ผู้จัดการรายวัน360-นบข.มีมติช่วยเหลือชาวนาผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ทั้งที่ไม่มียุ้งฉางและมียุ้งฉาง เผยจะได้รับเงินรวมตันละ 13,586 บาท และ 14,116 บาท ส่วนข้าวเหนียวไม่น่ามีปัญหา ยันข้าวเจ้า มีมาตรการรับมือแล้ว โรงสีแนะรัฐจำนำยุ้งฉางได้ให้ตามเป้า 2 ล้านตัน เพื่อดึงผลผลิตส่วนเกินออกจากตลาด ขณะที่ สคบ.ย้ำชาวนาขายข้าวออนไลน์ได้ ไม่ผิดกฎหมาย "มัลลิกา"แนะรัฐทบทวนนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เพื่อช่วยดึงราคาข้าว หลังโรงสีขายแกลบ ขายรำ ไม่ได้
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ได้มีมติให้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิทุกรายเหมือนกันหมด ทั้งที่มียุ้งฉางและไม่มียุ้งฉาง โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 10 ไร่เท่ากันหมด หรือคิดเป็นเงินที่ตันละ 1,295 บาท ซึ่งเมื่อคิดรายได้ที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิแบบไม่มียุ้งฉางได้รับจะอยู่ที่ตันละ 10,995 บาท แบ่งเป็นรายได้จากการขายข้าวเปลือกหอมมะลิตามราคาตลาดปัจจุบันที่ตันละ 9,700 บาท และเงินช่วยเหลืออีกตันละ 1,295 บาท และหากรวมเงินสนับสนุนต้นทุนการผลิตไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ จำนวน 2,591 บาท ซึ่งเป็นโครงการเดิมและอยู่ระหว่างดำเนินการ เกษตรกรจะได้เงินรวม 13,586 บาทต่อตัน
ส่วนเกษตรกรที่มียุ้งฉาง จะมีรายได้จากการรับจำนำยุ้งฉางที่ตันละ 11,525 บาท แบ่งเป็น ราคาจำนำที่คิดจาก 90% ของราคาตลาด หรือตันละ 8,730 บาท โดยราคาตลาดอยู่ที่ตันละ 9,700 บาท รวมกับเงินช่วยเหลือตันละ 1,295 บาท ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือกในยุ้งฉางอีกตันละ 1,500 บาท และเมื่อรวมกับเงินสนับสนุนต้นทุนการผลิตไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ จำนวน 2,591 บาท ซึ่งเป็นโครงการเดิม และอยู่ระหว่างดำเนินการ ทำให้เกษตรกรจะได้รับเงินทั้งสิ้นตันละ 14,116 บาท
"มติที่ประชุม นบข. ที่ออกมา ถือว่า แฟร์ ไม่ได้บิดเบือนกลไกตลาด และวินวิน ทั้งชาวนาผู้ปลูกข้าวหอมมะลิทุกราย ทั้งที่มียุ้งฉางและไม่มี รวมถึงโรงสี และผู้ส่งออก สามารถขายข้าวได้อย่างสบาย เพราะราคาที่ นบข. กำหนดเป็นราคา 90% ของราคาตลาด ไม่ได้สูงเกินไปเหมือนที่ผ่านมา ที่เหลือเป็นการอุดหนุนตรง ไม่ผิดกฎ WTO (องค์การการค้าโลก) ซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ไว้ และธ.ก.ส. ก็พร้อมให้ความร่วมมือ และมั่นใจว่าจะผลักดันให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นได้”
ทั้งนี้ สำหรับเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉาง และต้องขายข้าวให้กับโรงสี กระทรวงพาณิชย์จะคัดเลือกโรงสีในพื้นที่ ที่มีความน่าเชื่อถือให้ช่วยรับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิจากเกษตรกร แต่หากโรงสีรายดังกล่าว ขาดสภาพคล่อง รัฐบาลก็มีโครงการชดเชยดอกเบี้ยต่ำให้กู้เพื่อซื้อข้าวมาเก็บสต๊อกไว้อยู่แล้ว ซึ่งโรงสีสามารถมาขอกู้ได้
ส่วนการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียว คาดว่า ข้าวเหนียวไม่น่าจะมีปัญหา เพราะส่วนใหญ่เกษตรกรจะเก็บไว้กินเอง มีเหลือขายบ้างเล็กน้อย ส่วนข้าวเปลือกเจ้า ขณะนี้ ผลผลิตส่วนใหญ่ยังไม่ออกสู่ท้องตลาด แต่รัฐบาลได้เตรียมมาตรการรองรับไว้แล้ว แต่หากไม่เพียงพอ และไม่สามารถพยุงราคาได้ ก็อาจมีมาตรการเสริมอื่นๆ อีกเข้ามาช่วยอีก
