xs
xsm
sm
md
lg

100 เมตร ชิงจ้าวลมกรด / กษิติ กมลนาวิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน

หลังจากที่ “ เจ้าสายฟ้าแลบ ” ยูเซน โบลท์ นักกรีฑา ชาวจามายกา คว้าเหรียญทองในรายการวิ่ง 100 เมตรชาย โอลิมปิค เกมส์ ที่กรุงเป่ยจิง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2008 พร้อมกับสร้างสถิติโลกขึ้นใหม่ด้วยเวลา 9.69 วินาที เวลาผ่านไป 1 ปีพอดี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2009 เขาก็คว้าเหรียญทองจาก รายการวิ่ง 100 เมตร ชาย ได้อีก คราวนี้เป็นการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก ( 2009 World Championships in Athletics ) ที่ โอลึมเปียชตาดิออน ( Olympiastadion ) ในกรุงแบร์ลิน ประเทศเยอรมนี และที่สำคัญ เขาทำลายสถิติโลกอีกครั้งด้วยเวลา 9.58 วินาที

แม้ว่าในโลกเราจะมีรายการวิ่งระยะสั้นกว่า 100 เมตร อยู่เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นระยะ 100 หลา หรือ 91.4 เมตร ที่นิยมกันในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ ถือว่าล้าสมัยไปแล้ว นอกจากนั้น ยังมีระยะ 60 เมตร ซึ่งบางครั้งก็มีระย 50 หรือ 55 เมตรด้วยซ้ำไป ระยะพวกนี้เอาไปจัดแข่งกันสำหรับกรีฑาในร่ม ( Indoor ) ก็ด้วยสถานที่ไม่อำนวย ไม่มีลู่วิ่งทางตรงยาวถึง 100 เมตรนั่นเอง ถึงอย่างไรก็ตาม เขาก็ยังถือว่า รายการวิ่งระยะ 100 เมตร ชาย เป็นดัชนีชี้วัดความเป็นมนุษย์ที่เร็วที่สุดในโลก ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบความเร็วเฉลี่ยระหว่าง รายการวิ่ง 100 เมตร กับ 200 เมตร โดยถือสถิติโลกเป็นเกณฑ์ แต่ก่อนนี้ ส่วนใหญ่ รายการวิ่ง 200 เมตร มักจะมีเวลาเฉลี่ยที่ดีกว่า แต่ในปัจจุบัน รายการวิ่ง 100 เมตร กินขาด เพราะมีความเร็วเฉลี่ยที่ 37.58 กิโลเมตรต่อ

ตั้งแต่เริ่มมีการใช้การจับเวลาแบบอีเล็คทรอนิคส์ เป็นระบบจับเวลาอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ( Fully Automatic Timing - FAT ) ในปี 1968 มาจนถึงวันนี้ สถิติความเร็วถูกสร้างขึ้น และทำลายลงด้วยเวลาที่ดีกว่า 12 ครั้ง โดยไม่มีครั้งใดที่มีการทำลายเยอะกว่า 0.05 วินาทีเลย จนครั้งล่าสุดนี่เองที่ ยูเซน โบลท์ ทำลายสถิติของตนเองถึง 0.11 วินาที

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ การออกสตาร์ทซึ่งนักวิ่งทุกคนจะต้องฟังเสียงปืนให้สัญญาณที่มีระบบจับเวลาเชื่อมต่อกับที่ยันเท้า ( Starting Block ) โดยเขามีการวิจัยกันแล้วว่า เสียงปืนที่จะเดินทางมาถึงหูของนักวิ่ง บวกกับ เวลาที่นักวิ่งสามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองเสียงปืนนั้นย่อมไม่เร็วกว่า 0.1 วินาที ดังนั้น จึงกำหนดให้นักวิ่งออกสตาร์ทได้ไม่เร็วกว่า 0.1 วินาทีหลังจากสัญญาณปล่อยตัว ถ้าเร็วกว่านี้ถือว่าเป็นการออกสตาร์ทผิดกติกา ซึ่งกฎกติกาในสมัยก่อนยังให้โอกาสนักวิ่งทำผิดกติกาได้คนละ 1 ครั้ง โดยใครออกสตาร์ทผิดกติกาครั้งแรก จะถูกหมายหัวเอาไว้ แต่เขายังมีโอกาสกลับมาเริ่มออกสตาร์ทกันใหม่ แล้วถ้าครั้งใหม่นี้ นักวิ่งคนอื่นที่ไม่ได้ออกสตาร์ทผิดกติกา ทำผิดบ้าง ก็จะโดนหมายหัวแล้วกลับมาเริ่มกันใหม่อีก จนเมื่อมีใครออกสตาร์ทผิดซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ของตนเอง จึงต้องออกจากการแข่งขันไป กฎดังกล่าวทำให้การแข่งขันเสียเวลา จึงมีการปรับเปลี่ยนใหม่ให้เหมือนกับกฎการออกสตาร์ท 2 ครั้ง ( Two Start Rule ) ในการแข่งขันว่ายน้ำ นั่นคือ หลังจากที่มีการออกสตาร์ทผิดกติกาในครั้งแรกไปแล้ว คราวนี้เมื่อมาเริ่มกันใหม่ แล้วใครก็ตามที่ทำผิด คนนั้นต้องไปทันที ไม่ว่าครั้งแรก จะเป็นหมอนี่ที่ออกสตาร์ทฟาล์วหรือไม่ก็ตาม

กฎกติกาดังกล่าวใช้มานานปี แล้วเขาก็พบว่า มันยังมีช่องโหว่ โดยนักวิ่งที่มีปฏิกิริยาช้ามักจะเจตนาแกล้งออกสตาร์ทฟาล์วไปก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อบีบให้คนที่มีปฏิกิริยาเร็วกว่าและควรจะได้เปรียบเกิดอาการชะงัก ต้องระวังตัวในการออกสตาร์ทมากเป็นพิเศษ เพราะคราวนี้ ไม่ว่าใครก็ตามผิดไม่ได้แล้ว จากความได้เปรียบอาจกลายเป็นเสียเปรียบเพราะเกิดอาการเกร็ง นี่จึงเป็นเหตุให้ สหพันธ์กรีฑานานาชาติ ( International Association of Athletics Federations – IAAF ) ประกาศใช้กฎกติกาใหม่คือ ต่อไปนี้ใครออกสตาร์ทผิดกติกาต้องออกจากการแข่งขันทันที เหมือนแบบการแข่งขันว่ายน้ำ ที่เรียกว่า กฎการออกสตาร์ทครั้งเดียว ( One Start Rule )
กำลังโหลดความคิดเห็น