ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่รัฐบาลได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิไปแล้ว โดยเกษตรกรจะนำเข้าโครงการจำนำยุ้งฉาง หรือจะขายข้าวในตลาดปกติ ก็จะได้รับเงินที่ตันละ 1.3 หมื่นบาทไปแล้ว วานนี้ (2 พ.ย.) หน่วยงานภาครัฐ ยังคงมีมาตรการออกมาช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเข้าไปช่วยรับซื้อข้าวจากเกษตรกร เพื่อดึงผลผลิตออกจากตลาด
พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า ขณะนี้หน่วยงานทหารได้เริ่มดำเนินการรับซื้อข้าวจากชาวนา โดยผ่านระบบของสหกรณ์การเกษตรในแต่พื้นที่ เพื่อนำมาจำหน่ายและใช้เลี้ยงกำลังพลที่มีอยู่กว่า 100,000 คน ซึ่งจะช่วยดึงผลผลิตข้าวออกจากตลาด และช่วยผลักดันราคาให้ปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ ยังได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ทหารไปช่วยชาวนาที่ประสบปัญหาน้ำท่วมด้วยวิธีการช่วยลงแขกเกี่ยวข้าวในแต่ละพื้นที่ และยังลงพื้นพบปะกับชาวนาเพื่อรับทราบปัญหาของแต่พื้นที่เพื่อนำมาเป็นข้อมูลส่งให้ทางรัฐบาลดำเนินแก้ไขปัญหา รวมทั้งได้มีการลงพื้นดูโรงสีทุกแห่ง เพื่อไปดูกระบวนการรับซื้อว่าเป็นไปอย่างตรงไปตรงมาหรือไม่
ทางด้านกระทรวงพาณิชย์ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลได้มีมาตรการเข้าไปดูแลราคาข้าวเปลือกหอมมะลิให้กับเกษตรกรแล้ว กระทรวงฯ ยังมีมาตรการช่วยดันราคาข้าว โดยจะร่วมมือกับภาคเอกชนให้หันมาใช้ข้าวมอบเป็นของขวัญปีใหม่ หรือให้ห้างที่จะมีการจัดกิจกรรมโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ให้ใช้สินค้าข้าวเข้ามาเป็นสินค้าที่เป็นไฮไลต์ เพื่อกระตุ้นการบริโภคข้าวให้เพิ่มสูงขึ้น
ตอนนี้ สมาคมข้าวถุงได้พร้อมที่จะผลิตข้าวถุงเพื่อจัดส่งให้กับห้างค้าปลีกทั่วประเทศ เพื่อนำไปเป็นของแถมแล้ว ขณะที่สมาคมประกันภัยวินาศภัย ก็ได้แจ้งว่าจะซื้อข้าวหอมมะลิจำนวน 2.5 หมื่นตัน เพื่อไปเป็นของแจก ของขวัญให้กับลูกค้า ซึ่งกระทรวงฯ จะยังรณรงค์ให้มีการนำข้าวชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวอินทรีย์ ข้าว GI ข้าวสีชนิดต่างๆ เพื่อใช้เป็นของขวัญปีใหม่ด้วย"นางอภิรดีกล่าว
สำหรับมาตรการอื่นๆ จะใช้โครงการประชารัฐ ให้สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ไปช่วยเกษตรกรในจ.อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ให้มีการแปรรูปข้าวเพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ร่วมมือกับ ปตท. บางจาก เปิดพื้นที่ในปั๊มให้เกษตรกรนำข้าวไปจำหน่าย และใช้ช่องทางออนไลน์ของกระทรวงฯ ให้เกษตรกรนำข้าวมาขาย
นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะจัดโรดโชว์ขายข้าวไทยตั้งแต่เดือนพ.ย.นี้ไปถึงจนไตรมาส 2 ปี 2560 รวม 20 คณะ ทั้งในรูปแบบการขายแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ธุรกิจต่อธุรกิจ (บีทูบี) และธุรกิจถึงผู้บริโภค (บีทูซี) เพื่อผลักดันการส่งออกข้าวไทย
ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกมลวิศว์ แก้วแฝก ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) กล่าวว่า วันที่ 5-23 พ.ย.นี้ อ.ต.ก.จะจัดงาน "เทศกาลข้าวไทย ร่วมใจช่วยชาวนา" ที่ ตลาด อ.ต.ก.ย่านพหลโยธิน กรุงเทพฯ เพื่อช่วยเหลือชาวนา โดยจะเปิดพื้นที่ให้ชาวนานำข้าวมาจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง และจะจัดในลักษณะเดียวกันที่ตลาด อ.ต.ก. ในต่างจังหวัดที่จ.สงขลา นครราชสีมา พิษณุโลก ขอนแก่น เชียงใหม่ และตรัง ด้วย รวมทั้งจะช่วยนำข้าวของชาวนาไปจำหน่ายบนเว็บไซต์ อตก.com เพื่อกระจายข้าวออกสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ
ส่วนกระทรวงแรงงาน นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทั่วประเทศ ประสานนายจ้าง สถานประกอบการ โรงงาน นิคมอุตสาหกรรม สอบถามลูกจ้างและสถานประกอบการว่ามีความต้องการซื้อข้าวมากน้อยแค่ไหน โดย กสร. จะช่วยเป็นตัวกลางประสานนำข้าวมาจำหน่ายให้ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งล่าสุด มีผู้ต้องการซื้อข้าวแล้วกว่า 40 ตัน
นายณัฐพล รังสิตพล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รมว.อุตสาหกรรมได้มอบให้อุตสาหกรรมจังหวัดเร่งประสานโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ 70,000 แห่งโดยเน้นไปที่โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กำกับดูแลที่มีอยู่ประมาณ 4,600แห่งเพื่อขอความร่วมมือในการรับซื้อข้าวทั้งที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตและการใช้บริโภคในโรงงานที่เพิ่มขึ้นเพื่อลดสต็อกข้าวในช่วงนี้
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ได้จัดกิจกรรมเปิดพื้นที่ให้เครือข่ายชาวนาจากจ.ปทุมธานี สุพรรณบุรี และลพบุรี นำข้าวมาจำหน่ายตรงถึงมือผู้บริโภค โดยเบื้องต้นมีการนำมาจำหน่ายกว่า 2 พันกิโลกรัม
ที่ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ บางเขน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ประชุมบอร์ด ธ.ก.ส. โดยได้มีการหารือเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้ดูแลมาตรการรับจำนำยุ้งฉางข้าวหอมมะลิ ที่ตันละ 9.5 พันบาท การจ่ายค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวตันละ 2,000 บาท และเงินค่าขึ้นยุ้งและเก็บรักษาอีกตันละ 1,500 บาท โดยที่ประชุมเห็นว่า การดำเนินการครั้งนี้ ไม่สร้างภาระให้กับ ธ.ก.ส. แต่จะเป็นการช่วยเหลือชาวนาให้ขายข้าวได้ราคาดี
นายอภิศักดิ์กล่าวว่า ข้าวที่นำมาจำนำยุ้งฉาง กำหนดราคาที่ตันละ 9.5 พันบาท แต่ราคาตลาดอยู่ที่ตันละ 1.1 หมื่นบาท และมีแนวโน้มราคาข้าวที่จะเพิ่มสูงขึ้น จึงมีแนวโน้มที่ชาวนาจะมาไถ่ถอนคืน แต่ถ้าไม่มาไถ่ถอน ธ.ก.ส. ก็มีแนวทางการบริหารจัดการ และมั่นใจว่าจะสร้างมูลค่าให้กับข้าวที่มีอยู่ได้
**ม.รังสิตรับข้าวสารจ่ายแทนค่าเทอม
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีพูดคุยเพื่อร่วมกันฝ่าวิกฤติราคาข้าว ช่วยเหลือชาวนา ในเบื้องต้นได้ข้อสรุป 5 ข้อ ดังนี้ 1. ม.รังสิตจะจัดให้มีจุดรับข้าว เพื่อเปิดเพื้นที่ให้ชาวนาสามารถนำข้าวสารมาขาย 2. ให้ชาวนาในพื้นที่บริเวณหนองสาหร่าย จ.กาญจนบุรี สามารถนำข้าวเปลือกมาสีได้ ที่โรงสีข้าวหนองสาหร่าย ซึ่งอยู่ในโครงการนวัตกรรมนาข้าว ชาวนาอัจฉริยะ ของ ม.รังสิต 3. ช่วยเหลือนักศึกษา ม.รังสิต ที่เป็นลูกชาวนาโดยให้นำข้าวสารมาจ่ายเป็นค่าหน่วยกิตได้ และจัดให้มีทุนการศึกษา“ทุนลูกชาวนา”โดยพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ 4. จัดพื้นที่ให้บุคลากร นักศึกษาที่ครอบครัวทำนาได้นำข้าวสารมาร่วมจำหน่าย โดยเปิดโซนพื้นที่ในการจำหน่ายให้เป็นถนนข้าวสารลานแบร์ ม.รังสิต เพื่อเป็นอีกช่องทางในการช่วยจำหน่ายข้าวสาร 5. สถาบันปฏิรูปประเทศไทย ม.รังสิต ร่วมกับสถาบันต่างๆ จะมีการจัดเวทีนำเสนอนโยบายช่วยเหลือชาวนาอย่างเป็นรูปธรรรม และจะจัดกิจกรรมผู้บริโภคพบปะจับคู่ชาวนา ในวาระต่อไป
พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า ขณะนี้หน่วยงานทหารได้เริ่มดำเนินการรับซื้อข้าวจากชาวนา โดยผ่านระบบของสหกรณ์การเกษตรในแต่พื้นที่ เพื่อนำมาจำหน่ายและใช้เลี้ยงกำลังพลที่มีอยู่กว่า 100,000 คน ซึ่งจะช่วยดึงผลผลิตข้าวออกจากตลาด และช่วยผลักดันราคาให้ปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ ยังได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ทหารไปช่วยชาวนาที่ประสบปัญหาน้ำท่วมด้วยวิธีการช่วยลงแขกเกี่ยวข้าวในแต่ละพื้นที่ และยังลงพื้นพบปะกับชาวนาเพื่อรับทราบปัญหาของแต่พื้นที่เพื่อนำมาเป็นข้อมูลส่งให้ทางรัฐบาลดำเนินแก้ไขปัญหา รวมทั้งได้มีการลงพื้นดูโรงสีทุกแห่ง เพื่อไปดูกระบวนการรับซื้อว่าเป็นไปอย่างตรงไปตรงมาหรือไม่
ทางด้านกระทรวงพาณิชย์ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลได้มีมาตรการเข้าไปดูแลราคาข้าวเปลือกหอมมะลิให้กับเกษตรกรแล้ว กระทรวงฯ ยังมีมาตรการช่วยดันราคาข้าว โดยจะร่วมมือกับภาคเอกชนให้หันมาใช้ข้าวมอบเป็นของขวัญปีใหม่ หรือให้ห้างที่จะมีการจัดกิจกรรมโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ให้ใช้สินค้าข้าวเข้ามาเป็นสินค้าที่เป็นไฮไลต์ เพื่อกระตุ้นการบริโภคข้าวให้เพิ่มสูงขึ้น
ตอนนี้ สมาคมข้าวถุงได้พร้อมที่จะผลิตข้าวถุงเพื่อจัดส่งให้กับห้างค้าปลีกทั่วประเทศ เพื่อนำไปเป็นของแถมแล้ว ขณะที่สมาคมประกันภัยวินาศภัย ก็ได้แจ้งว่าจะซื้อข้าวหอมมะลิจำนวน 2.5 หมื่นตัน เพื่อไปเป็นของแจก ของขวัญให้กับลูกค้า ซึ่งกระทรวงฯ จะยังรณรงค์ให้มีการนำข้าวชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวอินทรีย์ ข้าว GI ข้าวสีชนิดต่างๆ เพื่อใช้เป็นของขวัญปีใหม่ด้วย"นางอภิรดีกล่าว
สำหรับมาตรการอื่นๆ จะใช้โครงการประชารัฐ ให้สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ไปช่วยเกษตรกรในจ.อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ให้มีการแปรรูปข้าวเพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ร่วมมือกับ ปตท. บางจาก เปิดพื้นที่ในปั๊มให้เกษตรกรนำข้าวไปจำหน่าย และใช้ช่องทางออนไลน์ของกระทรวงฯ ให้เกษตรกรนำข้าวมาขาย
นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะจัดโรดโชว์ขายข้าวไทยตั้งแต่เดือนพ.ย.นี้ไปถึงจนไตรมาส 2 ปี 2560 รวม 20 คณะ ทั้งในรูปแบบการขายแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ธุรกิจต่อธุรกิจ (บีทูบี) และธุรกิจถึงผู้บริโภค (บีทูซี) เพื่อผลักดันการส่งออกข้าวไทย
ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกมลวิศว์ แก้วแฝก ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) กล่าวว่า วันที่ 5-23 พ.ย.นี้ อ.ต.ก.จะจัดงาน "เทศกาลข้าวไทย ร่วมใจช่วยชาวนา" ที่ ตลาด อ.ต.ก.ย่านพหลโยธิน กรุงเทพฯ เพื่อช่วยเหลือชาวนา โดยจะเปิดพื้นที่ให้ชาวนานำข้าวมาจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง และจะจัดในลักษณะเดียวกันที่ตลาด อ.ต.ก. ในต่างจังหวัดที่จ.สงขลา นครราชสีมา พิษณุโลก ขอนแก่น เชียงใหม่ และตรัง ด้วย รวมทั้งจะช่วยนำข้าวของชาวนาไปจำหน่ายบนเว็บไซต์ อตก.com เพื่อกระจายข้าวออกสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ
ส่วนกระทรวงแรงงาน นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทั่วประเทศ ประสานนายจ้าง สถานประกอบการ โรงงาน นิคมอุตสาหกรรม สอบถามลูกจ้างและสถานประกอบการว่ามีความต้องการซื้อข้าวมากน้อยแค่ไหน โดย กสร. จะช่วยเป็นตัวกลางประสานนำข้าวมาจำหน่ายให้ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งล่าสุด มีผู้ต้องการซื้อข้าวแล้วกว่า 40 ตัน
นายณัฐพล รังสิตพล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รมว.อุตสาหกรรมได้มอบให้อุตสาหกรรมจังหวัดเร่งประสานโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ 70,000 แห่งโดยเน้นไปที่โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กำกับดูแลที่มีอยู่ประมาณ 4,600แห่งเพื่อขอความร่วมมือในการรับซื้อข้าวทั้งที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตและการใช้บริโภคในโรงงานที่เพิ่มขึ้นเพื่อลดสต็อกข้าวในช่วงนี้
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ได้จัดกิจกรรมเปิดพื้นที่ให้เครือข่ายชาวนาจากจ.ปทุมธานี สุพรรณบุรี และลพบุรี นำข้าวมาจำหน่ายตรงถึงมือผู้บริโภค โดยเบื้องต้นมีการนำมาจำหน่ายกว่า 2 พันกิโลกรัม
ที่ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ บางเขน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ประชุมบอร์ด ธ.ก.ส. โดยได้มีการหารือเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้ดูแลมาตรการรับจำนำยุ้งฉางข้าวหอมมะลิ ที่ตันละ 9.5 พันบาท การจ่ายค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวตันละ 2,000 บาท และเงินค่าขึ้นยุ้งและเก็บรักษาอีกตันละ 1,500 บาท โดยที่ประชุมเห็นว่า การดำเนินการครั้งนี้ ไม่สร้างภาระให้กับ ธ.ก.ส. แต่จะเป็นการช่วยเหลือชาวนาให้ขายข้าวได้ราคาดี
นายอภิศักดิ์กล่าวว่า ข้าวที่นำมาจำนำยุ้งฉาง กำหนดราคาที่ตันละ 9.5 พันบาท แต่ราคาตลาดอยู่ที่ตันละ 1.1 หมื่นบาท และมีแนวโน้มราคาข้าวที่จะเพิ่มสูงขึ้น จึงมีแนวโน้มที่ชาวนาจะมาไถ่ถอนคืน แต่ถ้าไม่มาไถ่ถอน ธ.ก.ส. ก็มีแนวทางการบริหารจัดการ และมั่นใจว่าจะสร้างมูลค่าให้กับข้าวที่มีอยู่ได้
**ม.รังสิตรับข้าวสารจ่ายแทนค่าเทอม
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีพูดคุยเพื่อร่วมกันฝ่าวิกฤติราคาข้าว ช่วยเหลือชาวนา ในเบื้องต้นได้ข้อสรุป 5 ข้อ ดังนี้ 1. ม.รังสิตจะจัดให้มีจุดรับข้าว เพื่อเปิดเพื้นที่ให้ชาวนาสามารถนำข้าวสารมาขาย 2. ให้ชาวนาในพื้นที่บริเวณหนองสาหร่าย จ.กาญจนบุรี สามารถนำข้าวเปลือกมาสีได้ ที่โรงสีข้าวหนองสาหร่าย ซึ่งอยู่ในโครงการนวัตกรรมนาข้าว ชาวนาอัจฉริยะ ของ ม.รังสิต 3. ช่วยเหลือนักศึกษา ม.รังสิต ที่เป็นลูกชาวนาโดยให้นำข้าวสารมาจ่ายเป็นค่าหน่วยกิตได้ และจัดให้มีทุนการศึกษา“ทุนลูกชาวนา”โดยพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ 4. จัดพื้นที่ให้บุคลากร นักศึกษาที่ครอบครัวทำนาได้นำข้าวสารมาร่วมจำหน่าย โดยเปิดโซนพื้นที่ในการจำหน่ายให้เป็นถนนข้าวสารลานแบร์ ม.รังสิต เพื่อเป็นอีกช่องทางในการช่วยจำหน่ายข้าวสาร 5. สถาบันปฏิรูปประเทศไทย ม.รังสิต ร่วมกับสถาบันต่างๆ จะมีการจัดเวทีนำเสนอนโยบายช่วยเหลือชาวนาอย่างเป็นรูปธรรรม และจะจัดกิจกรรมผู้บริโภคพบปะจับคู่ชาวนา ในวาระต่อไป