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการโรงสีข้าว กล่าวว่า รัฐบาลต้องเร่งให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ประชาสัมพันธ์ให้ชาวนานำข้าวเปลือกมาเข้าโครงการรับจำนำยุ้งฉางให้ได้ตามเป้า 2 ล้านตัน เพื่อดึงผลผลิตออกจากตลาด เพราะช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค.นี้ ผลผลิตจะออกมากถึง 10 ล้านตัน ถ้าชะลอการขายไม่ได้ ก็จะกระทบต่อราคาตลาดได้ แต่ถ้าชะลอการขายข้าวเข้าสู่ตลาดได้ ก็จะทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนกรณีข่าวโรงสีกดราคารับซื้อข้าวจากชาวนา ขอให้สังคมเข้าใจด้วยว่าปัจจุบันมีโรงสีกว่า 1,000 แห่ง อาจจะมีบางแห่งที่กดราคา แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกรายจะรวมหัวกันกดราคา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ว่าโรงสีอยากกดราคาข้าวจากชาวนา แต่โรงสีถูกผู้ส่งออกมากดราคารับซื้อ เพราะผู้ส่งออกมีการไปขายข้าวตัดราคากัน เพื่อแข่งขันส่งออก จึงอยากให้รัฐบาลเข้าไปดูแลในส่วนของการส่งออกข้าวด้วย
วันเดียวกันนี้ นายพิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิการ และโฆษกสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้แถลงกรณีเฟซบุ๊กเพจ “ทนายคู่ใจ” เตือนชาวนาขายข้าวออนไลน์ผิด พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมแนะนำให้ชาวนาไปเสียเงินจดทะเบียนกับ สคบ. แต่ละจังหวัดว่า สคบ.ในฐานะผู้กำกับดูแลกฎหมายดังกล่าว ตรวจสอบแล้ว ขอเรียนว่า การที่เกษตรกรขายข้าวออนไลน์นั้น ไม่เข้าข่ายเป็นการขายตรงและตลาดแบบตรง ไม่จำเป็นต้องมาจดทะเบียนแต่อย่างใด และไม่มีความผิดตามกฎหมาย อีกทั้งการจดทะเบียนกับสคบ. ไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นการมายื่น สคบ. เพื่อออกใบอนุญาตให้เท่านั้น ทั้งนี้ สคบ. ยินดีให้ความร่วมมือ และส่งเสริมการค้าให้เป็นไปอย่างมั่นคงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านนางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า วงจรของโรงสี ที่เป็นปราการด่านแรกของชาวนาในการนำข้าวไปขาย จะได้ราคาดีหรือไม่ หรือโรงสีจะรับซื้อหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าโรงสีได้ขายแกลบและรำ เข้าสู่บริษัทรับซื้ออาหารสัตว์ได้หรือไม่ เพราะในประเทศนี้ ผู้รับซื้อแกลบ รำ และข้าวโพด เพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์มีบริษัทยักษ์ใหญ่สุด คือ เครือซีพี โดยหนทางหนึ่งของการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำของชาวนา คือ ระงับการนำเข้าอาหารสัตว์ตามโควตาเดิมที่บริษัทต่างๆ เคยขอ เพราะถ้าโรงสีขายแกลบ ขายรำ ไม่ได้ ก็จะกระทบต่อการรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ได้มีมติให้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิทุกรายเหมือนกันหมด ทั้งที่มียุ้งฉางและไม่มียุ้งฉาง โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 10 ไร่เท่ากันหมด หรือคิดเป็นเงินที่ตันละ 1,295 บาท ซึ่งเมื่อคิดรายได้ที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิแบบไม่มียุ้งฉางได้รับจะอยู่ที่ตันละ 10,995 บาท แบ่งเป็นรายได้จากการขายข้าวเปลือกหอมมะลิตามราคาตลาดปัจจุบันที่ตันละ 9,700 บาท และเงินช่วยเหลืออีกตันละ 1,295 บาท และหากรวมเงินสนับสนุนต้นทุนการผลิตไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ จำนวน 2,591 บาท ซึ่งเป็นโครงการเดิมและอยู่ระหว่างดำเนินการ เกษตรกรจะได้เงินรวม 13,586 บาทต่อตัน
ส่วนเกษตรกรที่มียุ้งฉาง จะมีรายได้จากการรับจำนำยุ้งฉางที่ตันละ 11,525 บาท แบ่งเป็น ราคาจำนำที่คิดจาก 90% ของราคาตลาด หรือตันละ 8,730 บาท โดยราคาตลาดอยู่ที่ตันละ 9,700 บาท รวมกับเงินช่วยเหลือตันละ 1,295 บาท ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือกในยุ้งฉางอีกตันละ 1,500 บาท และเมื่อรวมกับเงินสนับสนุนต้นทุนการผลิตไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ จำนวน 2,591 บาท ซึ่งเป็นโครงการเดิม และอยู่ระหว่างดำเนินการ ทำให้เกษตรกรจะได้รับเงินทั้งสิ้นตันละ 14,116 บาท
