แม้ว่าศึกไทยพรีเมียร์ลีกฤดูกาลที่ผ่านมา จะได้รับความสนใจจากแฟนลูกหนังในประเทศอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทว่าด้วยผลงานของทีมชาติที่ย่ำแย่ หลังประสบความล้มเหลวในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ด้วยการยุติเส้นทางเพียงแค่รอบแรกของทีมลูกหนังชาย แต่กลับมีความพยายามจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย และ บริษัทไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ในการเพิ่มโควตาผู้เล่นต่างชาติศึกไทยลีกฤดูกาลหน้าให้สามารถลงทะเบียนได้ 7 คน และสามารถลงสนามพร้อมกันถึง 5 คนด้วยกัน
โดย ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง ประธานบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เปิดเผยถึงที่มาของการเพิ่มโควตานักเตะต่างชาติว่า "เพราะเราอยากเห็นวงการฟุตบอลไทยพัฒนาขึ้น ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าผู้เล่นในประเทศที่มีชื่อเสียง มีฝีเท้าดีนั้น มีราคาที่สูงเกินไป การย้ายทีมเป็นไปได้ยาก ผิดกับนักเตะต่างชาติโดยเฉพาะที่มาจากแอฟริกา ที่มีฝีเท้าดี มีความแข็งแกร่ง และมีราคาที่ไม่สูงมาก"
"อีกประการที่เป็นประโยชน์จากการดึงผู้เล่นต่างชาติมาก็คือ ทุกวันนี้เรายังเห็นนักเตะไทยขาดความเป็นมืออาชีพ และก็พัฒนาตัวเองน้อยมาก หากมีผู้เล่นต่างชาติมากขึ้น นักเตะไทยก็จะได้เรียนรู้ และหมั่นพัฒนาฝีเท้าควบคู่กันไปด้วย" ประธานไทยลีกกล่าว
อย่างไรก็ตาม หลังจาก "ไทยพรีเมียร์ลีก" ต้องการเพิ่มโควตาผู้เล่นต่างชาติ ได้มีการรวมตัวกันของ 11 สโมสรในลีกสูงสุด แสดงการคัดค้านแนวความคิดดังกล่าว พร้อมกับสนับสนุนให้กลับไปใช้กฎเดิม คือ 1 เกมแต่ละทีมสามารถส่งผู้เล่นต่างชาติได้ 3 คน และสามารถเพิ่มได้อีก 1 คนที่เป็นชาวเอเชียด้วยกัน
ซึ่ง "เดอะ เซนต์" อรรณพ สิงห์โตทอง ผู้จัดการทัพ "ฉลามชล" ชลบุรี เอฟซี ตัวตั้งตัวตีในการคัดค้านการเพิ่มโควตาแข้งนอกกล่าวว่า "การทำแบบนี้ส่งผลกระทบต่อการสร้างผู้เล่นหน้าใหม่ขึ้นมาเสริมทีมชาติแน่นอน ขณะที่ตอนนี้ผลงานทีมชาติไทยยังตกต่ำอยู่ โดยเฉพาะซีเกมส์ กลับจะมาลดโอกาสผู้เล่นดาวรุ่งในลีกอีก แบบนี้ผมรับไม่ได้ ดร.วิชิต และสมาคมฟุตบอลควรมีสามัญสำนึกว่าที่ไทยลีกได้รับความนิยมเกิดจากเหล่าบรรดาสโมสรสมาชิกร่วมกันพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ไม่ใช่เกิดเพราะคนที่นั่งทำงานในสมาคมฯ ดังนั้นควรให้เกียรติสโมสรเหล่านี้ หากจะออกกฎใดก็ควรเชิญตัวแทนไปพูดคุยกันด้วย"
"ตามระเบียบของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย หรือ เอเอฟซี ก็ได้กำหนดผู้เล่นต่างชาติที่จะลงเล่นในศึกเอเอฟซี แชมเปียนส์ ลีก และ เอเอฟซี คัพ อยู่ที่ 3 + 1 เหมือนที่ไทยลีกใช้ในฤดูกาลที่แล้ว ผมมองว่าเราควรยึดมาตรฐานตามที่เขากำหนดมาแล้วจะดีกว่า ไม่เช่นนั้นการจัดผู้เล่นลงในไทยลีกก็จะเป็นแบบหนึ่งซึ่งดูเหมือนทีมจะแกร่งมากที่มีตัวต่างชาติเยอะ แต่พอไปเล่นในฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรระดับเอเชียก็ต้องจัดทีมตามกฎเดิม ซึ่งยืนยันได้เลยว่าจะทำให้เราตามลีกเพื่อนบ้านไม่ทันแน่นอน" ผู้จัดการทีม "ฉลามชล" กล่าว
