ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง ประธานบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด รวบรวมหลักฐานเหตุการณ์แฟนบอลวุ่นวายระหว่าง พัทยา ยูไนเต็ด - การท่าเรือไทย เอฟซี เมื่อวันเสารที่ 19 ก.พ. ที่ผ่านมา พร้อมส่งเรื่องให้ "บิ๊กย้อย" พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ประธานคณะกรรมการพิจารณามารยาทวินัย และข้อประท้วงสมาคมฟุตบอลฯ ตัดสินกรณีดังกล่าวในวันอังคารที่ 8 มีนาคม 2554 ขณะที่ตัวแทนทั้งสองทีมไม่เห็นด้วยหากลงโทษด้วยการตัดแต้มทีมเพราะเกรงมีผู้ไม่หวังดีเข้ามาซ้ำเรื่องฉาว
เมื่อเวลา 13.00 น. วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2554 ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง ประธานบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันพิจารณาเหตุการณ์วุ่นวายระหว่างคู่พัทยา ยูไนเต็ด เปิดบ้านเสมอกับ การท่าเรือไทย เอฟซี ด้วยสกอร์ 1-1 เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย สนามกีฬาแห่งชาติ
โดย บอสใหญ่ไทยลีก กล่าวหลังจากการประชุมว่า "วันนี้เป็นเพียงการรวบรมหลักฐานจากตัวแทนของทั้งสองทีมและรับรายงานจากผู้ควบคุมการแข่งขันในแมตช์ดังกล่าวพร้อมทั้งภาพบันทึกจากสื่อมวลชนและผู้แทนจากคณะกรรมการพิจารณามารยาทและวินัยโทษของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งผมจะนำหลักฐานที่ได้สรุปสำนวนส่งเรื่องต่อให้ บิ๊กย้อย" พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ประธานคณะกรรมการพิจารณามารยาทวินัย และข้อประท้วงสมาคมฟุตบอลฯ ตัดสินในวันอังคารที่ 8 มีนาคม 2554 ต่อไป"
"จากการรวบรวมหลักฐานสรุปในเบื้องต้นพบว่าต้นเหตุเริ่มต้นที่มีการวิ่งโบกธงหลังจบเกม จากนั้นมีการพยายามปรามบุคคลที่เข้าใจผิดทั้ง 2 กลุ่ม จึงทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ในส่วนของบทลงโทษผมไม่อาจจะสามารถกล่าวได้ว่าเป็นอย่างไรแต่ในเบื่องต้นได้คาดโทษกรณีสร้างความทะเลาะวิวาทระหว่างสโมสรฯ อาจลงโทษปรับอย่างน้อย 30,000 - 100,000 บาท ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายพิจารณามารยาทวินัยฯ ที่จะต้องพิจารณาถึงเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัย, การห้ามปรามเจ้าหน้าที่ในสนาม และการจัดเตรียมความพร้อมต่างๆ ในเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเต็มที่หรือไม่ ขณะเดียวกันหากมีบทลงโทษไม่ว่าจะเป็นการแบนใดๆ ก็จะรวมไปถึงการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนเพราะเป็นถ้วยของสมาคมฟุตบอลโดยที่ไทยพรีเมียร์ลีกเป็นผู้จัด"
นอกจากนี้ ดร.วิชิต ชี้แจงว่า "สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีใครที่อยากให้เกิดขึ้น เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ส่งผลกระทบต่อทุกฝ่ายประเด็นหลักที่สำคัญคือเกิดหลังจากจบการแข่งขันไปแล้ว แต่อาจจะมีกองเชียร์บางรายที่ยังมีอารมณ์ค้างอยู่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเรื่อง เพราะผู้ใหญ่ของทั้งสองสโมสรก็จบกันอย่างด้วยดี ไม่มีข้อขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้น คาดว่าอาจมีคนนอกที่เข้ามาปั่นป่วน"