"มติที่ประชุม นบข. ที่ออกมา ถือว่า แฟร์ ไม่ได้บิดเบือนกลไกตลาด และวินวิน ทั้งชาวนาผู้ปลูกข้าวหอมมะลิทุกราย ทั้งที่มียุ้งฉางและไม่มี รวมถึงโรงสี และผู้ส่งออก สามารถขายข้าวได้อย่างสบาย เพราะราคาที่ นบข. กำหนดเป็นราคา 90% ของราคาตลาด ไม่ได้สูงเกินไปเหมือนที่ผ่านมา ที่เหลือเป็นการอุดหนุนตรง ไม่ผิดกฎ WTO (องค์การการค้าโลก) ซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ไว้ และธ.ก.ส. ก็พร้อมให้ความร่วมมือ และมั่นใจว่าจะผลักดันให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นได้”
ทั้งนี้ สำหรับเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉาง และต้องขายข้าวให้กับโรงสี กระทรวงพาณิชย์จะคัดเลือกโรงสีในพื้นที่ ที่มีความน่าเชื่อถือให้ช่วยรับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิจากเกษตรกร แต่หากโรงสีรายดังกล่าว ขาดสภาพคล่อง รัฐบาลก็มีโครงการชดเชยดอกเบี้ยต่ำให้กู้เพื่อซื้อข้าวมาเก็บสต๊อกไว้อยู่แล้ว ซึ่งโรงสีสามารถมาขอกู้ได้
ส่วนการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียว คาดว่า ข้าวเหนียวไม่น่าจะมีปัญหา เพราะส่วนใหญ่เกษตรกรจะเก็บไว้กินเอง มีเหลือขายบ้างเล็กน้อย ส่วนข้าวเปลือกเจ้า ขณะนี้ ผลผลิตส่วนใหญ่ยังไม่ออกสู่ท้องตลาด แต่รัฐบาลได้เตรียมมาตรการรองรับไว้แล้ว แต่หากไม่เพียงพอ และไม่สามารถพยุงราคาได้ ก็อาจมีมาตรการเสริมอื่นๆ อีกเข้ามาช่วยอีก
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการโรงสีข้าว กล่าวว่า รัฐบาลต้องเร่งให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ประชาสัมพันธ์ให้ชาวนานำข้าวเปลือกมาเข้าโครงการรับจำนำยุ้งฉางให้ได้ตามเป้า 2 ล้านตัน เพื่อดึงผลผลิตออกจากตลาด เพราะช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค.นี้ ผลผลิตจะออกมากถึง 10 ล้านตัน ถ้าชะลอการขายไม่ได้ ก็จะกระทบต่อราคาตลาดได้ แต่ถ้าชะลอการขายข้าวเข้าสู่ตลาดได้ ก็จะทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนกรณีข่าวโรงสีกดราคารับซื้อข้าวจากชาวนา ขอให้สังคมเข้าใจด้วยว่าปัจจุบันมีโรงสีกว่า 1,000 แห่ง อาจจะมีบางแห่งที่กดราคา แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกรายจะรวมหัวกันกดราคา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ว่าโรงสีอยากกดราคาข้าวจากชาวนา แต่โรงสีถูกผู้ส่งออกมากดราคารับซื้อ เพราะผู้ส่งออกมีการไปขายข้าวตัดราคากัน เพื่อแข่งขันส่งออก จึงอยากให้รัฐบาลเข้าไปดูแลในส่วนของการส่งออกข้าวด้วย
วันเดียวกันนี้ นายพิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิการ และโฆษกสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้แถลงกรณีเฟซบุ๊กเพจ “ทนายคู่ใจ” เตือนชาวนาขายข้าวออนไลน์ผิด พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมแนะนำให้ชาวนาไปเสียเงินจดทะเบียนกับ สคบ. แต่ละจังหวัดว่า สคบ.ในฐานะผู้กำกับดูแลกฎหมายดังกล่าว ตรวจสอบแล้ว ขอเรียนว่า การที่เกษตรกรขายข้าวออนไลน์นั้น ไม่เข้าข่ายเป็นการขายตรงและตลาดแบบตรง ไม่จำเป็นต้องมาจดทะเบียนแต่อย่างใด และไม่มีความผิดตามกฎหมาย อีกทั้งการจดทะเบียนกับสคบ. ไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นการมายื่น สคบ. เพื่อออกใบอนุญาตให้เท่านั้น ทั้งนี้ สคบ. ยินดีให้ความร่วมมือ และส่งเสริมการค้าให้เป็นไปอย่างมั่นคงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านนางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า วงจรของโรงสี ที่เป็นปราการด่านแรกของชาวนาในการนำข้าวไปขาย จะได้ราคาดีหรือไม่ หรือโรงสีจะรับซื้อหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าโรงสีได้ขายแกลบและรำ เข้าสู่บริษัทรับซื้ออาหารสัตว์ได้หรือไม่ เพราะในประเทศนี้ ผู้รับซื้อแกลบ รำ และข้าวโพด เพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์มีบริษัทยักษ์ใหญ่สุด คือ เครือซีพี โดยหนทางหนึ่งของการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำของชาวนา คือ ระงับการนำเข้าอาหารสัตว์ตามโควตาเดิมที่บริษัทต่างๆ เคยขอ เพราะถ้าโรงสีขายแกลบ ขายรำ ไม่ได้ ก็จะกระทบต่อการรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา