่ยุทธศาสตร์ทวงคืนของ “ทักษิณ-เพื่อไทย” มาแล้ว หลังยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกคำสั่งศาลปกครองเรียกเก็บค่าเสียหายในคดีจำนำข้าว จำนวน 35,717 ล้านบาท แถมหมดสิทธิ์ทางการเมือง เรียกคะแนนสงสารให้เกษตรกร ชาวนา สะท้อนภาพ “ปู” เป็นฮีโร่ “ยอมตายเพื่อชาวนาได้ประโยชน์” สบช่องราคาข้าวเปลือกตกต่ำ แค่เล่นเกมตาม ชาวนาก็เดือดร้อนไม่พอใจรัฐบาลบิ๊กตู่ กระแสโหยหายิ่งลักษณ์จะตามมา ด้านชาวนาเผยถูกโรงสีมัดมือชก เอาเปรียบทุกช่องทาง สุดท้ายรัฐบาลต้องออกมาตรการช่วยเหลือ 1.3 หมื่นบาทต่อตัน ใช้วิธีการรับจำนำเหมือนกัน เข้าล็อกก้าวเข้าสู่แผน 2 ไม่ต่างจำนำข้าวยุคยิ่งลักษณ์ รอให้เกิดปัญหาทุจริตคราวนี้ยกระดับความชอบธรรมโครงการจำนำข้าวที่อาจส่งผลต่อรูปคดี
ปัญหาราคาข้าวตกต่ำที่ชาวนาขายได้ 5-6 บาทต่อกิโลกรัม จากมีบางส่วนนำข้าวบรรจุถุงออกเร่ขายกับประชาชนโดยตรง กลายเป็นเรื่องร้อนที่ทำให้รัฐบาลต้องออกมาหาทางเร่งแก้ปัญหาเรื่องราคาข้าวให้แก่ชาวนาอย่างเร่งด่วน หลังจากที่ข่าวความเดือดร้อนของชาวนามีมากขึ้นในช่วงวันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2559 และรัฐบาลเร่งหามาตรการเยียวยาจนได้เป็นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงมาตรการการช่วยเหลือราคาข้าวตกต่ำต่อเกษตรกรชาวนาว่า โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ฤดูกาลผลิต 2559 ถึง 2560 รวมถึงข้าวหอมมะลิ ชาวนาจะได้รับเงินทั้งสิ้น 13,000 บาท ตอนนี้ราคาเฉลี่ยอยู่ประมาณ 9,700-12,000 บาท เมื่อคิดคำนวนแล้วราคาค่าเฉลี่ยควรจะเป็นตันละ 11,000 บาท โดย ธ.ก.ส.จะรับจำนำตามความเห็นชอบของ ครม.ในวันนี้ 9,500 บาท แต่จะมีเพิ่มเติมช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพให้อีกตันละ 2,000 บาท ค่าขึ้นยุ้งเก็บรักษาตันละ 1,500 บาท รวมเป็น 13,000 บาท
สำหรับเกษตรกรที่ร่วมโครงการและมียุ้งฉาง หากไม่มียุ้งฉางรัฐบาลจะช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและค่าปรับปรุงคุณภาพโดยโอนเงินเข้าบัญชีตันละ 2,000 บาท แต่จะไม่ได้ค่าขึ้นยุ้งเก็บรักษา อันนี้ถือเป็นข้อยุติ หวังว่าพ่อแม่พี่น้องชาวนาคงจะพอใจระดับหนึ่ง และขอให้เห็นใจรัฐบาลบ้าง เพราะช่วงนี้มีความยากลำบากเกิดขึ้นหลายอย่าง ผลกระทบเกิดจากฝนและอะไรต่างๆ
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า สิ่งสำคัญเราต้องช่วยกันคิดว่าจะทำงานในภาคการเกษตรต่อไปอย่างไร หากยังทำแบบเดิม ก็จะมีปัญหา ดังนั้นถึงได้บอกว่าเราต้องมาเรียนรู้ด้วยกันและมีศูนย์เกษตรทฤษฎีใหม่ ศูนย์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ตอนนี้ต้องหาวิธีการปลูกข้าวที่จำนวนไร่น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม และต้องดูตารางข้าวโลกในปัจจุบันด้วย อย่ามองแค่ในประเทศอย่างเดียว ในประเทศเราต้องแก้ไป ด้วยวิธีการช่วยเหลือและสร้างความเข้มแข็ง รวมถึงเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยรัฐบาลจะหาเครื่องมือไปให้ เป็นส่วนรวมไว้ที่สหกรณ์ต่างๆ ถ้าทุกคนรวมกลุ่มได้ ตนก็จะสนับสนุนให้ได้ เพื่อลดค่าแรงต้นทุนการผลิต และต่อไปตนกำลังให้หาโรงสีขนาดกลางในพื้นที่จุดที่เกษตรกรมีความเข้มแข็งและสามารถรวมกลุ่มกัน เพื่อไม่ต้องส่งไปโรงสีข้างนอก เพราะราคาเป็นที่พอใจ เราต้องสร้างให้ชาวบ้านมีความเข้มแข็งด้วยตัวเอง ทั้งปลูก ผลิต แปรรูป ขาย
ส่วนโรงสีเดิมก็ต้องปรับตัว ทำอย่างไรจะให้เกิดความสุจริต โดยประชาชนต้องได้รับผลประโยชน์มากที่สุด โดยเกษตรกรเองก็ต้องมีเครื่องมือตรวจสอบโดยกระบวนการท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือประชาชน เป็นการวัดความชื้นข้าวของตัวเองก่อนที่จะส่งไปโรงสี หากไม่ตรงกับที่โรงสีวัด จะได้ตรวจสอบได้ ถ้าเราไม่เตรียมการตัวเอง เราก็ต้องยอมรับผลการประเมินของโรงสี โดยที่ผ่านมาไม่มีการตรวจสอบหลังเจ้าของโรงสีประเมินค่าความชื้น
สถานการณ์เป็นใจ
ก่อนหน้านี้รัฐบาลมีความกังวลว่าหากปล่อยให้สถานการณ์เรื่องความเดือดร้อนของชาวนายืดเยื้อออกไป จะกลายเป็นการเข้าทางการเมืองของอำนาจเก่า หากมีชาวนาออกมาประท้วงรัฐบาล พร้อมทั้งมองว่าเรื่องดังกล่าวนั้นมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ตอนนี้สถานการณ์มันพอดีกันไปหมด ปฏิเสธไม่ได้ว่าราคาข้าวที่ตกลงไปนั้นเป็นไปตามสภาพตลาดทั่วโลก อินเดีย เวียดนาม พม่า แม้กระทั่งฟิลิปปินส์ผลิตข้าวได้ดี ทำให้ปริมาณข้าวในตลาดโลกมีเพิ่มขึ้น รวมทั้งประเทศไทยที่ฝนดีในช่วงหลังปริมาณข้าวจึงออกมามาก ดังนั้นในเรื่องของกลไกราคาจึงเป็นทิศทางขาลง
