นมาเจิดจรัสฟอร์มแข่งกับ เดอร์ริค โรส (บูลส์), เลอบรอน เจมส์ (ฮีท), แอนดรูว์ บายนัม (เลเกอร์ส) หรือว่า ราจอน รอนโด (เซลติกส์) อย่างดุเดือดในอีกสัก 3-4 ปีข้างหน้าก็เป็นได้
หากพูดว่า "ไมอามี ฮีท" ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแชมป์ศึกบาสเกตบอล เอ็นบีเอ (NBA) แบบปัจจุบันทันด่วน เฟรนไชส์อย่าง "โอกลาโฮมา ซิตี ธันเดอร์" ก็น่าจะเรียกว่าเป็นทีมที่รังสรรค์สร้างเพื่อเป็นแชมป์ในอนาคต ซึ่งอาจไม่ไกลเกินฝัน
ตั้งแต่กลุ่มนักลงทุนจากโอกลาโฮมา ซิตี ซึ่งนำโดย เคลย์ เบนเนตต์ ทุ่มเงินซื้อเฟรนไส์ ซีแอตเทิล ซูเปอร์โซนิกส์ ในปี 2006 ให้หลังอีกสองปี เบนเนตต์ ก็พาทีมโยกมาปักหลักยังโอกลาโฮมา และก็เปลี่ยนชื่อเป็น "ธันเดอร์" แต่เรายังคงเห็นสาวกพันธุ์แท้สวมยูนิฟอร์ม "โซนิกส์" ตามเชียร์ทีมดั่งเช่นเกม 3 ที่บุกอัด เดนเวอร์ นักเก็ตส์ ถึงเป๊ปซี่ เซ็นเตอร์ 97-94 คะแนน ซึ่งแฟนๆ ยัดห่วง NBA สมหวังเสียที เมื่อเคเบิลทีวีเจ้าใหญ่ของเมืองไทยคว้าลิขสิทธิมากำนัลแด่สมาชิก เรียกว่ามาช้าดีกว่าไม่มา ผู้เขียนจึงไม่พลาดเกาะติดสถานการณ์อยู่หน้าจอแก้ว เพราะว่ากันตามจริงโอกาสได้เห็นฟอร์ม ธันเดอร์ แบบเต็มๆ 4 ควอเตอร์นั้นหายากยิ่งนัก สืบเนื่องจาก ธันเดอร์ ผลงานยังเต๊าะแต๊ะต่อเนื่องจากยุค ซูเปอร์โซนิกส์
อย่างไรก็ดี เฟรนไชส์เริ่มเห็นแสงสว่างไกลๆ ตรงปลายถ้ำ เมื่อใช้สิทธิดราฟท์อันดับ 2 ของปี 2007 เลือกฟอร์เวิร์ดสูงเพรียวจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส นามว่า "เควิน ดูแรนท์" เข้ามา แม้ออกตัวตะกุกตะกักอยู่บ้างในปีรุคกี้ แต่ให้หลังอีกแค่ 2 ปี ดาวรุ่งทีมชาติสหรัฐอเมริกาก็พา ธันเดอร์ ผงาดคว้าแชมป์กลุ่มนอร์ธเวสต์ ดิวิชัน เข้าเพลย์ออฟเป็นปีที่สองติดต่อกัน โดยซีซัน 2010/11 ทำท่าจะเข้าสู่รอบสองสำเร็จ จากการขึ้นนำ เดนเวอร์ นักเก็ตส์ 3-1 เกม จะว่าไปแฟนๆ อาจฝันไปถึงการผ่านเข้าสู่รอบชิงแชมป์สายตะวันตก เมื่อโชคเข้าข้าง เมมฟิส กริซลีย์ส ทีมอันดับ 8 กำลังจะพลิกล็อกเขี่ย ซานอันโตนิโอ สเปอร์ส ตกรอบแรกจากการขึ้นแท่นเช่นกัน ซึ่งหากทั้งสองทีมได้ไปตัดเชือกกันทางฟากเวสต์เทิร์น คอนเฟอเรนซ์ ธันเดอร์ ทีมอันดับ 4 จะได้สิทธิเล่นในบ้านมากกว่า 1 เกม ในซีรีส์ชนะ 4 จาก 7 เกม ถึงขั้นนั้น สกอตต์ บรูกส์ ดีกรีโค้ชยอดเยี่ยมแห่งปี 2010 คงให้ลูกทีมโฟกัสกับปัจจุบัน อย่าเพิ่งมองไปถึงการชน "แชมป์เก่า" แอลเอ เลเกอร์ส หรือ ดัลลัส แมฟเวอร์ริกส์
