เรื่องราคาข้าว เป็นประเด็นสำคัญของรัฐบาลในทุกยุคทุกสมัย
เพราะประเทศไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรม และการทำนาเป็นอาชีพหลักของคนไทยส่วนใหญ่ในชนบท และข้าวก็เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญรายการหนึ่งของประเทศ
นอกจากนั้นด้วยวาทกรรม “ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ” และ “ชาวนาคือผู้ปลูกข้าวเลี้ยงคนทั้งชาติ” ทำให้ปัญหาของชาวนา จึงเป็นปัญหาระดับชาติ แตกต่างจากปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตามธรรมดา
เมื่อราคาข้าวตกต่ำ นอกจากเป็นปัญหาในตัวของมันแล้ว ยังมีผลกระทบที่ใหญ่เป็นพิเศษในเชิงความรู้สึกของผู้คนทั่วไปด้วย ไม่เหมือนเวลาที่ราคาหอมกระเทียมหรือสินค้าเกษตรอื่นๆ ตกต่ำลง
จึงเป็นเหมือนพันธสัญญาของรัฐบาลทุกรัฐบาล ที่จะต้องมีมาตรการช่วยเหลือชาวนา เพื่อพยุงระดับราคาข้าวไว้อยู่ในระดับที่ชาวนาพอใจ หรืออย่างน้อยก็อยู่ในระดับที่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ รวมถึงต้องแก้ปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นปัญหาหนี้สินและที่ดินทำกินของชาวนาด้วย
รัฐบาลในทุกสมัยมีมาตรการต่างๆ มาเพื่อช่วยชาวนาอยู่เสมอ เช่น นโยบายประกันราคาข้าว หรือการรับจำนำข้าว ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้เป็นนโยบายหลักในสมัยรัฐบาลนั้น
นอกจากนี้การนำเอา “นโยบาย” พยุงราคาข้าวช่วยชาวนามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียง ก็เป็นการขายนโยบายหาเสียงที่ได้ผล เพราะชาวนานั้นเป็นฐานเสียงที่ใหญ่ที่สุดฐานหนึ่งของประเทศ
ปัจจุบันปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ที่ราคาข้าวตกลงมาอยู่เหลือกิโลกรัมละ 5-6 บาท จึงเป็นเรื่องที่เขย่ารัฐบาล คสช.อย่างช่วยไม่ได้
อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าปัญหาเรื่องราคาข้าวตกต่ำนั้น เป็นปัญหาในตัวมันเองส่วนหนึ่ง คือปัญหาเนื่องมาจากราคาข้าวในตลาดโลกลดต่ำลงเนื่องจากมีข้าวในตลาดมาก และประกอบกับการที่ประเทศไทยนั้นมีผลผลิตข้าวที่ได้ในปริมาณต่อไร่ที่ต่ำกว่าคู่แข่ง ทำให้ไม่สามารถต่อสู้ในสงครามราคากับเขาได้ ส่วนราคาขายข้าวในประเทศก็จะให้สูงมากไม่ได้ เพราะจะมีปัญหากระทบถึงค่าครองชีพ ทำให้ในที่สุดก็ต้องมาลดต้นทุนกันที่ราคาซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา ซึ่งเรื่องนี้ก็คุยกันได้ว่าส่วนต่างระหว่างราคาข้าวเปลือกกับข้าวสารของโรงสีและพ่อค้าคนกลางนั้นแตกต่างกันไปหรือไม่ หรือพอจะ “ช่วยๆ กัน” ตรงไหนได้หรือเปล่า
ส่วนปัญหาเชิงความรู้สึกก็เกิดขึ้นจากการโหมสร้างกระแส “ดรามา” กันในโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่น การนำเอาราคาข้าวเปลือก 1 กิโลกรัม ไปเปรียบเทียบกับราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบ้าง หรือเอาไปเปรียบเทียบกับราคาอาหารสุนัขก็มี เพื่อสร้างให้เกิดกระแสว่า ชาวนาขายข้าวกิโลหนึ่งยังซื้อบะหมี่สำเร็จรูปมากินห่อหนึ่งไม่ได้เลย หรือว่าราคาข้าวถูกกว่าราคาอาหารหมาเสียอย่างนั้น