ประการต่อมาประเทศไทยมีสต๊อกข้าวในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์อยู่เป็นจำนวนมาก ยังไม่ได้มีการระบายออกไป เมื่อมีข้าวใหม่ที่ออกมาบวกกับข้าวจากต่างประเทศ ตลาดรับซื้อก็อ่านออกว่าราคารับซื้อต้องปรับลดลง
เมื่อลงมาถึงระดับโรงสีที่รับซื้อข้าวจากชาวนา ส่วนหนึ่งก็ต้องดูราคาตลาดโลกเป็นตัวอ้างอิง อีกส่วนหนึ่งต้องย้อนกลับไปในฤดูกาลผลิตก่อนๆ เช่นกันว่าโรงสีที่เคยรับซื้อข้าวจากชาวนาไว้และยังปล่อยข้าวออกไปไม่ได้นั้น บางส่วนขาดทุนตันละประมาณ 5 พันบาท บางโรงสีจึงไม่เปิดรับซื้อหรือถ้าจะรับซื้อก็ต้องปรับราคาลง
นั่นเป็นสถานการณ์โดยรวมของตลาดข้าว ส่วนที่มีการมองกันว่าโรงสีร่วมมือกับการเมืองเก่าช่วยกันสั่นคลอนรัฐบาลนั้นก็มีความเป็นไปได้ส่วนหนึ่ง เพราะการเมืองระดับชาติเขาลงมาเล่นกันในระดับท้องถิ่นมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย อีกทั้งโรงสีตามต่างจังหวัดก็ได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์อยู่ไม่น้อย
ขุดหลุมล่อ “ประยุทธ์” ติดกับจำนำข้าว
อดีตนักการเมืองในภาคอีสานจากพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า คงลำบากที่จะระบุว่าเป็นเรื่องของการเมืองล้วนๆ เพราะทุกอย่างดูเหมือนเป็นไปตามสถานการณ์ เพียงแต่เป็นการเข้ามาผสมโรงของกลุ่มการเมืองเก่าที่สูญเสียอำนาจไป เหมือนทำไปตามน้ำ ถือว่าหาจังหวะได้แนบเนียน อย่าลืมว่าการที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ที่กำลังดำเนินการหาผู้ร่วมรับผิดชอบความเสียหายโครงการรับจำนำข้าวส่วนที่เหลืออีก 80 เปอร์เซ็นต์ หรือ 142,868 ล้านบาท มีบุคคล 3 กลุ่มที่เกี่ยวข้องคือ กลุ่มคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) กลุ่มข้าราชการในกระทรวงที่ต้องรับผิดชอบ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกลุ่มภาคเอกชน
กลุ่มเอกชนตรงนี้จะมีส่วนของผู้ประกอบการโรงสีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะโรงสีที่อยู่ในสายของพรรคเพื่อไทย การเอาคืนรัฐบาลพลเอกประยุทธ์เพียงแค่เล่นตามสถานการณ์ทั้งรับซื้อในราคาต่ำ หรือไม่รับซื้อข้าวจากชาวนาเลยก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีของการเอาคืน และก็ไม่ได้เป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายใด
เสมือนเป็นการบีบชาวนาให้ไม่พอใจรัฐบาลนี้ ที่ยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่เคยให้ราคาข้าวที่ 1.5 หมื่นบาทสำหรับข้าวขาว ข้าวหอมมะลิตันละ 2 หมื่นบาท เพราะหลังจากเลิกโครงการดังกล่าวราคาข้าวก็ตกต่ำอย่างมาก เป้าหมายเป็นการสร้างม็อบชาวนา-โหยหายิ่งลักษณ์
นั่นเป็นเพียงเป้าแรกที่บีบรัฐบาลพลเอกประยุทธ์
แน่นอนว่าเมื่อรัฐบาลเจอแรงบีบอย่างนี้ จำเป็นต้องหาวิธีเข้ามาลดแรงกดดันจากชาวนา และก็เป็นผลเมื่อมีการออกมาตรการชะลอการขายข้าวชาวนา ด้วยการรับจำนำที่ยุ้งฉางราคารวมแล้ว 1.3 หมื่นบาทต่อตัน ใครที่ไม่มียุ้งฉางก็ไม่ได้ค่าฝาก 1,500 บาท
นี่เป็นการล่อให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ต้องหันมาแก้ปัญหาชาวนาด้วยแนวทางที่ไม่แตกต่างกัน คือรับจำนำเหมือนกัน แต่อาจแตกต่างกันบ้างในหลักเกณฑ์ และถ้าภายใน 5 เดือนนี้ราคาข้าวไม่สูงกว่าราคา 9,500 บาท คงไม่มีชาวนารายใดเอาข้าวออกไปขายในตลาด เท่ากับรัฐบาลต้องรับผิดชอบข้าวที่มาเข้าโครงการ
คราวนี้สายของพรรคเพื่อไทยก็จะดาหน้าออกมาว่า แนวทางในการแก้ปัญหาให้กับชาวนาทั้งของรัฐบาลนี้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่แตกต่างกัน คือรับจำนำเหมือนกัน ฝืนราคาตลาดเหมือนกัน เพื่อหวังผลให้สังคมได้เห็นว่านโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้นมีความชอบธรรม และจะส่งผลบวกต่อคดีของยิ่งลักษณ์ที่ถูกเรียกค่าเสียหาย 35,717 หมื่นล้านบาท รวมไปถึงคดีอาญาในศาลฎีกาฯ อีกด้วย