ด้านนายวิวัฒน์ เอี่ยมแล้ ประธานฝ่ายจัดการแข่งขันสโมสรพัทยา ยูไนเต็ด เผยถึงเหตุการณ์วุ่นวายว่า "ผมในฐานะเจ้าบ้านยอมรับว่าไม่อยากให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ถือเป็นความบกพร่องของทางเราที่ไม่สามารถควบคุมความปลอดภัยได้ทั่วถึง อย่างไรก็ตามผมไม่อยากให้มาจี้ว่าใครเป็นคนถูกคนผิด ผมว่าถ้าจะผิดก็ผิดด้วยกันทั้งหมด เพราะกองเชียร์ที่เข้ามาชมทั้งสองฝ่ายต่างเป็นกองเชียร์ทั้งขาจรและขาประจำที่คุ้นหน้า คุ้นตา อย่างไรก็ตามต่อจากนี้ไปทางสโมสรฯ จะมีการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้มากกว่าเดิม พร้อมทั้งเข้มงวดกับการห้ามนำขวดน้ำและเครื่องดื่มแอลกฮอล์เข้าสนาม"
ขณะที่ นายเด่นพงศ์ ปฐพลจันทเพ็ชร์ ผู้ช่วยผู้จัดการทีม "สิงห์เจ้าท่า" การท่าเรือไทย เอฟซี กล่าวว่า "ผมอยากให้ทางสมาคมฟุตบอลฯ ออกกฏหมายเฉพาะกีฬาฟุตบอลโดยตรงเพราะจะง่ายต่อการพิจารณาโทษ อีกทั้งหากมีการหักแต้มทีมผมคิดว่ามันไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดเพราะในกรณีที่ทีมที่มีคะแนนสูสีหรือใกล้ช่วงปิดเลกอาจมีบุคคลที่ไม่หวังดีเข้ามาแฝงตัวสร้างความวุ่นวายขึ้นได้ ทั้งนี้เหตุการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้นยอมรับว่าเป็นความผิดของเราเนื่องจากเกิดความบกพร่องในสนามแพท สเตเดียม ที่ยังปรับปรุงไม่เสร็จจึงให้ทางพัทยา ยูไนเต็ด รับหน้าที่เป็นสนามเหย้าก่อน"
ขณะเดียวกัน "บิ๊กเบน" วรพงษ์ ตันติเวชยานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทซูเปอร์ ริซ (แบงก์ค็อก) บริษัทร่วมทุนของการท่าเรือไทย เอฟซี เผยถึงกรณีที่มีการตัดแต้มทีมว่า "ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งหากมีการตัดแต้ม เพราะตัดแม้เพียงแต้มเดียวทำให้ทีมเสียเงินเป็นล้านบาท ทางแก้ไขปัญาที่ดีควรจะแบนกองเชียร์ไม่ให้เข้ามาชมในสนามมากกว่า มิฉะนั้นอาจเกิดการวางยากันได้"
เมื่อเวลา 13.00 น. วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2554 ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง ประธานบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันพิจารณาเหตุการณ์วุ่นวายระหว่างคู่พัทยา ยูไนเต็ด เปิดบ้านเสมอกับ การท่าเรือไทย เอฟซี ด้วยสกอร์ 1-1 เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย สนามกีฬาแห่งชาติ
โดย บอสใหญ่ไทยลีก กล่าวหลังจากการประชุมว่า "วันนี้เป็นเพียงการรวบรมหลักฐานจากตัวแทนของทั้งสองทีมและรับรายงานจากผู้ควบคุมการแข่งขันในแมตช์ดังกล่าวพร้อมทั้งภาพบันทึกจากสื่อมวลชนและผู้แทนจากคณะกรรมการพิจารณามารยาทและวินัยโทษของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งผมจะนำหลักฐานที่ได้สรุปสำนวนส่งเรื่องต่อให้ บิ๊กย้อย" พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ประธานคณะกรรมการพิจารณามารยาทวินัย และข้อประท้วงสมาคมฟุตบอลฯ ตัดสินในวันอังคารที่ 8 มีนาคม 2554 ต่อไป"
