xs
xsm
sm
md
lg

“แรง” / วันปีย์ สัจจมาร์ค

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คอลัมน์ "The Golf Touch" โดย "วันปีย์ สัจจมาร์ค"

สัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่งจะจัดกิจกรรมให้กับแฟนๆรายการ Tee Off ไปอย่างสนุกสนาน เลยทำให้นึกขึ้นได้ว่ายังไม่เคยเขียนเรื่อง “แรง” ต่างๆ ในการสร้างพลังให้กับวงสวิงของนักกอล์ฟเลย

เมื่อนักกอล์ฟต้องการตีให้ได้ระยะมากขึ้น เราจำเป็นต้องรู้จักการใช้ “แรง” อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าหลายคนยังไม่เข้าใจว่า เราต้องใช้หลายๆ “แรง” มารวมกันถึงจะดี ส่วนมากนักกอล์ฟหัดใหม่มักจะนิยม “แรงขึ้น” หรือว่าการออกแรงมากขึ้น เพื่อเพิ่มระยะนั่นเอง เป็นวิธีกำปั้นทุบดินนะครับ แต่ก็ได้ผลทันที

การออกแรงมากขึ้นนั้นโดยทั่วไปทำได้ง่ายและทำเป็นกันอยู่แล้วทุกๆคน ทว่าข้อด้อยก็คือ ระยะที่ได้จาก “แรง” นี้จะเริ่มไม่สม่ำเสมอขึ้นอยู่กับความสดชื่นและสภาพกล้ามเนื้อของตัวนักกอล์ฟ ดังนั้นวันที่รู้สึกดีหรือช่วง 9 หลุมแรก มักจะมีระยะที่ดีกว่าช่วง 9หลุมหลังหรือเมื่อเริ่มเหนื่อย

“แรง” ที่มีประสิทธิภาพที่ดีกับวงสวิงมีอยู่ 3แรงด้วยกันครับ อันแรกคือ “แรงบิด” เป็นการสร้างเกลียวของร่างกาย เกลียวที่ว่านี้คือความต่างของการหมุนไหล่และสะโพก นึกสภาพตามนะครับว่า ถ้าสะโพกหมุนไปได้ 90องศาเท่ากับการหมุนไหล่ เกลียวจะไม่เกิดเลย ( 90-90=0 ) ซึ่งต่างกันจากถ้าหัวไหล่หมุนไปได้ 90องศา ขณะที่สะโพกหมุนตามไปเพียง 45องศา ( 90-45=45) จะมีเกลียวที่มากกว่า นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ทำไมบางครั้งเราเห็นว่าคนที่ดูเหมือนจะหมุนตัวไปน้อย กลับได้ระยะเท่ากับคนที่ขึ้นมากกว่าได้ เพราะเราต้องหักลบการหมุนตามของสะโพกออกด้วย

มีข้อแม้อยู่ว่า “แรงบิดที่สร้างได้แล้วจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อสามารถคลายเกลียวได้ถูกวิธีและถูกจังหวะ” จึงจะโอนถ่ายพลังงานที่สร้างขึ้นมาไปสู่ลูกกอล์ฟได้อย่างเต็มที่ ส่วนอีกสอง “แรง” ติดตามต่อฉบับต่อไปนะครับ

“แรง” ข้อดี ข้อด้อย “แรงขึ้น”

* ทำง่าย ทำได้ทุกคน
* ไม่ต้องฝึกซ้อม
* เป็นตัวเสริมที่ดีของนักกอล์ฟที่เทคนิคดีอยู่แล้ว
* เหนื่อยง่าย
* บาดเจ็บง่าย
* ความสม่ำเสมอต่ำ “แรงบิด”
* ไม่เปลืองแรง
* อาศัยความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
* ใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของลำตัว
* สร้างพลังได้มหาศาล
* คนตัวหนาจะทำได้ยาก
* คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังจะทำได้จำกัด
* ต้องยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นอย่างสม่ำเสมอ
กำลังโหลดความคิดเห็น