นั่นคือหมากที่พรรคเพื่อไทยต้องการให้เป็น หากมีเรื่องการทุจริตบวกเพิ่มเข้ามาหรือราคาข้าวไม่ปรับสูงขึ้น ภาระขาดทุนก็จะตกอยู่กับรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ซึ่งจะถูกนำมาขยายผลว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าวของยิ่งลักษณ์ ทั้งหมดเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของชาวนา
หมอวรงค์ชี้ไม่เหมือนรัฐบาลยิ่งลักษณ์
นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม กล่าวว่า โครงการนี้ไปเปรียบเทียบกับการรับจำนำสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ต้องบอกได้เลยว่า แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การรับจำนำสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นการรับจำนำแต่ชื่อ แท้จริงแล้วคือการรับซื้อข้าวเปลือกทุกเมล็ด ในราคาสูงโดยรัฐบาล ข้าวเป็นของรัฐบาล รวมทั้งสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร มีการเช่าโกดังเก็บข้าวสาร และมีการขายข้าวสารเกิดขึ้น ดังนั้นโครงการรับจำนำสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงเป็นการเอาชื่อรับจำนำมาใช้ แต่เนื้อหานั้นไม่ใช่ และเอื้อให้เกิดการทุจริตอย่างมโหฬาร
ส่วนการรับจำนำยุ้งฉางของรัฐบาลนี้ เป็นการรับจำนำตามทฤษฎีที่เคยปฏิบัติกันมาในอดีต ข้าวเปลือกเป็นของชาวนา ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดและจำกัดปริมาณ และเชื่อว่าชาวนามีโอกาสไถ่ถอน เมื่อข้าวราคาสูงขึ้น เช่น ถ้าข้าวเปลือกหอมมะลิกลับมาสู่ราคา 14,000 บาทต่อตัน ชาวนาไถ่ถอนขายก็จะได้เงินเพิ่มอีก 4500 บาทต่อตัน ดังนั้นการรับจำนำของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และรับจำนำยุ้งฉางของรัฐบาลปัจจุบันจึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ยิ่งมาประกอบกับรัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายที่จะให้ทุกภาคส่วนช่วยซื้อข้าวสารของชาวนา จะต้องมีชาวนาจำนวนไม่น้อยนำข้าวไปสีและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายข้าวสาร ปริมาณข้าวเปลือกก็จะถูกดูดซับและ มีปริมาณลดลงในตลาด มีโอกาสที่จะได้เห็นราคาข้าวเปลือกสูงขึ้นสู่สภาพปกติ มาตรการที่เกิดขึ้นจึงเป็นประโยชน์แก่ชาวนาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ชาวนาสีข้าวเปลือก ขายข้าวสาร จะเป็นการปฏิรูประบบข้าว และวิถีชีวิตชาวนาอย่างแท้จริง แต่สิ่งที่อยากเตือนรัฐบาล แม้มาตรการรับจำนำยุ้งฉางในปริมาณจำกัด มีโอกาสเกิดความเสียหายไม่มาก แต่ก็ต้องมีการติดตามไม่ให้มีการเอาเปรียบชาวนา ตลอดจนการทุจริตเกิดขึ้นด้วย
โรงสีข้าว-มัดมือชก
สำหรับในภาคของชาวนาที่มักเจอกับปัญหาในการขายข้าวให้กับโรงสีในพื้นที่ ชาวนารุ่นใหม่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่รัฐบาลจะออกมาตรการมา ข้าวหอมมะลิรับซื้อกันที่ 6 บาทกว่าต่อกิโลกรัม ถามที่ไหนก็ราคาเท่ากันทั้งหมด ทำให้ชาวนาไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องขายข้าวออกมา แม้จะขาดทุน เพราะต้องการนำเงินไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงภาระอื่นๆ ที่มีทั้งหนี้สินหรือจ่ายเงินที่กู้ยืมมา
โอกาสที่ชาวนาจะถูกเอาเปรียบจากโรงสีมีทุกช่องทาง หากเป็นขั้นตอนการจ้างสีข้าว เป็นที่รู้กันว่าทางโรงสีจะคิดสูตร “100 ถอย 10” หมายความว่า ทางโรงสีจะคิดค่าจ้างสีข้าวเป็นข้าว 10% บางช่วงอาจเป็น “100 ถอย 15” ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ของโรงสี เช่น มีข้าวใหม่เตรียมออกก็จะหักเพิ่ม
ส่วนจะได้ข้าวมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับตัวโรงสีว่าจะมีเทคนิคเอาเปรียบชาวนาอย่างไร เช่น การปรับน้ำหนักของตัวลูกกลิ้งที่ใช้ในการกะเทาะและสีข้าว เพื่อให้โรงสีได้รำหรือได้ข้าวปลายหรือข้าวที่แตกหักไม่สมบูรณ์มากขึ้น ตัวข้าวที่ได้ก็จะน้อยลง
ส่วนที่เหลือจากการสีข้าว ทั้งแกลบ โรงสีก็ขายได้เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง เข่งละ 5 บาท อย่างที่อีสานจะมีการใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงเพื่อนำไปต้มเกลือ หรือรำข้าวก็ทำได้อีก เรื่องรำหยาบหรือรำละเอียด ขายได้กิโลกรัมละ 5 บาท บางช่วงขายได้ 5-8 บาทต่อกิโลกรัม ถือเป็นรายได้ของโรงสีอีกทางหนึ่ง
