คอลัมน์ สุดฟากสนาม โดย ธีรพัฒน์ อัครเศรณี
ตั้งแต่หน้ากีฬาของ เอเอสทีวี ผู้จัดการรายวัน ถีบตัวเองจากโซนปริทรรศน์มาอยู่หน้า 8 ของเซคชั่นแรก ที่ว่าด้วยเนื้อหาในลักษณะฮาร์ดนิวส์ (ที่เต็มไปด้วยสีสัน) ผมยังไม่ได้เขียนถึงเพราะมัวติดพันกับเรื่องราวของ Return of the King (KENNY) ของพี่เคนนี่ ดัลกลิช ไปเสียตั้งสองตอน
ท่านผู้อ่านมิตรรักแฟนเพลงทั้งที่เป็นพันธมิตรและมิใช่ พลิกหนังสือพิมพ์ เอเอสทีวี ผู้จัดการรายวันอ่านมาตั้งแต่เมื่อ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา ก็คงพอจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของหนังสือพิมพ์ธุรกิจเล่มนี้ ที่พยายามปรับตัวเพื่อสู้กับสื่ออื่นๆ ตั้งแต่สู้กับทั้งหนังสือพิมพ์ธุรกิจด้วยกัน สู้กับทั้งหนังสือพิมพ์หัวสี สู้กับทั้งหนังสือพิมพ์บันเทิง สู้กับทั้งหนังสือพิมพ์กีฬา สู้กับสื่ออินเทอร์เน็ต หรือสุดท้ายอาจจะสู้กับตัวเองด้วย เพราะมาตรฐานเว็บไซต์แมเนเจอร์ ออนไลน์ ทั้งฮิตติดระเบิดมีแฟนสนใจเพียบ นั่นคือโจทย์ที่น่าสนใจว่า แล้วทำไมหนังสือพิมพ์จึงจะทำเช่นนั้นไม่ได้?
จึงเกิดการปรับในภาพรวมเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้ตัวเองว่า หนังสือพิมพ์ธุรกิจยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเศรษฐกิจ ทิศทางลงทุน หรือการเมืองเท่านั้น
เพื่อหาปลาในบ่อใหม่ ขยายฐานผู้อ่านให้กว้างขึ้น ไปสู่ชนชั้นกลางและวัยทำงานมากขึ้น ไม่จำเป็นจะต้องมีไว้สำหรับพวกไวท์คอลลาร์ คอปกแข็งอย่างเดียวเท่านั้น
"กีฬา" คือประเด็นสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันครับ เพราะทุกวันนี้ตั้งแต่ชาวบ้านร้านทุ่ง ยันนักธุรกิจ นักการเมือง ล้วนมีกีฬาหรือนักกีฬาที่ตัวเองชอบอยู่ในหัวใจทั้งนั้น
เมื่อ "นก"นพวรรณ เป็นแชมป์หรือ ลิเวอร์พูล มาเมืองไทย ทุกคนก็พูดภาษาเดียวกัน "กีฬา" คือเครื่องมือทำลายกำแพง ทำลายช่องว่างแห่งชนชั้นอย่างแท้จริง!
ฟุตบอล กอล์ฟ เทนนิส แม้กระทั่งอเมริกันเกมส์ หนังสือพิมพ์ธุรกิจเมืองนอกนั้นเล็งเห็นเรื่องนี้มาตั้งนานแล้ว จึงให้ความสำคัญบางเล่มเปิดเป็นเซ็กชั่น หรือบางเล่มก็อุทิศเนื้อที่ให้หลายๆหน้าด้วยซ้ำ
ที่สำคัญเมื่อ "กีฬา" ดี ยิ่งทำให้ภาพพจน์ของหนังสือดี ตามไปด้วย แน่นอนภาพสวย มีสาระ มีความบันเทิง ไม่หนักและไม่เบาเกินไป
แต่การทำข่าวกีฬาสมัยนี้ก็ไม่ง่ายเลยเพราะต้องแข่งกับสื่อโทรทัศน์และโลกอินเทอร์เน็ต เมื่อมาเป็นสิ่งพิมพ์นอกจากจะต้องเน้นเนื้อหาที่เจาะลึกแล้ว ยังต้องระวังเรื่องความฉับไว จะทำเป็นชวน เชื่องช้าหรือมาร์ค สโลโมชั่น ไม่ได้เด็ดขาด ช้าในที่นี้ไม่ได้หมายถึงย่างก้าวช้าเดียว แต่หมายถึงจังหวะสำคัญต้องไม่ช้า ต้องไม่พลาด
ผมเติบโตมาทันเห็นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ผู้จัดการรายวันยังไม่มีหน้ากีฬาเลยด้วยซ้ำ จนกระทั่งเริ่มเกิดในเซกชั่นปริทรรศน์และที่สุดได้ย้ายมาอยู่หน้า 8 ซึ่งคนจีนเขาถือกันว่าเป็นเลขนำโชค แต่นั่นคงไม่สำคัญเท่าความพยายามและจิตสำนึกที่จะรักษาคุณภาพการเป็นสื่อกีฬาที่ดีต่อไปในอนาคต ทำได้จริงหรือไม่คุณๆผู้อ่านทั้งหลายนั่นแหล่ะจะเป็นคนตัดสิน
