ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพ.ย.2559 เป็นต้นไป ผลผลิตข้าวเปลือกเจ้านาปี ปีการผลิต 2559/60 จะเริ่มทยอยออกสู่ตลาด โดยราคาข้าวเปลือกปัจจุบัน ที่ความชื้น 15% อยู่ที่ตันละ 7.2-7.4 พันบาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำมาก เพราะราคาปีที่แล้วเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าตันละ 8-8.5 พันบาท และมีแนวโน้มที่ราคาจะตกต่ำลงไปกว่านี้ในช่วงที่ผลผลิตออกมามาก โดยชาวนาในจังหวัดต่างๆ เริ่มที่จะมีการเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ซึ่งรวมถึงชาวนาที่ปลูกข้าวหอมชนิดอื่นๆ ด้วย
ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือชาวนาผู้ปลูกข้าวหอมมะลิไปแล้ว โดยใช้มาตรการรับจำนำยุ้งฉาง สำหรับชาวนาที่มียุ้งฉาง ซึ่งหากเงินช่วยเหลือและเงินค่าฝากเก็บ ชาวนาจะได้เงินร่วมตันละ 1.3 หมื่นบาท และกรณีขายข้าวในตลาดทั่วไป ได้กำหนดราคาตลาดที่ตันละ 1.1 หมื่นบาท และรัฐบาลยังได้จ่ายเงินช่วยเหลืออีกตันละ 2 พันบาท ซึ่งจะได้เงินรวม ตันละ 1.3 หมื่นบาทเท่ากัน
โดยหลังจากที่รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือในส่วนของข้าวเปลือกหอมมะลิไปแล้ว ขณะนี้ชาวนาที่ปลูกข้าวเปลือกเจ้า และข้าวหอมชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวหอมปทุมธานี ได้เริ่มออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเหมือนกับข้าวเปลือกหอมมะลิ เพราะมีแนวโน้มราคาตกต่ำเช่นเดียวกัน
นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย.2559 เป็นต้นไป ข้าวเปลือกเจ้า จะออกมามากกว่าข้าวเปลือกหอมมะลิเป็นเท่าตัว แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดเรียกประชุมหารือเพื่อเตรียมมาตรการรับมือ ซึ่งชาวนาอาจจะมีการประชุมหารือกัน เพื่อยื่นหนังสือต่อรมว.พาณิชย์ และรมว.เกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เชิญตัวแทนชาวนาเข้าร่วมประชุมหารือ เพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือด้วย เพราะตอนนี้ชาวนากำลังเดือดร้อนหนัก และที่ผ่านมา หน่วยงานรัฐ ไม่เคยเรียกตัวแทนชาวนาเข้าหารือเลย
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ขณะนี้เริ่มมีกระบวนการปั่นหัวชาวนา โดยกลุ่มนักการเมืองและผู้มีอิทธิพลในจังหวัดที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว โดยการให้ข้อมูลที่ผิดๆ เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือชาวนาว่ารัฐบาลช่วยเหลือเฉพาะชาวนาที่ปลูกข้าวหอมมะลิ ไม่ช่วยเหลือชาวนาที่ปลูกข้าวเจ้า ข้าวเหนียว และข้าวหอมชนิดอื่นๆ เพื่อผลักดันให้ชาวนาไม่พอใจรัฐบาล และรวมตัวกันประท้วง เพื่อหวังผลทางการเมืองให้เกิดความวุ่นวายว่ารัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำได้
การดำเนินการดังกล่าว เป็นการพลิกแผลงจากเดิมที่ร่วมมือกับโรงสีในการกดราคารับซื้อข้าว เพราะขณะนี้โรงสีในจังหวัดต่างๆ ได้ถูกฝ่ายทหารเข้ากดดัน โดยทหารได้มีการลงพื้นที่ไปตรวจสอบและติดตามการรับซื้อข้าวจากชาวนาอย่างใกล้ชิด ทำให้โรงสีกระติกตัวได้ยาก
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังมีโรงสีบางแห่งที่ไม่ยอมร่วมมือกับภาครัฐ โดยเฉพาะโรงสีที่อยู่ในข่ายบัญชีดำ ที่จะถูกดำเนินการเรียกค่าเสียหายจากการดำเนินโครงการรับจำนำของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในส่วนของ 80% ที่มีวงเงินกว่า 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งล่าสุดศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ได้แบ่งกลุ่มผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแล้ว 3 กลุ่ม คือ คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯ และภาคเอกชน ซึ่งโรงสีจะอยู่ในกลุ่มนี้ และได้กำหนดไว้ว่า ภายในวันที่ 15 พ.ย.นี้ จะเห็นภาพชัดเจนว่าใครต้องชดใช้ค่าเสียหายบ้าง