หากเป็นกรณีที่ขายข้าวให้กับโรงสี จะมีเรื่องของความชื้น 15% เป็นเกณฑ์ หากความชื้นสูงกว่านี้ก็จะปรับลดราคาลง ซึ่งข้าวจากชาวนาส่วนใหญ่ความชื้นมักเกินกว่า 15% อยู่แล้ว ต่อมาเป็นการหักค่าสิ่งเจือปน เช่น กรวด ฝุ่นหรือดอกหญ้า หากมีมากก็หักออกมา สุดท้ายคือคุณภาพของข้าว เช่น พันธุ์ข้าว ความสมบูรณ์ของเมล็ด แตก หัก ลีบ หรือไม่ ซึ่งคนที่อยู่ในวงการนี้จะดูออกว่าข้าวที่ชาวนามาขายนั้นมีคุณภาพเป็นอย่างไร ดังนั้นราคารับซื้อที่ตั้งไว้เป็นเกณฑ์จะถูกหักออกไปตามเงื่อนไขที่โรงสีกำหนด
ในบางกรณีก็อาจพบบางโรงสีที่ไม่สุจริต เช่น โกงตาชั่ง คือตั้งตาชั่งวัดน้ำหนักข้าวให้แข็งกว่าความเป็นจริง เพื่อให้ชั่งน้ำหนักแล้วออกมาต่ำกว่าความจริง ส่วนต่างตรงนี้โรงสีก็ได้ไป ตรงนี้ไม่มีชาวนาคนไหนไปตรวจสอบตาชั่งของโรงสีเหล่านี้ เพราะถ้าไม่พอใจก็อาจต้องไปขายที่อื่น ซึ่งบางครั้งอยู่ไกลจากพื้นที่มาก ไม่คุ้มค่าในการขนส่ง
นอกจากนี้ตัวโรงสีส่วนใหญ่จะมีโกดังเก็บข้าวควบคู่กันไปด้วย ที่ผ่านมาในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โรงสีในสายของพรรคเพื่อไทยได้ประโยชน์จากโครงการนี้ไปไม่น้อย เช่น ค่ารับฝากข้าว หรือสามารถที่จะเวียนเทียนข้าวในโกดังได้ รวมไปถึงการสร้างสต๊อกลมหรืออาจสับเปลี่ยนนำเอาข้าวด้อยคุณภาพมาปนในข้าวคุณภาพดี หรือรับข้าวเกรดต่ำมาแล้วขอเบิกในราคาข้าวเกรดสูงก็สามารถทำได้
เตือนไม่เข้ม-ทุจริตซ้ำรอย
ชาวนารายเดิมยังกล่าวต่ออีกว่า เรื่องการปลุกกระแสชาวนานั้น มีการทำมาก่อนหน้านี้ราว 1 เดือน โดยใช้สื่อออนไลน์เป็นตัวจุดชนวน แต่ก็เป็นเรื่องจริงที่ข้าวราคาตกต่ำ แต่ไม่มีการให้เหตุผลที่แท้จริงว่าเกิดมาจากอะไร
การที่รัฐบาลออกมาตรการมาเพื่อช่วยเหลือชาวนานั้นถือเป็นเรื่องดี ลดกระแสความไม่พอใจของชาวนาลงไปได้ แต่ก็มีข้อควรระวังเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการให้สิทธิ์ในการเก็บข้าวไว้กับยุ้งฉางของชาวนาเอง เข้าใจว่าเพื่อเป็นการลดปัญหาเรื่องโกดังที่เคยมีปัญหามาในอดีต แต่การเข้าไปตรวจสอบปริมาณข้าวที่เข้าร่วมโครงการนั้น ถามว่าเจ้าหน้าที่ของธนาคารเพื่อการเกษตรฯ ดูข้าวออกทุกคนหรือไม่ คำตอบคือไม่ ตรงนี้อาจมีปัญหาเรื่องของคุณภาพตามมา
อีกทั้งรัฐบาลจะควบคุมเรื่องความซื่อสัตย์ของชาวนาอย่างไร เช่น หากเข้าร่วมโครงการแล้ว ได้รับเงินไปแล้ว สุดท้ายมีการนำเอาข้าวในโครงการออกไปขาย แล้วรัฐบาลจะกล้าดำเนินคดีกับชาวนาเหล่านั้นหรือไม่ ที่ผ่านมาไม่เคยมีการดำเนินคดี
สุดท้ายหากไม่อุดช่องของการทุจริต โครงการนี้ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ก็จะถูกลากลงไปอยู่ในมาตรฐานเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ล้างจำนำข้าวไม่เบ็ดเสร็จ
นักวิชาการด้านข้าวรายหนึ่งกล่าวว่า จะว่าไปแล้วนับตั้งแต่พลเอกประยุทธ์เข้ามาบริหารประเทศ และพยายามที่จะเลิกโครงการประชานิยมจากรัฐบาลเพื่อไทย แต่ 2 ปีเศษที่เข้ามาแม้จะยกเลิกโครงการดังกล่าวไป แล้วมุ่งไปที่การดำเนินคดีกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งกลุ่มนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง จนถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ แต่รัฐบาลนี้ไม่ได้ถอนรากถอนโคนองค์ประกอบอื่นของโครงการรับจำนำข้าว สุดท้ายก็กลายมาเป็นปัญหาที่ต้องตามแก้กันอีก
เริ่มจากพื้นที่ในการปลูกข้าวไม่ได้ลดลง เดิมในรัฐบาลยิ่งลักษณ์เคยปลูกไว้อย่างไรตอนนี้ก็ปลูกเหมือนเดิม ไม่มีการทำโซนนิ่งเหมือนที่เคยระบุไว้ หรือในพื้นที่ที่ทำนาปรัง 2 รอบตามสภาพน้ำก็ยังเหมือนเดิม ทำให้ปริมาณข้าวที่ออกมามากและจะมากในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมนี้
ประการที่ 2 ตัวสต๊อกข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่ได้ถูกระบายออกไป คงเหลืออยู่ราว 9-10 ล้านตัน ทำให้ตลาดค้าข้าวประเมินสถานการณ์แล้วว่าราคาข้าวจะต้องลดลงไปเรื่อยๆ
ประการที่ 3 ต้นทุนการผลิตข้าวยังคงสูง ทั้งเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ รวมไปถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ทั้งปุ๋ย ค่าเก็บเกี่ยว ยังคงสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
ประการที่ 4 ไม่มีการส่งเสริมให้ชาวนาหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะลดพื้นที่ทำนาลงได้ แม้ว่าการเปลี่ยนวิธีคิดของชาวนาให้หันไปปลูกพืชอื่นจะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้ามีตลาดรองรับแล้วได้ราคาที่ดีกว่าการปลูกข้าว เชื่อว่าเกษตรกรก็ต้องการเปลี่ยนเพื่อลดปัญหาขาดทุนจากการทำนา