"จากการรวบรวมหลักฐานสรุปในเบื้องต้นพบว่าต้นเหตุเริ่มต้นที่มีการวิ่งโบกธงหลังจบเกม จากนั้นมีการพยายามปรามบุคคลที่เข้าใจผิดทั้ง 2 กลุ่ม จึงทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ในส่วนของบทลงโทษผมไม่อาจจะสามารถกล่าวได้ว่าเป็นอย่างไรแต่ในเบื่องต้นได้คาดโทษกรณีสร้างความทะเลาะวิวาทระหว่างสโมสรฯ อาจลงโทษปรับอย่างน้อย 30,000 - 100,000 บาท ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายพิจารณามารยาทวินัยฯ ที่จะต้องพิจารณาถึงเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัย, การห้ามปรามเจ้าหน้าที่ในสนาม และการจัดเตรียมความพร้อมต่างๆ ในเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเต็มที่หรือไม่ ขณะเดียวกันหากมีบทลงโทษไม่ว่าจะเป็นการแบนใดๆ ก็จะรวมไปถึงการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนเพราะเป็นถ้วยของสมาคมฟุตบอลโดยที่ไทยพรีเมียร์ลีกเป็นผู้จัด"
นอกจากนี้ ดร.วิชิต ชี้แจงว่า "สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีใครที่อยากให้เกิดขึ้น เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ส่งผลกระทบต่อทุกฝ่ายประเด็นหลักที่สำคัญคือเกิดหลังจากจบการแข่งขันไปแล้ว แต่อาจจะมีกองเชียร์บางรายที่ยังมีอารมณ์ค้างอยู่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเรื่อง เพราะผู้ใหญ่ของทั้งสองสโมสรก็จบกันอย่างด้วยดี ไม่มีข้อขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้น คาดว่าอาจมีคนนอกที่เข้ามาปั่นป่วน"
ด้านนายวิวัฒน์ เอี่ยมแล้ ประธานฝ่ายจัดการแข่งขันสโมสรพัทยา ยูไนเต็ด เผยถึงเหตุการณ์วุ่นวายว่า "ผมในฐานะเจ้าบ้านยอมรับว่าไม่อยากให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ถือเป็นความบกพร่องของทางเราที่ไม่สามารถควบคุมความปลอดภัยได้ทั่วถึง อย่างไรก็ตามผมไม่อยากให้มาจี้ว่าใครเป็นคนถูกคนผิด ผมว่าถ้าจะผิดก็ผิดด้วยกันทั้งหมด เพราะกองเชียร์ที่เข้ามาชมทั้งสองฝ่ายต่างเป็นกองเชียร์ทั้งขาจรและขาประจำที่คุ้นหน้า คุ้นตา อย่างไรก็ตามต่อจากนี้ไปทางสโมสรฯ จะมีการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้มากกว่าเดิม พร้อมทั้งเข้มงวดกับการห้ามนำขวดน้ำและเครื่องดื่มแอลกฮอล์เข้าสนาม"
ขณะที่ นายเด่นพงศ์ ปฐพลจันทเพ็ชร์ ผู้ช่วยผู้จัดการทีม "สิงห์เจ้าท่า" การท่าเรือไทย เอฟซี กล่าวว่า "ผมอยากให้ทางสมาคมฟุตบอลฯ ออกกฏหมายเฉพาะกีฬาฟุตบอลโดยตรงเพราะจะง่ายต่อการพิจารณาโทษ อีกทั้งหากมีการหักแต้มทีมผมคิดว่ามันไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดเพราะในกรณีที่ทีมที่มีคะแนนสูสีหรือใกล้ช่วงปิดเลกอาจมีบุคคลที่ไม่หวังดีเข้ามาแฝงตัวสร้างความวุ่นวายขึ้นได้ ทั้งนี้เหตุการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้นยอมรับว่าเป็นความผิดของเราเนื่องจากเกิดความบกพร่องในสนามแพท สเตเดียม ที่ยังปรับปรุงไม่เสร็จจึงให้ทางพัทยา ยูไนเต็ด รับหน้าที่เป็นสนามเหย้าก่อน"
ขณะเดียวกัน "บิ๊กเบน" วรพงษ์ ตันติเวชยานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทซูเปอร์ ริซ (แบงก์ค็อก) บริษัทร่วมทุนของการท่าเรือไทย เอฟซี เผยถึงกรณีที่มีการตัดแต้มทีมว่า "ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งหากมีการตัดแต้ม เพราะตัดแม้เพียงแต้มเดียวทำให้ทีมเสียเงินเป็นล้านบาท ทางแก้ไขปัญาที่ดีควรจะแบนกองเชียร์ไม่ให้เข้ามาชมในสนามมากกว่า มิฉะนั้นอาจเกิดการวางยากันได้"