กระแสพวกนี้เราไม่รู้ว่าเจตนาของผู้สร้างกระแสนั้นดีหรือร้าย แต่พอไปผสมกับวาทกรรมเรื่องชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ หรือชาวนาเป็นผู้มีบุญคุณต่อประเทศแล้ว ก็เกิดเป็นคำถามที่ยิงไปถึงรัฐบาลว่า แล้วจะปล่อยให้กระดูกสันหลังของชาตินั้นตกอยู่ในสภาพเช่นนี้หรือ
และยิ่งในทางการเมืองแล้ว ปัญหาราคาข้าวตกต่ำในสมัยรัฐบาลนี้ ก็ถูกนำไปเปรียบเปรยกับยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่มีโครงการจำนำข้าว ตันละ 15,000 บาทไม่ได้
ยิ่งเมื่อผู้เกี่ยวข้องกับโครงการจำนำข้าวในรัฐบาลก่อน กำลังถูกดำเนินการตามกระบวนยุติธรรมอยู่ในขณะนี้ ซึ่งมีทั้งโทษละเมิดทางปกครองและยังอาจจะต้องได้รับโทษทางอาญาด้วย ก็ไปเข้าทางฝ่ายสนับสนุนฝ่ายอำนาจเก่าเข้าไปใหญ่ ว่าเป็นเรื่อง “รังแก” คนที่ช่วยชาวนา และตั้งคำถามไปถึงรัฐบาลว่า จะมีปัญญาแก้ปัญหาราคาข้าวหรือไม่
และก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่นั่นเอง ที่ในมุมมองของชาวนา จะต้องมีการนำมาตรฐานราคาข้าวสมัยจำนำข้าวมาเปรียบเทียบกับนโยบายของรัฐบาลนี้เป็นแน่
เพราะความเป็น “การเมือง” ในปัญหาราคาข้าว ที่อาจจะเหมือนกับการ “ท้าทาย” ต่อรัฐบาล คสช.ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคดีอาญาเรื่องทุจริตจำนำข้าว และการเรียกค่าเสียหายในมาตรการทางปกครองของรัฐบาลบังเอิญมาสอดคล้องลงได้จังหวะพอดี
นโยบายมากมายของรัฐบาลก็ได้มีขึ้นเพื่อพยายามแก้ปัญหาราคาข้าว ทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในระยะต้น ด้วยการสร้างตลาดให้ชาวนาสามารถขายข้าวได้โดยตรงต่อผู้บริโภค โดยช่องทางออนไลน์ และจัดหาระบบโรงสีชุมชน หรือโรงสีขนาดเล็ก ให้ชาวนาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่ง
นอกจากนั้น นโยบายแทรกแซงราคาข้าวของรัฐบาลก็เป็นเรื่องจำเป็นเช่นกัน โดยรัฐบาลก็ได้มีโครงการจำนำยุ้งฉางออกมา โดยพยายามพยุงราคาข้าวขึ้นมาให้ได้เป็นตันละหรือเกวียนละ 13,000 บาท พอสูสีกับนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลที่แล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม การต่อสู้ในเชิงความคิดเพื่อแก้ปัญหาในทางการเมืองก็ยังคงต้องมีอยู่ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาจริงคือเรื่องราคาข้าว
เพราะเมื่อมีการประกาศนโยบาย “จำนำยุ้งฉาง” ออกมา ก็มีเสียงโห่จากกองเชียร์ของรัฐบาลที่แล้วว่า แล้วมันแตกต่างจากการจำนำข้าวตรงไหน
ข้อเท็จจริงตรงนี้ทางฝ่ายรัฐบาลจะต้องเคลียร์ให้ชัด รวมถึงประเด็นเรื่องของการเรียกค่าเสียหายในโครงการจำนำข้าว และการดำเนินคดีอาญากับอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ชินวัตร และผู้เกี่ยวข้องด้วยว่า การดำเนินคดีดังกล่าวไม่ใช่เป็นไปเพราะการช่วยเหลือชาวนา หรือเป็นการกลั่นแกล้งรังแกคนที่ช่วยเหลือชาวนา เหมือนที่พยายามสร้างวาทกรรมกันในตอนนี้
แต่เพราะการดำเนินโครงการจำนำข้าวดังกล่าวนั้นมีปัญหาในเรื่องของความหละหลวม รั่วไหล และการกระทำทุจริตนานา ที่ทำให้ประเทศชาติเสียหายเป็นเงินมหาศาล และไม่เป็นประโยชน์ต่อใครเลย
ความชัดเจนนี้เป็นสิ่งที่จะต้องรีบทำให้กระจ่าง เพื่อไม่ให้มีการหยิบเอาเรื่องจำนำข้าวและราคาข้าวมาทิ่มแทงรัฐบาล หรือมาสร้างกระแสกดดันกระบวนยุติธรรมตามที่คนบางกลุ่มจะอาศัยตามน้ำ.
เพราะประเทศไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรม และการทำนาเป็นอาชีพหลักของคนไทยส่วนใหญ่ในชนบท และข้าวก็เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญรายการหนึ่งของประเทศ
นอกจากนั้นด้วยวาทกรรม “ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ” และ “ชาวนาคือผู้ปลูกข้าวเลี้ยงคนทั้งชาติ” ทำให้ปัญหาของชาวนา จึงเป็นปัญหาระดับชาติ แตกต่างจากปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตามธรรมดา
เมื่อราคาข้าวตกต่ำ นอกจากเป็นปัญหาในตัวของมันแล้ว ยังมีผลกระทบที่ใหญ่เป็นพิเศษในเชิงความรู้สึกของผู้คนทั่วไปด้วย ไม่เหมือนเวลาที่ราคาหอมกระเทียมหรือสินค้าเกษตรอื่นๆ ตกต่ำลง
จึงเป็นเหมือนพันธสัญญาของรัฐบาลทุกรัฐบาล ที่จะต้องมีมาตรการช่วยเหลือชาวนา เพื่อพยุงระดับราคาข้าวไว้อยู่ในระดับที่ชาวนาพอใจ หรืออย่างน้อยก็อยู่ในระดับที่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ รวมถึงต้องแก้ปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นปัญหาหนี้สินและที่ดินทำกินของชาวนาด้วย
รัฐบาลในทุกสมัยมีมาตรการต่างๆ มาเพื่อช่วยชาวนาอยู่เสมอ เช่น นโยบายประกันราคาข้าว หรือการรับจำนำข้าว ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้เป็นนโยบายหลักในสมัยรัฐบาลนั้น
นอกจากนี้การนำเอา “นโยบาย” พยุงราคาข้าวช่วยชาวนามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียง ก็เป็นการขายนโยบายหาเสียงที่ได้ผล เพราะชาวนานั้นเป็นฐานเสียงที่ใหญ่ที่สุดฐานหนึ่งของประเทศ
ปัจจุบันปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ที่ราคาข้าวตกลงมาอยู่เหลือกิโลกรัมละ 5-6 บาท จึงเป็นเรื่องที่เขย่ารัฐบาล คสช.อย่างช่วยไม่ได้
อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าปัญหาเรื่องราคาข้าวตกต่ำนั้น เป็นปัญหาในตัวมันเองส่วนหนึ่ง คือปัญหาเนื่องมาจากราคาข้าวในตลาดโลกลดต่ำลงเนื่องจากมีข้าวในตลาดมาก และประกอบกับการที่ประเทศไทยนั้นมีผลผลิตข้าวที่ได้ในปริมาณต่อไร่ที่ต่ำกว่าคู่แข่ง ทำให้ไม่สามารถต่อสู้ในสงครามราคากับเขาได้ ส่วนราคาขายข้าวในประเทศก็จะให้สูงมากไม่ได้ เพราะจะมีปัญหากระทบถึงค่าครองชีพ ทำให้ในที่สุดก็ต้องมาลดต้นทุนกันที่ราคาซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา ซึ่งเรื่องนี้ก็คุยกันได้ว่าส่วนต่างระหว่างราคาข้าวเปลือกกับข้าวสารของโรงสีและพ่อค้าคนกลางนั้นแตกต่างกันไปหรือไม่ หรือพอจะ “ช่วยๆ กัน” ตรงไหนได้หรือเปล่า
ส่วนปัญหาเชิงความรู้สึกก็เกิดขึ้นจากการโหมสร้างกระแส “ดรามา” กันในโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่น การนำเอาราคาข้าวเปลือก 1 กิโลกรัม ไปเปรียบเทียบกับราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบ้าง หรือเอาไปเปรียบเทียบกับราคาอาหารสุนัขก็มี เพื่อสร้างให้เกิดกระแสว่า ชาวนาขายข้าวกิโลหนึ่งยังซื้อบะหมี่สำเร็จรูปมากินห่อหนึ่งไม่ได้เลย หรือว่าราคาข้าวถูกกว่าราคาอาหารหมาเสียอย่างนั้น