เมื่อองค์ประกอบด้านอื่นยังไม่ถูกแก้ไข เมื่อสถานการณ์ด้านราคาข้าวตกต่ำกลับเข้ามาเป็นใจ จึงทำให้รัฐบาลเฉพาะกิจของพลเอกประยุทธ์ไม่มีทางเลือกอื่นที่ต้องเร่งแก้ปัญหาให้กับชาวนา ส่วนจะเข้าทางขั้วอำนาจเก่าหรือไม่ หากจัดการได้ดีปัญหาที่ตามมาก็น้อยลง
ปัญหาราคาข้าวตกต่ำที่ชาวนาขายได้ 5-6 บาทต่อกิโลกรัม จากมีบางส่วนนำข้าวบรรจุถุงออกเร่ขายกับประชาชนโดยตรง กลายเป็นเรื่องร้อนที่ทำให้รัฐบาลต้องออกมาหาทางเร่งแก้ปัญหาเรื่องราคาข้าวให้แก่ชาวนาอย่างเร่งด่วน หลังจากที่ข่าวความเดือดร้อนของชาวนามีมากขึ้นในช่วงวันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2559 และรัฐบาลเร่งหามาตรการเยียวยาจนได้เป็นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงมาตรการการช่วยเหลือราคาข้าวตกต่ำต่อเกษตรกรชาวนาว่า โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ฤดูกาลผลิต 2559 ถึง 2560 รวมถึงข้าวหอมมะลิ ชาวนาจะได้รับเงินทั้งสิ้น 13,000 บาท ตอนนี้ราคาเฉลี่ยอยู่ประมาณ 9,700-12,000 บาท เมื่อคิดคำนวนแล้วราคาค่าเฉลี่ยควรจะเป็นตันละ 11,000 บาท โดย ธ.ก.ส.จะรับจำนำตามความเห็นชอบของ ครม.ในวันนี้ 9,500 บาท แต่จะมีเพิ่มเติมช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพให้อีกตันละ 2,000 บาท ค่าขึ้นยุ้งเก็บรักษาตันละ 1,500 บาท รวมเป็น 13,000 บาท
สำหรับเกษตรกรที่ร่วมโครงการและมียุ้งฉาง หากไม่มียุ้งฉางรัฐบาลจะช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและค่าปรับปรุงคุณภาพโดยโอนเงินเข้าบัญชีตันละ 2,000 บาท แต่จะไม่ได้ค่าขึ้นยุ้งเก็บรักษา อันนี้ถือเป็นข้อยุติ หวังว่าพ่อแม่พี่น้องชาวนาคงจะพอใจระดับหนึ่ง และขอให้เห็นใจรัฐบาลบ้าง เพราะช่วงนี้มีความยากลำบากเกิดขึ้นหลายอย่าง ผลกระทบเกิดจากฝนและอะไรต่างๆ
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า สิ่งสำคัญเราต้องช่วยกันคิดว่าจะทำงานในภาคการเกษตรต่อไปอย่างไร หากยังทำแบบเดิม ก็จะมีปัญหา ดังนั้นถึงได้บอกว่าเราต้องมาเรียนรู้ด้วยกันและมีศูนย์เกษตรทฤษฎีใหม่ ศูนย์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ตอนนี้ต้องหาวิธีการปลูกข้าวที่จำนวนไร่น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม และต้องดูตารางข้าวโลกในปัจจุบันด้วย อย่ามองแค่ในประเทศอย่างเดียว ในประเทศเราต้องแก้ไป ด้วยวิธีการช่วยเหลือและสร้างความเข้มแข็ง รวมถึงเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยรัฐบาลจะหาเครื่องมือไปให้ เป็นส่วนรวมไว้ที่สหกรณ์ต่างๆ ถ้าทุกคนรวมกลุ่มได้ ตนก็จะสนับสนุนให้ได้ เพื่อลดค่าแรงต้นทุนการผลิต และต่อไปตนกำลังให้หาโรงสีขนาดกลางในพื้นที่จุดที่เกษตรกรมีความเข้มแข็งและสามารถรวมกลุ่มกัน เพื่อไม่ต้องส่งไปโรงสีข้างนอก เพราะราคาเป็นที่พอใจ เราต้องสร้างให้ชาวบ้านมีความเข้มแข็งด้วยตัวเอง ทั้งปลูก ผลิต แปรรูป ขาย
ส่วนโรงสีเดิมก็ต้องปรับตัว ทำอย่างไรจะให้เกิดความสุจริต โดยประชาชนต้องได้รับผลประโยชน์มากที่สุด โดยเกษตรกรเองก็ต้องมีเครื่องมือตรวจสอบโดยกระบวนการท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือประชาชน เป็นการวัดความชื้นข้าวของตัวเองก่อนที่จะส่งไปโรงสี หากไม่ตรงกับที่โรงสีวัด จะได้ตรวจสอบได้ ถ้าเราไม่เตรียมการตัวเอง เราก็ต้องยอมรับผลการประเมินของโรงสี โดยที่ผ่านมาไม่มีการตรวจสอบหลังเจ้าของโรงสีประเมินค่าความชื้น
สถานการณ์เป็นใจ
ก่อนหน้านี้รัฐบาลมีความกังวลว่าหากปล่อยให้สถานการณ์เรื่องความเดือดร้อนของชาวนายืดเยื้อออกไป จะกลายเป็นการเข้าทางการเมืองของอำนาจเก่า หากมีชาวนาออกมาประท้วงรัฐบาล พร้อมทั้งมองว่าเรื่องดังกล่าวนั้นมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ตอนนี้สถานการณ์มันพอดีกันไปหมด ปฏิเสธไม่ได้ว่าราคาข้าวที่ตกลงไปนั้นเป็นไปตามสภาพตลาดทั่วโลก อินเดีย เวียดนาม พม่า แม้กระทั่งฟิลิปปินส์ผลิตข้าวได้ดี ทำให้ปริมาณข้าวในตลาดโลกมีเพิ่มขึ้น รวมทั้งประเทศไทยที่ฝนดีในช่วงหลังปริมาณข้าวจึงออกมามาก ดังนั้นในเรื่องของกลไกราคาจึงเป็นทิศทางขาลง
ประการต่อมาประเทศไทยมีสต๊อกข้าวในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์อยู่เป็นจำนวนมาก ยังไม่ได้มีการระบายออกไป เมื่อมีข้าวใหม่ที่ออกมาบวกกับข้าวจากต่างประเทศ ตลาดรับซื้อก็อ่านออกว่าราคารับซื้อต้องปรับลดลง
เมื่อลงมาถึงระดับโรงสีที่รับซื้อข้าวจากชาวนา ส่วนหนึ่งก็ต้องดูราคาตลาดโลกเป็นตัวอ้างอิง อีกส่วนหนึ่งต้องย้อนกลับไปในฤดูกาลผลิตก่อนๆ เช่นกันว่าโรงสีที่เคยรับซื้อข้าวจากชาวนาไว้และยังปล่อยข้าวออกไปไม่ได้นั้น บางส่วนขาดทุนตันละประมาณ 5 พันบาท บางโรงสีจึงไม่เปิดรับซื้อหรือถ้าจะรับซื้อก็ต้องปรับราคาลง
นั่นเป็นสถานการณ์โดยรวมของตลาดข้าว ส่วนที่มีการมองกันว่าโรงสีร่วมมือกับการเมืองเก่าช่วยกันสั่นคลอนรัฐบาลนั้นก็มีความเป็นไปได้ส่วนหนึ่ง เพราะการเมืองระดับชาติเขาลงมาเล่นกันในระดับท้องถิ่นมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย อีกทั้งโรงสีตามต่างจังหวัดก็ได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์อยู่ไม่น้อย
ขุดหลุมล่อ “ประยุทธ์” ติดกับจำนำข้าว
อดีตนักการเมืองในภาคอีสานจากพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า คงลำบากที่จะระบุว่าเป็นเรื่องของการเมืองล้วนๆ เพราะทุกอย่างดูเหมือนเป็นไปตามสถานการณ์ เพียงแต่เป็นการเข้ามาผสมโรงของกลุ่มการเมืองเก่าที่สูญเสียอำนาจไป เหมือนทำไปตามน้ำ ถือว่าหาจังหวะได้แนบเนียน อย่าลืมว่าการที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ที่กำลังดำเนินการหาผู้ร่วมรับผิดชอบความเสียหายโครงการรับจำนำข้าวส่วนที่เหลืออีก 80 เปอร์เซ็นต์ หรือ 142,868 ล้านบาท มีบุคคล 3 กลุ่มที่เกี่ยวข้องคือ กลุ่มคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) กลุ่มข้าราชการในกระทรวงที่ต้องรับผิดชอบ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกลุ่มภาคเอกชน
กลุ่มเอกชนตรงนี้จะมีส่วนของผู้ประกอบการโรงสีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะโรงสีที่อยู่ในสายของพรรคเพื่อไทย การเอาคืนรัฐบาลพลเอกประยุทธ์เพียงแค่เล่นตามสถานการณ์ทั้งรับซื้อในราคาต่ำ หรือไม่รับซื้อข้าวจากชาวนาเลยก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีของการเอาคืน และก็ไม่ได้เป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายใด
เสมือนเป็นการบีบชาวนาให้ไม่พอใจรัฐบาลนี้ ที่ยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่เคยให้ราคาข้าวที่ 1.5 หมื่นบาทสำหรับข้าวขาว ข้าวหอมมะลิตันละ 2 หมื่นบาท เพราะหลังจากเลิกโครงการดังกล่าวราคาข้าวก็ตกต่ำอย่างมาก เป้าหมายเป็นการสร้างม็อบชาวนา-โหยหายิ่งลักษณ์
นั่นเป็นเพียงเป้าแรกที่บีบรัฐบาลพลเอกประยุทธ์
แน่นอนว่าเมื่อรัฐบาลเจอแรงบีบอย่างนี้ จำเป็นต้องหาวิธีเข้ามาลดแรงกดดันจากชาวนา และก็เป็นผลเมื่อมีการออกมาตรการชะลอการขายข้าวชาวนา ด้วยการรับจำนำที่ยุ้งฉางราคารวมแล้ว 1.3 หมื่นบาทต่อตัน ใครที่ไม่มียุ้งฉางก็ไม่ได้ค่าฝาก 1,500 บาท
นี่เป็นการล่อให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ต้องหันมาแก้ปัญหาชาวนาด้วยแนวทางที่ไม่แตกต่างกัน คือรับจำนำเหมือนกัน แต่อาจแตกต่างกันบ้างในหลักเกณฑ์ และถ้าภายใน 5 เดือนนี้ราคาข้าวไม่สูงกว่าราคา 9,500 บาท คงไม่มีชาวนารายใดเอาข้าวออกไปขายในตลาด เท่ากับรัฐบาลต้องรับผิดชอบข้าวที่มาเข้าโครงการ
คราวนี้สายของพรรคเพื่อไทยก็จะดาหน้าออกมาว่า แนวทางในการแก้ปัญหาให้กับชาวนาทั้งของรัฐบาลนี้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่แตกต่างกัน คือรับจำนำเหมือนกัน ฝืนราคาตลาดเหมือนกัน เพื่อหวังผลให้สังคมได้เห็นว่านโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้นมีความชอบธรรม และจะส่งผลบวกต่อคดีของยิ่งลักษณ์ที่ถูกเรียกค่าเสียหาย 35,717 หมื่นล้านบาท รวมไปถึงคดีอาญาในศาลฎีกาฯ อีกด้วย
นั่นคือหมากที่พรรคเพื่อไทยต้องการให้เป็น หากมีเรื่องการทุจริตบวกเพิ่มเข้ามาหรือราคาข้าวไม่ปรับสูงขึ้น ภาระขาดทุนก็จะตกอยู่กับรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ซึ่งจะถูกนำมาขยายผลว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าวของยิ่งลักษณ์ ทั้งหมดเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของชาวนา
หมอวรงค์ชี้ไม่เหมือนรัฐบาลยิ่งลักษณ์
นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม กล่าวว่า โครงการนี้ไปเปรียบเทียบกับการรับจำนำสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ต้องบอกได้เลยว่า แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การรับจำนำสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นการรับจำนำแต่ชื่อ แท้จริงแล้วคือการรับซื้อข้าวเปลือกทุกเมล็ด ในราคาสูงโดยรัฐบาล ข้าวเป็นของรัฐบาล รวมทั้งสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร มีการเช่าโกดังเก็บข้าวสาร และมีการขายข้าวสารเกิดขึ้น ดังนั้นโครงการรับจำนำสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงเป็นการเอาชื่อรับจำนำมาใช้ แต่เนื้อหานั้นไม่ใช่ และเอื้อให้เกิดการทุจริตอย่างมโหฬาร
ส่วนการรับจำนำยุ้งฉางของรัฐบาลนี้ เป็นการรับจำนำตามทฤษฎีที่เคยปฏิบัติกันมาในอดีต ข้าวเปลือกเป็นของชาวนา ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดและจำกัดปริมาณ และเชื่อว่าชาวนามีโอกาสไถ่ถอน เมื่อข้าวราคาสูงขึ้น เช่น ถ้าข้าวเปลือกหอมมะลิกลับมาสู่ราคา 14,000 บาทต่อตัน ชาวนาไถ่ถอนขายก็จะได้เงินเพิ่มอีก 4500 บาทต่อตัน ดังนั้นการรับจำนำของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และรับจำนำยุ้งฉางของรัฐบาลปัจจุบันจึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ยิ่งมาประกอบกับรัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายที่จะให้ทุกภาคส่วนช่วยซื้อข้าวสารของชาวนา จะต้องมีชาวนาจำนวนไม่น้อยนำข้าวไปสีและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายข้าวสาร ปริมาณข้าวเปลือกก็จะถูกดูดซับและ มีปริมาณลดลงในตลาด มีโอกาสที่จะได้เห็นราคาข้าวเปลือกสูงขึ้นสู่สภาพปกติ มาตรการที่เกิดขึ้นจึงเป็นประโยชน์แก่ชาวนาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ชาวนาสีข้าวเปลือก ขายข้าวสาร จะเป็นการปฏิรูประบบข้าว และวิถีชีวิตชาวนาอย่างแท้จริง แต่สิ่งที่อยากเตือนรัฐบาล แม้มาตรการรับจำนำยุ้งฉางในปริมาณจำกัด มีโอกาสเกิดความเสียหายไม่มาก แต่ก็ต้องมีการติดตามไม่ให้มีการเอาเปรียบชาวนา ตลอดจนการทุจริตเกิดขึ้นด้วย
โรงสีข้าว-มัดมือชก
สำหรับในภาคของชาวนาที่มักเจอกับปัญหาในการขายข้าวให้กับโรงสีในพื้นที่ ชาวนารุ่นใหม่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่รัฐบาลจะออกมาตรการมา ข้าวหอมมะลิรับซื้อกันที่ 6 บาทกว่าต่อกิโลกรัม ถามที่ไหนก็ราคาเท่ากันทั้งหมด ทำให้ชาวนาไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องขายข้าวออกมา แม้จะขาดทุน เพราะต้องการนำเงินไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงภาระอื่นๆ ที่มีทั้งหนี้สินหรือจ่ายเงินที่กู้ยืมมา
โอกาสที่ชาวนาจะถูกเอาเปรียบจากโรงสีมีทุกช่องทาง หากเป็นขั้นตอนการจ้างสีข้าว เป็นที่รู้กันว่าทางโรงสีจะคิดสูตร “100 ถอย 10” หมายความว่า ทางโรงสีจะคิดค่าจ้างสีข้าวเป็นข้าว 10% บางช่วงอาจเป็น “100 ถอย 15” ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ของโรงสี เช่น มีข้าวใหม่เตรียมออกก็จะหักเพิ่ม
ส่วนจะได้ข้าวมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับตัวโรงสีว่าจะมีเทคนิคเอาเปรียบชาวนาอย่างไร เช่น การปรับน้ำหนักของตัวลูกกลิ้งที่ใช้ในการกะเทาะและสีข้าว เพื่อให้โรงสีได้รำหรือได้ข้าวปลายหรือข้าวที่แตกหักไม่สมบูรณ์มากขึ้น ตัวข้าวที่ได้ก็จะน้อยลง
ส่วนที่เหลือจากการสีข้าว ทั้งแกลบ โรงสีก็ขายได้เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง เข่งละ 5 บาท อย่างที่อีสานจะมีการใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงเพื่อนำไปต้มเกลือ หรือรำข้าวก็ทำได้อีก เรื่องรำหยาบหรือรำละเอียด ขายได้กิโลกรัมละ 5 บาท บางช่วงขายได้ 5-8 บาทต่อกิโลกรัม ถือเป็นรายได้ของโรงสีอีกทางหนึ่ง
หากเป็นกรณีที่ขายข้าวให้กับโรงสี จะมีเรื่องของความชื้น 15% เป็นเกณฑ์ หากความชื้นสูงกว่านี้ก็จะปรับลดราคาลง ซึ่งข้าวจากชาวนาส่วนใหญ่ความชื้นมักเกินกว่า 15% อยู่แล้ว ต่อมาเป็นการหักค่าสิ่งเจือปน เช่น กรวด ฝุ่นหรือดอกหญ้า หากมีมากก็หักออกมา สุดท้ายคือคุณภาพของข้าว เช่น พันธุ์ข้าว ความสมบูรณ์ของเมล็ด แตก หัก ลีบ หรือไม่ ซึ่งคนที่อยู่ในวงการนี้จะดูออกว่าข้าวที่ชาวนามาขายนั้นมีคุณภาพเป็นอย่างไร ดังนั้นราคารับซื้อที่ตั้งไว้เป็นเกณฑ์จะถูกหักออกไปตามเงื่อนไขที่โรงสีกำหนด