ตั้งแต่หน้ากีฬาของ เอเอสทีวี ผู้จัดการรายวัน ถีบตัวเองจากโซนปริทรรศน์มาอยู่หน้า 8 ของเซคชั่นแรก ที่ว่าด้วยเนื้อหาในลักษณะฮาร์ดนิวส์ (ที่เต็มไปด้วยสีสัน) ผมยังไม่ได้เขียนถึงเพราะมัวติดพันกับเรื่องราวของ Return of the King (KENNY) ของพี่เคนนี่ ดัลกลิช ไปเสียตั้งสองตอน
ท่านผู้อ่านมิตรรักแฟนเพลงทั้งที่เป็นพันธมิตรและมิใช่ พลิกหนังสือพิมพ์ เอเอสทีวี ผู้จัดการรายวันอ่านมาตั้งแต่เมื่อ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา ก็คงพอจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของหนังสือพิมพ์ธุรกิจเล่มนี้ ที่พยายามปรับตัวเพื่อสู้กับสื่ออื่นๆ ตั้งแต่สู้กับทั้งหนังสือพิมพ์ธุรกิจด้วยกัน สู้กับทั้งหนังสือพิมพ์หัวสี สู้กับทั้งหนังสือพิมพ์บันเทิง สู้กับทั้งหนังสือพิมพ์กีฬา สู้กับสื่ออินเทอร์เน็ต หรือสุดท้ายอาจจะสู้กับตัวเองด้วย เพราะมาตรฐานเว็บไซต์แมเนเจอร์ ออนไลน์ ทั้งฮิตติดระเบิดมีแฟนสนใจเพียบ นั่นคือโจทย์ที่น่าสนใจว่า แล้วทำไมหนังสือพิมพ์จึงจะทำเช่นนั้นไม่ได้?
จึงเกิดการปรับในภาพรวมเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้ตัวเองว่า หนังสือพิมพ์ธุรกิจยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเศรษฐกิจ ทิศทางลงทุน หรือการเมืองเท่านั้น
เพื่อหาปลาในบ่อใหม่ ขยายฐานผู้อ่านให้กว้างขึ้น ไปสู่ชนชั้นกลางและวัยทำงานมากขึ้น ไม่จำเป็นจะต้องมีไว้สำหรับพวกไวท์คอลลาร์ คอปกแข็งอย่างเดียวเท่านั้น
"กีฬา" คือประเด็นสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันครับ เพราะทุกวันนี้ตั้งแต่ชาวบ้านร้านทุ่ง ยันนักธุรกิจ นักการเมือง ล้วนมีกีฬาหรือนักกีฬาที่ตัวเองชอบอยู่ในหัวใจทั้งนั้น
เมื่อ "นก"นพวรรณ เป็นแชมป์หรือ ลิเวอร์พูล มาเมืองไทย ทุกคนก็พูดภาษาเดียวกัน "กีฬา" คือเครื่องมือทำลายกำแพง ทำลายช่องว่างแห่งชนชั้นอย่างแท้จริง!
ฟุตบอล กอล์ฟ เทนนิส แม้กระทั่งอเมริกันเกมส์ หนังสือพิมพ์ธุรกิจเมืองนอกนั้นเล็งเห็นเรื่องนี้มาตั้งนานแล้ว จึงให้ความสำคัญบางเล่มเปิดเป็นเซ็กชั่น หรือบางเล่มก็อุทิศเนื้อที่ให้หลายๆหน้าด้วยซ้ำ
ที่สำคัญเมื่อ "กีฬา" ดี ยิ่งทำให้ภาพพจน์ของหนังสือดี ตามไปด้วย แน่นอนภาพสวย มีสาระ มีความบันเทิง ไม่หนักและไม่เบาเกินไป
แต่การทำข่าวกีฬาสมัยนี้ก็ไม่ง่ายเลยเพราะต้องแข่งกับสื่อโทรทัศน์และโลกอินเทอร์เน็ต เมื่อมาเป็นสิ่งพิมพ์นอกจากจะต้องเน้นเนื้อหาที่เจาะลึกแล้ว ยังต้องระวังเรื่องความฉับไว จะทำเป็นชวน เชื่องช้าหรือมาร์ค สโลโมชั่น ไม่ได้เด็ดขาด ช้าในที่นี้ไม่ได้หมายถึงย่างก้าวช้าเดียว แต่หมายถึงจังหวะสำคัญต้องไม่ช้า ต้องไม่พลาด
ผมเติบโตมาทันเห็นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ผู้จัดการรายวันยังไม่มีหน้ากีฬาเลยด้วยซ้ำ จนกระทั่งเริ่มเกิดในเซกชั่นปริทรรศน์และที่สุดได้ย้ายมาอยู่หน้า 8 ซึ่งคนจีนเขาถือกันว่าเป็นเลขนำโชค แต่นั่นคงไม่สำคัญเท่าความพยายามและจิตสำนึกที่จะรักษาคุณภาพการเป็นสื่อกีฬาที่ดีต่อไปในอนาคต ทำได้จริงหรือไม่คุณๆผู้อ่านทั้งหลายนั่นแหล่ะจะเป็นคนตัดสิน