กระแสพวกนี้เราไม่รู้ว่าเจตนาของผู้สร้างกระแสนั้นดีหรือร้าย แต่พอไปผสมกับวาทกรรมเรื่องชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ หรือชาวนาเป็นผู้มีบุญคุณต่อประเทศแล้ว ก็เกิดเป็นคำถามที่ยิงไปถึงรัฐบาลว่า แล้วจะปล่อยให้กระดูกสันหลังของชาตินั้นตกอยู่ในสภาพเช่นนี้หรือ
และยิ่งในทางการเมืองแล้ว ปัญหาราคาข้าวตกต่ำในสมัยรัฐบาลนี้ ก็ถูกนำไปเปรียบเปรยกับยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่มีโครงการจำนำข้าว ตันละ 15,000 บาทไม่ได้
ยิ่งเมื่อผู้เกี่ยวข้องกับโครงการจำนำข้าวในรัฐบาลก่อน กำลังถูกดำเนินการตามกระบวนยุติธรรมอยู่ในขณะนี้ ซึ่งมีทั้งโทษละเมิดทางปกครองและยังอาจจะต้องได้รับโทษทางอาญาด้วย ก็ไปเข้าทางฝ่ายสนับสนุนฝ่ายอำนาจเก่าเข้าไปใหญ่ ว่าเป็นเรื่อง “รังแก” คนที่ช่วยชาวนา และตั้งคำถามไปถึงรัฐบาลว่า จะมีปัญญาแก้ปัญหาราคาข้าวหรือไม่
และก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่นั่นเอง ที่ในมุมมองของชาวนา จะต้องมีการนำมาตรฐานราคาข้าวสมัยจำนำข้าวมาเปรียบเทียบกับนโยบายของรัฐบาลนี้เป็นแน่
เพราะความเป็น “การเมือง” ในปัญหาราคาข้าว ที่อาจจะเหมือนกับการ “ท้าทาย” ต่อรัฐบาล คสช.ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคดีอาญาเรื่องทุจริตจำนำข้าว และการเรียกค่าเสียหายในมาตรการทางปกครองของรัฐบาลบังเอิญมาสอดคล้องลงได้จังหวะพอดี
นโยบายมากมายของรัฐบาลก็ได้มีขึ้นเพื่อพยายามแก้ปัญหาราคาข้าว ทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในระยะต้น ด้วยการสร้างตลาดให้ชาวนาสามารถขายข้าวได้โดยตรงต่อผู้บริโภค โดยช่องทางออนไลน์ และจัดหาระบบโรงสีชุมชน หรือโรงสีขนาดเล็ก ให้ชาวนาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่ง
นอกจากนั้น นโยบายแทรกแซงราคาข้าวของรัฐบาลก็เป็นเรื่องจำเป็นเช่นกัน โดยรัฐบาลก็ได้มีโครงการจำนำยุ้งฉางออกมา โดยพยายามพยุงราคาข้าวขึ้นมาให้ได้เป็นตันละหรือเกวียนละ 13,000 บาท พอสูสีกับนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลที่แล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม การต่อสู้ในเชิงความคิดเพื่อแก้ปัญหาในทางการเมืองก็ยังคงต้องมีอยู่ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาจริงคือเรื่องราคาข้าว
เพราะเมื่อมีการประกาศนโยบาย “จำนำยุ้งฉาง” ออกมา ก็มีเสียงโห่จากกองเชียร์ของรัฐบาลที่แล้วว่า แล้วมันแตกต่างจากการจำนำข้าวตรงไหน
ข้อเท็จจริงตรงนี้ทางฝ่ายรัฐบาลจะต้องเคลียร์ให้ชัด รวมถึงประเด็นเรื่องของการเรียกค่าเสียหายในโครงการจำนำข้าว และการดำเนินคดีอาญากับอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ชินวัตร และผู้เกี่ยวข้องด้วยว่า การดำเนินคดีดังกล่าวไม่ใช่เป็นไปเพราะการช่วยเหลือชาวนา หรือเป็นการกลั่นแกล้งรังแกคนที่ช่วยเหลือชาวนา เหมือนที่พยายามสร้างวาทกรรมกันในตอนนี้
แต่เพราะการดำเนินโครงการจำนำข้าวดังกล่าวนั้นมีปัญหาในเรื่องของความหละหลวม รั่วไหล และการกระทำทุจริตนานา ที่ทำให้ประเทศชาติเสียหายเป็นเงินมหาศาล และไม่เป็นประโยชน์ต่อใครเลย
ความชัดเจนนี้เป็นสิ่งที่จะต้องรีบทำให้กระจ่าง เพื่อไม่ให้มีการหยิบเอาเรื่องจำนำข้าวและราคาข้าวมาทิ่มแทงรัฐบาล หรือมาสร้างกระแสกดดันกระบวนยุติธรรมตามที่คนบางกลุ่มจะอาศัยตามน้ำ.