ในบางกรณีก็อาจพบบางโรงสีที่ไม่สุจริต เช่น โกงตาชั่ง คือตั้งตาชั่งวัดน้ำหนักข้าวให้แข็งกว่าความเป็นจริง เพื่อให้ชั่งน้ำหนักแล้วออกมาต่ำกว่าความจริง ส่วนต่างตรงนี้โรงสีก็ได้ไป ตรงนี้ไม่มีชาวนาคนไหนไปตรวจสอบตาชั่งของโรงสีเหล่านี้ เพราะถ้าไม่พอใจก็อาจต้องไปขายที่อื่น ซึ่งบางครั้งอยู่ไกลจากพื้นที่มาก ไม่คุ้มค่าในการขนส่ง
นอกจากนี้ตัวโรงสีส่วนใหญ่จะมีโกดังเก็บข้าวควบคู่กันไปด้วย ที่ผ่านมาในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โรงสีในสายของพรรคเพื่อไทยได้ประโยชน์จากโครงการนี้ไปไม่น้อย เช่น ค่ารับฝากข้าว หรือสามารถที่จะเวียนเทียนข้าวในโกดังได้ รวมไปถึงการสร้างสต๊อกลมหรืออาจสับเปลี่ยนนำเอาข้าวด้อยคุณภาพมาปนในข้าวคุณภาพดี หรือรับข้าวเกรดต่ำมาแล้วขอเบิกในราคาข้าวเกรดสูงก็สามารถทำได้
เตือนไม่เข้ม-ทุจริตซ้ำรอย
ชาวนารายเดิมยังกล่าวต่ออีกว่า เรื่องการปลุกกระแสชาวนานั้น มีการทำมาก่อนหน้านี้ราว 1 เดือน โดยใช้สื่อออนไลน์เป็นตัวจุดชนวน แต่ก็เป็นเรื่องจริงที่ข้าวราคาตกต่ำ แต่ไม่มีการให้เหตุผลที่แท้จริงว่าเกิดมาจากอะไร
การที่รัฐบาลออกมาตรการมาเพื่อช่วยเหลือชาวนานั้นถือเป็นเรื่องดี ลดกระแสความไม่พอใจของชาวนาลงไปได้ แต่ก็มีข้อควรระวังเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการให้สิทธิ์ในการเก็บข้าวไว้กับยุ้งฉางของชาวนาเอง เข้าใจว่าเพื่อเป็นการลดปัญหาเรื่องโกดังที่เคยมีปัญหามาในอดีต แต่การเข้าไปตรวจสอบปริมาณข้าวที่เข้าร่วมโครงการนั้น ถามว่าเจ้าหน้าที่ของธนาคารเพื่อการเกษตรฯ ดูข้าวออกทุกคนหรือไม่ คำตอบคือไม่ ตรงนี้อาจมีปัญหาเรื่องของคุณภาพตามมา
อีกทั้งรัฐบาลจะควบคุมเรื่องความซื่อสัตย์ของชาวนาอย่างไร เช่น หากเข้าร่วมโครงการแล้ว ได้รับเงินไปแล้ว สุดท้ายมีการนำเอาข้าวในโครงการออกไปขาย แล้วรัฐบาลจะกล้าดำเนินคดีกับชาวนาเหล่านั้นหรือไม่ ที่ผ่านมาไม่เคยมีการดำเนินคดี
สุดท้ายหากไม่อุดช่องของการทุจริต โครงการนี้ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ก็จะถูกลากลงไปอยู่ในมาตรฐานเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ล้างจำนำข้าวไม่เบ็ดเสร็จ
นักวิชาการด้านข้าวรายหนึ่งกล่าวว่า จะว่าไปแล้วนับตั้งแต่พลเอกประยุทธ์เข้ามาบริหารประเทศ และพยายามที่จะเลิกโครงการประชานิยมจากรัฐบาลเพื่อไทย แต่ 2 ปีเศษที่เข้ามาแม้จะยกเลิกโครงการดังกล่าวไป แล้วมุ่งไปที่การดำเนินคดีกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งกลุ่มนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง จนถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ แต่รัฐบาลนี้ไม่ได้ถอนรากถอนโคนองค์ประกอบอื่นของโครงการรับจำนำข้าว สุดท้ายก็กลายมาเป็นปัญหาที่ต้องตามแก้กันอีก
เริ่มจากพื้นที่ในการปลูกข้าวไม่ได้ลดลง เดิมในรัฐบาลยิ่งลักษณ์เคยปลูกไว้อย่างไรตอนนี้ก็ปลูกเหมือนเดิม ไม่มีการทำโซนนิ่งเหมือนที่เคยระบุไว้ หรือในพื้นที่ที่ทำนาปรัง 2 รอบตามสภาพน้ำก็ยังเหมือนเดิม ทำให้ปริมาณข้าวที่ออกมามากและจะมากในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมนี้
ประการที่ 2 ตัวสต๊อกข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่ได้ถูกระบายออกไป คงเหลืออยู่ราว 9-10 ล้านตัน ทำให้ตลาดค้าข้าวประเมินสถานการณ์แล้วว่าราคาข้าวจะต้องลดลงไปเรื่อยๆ
ประการที่ 3 ต้นทุนการผลิตข้าวยังคงสูง ทั้งเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ รวมไปถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ทั้งปุ๋ย ค่าเก็บเกี่ยว ยังคงสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
ประการที่ 4 ไม่มีการส่งเสริมให้ชาวนาหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะลดพื้นที่ทำนาลงได้ แม้ว่าการเปลี่ยนวิธีคิดของชาวนาให้หันไปปลูกพืชอื่นจะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้ามีตลาดรองรับแล้วได้ราคาที่ดีกว่าการปลูกข้าว เชื่อว่าเกษตรกรก็ต้องการเปลี่ยนเพื่อลดปัญหาขาดทุนจากการทำนา
เมื่อองค์ประกอบด้านอื่นยังไม่ถูกแก้ไข เมื่อสถานการณ์ด้านราคาข้าวตกต่ำกลับเข้ามาเป็นใจ จึงทำให้รัฐบาลเฉพาะกิจของพลเอกประยุทธ์ไม่มีทางเลือกอื่นที่ต้องเร่งแก้ปัญหาให้กับชาวนา ส่วนจะเข้าทางขั้วอำนาจเก่าหรือไม่ หากจัดการได้ดีปัญหาที่ตามมาก็น้อยลง