คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
ตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจัดระบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศใหม่ ที่เรียกกันว่า การรวมลีก ทำให้การแข่งขันหลักๆ แบ่งออกเป็น ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีก 16 ทีม ดิวิชั่น 1 ก็มี 16 ทีม ดิวิชั่น 2 มี 22 ทีม และ โปรวินเชียลอีก 54 ทีม โดยผลการแข่งขันฟุตบอล ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีก 2007 สโมสรฟุตบอลชลบุรีได้แชมป์ไปครอง และมี 4 ทีมตกชั้นไปเล่นใน ดิวิชั่น 1 ในขณะที่ 4 ทีมจาก ดิวิชั่น 1 ก็ได้เลื่อนชั้นมา ซึ่ง 1 ในนั้นคือ สโมสรฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความจริง ถ้าพูดถึงประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ผมอยากเรียนท่านผู้อ่านว่า จุฬาฯ มีทีมฟุตบอลตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตอนนั้นยังเป็น โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดย 1 ปีหลังจากก่อตั้งโรงเรียน คือในปี พ.ศ. 2443 กระทรวงศึกษาธิการ ที่สมัยนั้นเรียกว่า กระทรวงธรรมการ ได้จัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนชิงโล่ของ กรมศึกษาธิการ ประเภทอายุ 20 ปีขึ้นเป็นครั้งแรก 1 ใน 9 ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันก็มีโรงเรียนราชการที่ว่านี้ด้วย แต่แข่งเพียงแค่นัดแรกก็แพ้ โรงเรียนสวนกุหลาบไป 1-0 ตกรอบซะแล้ว
มาถึงปลายปี พ.ศ. 2458 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานกำเนิดทีมฟุตบอลชาติไทย โดยเรียกกันในสมัยนั้นว่า “ คณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม ” และอีกประมาณ 4 เดือนถัดมาคือ วันที่ 26 มีนาคม 2459 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนา โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน เป็นมหาวิทยาลัย โดยพระราชทานนามว่า “ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ” ซึ่งก็ได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลรายการต่างๆมาจนถึงทุกวันนี้ คว้าแชมป์กับเขามาได้บ้าง เช่น แชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. พ.ศ. 2463 และ 2498 แชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข. พ.ศ. 2500 และ 2502 แชมป์ฟุตบอลกีฬามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2532, 2538 และ 2542 และแชมป์ฟุตบอลดิวิชั่น 2 พ.ศ. 2549
ในการแข่งขันฟุตบอล ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีก 2008 นี้ก็นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ จุฬาฯ ซึ่งเป็นทีมมหาวิทยาลัยของรัฐทีมแรกได้เข้าสู่ลีกอาชีพ ลีกสูงสุดของประเทศไทย ก่อนนั้น งบประมาณในการทำทีมระดับดิวิชั่น 1 ใช้เงินไม่มาก เพราะนักเตะระดับนี้ ค่าตัวไม่แพง ทีมจุฬาฯ ได้เงินจากนักธุรกิจไม่กี่คนที่ให้ด้วยใจรักอย่าง ดร.อดิศัย โพธารามิก คุณพันเลิศ ใบหยก คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง และคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ลงขันคนละ 1 ล้านบาท แต่คราวนี้เป็นลีกอาชีพ นอกจากค่าตัวนักเตะที่แพงขึ้น ยังต้องจัดสนามเหย้าไว้ต้อนรับอีก 15 ทีมด้วย งบประมาณกลายเป็น 3 เท่า ซึ่งทางสโมสรฯ กำลังเจรจากับผู้สนับสนุนหลักอยู่ในขั้นเข้าด้ายเข้าเข็ม หรือจะโคม่าก็ไม่ทราบ
ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งคือ การบริหารการจัดการแข่งขันที่ใช้สนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่ชาวจุฬาฯเรียกว่า “ สนามจุ๊บ ” เป็นสนามเหย้า สนามแห่งนี้เปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงเป็นสนามหญ้าเทียม อัฒจรรย์จุผู้ชมได้ราว 1 หมื่นคน โดยเฉพาะทางด้านอัฒจรรย์มีหลังคานั้น ได้ใส่เก้าอี้นั่ง 2,130 ที่นั่ง ทางสโมสรฯ คิดว่าการจะเก็บค่าเข้าชม คงได้กันหร็อมแหร็ม ไม่คุ้มค่าตั้งโต๊ะขายตั๋ว จึงเปิดให้แฟนบอลเข้าชมฟรี โดยมีที่นั่งด้านหลังประตูฟุตบอลทั้งสองฝั่ง และอัฒจรรย์ด้านตรงข้ามอัฒจรรย์มีหลังคา ส่วนบริเวณอัฒจรรย์มีหลังคาก็จัดเป็นที่นั่ง วีไอพี ขายตั๋วปี ทำเป็นบัตรพลาสติกห้อยคอ ขนาดเท่า เครดิตการ์ด เพื่อเข้าชมตลอดฤดูกาล 15 แมตช์ พ่วงสิทธิในการเข้ารับบริการอาหาร และเครื่องดื่มฟรี ตลอดรายการในห้องรับรองพิเศษ ( VIP LOUNGE ) ที่เป็นห้องกระจก แอร์เย็นฉ่ำ อยู่ด้านบน มีความยาวตลอดความยาวสนาม บัตรเข้าชมตลอดฤดูกาลดังกล่าว ราคา 3,000 บาท โดยกลุ่มเป้าหมายก็คือ บรรดาศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคณะ ซึ่งมีเป็นแสนคน คิดเฉลี่ยแมตช์ละ 200 บาท นับว่าเป็นราคาที่ถูกทีเดียว สำหรับการสนับสนุนสโมสรฯ และมาร่วมสังสรรค์กับบุคคลในวงการกีฬา
โครงการของทีมสโมสรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดเวทีการแสดงก่อนการแข่งขันฟุตบอลและระหว่างพักครึ่งเวลา มีทั้งดนตรี ดารา นักร้อง นักแสดง ซึ่งล้วนเป็นศิษย์ปัจจุบัน หรือศิษย์เก่าจากรั้วจุฬาฯ ตรงนี้ผมขอกระซิบเบาๆว่า คุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์ เป็นกรรมการสโมสรฯด้วยนะครับ หรือจะเป็นการแข่งขันกีฬาอื่นๆ เช่น การแข่งกรีฑาสาธิตโดยนักกรีฑาทีมชาติ เพื่อให้แฟนบอลในสนามได้บรรยากาศหลายรสชาติ เป็นต้น เรียกว่า วันไหนที่ทีมจุฬาฯ เป็นเจ้าบ้านก็จะเป็น สปอร์ต เดย์ ที่พ่อแม่สามารถจูงลูกมานั่งชมกีฬา แถมชมรายการบันเทิงได้หลายชั่วโมง ใครนั่งที่ไม่เสียเงิน ก็หาร่มมากาง หาซื้อลูกชิ้นปิ้ง น้ำดื่มเข้ามารับประทานกันเอง ส่วนใครซื้อตั๋วปี ก็มีอาหาร เครื่องดื่มที่ห้องรับรองพิเศษ นี่เป็นโครงการของทีมน้องใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เหมือนกับถอดแบบมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ เรื่องบัตรเข้าชมตลอดฤดูกาลที่ตั้งเป้าไว้ว่า ต้องเห็นผลเป็นเนื้อเป็นหนังภายในเลกแรกนี้
สำหรับแมตช์แรกที่ สโมสรฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเปิดสนามรับการมาเยือนของสโมสรทหารบกนั้นเป็นวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์นี้ ช่วงนี้ นิสิตติดสอบกันเต็มๆเลย การแสดงคงยังไม่ได้ฤกษ์เปิดฉาก แต่ที่นั่ง วีไอพี และห้องรับรองพิเศษเริ่มกันแล้ว ใครสนใจบัตรเข้าชมตลอดฤดูกาล เปิดดูในเว็บไซต์ www.chulafc.com ครับ
ตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจัดระบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศใหม่ ที่เรียกกันว่า การรวมลีก ทำให้การแข่งขันหลักๆ แบ่งออกเป็น ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีก 16 ทีม ดิวิชั่น 1 ก็มี 16 ทีม ดิวิชั่น 2 มี 22 ทีม และ โปรวินเชียลอีก 54 ทีม โดยผลการแข่งขันฟุตบอล ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีก 2007 สโมสรฟุตบอลชลบุรีได้แชมป์ไปครอง และมี 4 ทีมตกชั้นไปเล่นใน ดิวิชั่น 1 ในขณะที่ 4 ทีมจาก ดิวิชั่น 1 ก็ได้เลื่อนชั้นมา ซึ่ง 1 ในนั้นคือ สโมสรฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความจริง ถ้าพูดถึงประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ผมอยากเรียนท่านผู้อ่านว่า จุฬาฯ มีทีมฟุตบอลตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตอนนั้นยังเป็น โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดย 1 ปีหลังจากก่อตั้งโรงเรียน คือในปี พ.ศ. 2443 กระทรวงศึกษาธิการ ที่สมัยนั้นเรียกว่า กระทรวงธรรมการ ได้จัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนชิงโล่ของ กรมศึกษาธิการ ประเภทอายุ 20 ปีขึ้นเป็นครั้งแรก 1 ใน 9 ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันก็มีโรงเรียนราชการที่ว่านี้ด้วย แต่แข่งเพียงแค่นัดแรกก็แพ้ โรงเรียนสวนกุหลาบไป 1-0 ตกรอบซะแล้ว
มาถึงปลายปี พ.ศ. 2458 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานกำเนิดทีมฟุตบอลชาติไทย โดยเรียกกันในสมัยนั้นว่า “ คณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม ” และอีกประมาณ 4 เดือนถัดมาคือ วันที่ 26 มีนาคม 2459 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนา โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน เป็นมหาวิทยาลัย โดยพระราชทานนามว่า “ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ” ซึ่งก็ได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลรายการต่างๆมาจนถึงทุกวันนี้ คว้าแชมป์กับเขามาได้บ้าง เช่น แชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. พ.ศ. 2463 และ 2498 แชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข. พ.ศ. 2500 และ 2502 แชมป์ฟุตบอลกีฬามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2532, 2538 และ 2542 และแชมป์ฟุตบอลดิวิชั่น 2 พ.ศ. 2549
ในการแข่งขันฟุตบอล ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีก 2008 นี้ก็นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ จุฬาฯ ซึ่งเป็นทีมมหาวิทยาลัยของรัฐทีมแรกได้เข้าสู่ลีกอาชีพ ลีกสูงสุดของประเทศไทย ก่อนนั้น งบประมาณในการทำทีมระดับดิวิชั่น 1 ใช้เงินไม่มาก เพราะนักเตะระดับนี้ ค่าตัวไม่แพง ทีมจุฬาฯ ได้เงินจากนักธุรกิจไม่กี่คนที่ให้ด้วยใจรักอย่าง ดร.อดิศัย โพธารามิก คุณพันเลิศ ใบหยก คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง และคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ลงขันคนละ 1 ล้านบาท แต่คราวนี้เป็นลีกอาชีพ นอกจากค่าตัวนักเตะที่แพงขึ้น ยังต้องจัดสนามเหย้าไว้ต้อนรับอีก 15 ทีมด้วย งบประมาณกลายเป็น 3 เท่า ซึ่งทางสโมสรฯ กำลังเจรจากับผู้สนับสนุนหลักอยู่ในขั้นเข้าด้ายเข้าเข็ม หรือจะโคม่าก็ไม่ทราบ
ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งคือ การบริหารการจัดการแข่งขันที่ใช้สนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่ชาวจุฬาฯเรียกว่า “ สนามจุ๊บ ” เป็นสนามเหย้า สนามแห่งนี้เปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงเป็นสนามหญ้าเทียม อัฒจรรย์จุผู้ชมได้ราว 1 หมื่นคน โดยเฉพาะทางด้านอัฒจรรย์มีหลังคานั้น ได้ใส่เก้าอี้นั่ง 2,130 ที่นั่ง ทางสโมสรฯ คิดว่าการจะเก็บค่าเข้าชม คงได้กันหร็อมแหร็ม ไม่คุ้มค่าตั้งโต๊ะขายตั๋ว จึงเปิดให้แฟนบอลเข้าชมฟรี โดยมีที่นั่งด้านหลังประตูฟุตบอลทั้งสองฝั่ง และอัฒจรรย์ด้านตรงข้ามอัฒจรรย์มีหลังคา ส่วนบริเวณอัฒจรรย์มีหลังคาก็จัดเป็นที่นั่ง วีไอพี ขายตั๋วปี ทำเป็นบัตรพลาสติกห้อยคอ ขนาดเท่า เครดิตการ์ด เพื่อเข้าชมตลอดฤดูกาล 15 แมตช์ พ่วงสิทธิในการเข้ารับบริการอาหาร และเครื่องดื่มฟรี ตลอดรายการในห้องรับรองพิเศษ ( VIP LOUNGE ) ที่เป็นห้องกระจก แอร์เย็นฉ่ำ อยู่ด้านบน มีความยาวตลอดความยาวสนาม บัตรเข้าชมตลอดฤดูกาลดังกล่าว ราคา 3,000 บาท โดยกลุ่มเป้าหมายก็คือ บรรดาศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคณะ ซึ่งมีเป็นแสนคน คิดเฉลี่ยแมตช์ละ 200 บาท นับว่าเป็นราคาที่ถูกทีเดียว สำหรับการสนับสนุนสโมสรฯ และมาร่วมสังสรรค์กับบุคคลในวงการกีฬา
โครงการของทีมสโมสรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดเวทีการแสดงก่อนการแข่งขันฟุตบอลและระหว่างพักครึ่งเวลา มีทั้งดนตรี ดารา นักร้อง นักแสดง ซึ่งล้วนเป็นศิษย์ปัจจุบัน หรือศิษย์เก่าจากรั้วจุฬาฯ ตรงนี้ผมขอกระซิบเบาๆว่า คุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์ เป็นกรรมการสโมสรฯด้วยนะครับ หรือจะเป็นการแข่งขันกีฬาอื่นๆ เช่น การแข่งกรีฑาสาธิตโดยนักกรีฑาทีมชาติ เพื่อให้แฟนบอลในสนามได้บรรยากาศหลายรสชาติ เป็นต้น เรียกว่า วันไหนที่ทีมจุฬาฯ เป็นเจ้าบ้านก็จะเป็น สปอร์ต เดย์ ที่พ่อแม่สามารถจูงลูกมานั่งชมกีฬา แถมชมรายการบันเทิงได้หลายชั่วโมง ใครนั่งที่ไม่เสียเงิน ก็หาร่มมากาง หาซื้อลูกชิ้นปิ้ง น้ำดื่มเข้ามารับประทานกันเอง ส่วนใครซื้อตั๋วปี ก็มีอาหาร เครื่องดื่มที่ห้องรับรองพิเศษ นี่เป็นโครงการของทีมน้องใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เหมือนกับถอดแบบมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ เรื่องบัตรเข้าชมตลอดฤดูกาลที่ตั้งเป้าไว้ว่า ต้องเห็นผลเป็นเนื้อเป็นหนังภายในเลกแรกนี้
สำหรับแมตช์แรกที่ สโมสรฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเปิดสนามรับการมาเยือนของสโมสรทหารบกนั้นเป็นวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์นี้ ช่วงนี้ นิสิตติดสอบกันเต็มๆเลย การแสดงคงยังไม่ได้ฤกษ์เปิดฉาก แต่ที่นั่ง วีไอพี และห้องรับรองพิเศษเริ่มกันแล้ว ใครสนใจบัตรเข้าชมตลอดฤดูกาล เปิดดูในเว็บไซต์ www.chulafc.com ครับ