ขณะที่ "โค้ชเฮง" วิทยา เลาหกุล อดีตกุนซือทีมชาติไทย ออกโรงค้านเช่นกัน "ในเจลีกของญี่ปุ่น แม้จะมีการดึงนักเตะต่างชาติมาเล่นจำนวนมาก แต่เขาก็ยังอิงกับกฎ 3+1 ของ เอเอฟซี อีกทั้งยังเลือกเฉพาะนักเตะคุณภาพ อาทิ ดุงกา หรือ ซิโก มาค้าแข้ง แม้จะต้องจ่ายค่าเหนื่อยแพง แต่ก็ทำให้ผู้เล่นท้องถิ่นเรียนรู้ความเป็นมืออาชีพจากนักเตะระดับนี้ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดว่าแต่ละทีมต้องมีผู้เล่นอายุไม่เกิน 19 ปี ลงเล่นไม่น้อยกว่า 2 คน เพื่อให้โอกาสเยาวชนในชาติ ดังนั้นการเพิ่มโควตานักเตะต่างชาติ ผมไม่เห็นด้วยแน่นอน"
ด้าน "โค้ชเตี้ย" สะสม พบประเสริฐ กุนซือทีม "สิงเจ้าท่า" การท่าเรือไทย เอฟซี แชมป์เอฟเอ คัพ เมื่อฤดูกาลที่ผ่านมาค้านหัวชนฝากับแนวคิดดังกล่าวเช่นกัน "ทุกวันนี้เราดูฟุตบอลพรีเมียร์ลีกในอังกฤษ ก็เห็นแล้วว่าสนุกดี มีสีสัน เพราะผู้เล่นต่างชาติมากความสามารถลงแข่งขัน แต่อย่าลืมดูผลที่ตามมาด้วย เห็นได้ชัดว่าแต่ละทีมแทบจะหาดาวรุ่งท้องถิ่นขึ้นมาเล่นชุดใหญ่ได้น้อยมาก และยังส่งผลกระทบไปสู่ทีมชาติอีกด้วยเนื่องจากมีตัวเลือกน้อยเกินไป"
ทั้งนี้ต้องยอมรับความจริงว่าแม้แต่ เซปป์ แบลตเตอร์ ประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟา ยังมีแนวความคิดในการจำกัดจำนวนนักเตะต่างชาติ เพื่อมาให้ลีกต่างๆ ในยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษที่ไม่จำกัดโควตาแข้งต่างชาติปฏิบัติตาม ดังนั้นเป็นที่น่าสงสัยในวิศัยทัศน์ของสมาคมลูกหนังไทย และไทยพรีเมียร์ลีก ในการสนับสนุนการเพิ่มโควตานักเตะต่างชาติเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นการแสดงความหวังดี แต่กลับส่งผลร้ายต่อการพัฒนาวงการฟุตบอลในประเทศหรือไม่?
โดย ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง ประธานบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เปิดเผยถึงที่มาของการเพิ่มโควตานักเตะต่างชาติว่า "เพราะเราอยากเห็นวงการฟุตบอลไทยพัฒนาขึ้น ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าผู้เล่นในประเทศที่มีชื่อเสียง มีฝีเท้าดีนั้น มีราคาที่สูงเกินไป การย้ายทีมเป็นไปได้ยาก ผิดกับนักเตะต่างชาติโดยเฉพาะที่มาจากแอฟริกา ที่มีฝีเท้าดี มีความแข็งแกร่ง และมีราคาที่ไม่สูงมาก"
"อีกประการที่เป็นประโยชน์จากการดึงผู้เล่นต่างชาติมาก็คือ ทุกวันนี้เรายังเห็นนักเตะไทยขาดความเป็นมืออาชีพ และก็พัฒนาตัวเองน้อยมาก หากมีผู้เล่นต่างชาติมากขึ้น นักเตะไทยก็จะได้เรียนรู้ และหมั่นพัฒนาฝีเท้าควบคู่กันไปด้วย" ประธานไทยลีกกล่าว
อย่างไรก็ตาม หลังจาก "ไทยพรีเมียร์ลีก" ต้องการเพิ่มโควตาผู้เล่นต่างชาติ ได้มีการรวมตัวกันของ 11 สโมสรในลีกสูงสุด แสดงการคัดค้านแนวความคิดดังกล่าว พร้อมกับสนับสนุนให้กลับไปใช้กฎเดิม คือ 1 เกมแต่ละทีมสามารถส่งผู้เล่นต่างชาติได้ 3 คน และสามารถเพิ่มได้อีก 1 คนที่เป็นชาวเอเชียด้วยกัน