แม้ผู้เขียนไม่ได้เป็นแฟนตัวยงของ ธันเดอร์ แต่ก็อดมองการณ์ไกลถึง "แลร์รี โอไบรอัน" ไปไม่ได้ เหตุผลแรกคือ เฟรนไชส์แห่งนี้มีซูเปอร์สตาร์อย่าง ดูแรนท์ ที่สามารถฝากผีฝากไข้ได้ อายุอานามเพียง 22 ปี ทว่า ดูแรนท์ ถือเป็นตัวท็อปการทำคะแนนของลีกช่วง 2 ปีมานี้ เมื่อเข้าสู่เพลย์ออฟ 2010/11 ก็เฉลี่ย 30.3 แต้มต่อเกม สถิติเป็นรองแค่ "ซูเปอร์แมน" ดไวท์ ฮาวเวิร์ด เซ็นเตอร์จอมแกร่งของ ออร์แลนโด แมจิก เท่านั้น อีกทั้งเมื่อหันซ้ายแลขวา ดูแรนท์ ไม่เดียวดาย เมื่อ รัสเซลล์ เวสต์บรูก ถือเป็นการ์ดคู่ใจที่ช่วยแบกทีมมาด้วยกัน "แอร์ คองโก" เซอร์เก อิบากา ผลงานดีขึ้นเป็นลำดับ เจมส์ ฮาร์เดน กล้าที่จะเล่นเมื่อได้โอกาส การมาของ เคนดริก เพอร์กินส์ เซ็นเตอร์ที่โดดเด่นเรื่องเกมรับและมีประสบการณ์แชมป์กับ บอสตัน เซลติกส์ มาแล้ว ทำให้แฟนๆ ลืมชื่อ เจฟฟ์ กรีน ในบัดดล ตรงนี้คงต้องให้เครดิต แซม เพรสติ ผู้จัดการทั่วไปที่แต่งทัพจน ธันเดอร์ แข็งแกร่งมีสมดุลภายในทีมขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบัน ธันเดอร์ เป็นเพียงหนึ่งเดียวจากทั้งหมด 16 ทีมในโพสต์ซีซันที่ทำเฉลี่ยหลักร้อย (102.8 แต้ม) นั่นหมายความว่าคู่แข่งต้องทำได้มากกว่าถึงจะล้ม ธันเดอร์ ลงได้ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นสถิติที่เก็บเฉพาะ 4 เกมแรกในการเจอกับ นักเก็ตส์ ซึ่งหลายท่านคงทราบดีว่า นักเก็ตส์ เป็นบาสฯ ประเภทแลกหมัด เกมป้องกันแทบไม่มี จึงไม่น่าแปลกใจกับตัวเลขข้างต้น ดังนั้นเส้นทางข้างหน้าถือเป็นบทพิสูจน์สำหรับการก้าวกระโดดไปถึงแชมป์ แม้วันนี้ยังเต็มไปด้วยขวากหนามขวางหน้า เพราะนอกจาก เลเกอร์ส กับ แมฟเวอร์ริกส์ ฟากตะวันออกมีทั้ง ชิคาโก บูลส์, ไมอามี ฮีท หรือว่า บอสตัน เซลติกส์ ยืนจังก้ารอประชัน
แต่ไม่รู้สิ ผู้เขียนเริ่มจะมีความเชื่อในทีมธันเดอร์ เชื่อในฝีมือการดูตัวผู้เล่นของ เพรสติ ถ้าทีมยังสามารถเก็บขุมพลังอายุน้อยแต่ฝีมือฉกาจกลุ่มนี้เอาไว้ได้ ค่อยๆ เพาะบ่มประสบการณ์กันไป บวกกับการเทรดหรือดราฟท์ผู้เล่นเจ๋งๆ เข้ามาเพิ่ม เราคงได้เห็นยุคที่ ดูแรนท์ นำ ธันเดอร์ ขึ้นมาเจิดจรัสฟอร์มแข่งกับ เดอร์ริค โรส (บูลส์), เลอบรอน เจมส์ (ฮีท), แอนดรูว์ บายนัม (เลเกอร์ส) หรือว่า ราจอน รอนโด (เซลติกส์) อย่างดุเดือดในอีกสัก 3-4 ปีข้างหน้าก็เป็นได้