คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
ผมเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศฝรั่งเศส ไปคราวนี้ได้เห็นกีฬายอดฮิตชนิดหนึ่งที่เด็กวัยรุ่นฝรั่งเศสมักจะเล่นกันตามพื้นที่ใต้สถานีรถไฟใต้ดิน มันคงจะเป็นกีฬาชนิดใหม่ที่ใครดันคิดขึ้นมาจากการผสมผสานระหว่าง ขี่ม้าโปโล กับ จักรยานผาดโผน กลายเป็น จักรยานโปโล ที่ฝรั่งเรียกว่า บายซีเคิล โปโล ( Bicycle Polo ) หรือ ซายเคิล โปโล ( Cycle Polo ) แต่สำหรับคนฝรั่งเศสจะเรียกว่า ไบค์ โปโล (Bike Polo)
ถามพวกเด็กๆ ก็ได้คำตอบว่า พวกเขาไม่มีเงินซื้อม้านี่นา จึงใช้จักรยานแทนม้า มันเป็นกีฬาแบบเดียวกันแต่ราคาถูกกว่ากันมาก ซึ่งส่วนมากจักรยานที่ใช้ก็ไม่ต้องมีเบรคซะด้วย เพราะมือข้างหนึ่งต้องจับแฮนด์จักรยาน อีกข้างหนึ่งต้องถือไม้ตี และจะมัวมายุ่งกับเบรคไปทำไมกัน
ถ้าจะเอาแบบมาตรฐานกันจริงๆ สนามแข่งขันของ บายซีเคิล โปโล ต้องเป็นสนามหญ้า ขนาดยาวระหว่าง 120-150 เมตร และกว้าง 80-100 เมตร แต่ใครที่คิดอยากจะเล่น ขอให้มีที่กว้างๆพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นพื้นปูน พื้นดิน พื้นหญ้า ก็เล่นได้ทั้งนั้น ส่วนลูกบอลนั้น ขนาดของมันควรมีขนาดเส้นรอบวง 12-15 นิ้ว และไม้ตีขนาดยาว 1 เมตร แต่ละทีมมีผู้เล่นในสนาม 4 คน ตัวสำรอง 2 คน ถ้าเป็นแบบฝรั่งเศส ผู้เล่นในสนาม 5 คน ตัวสำรองอีก 2 คน ในขณะที่เวลาการแข่งขันก็แบ่งเป็น ชักกา ( Chukka ) เหมือนขี่ม้าโปโล ชักกาละ 7 นาทีครั้ง มี 4 ชักกา รวมเป็น 30 นาที
ความจริง บายซีเคิล โปโล ไม่ใช่กีฬาใหม่หรอกครับ แต่ก่อกำเนิดขึ้นเป็นร้อยปีมาแล้ว ตั้งแต่ปี 1891 โน่น โดย ริเชิร์ด เจ เม็คเครดี ( Richard J. Mecredy ) นักปั่นจักรยานชาวอายร์แลนด์ ซึ่งตามประวัติของกีฬาชนิดนี้ ในปีนั้นก็มีแม็ตช์แข่งขันอย่างเป็นทางการระหว่าง ทีมจอมถลกหนังหัว เดอะ สคัลพ์ ( The Scalp ) กับ ทีมดิ โอนี ฮาสท์ ซีซี ( the Ohne Hast C.C. ) ด้วย
เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 19 ความนิยมของเกมนี้แพร่หลายไปยังอังกฤษ สก็อทแลนด์ เวลส์ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา แล้วในปี 1901 ก็เริ่มมีแม็ตช์การแข่งขันระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่าง ทีมอังกฤษ กับ ทีมอายร์แลนด์ แม้กระทั่ง โอลิมปิค เกมส์ ก็ยังนำกีฬาชนิดนี้เข้าไปแข่งด้วย โดย บายซีเคิล โปโล ถูกบรรจุเข้าไปในฐานะกีฬาสาธิตใน โอลิมปิค เกมส์ ที่ กรุงลอนเดิน เป็นเจ้าภาพเมื่อปี 1908 ซึ่งผลปรากฏว่า อายร์แลนด์ คว้าแชมป์ด้วยการเอาชนะ เจอรมานี
บายซีเคิล โปโล ฮ็อทฮิทสุดๆในประเทศอังกฤษช่วงทศวรรษที่ 30 ถึงกับมีการจัดการแข่งขันเป็นลีกภูมิภาคในหลายๆส่วนของประเทศ ทางฝรั่งเศสก็เอากับเขาด้วย ทำให้เกิดแม็ตช์ระหว่าง อังกฤษ กับ ฝรั่งเศส อยู่บ่อยๆ แต่พอเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทาง อังกฤษ ก็เลิกไป แต่ ฝรั่งเศส ยังสานต่อกิจกรรมนี้ต่อไป
มาถึงช่วงทศวรรษที่ 80 เกิดมหาอำนาจในกีฬาชนิดนี้ขึ้นมาอีก 2 ชาติคือ อินเดีย กับ สหรัฐอเมริกา โดย อินเดีย ได้ก่อตั้ง สมาคม ซายเคิล โปโล แห่งประเทศอินเดีย ( Cycle Polo Association of India ) ขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1966 ในขณะที่ อเมริกา ใช้ชื่อว่า สมาคม บายซีเคิล โปโล แห่ง อเมริกา ( Bicycle Polo Association of America ) ตั้งขึ้นในปี 1994 และก็เป็น อเมริกา นี่แหละที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน บายซีเคิล โปโล ชิงแชมป์โลก ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1996 ซึ่งแชมป์โลกครั้งแรกคือ อินเดีย
\ ซายเคิล โปโล ได้รับการรับรองโดย สหภาพจักรยานนานาชาติ ( International Cycling Union ) ในปี 2001 และในปัจจุบันนี้ที่เห็นมีเล่นกันในประเทศต่างๆทั่วโลกก็ที่ ฝรั่งเศส อายร์แลนด์ เจอรมานี อังกฤษ สก็อทแลนด์ เวลส์ สวีเดน สวิส ออสตราเลีย นิว ซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อัฟริกาใต้ อารเกนตินา ส่วนในทวีปเอเชียของเราก็มี อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน และมาเลเซีย ผมว่าเรื่องจักรยานนั้น เด็กไทยเราเก่งอยู่แล้ว ราคาก็ไม่แพง ดังนั้น อันนี้น่าจะเป็นกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งของวัยรุ่นเมืองไทย โดยอาศัยพื้นที่ใต้ทางด่วน ทำให้ดีก็อาจได้ไปแข่งในระดับนานาชาติ ไปถึงแชมป์โลกซะเลย
ผมเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศฝรั่งเศส ไปคราวนี้ได้เห็นกีฬายอดฮิตชนิดหนึ่งที่เด็กวัยรุ่นฝรั่งเศสมักจะเล่นกันตามพื้นที่ใต้สถานีรถไฟใต้ดิน มันคงจะเป็นกีฬาชนิดใหม่ที่ใครดันคิดขึ้นมาจากการผสมผสานระหว่าง ขี่ม้าโปโล กับ จักรยานผาดโผน กลายเป็น จักรยานโปโล ที่ฝรั่งเรียกว่า บายซีเคิล โปโล ( Bicycle Polo ) หรือ ซายเคิล โปโล ( Cycle Polo ) แต่สำหรับคนฝรั่งเศสจะเรียกว่า ไบค์ โปโล (Bike Polo)
ถามพวกเด็กๆ ก็ได้คำตอบว่า พวกเขาไม่มีเงินซื้อม้านี่นา จึงใช้จักรยานแทนม้า มันเป็นกีฬาแบบเดียวกันแต่ราคาถูกกว่ากันมาก ซึ่งส่วนมากจักรยานที่ใช้ก็ไม่ต้องมีเบรคซะด้วย เพราะมือข้างหนึ่งต้องจับแฮนด์จักรยาน อีกข้างหนึ่งต้องถือไม้ตี และจะมัวมายุ่งกับเบรคไปทำไมกัน
ถ้าจะเอาแบบมาตรฐานกันจริงๆ สนามแข่งขันของ บายซีเคิล โปโล ต้องเป็นสนามหญ้า ขนาดยาวระหว่าง 120-150 เมตร และกว้าง 80-100 เมตร แต่ใครที่คิดอยากจะเล่น ขอให้มีที่กว้างๆพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นพื้นปูน พื้นดิน พื้นหญ้า ก็เล่นได้ทั้งนั้น ส่วนลูกบอลนั้น ขนาดของมันควรมีขนาดเส้นรอบวง 12-15 นิ้ว และไม้ตีขนาดยาว 1 เมตร แต่ละทีมมีผู้เล่นในสนาม 4 คน ตัวสำรอง 2 คน ถ้าเป็นแบบฝรั่งเศส ผู้เล่นในสนาม 5 คน ตัวสำรองอีก 2 คน ในขณะที่เวลาการแข่งขันก็แบ่งเป็น ชักกา ( Chukka ) เหมือนขี่ม้าโปโล ชักกาละ 7 นาทีครั้ง มี 4 ชักกา รวมเป็น 30 นาที
ความจริง บายซีเคิล โปโล ไม่ใช่กีฬาใหม่หรอกครับ แต่ก่อกำเนิดขึ้นเป็นร้อยปีมาแล้ว ตั้งแต่ปี 1891 โน่น โดย ริเชิร์ด เจ เม็คเครดี ( Richard J. Mecredy ) นักปั่นจักรยานชาวอายร์แลนด์ ซึ่งตามประวัติของกีฬาชนิดนี้ ในปีนั้นก็มีแม็ตช์แข่งขันอย่างเป็นทางการระหว่าง ทีมจอมถลกหนังหัว เดอะ สคัลพ์ ( The Scalp ) กับ ทีมดิ โอนี ฮาสท์ ซีซี ( the Ohne Hast C.C. ) ด้วย
เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 19 ความนิยมของเกมนี้แพร่หลายไปยังอังกฤษ สก็อทแลนด์ เวลส์ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา แล้วในปี 1901 ก็เริ่มมีแม็ตช์การแข่งขันระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่าง ทีมอังกฤษ กับ ทีมอายร์แลนด์ แม้กระทั่ง โอลิมปิค เกมส์ ก็ยังนำกีฬาชนิดนี้เข้าไปแข่งด้วย โดย บายซีเคิล โปโล ถูกบรรจุเข้าไปในฐานะกีฬาสาธิตใน โอลิมปิค เกมส์ ที่ กรุงลอนเดิน เป็นเจ้าภาพเมื่อปี 1908 ซึ่งผลปรากฏว่า อายร์แลนด์ คว้าแชมป์ด้วยการเอาชนะ เจอรมานี
บายซีเคิล โปโล ฮ็อทฮิทสุดๆในประเทศอังกฤษช่วงทศวรรษที่ 30 ถึงกับมีการจัดการแข่งขันเป็นลีกภูมิภาคในหลายๆส่วนของประเทศ ทางฝรั่งเศสก็เอากับเขาด้วย ทำให้เกิดแม็ตช์ระหว่าง อังกฤษ กับ ฝรั่งเศส อยู่บ่อยๆ แต่พอเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทาง อังกฤษ ก็เลิกไป แต่ ฝรั่งเศส ยังสานต่อกิจกรรมนี้ต่อไป
มาถึงช่วงทศวรรษที่ 80 เกิดมหาอำนาจในกีฬาชนิดนี้ขึ้นมาอีก 2 ชาติคือ อินเดีย กับ สหรัฐอเมริกา โดย อินเดีย ได้ก่อตั้ง สมาคม ซายเคิล โปโล แห่งประเทศอินเดีย ( Cycle Polo Association of India ) ขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1966 ในขณะที่ อเมริกา ใช้ชื่อว่า สมาคม บายซีเคิล โปโล แห่ง อเมริกา ( Bicycle Polo Association of America ) ตั้งขึ้นในปี 1994 และก็เป็น อเมริกา นี่แหละที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน บายซีเคิล โปโล ชิงแชมป์โลก ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1996 ซึ่งแชมป์โลกครั้งแรกคือ อินเดีย
\ ซายเคิล โปโล ได้รับการรับรองโดย สหภาพจักรยานนานาชาติ ( International Cycling Union ) ในปี 2001 และในปัจจุบันนี้ที่เห็นมีเล่นกันในประเทศต่างๆทั่วโลกก็ที่ ฝรั่งเศส อายร์แลนด์ เจอรมานี อังกฤษ สก็อทแลนด์ เวลส์ สวีเดน สวิส ออสตราเลีย นิว ซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อัฟริกาใต้ อารเกนตินา ส่วนในทวีปเอเชียของเราก็มี อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน และมาเลเซีย ผมว่าเรื่องจักรยานนั้น เด็กไทยเราเก่งอยู่แล้ว ราคาก็ไม่แพง ดังนั้น อันนี้น่าจะเป็นกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งของวัยรุ่นเมืองไทย โดยอาศัยพื้นที่ใต้ทางด่วน ทำให้ดีก็อาจได้ไปแข่งในระดับนานาชาติ ไปถึงแชมป์โลกซะเลย