ซึ่ง "เดอะ เซนต์" อรรณพ สิงห์โตทอง ผู้จัดการทัพ "ฉลามชล" ชลบุรี เอฟซี ตัวตั้งตัวตีในการคัดค้านการเพิ่มโควตาแข้งนอกกล่าวว่า "การทำแบบนี้ส่งผลกระทบต่อการสร้างผู้เล่นหน้าใหม่ขึ้นมาเสริมทีมชาติแน่นอน ขณะที่ตอนนี้ผลงานทีมชาติไทยยังตกต่ำอยู่ โดยเฉพาะซีเกมส์ กลับจะมาลดโอกาสผู้เล่นดาวรุ่งในลีกอีก แบบนี้ผมรับไม่ได้ ดร.วิชิต และสมาคมฟุตบอลควรมีสามัญสำนึกว่าที่ไทยลีกได้รับความนิยมเกิดจากเหล่าบรรดาสโมสรสมาชิกร่วมกันพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ไม่ใช่เกิดเพราะคนที่นั่งทำงานในสมาคมฯ ดังนั้นควรให้เกียรติสโมสรเหล่านี้ หากจะออกกฎใดก็ควรเชิญตัวแทนไปพูดคุยกันด้วย"
"ตามระเบียบของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย หรือ เอเอฟซี ก็ได้กำหนดผู้เล่นต่างชาติที่จะลงเล่นในศึกเอเอฟซี แชมเปียนส์ ลีก และ เอเอฟซี คัพ อยู่ที่ 3 + 1 เหมือนที่ไทยลีกใช้ในฤดูกาลที่แล้ว ผมมองว่าเราควรยึดมาตรฐานตามที่เขากำหนดมาแล้วจะดีกว่า ไม่เช่นนั้นการจัดผู้เล่นลงในไทยลีกก็จะเป็นแบบหนึ่งซึ่งดูเหมือนทีมจะแกร่งมากที่มีตัวต่างชาติเยอะ แต่พอไปเล่นในฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรระดับเอเชียก็ต้องจัดทีมตามกฎเดิม ซึ่งยืนยันได้เลยว่าจะทำให้เราตามลีกเพื่อนบ้านไม่ทันแน่นอน" ผู้จัดการทีม "ฉลามชล" กล่าว
ขณะที่ "โค้ชเฮง" วิทยา เลาหกุล อดีตกุนซือทีมชาติไทย ออกโรงค้านเช่นกัน "ในเจลีกของญี่ปุ่น แม้จะมีการดึงนักเตะต่างชาติมาเล่นจำนวนมาก แต่เขาก็ยังอิงกับกฎ 3+1 ของ เอเอฟซี อีกทั้งยังเลือกเฉพาะนักเตะคุณภาพ อาทิ ดุงกา หรือ ซิโก มาค้าแข้ง แม้จะต้องจ่ายค่าเหนื่อยแพง แต่ก็ทำให้ผู้เล่นท้องถิ่นเรียนรู้ความเป็นมืออาชีพจากนักเตะระดับนี้ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดว่าแต่ละทีมต้องมีผู้เล่นอายุไม่เกิน 19 ปี ลงเล่นไม่น้อยกว่า 2 คน เพื่อให้โอกาสเยาวชนในชาติ ดังนั้นการเพิ่มโควตานักเตะต่างชาติ ผมไม่เห็นด้วยแน่นอน"
ด้าน "โค้ชเตี้ย" สะสม พบประเสริฐ กุนซือทีม "สิงเจ้าท่า" การท่าเรือไทย เอฟซี แชมป์เอฟเอ คัพ เมื่อฤดูกาลที่ผ่านมาค้านหัวชนฝากับแนวคิดดังกล่าวเช่นกัน "ทุกวันนี้เราดูฟุตบอลพรีเมียร์ลีกในอังกฤษ ก็เห็นแล้วว่าสนุกดี มีสีสัน เพราะผู้เล่นต่างชาติมากความสามารถลงแข่งขัน แต่อย่าลืมดูผลที่ตามมาด้วย เห็นได้ชัดว่าแต่ละทีมแทบจะหาดาวรุ่งท้องถิ่นขึ้นมาเล่นชุดใหญ่ได้น้อยมาก และยังส่งผลกระทบไปสู่ทีมชาติอีกด้วยเนื่องจากมีตัวเลือกน้อยเกินไป"
ทั้งนี้ต้องยอมรับความจริงว่าแม้แต่ เซปป์ แบลตเตอร์ ประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟา ยังมีแนวความคิดในการจำกัดจำนวนนักเตะต่างชาติ เพื่อมาให้ลีกต่างๆ ในยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษที่ไม่จำกัดโควตาแข้งต่างชาติปฏิบัติตาม ดังนั้นเป็นที่น่าสงสัยในวิศัยทัศน์ของสมาคมลูกหนังไทย และไทยพรีเมียร์ลีก ในการสนับสนุนการเพิ่มโควตานักเตะต่างชาติเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นการแสดงความหวังดี แต่กลับส่งผลร้ายต่อการพัฒนาวงการฟุตบอลในประเทศหรือไม่?