สำหรับนักการเมืองที่อยู่ในข่าย ที่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย เช่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ นายภูมิ สาระผล อดีตรมช.พาณิชย์ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ อดีตผู้ช่วยเลขานุการ รมว.พาณิชย์ ข้าราชการ เช่น นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางวัชรี วิมุกตายน อดีตอธิบดีกรมการค้าภายใน นางปราณี ศิริพันธ์ อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และในระดับปฏิบัติ จะเป็นข้าราชการของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรฯ เริ่มตั้งแต่อธิบดี รองอธิบดี ไล่ลงไปจนถึงระดับผู้อำนวยการกอง และเจ้าหน้าที่ ส่วนองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ในฐานะหน่วยงานปฏิบัติ โดยผู้อยู่ในข่ายจะเริ่มตั้งแต่ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ เรื่อยลงมาจนถึงหัวหน้าคลัง และเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้ จากกรณีที่การกำหนดให้ชดใช้ค่าเสียหายในส่วน 80% ที่เหลือ ใกล้จะได้ข้อยุติ และกระทบกับกลุ่มการเมืองในรัฐบาลเดิม จึงได้มีความพยายามที่จะทำให้เกิดความปั่นป่วน เพื่อกดดันรัฐบาล และมีเป้าหมายที่จะทำให้รัฐบาลหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ เพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับชาวนาได้
ล่าสุดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเปลือกเจ้าแล้ว ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการ และคาดว่าจะมีการประกาศความช่วยเหลือออกมาได้ในเร็วๆ นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางด้านการเคลื่อนไหวของกลุ่มโรงสี ได้มีการนัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในวันนี้ (3 พ.ย.) ที่สมาคมโรงสีข้าวไทย ตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ เพื่อชี้แจงถึงสถานการณ์ข้าวและปัญหาเรื่องข่าวโรงสีร่วมกับฝ่ายการเมืองกดราคารับซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อหวังผลการเมือง โดยเบื้องต้น มีการยืนยันว่า โรงสีไม่ได้กดราคารับซื้อหรือร่วมมือกับใคร เพื่อหวังผลให้ราคาข้าวตกต่ำ โดยมีการรับซื้อข้าวตามกลไกราคาตลาดที่สอดคล้องกับการกำหนดราคาซื้อข้าวสารจากผู้ส่งออกที่แจ้งมายังโรงสี แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่า มีโรงสีที่ไม่ดี ที่มีการกระทำการดังกล่าวจริงหรือไม่
ขณะที่กระทรวงมหาดไทย ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 0310.3/ว 23513 ลว 1 พฤศจิกายน 2559 เรื่องการโอนจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ให้เป็นค่าบริหารจัดการโครงการ โดยจังหวัดต้องเบิกจ่ายภายในวันที่ 30 ธ.ค.นี้ อาทิ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดประชุม ค่าติดตามการดำเนินงานต่างๆ ในพื้นที่ 77 จังหวัด รวมวงเงิน 72,240,000 บาท
ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือชาวนาผู้ปลูกข้าวหอมมะลิไปแล้ว โดยใช้มาตรการรับจำนำยุ้งฉาง สำหรับชาวนาที่มียุ้งฉาง ซึ่งหากเงินช่วยเหลือและเงินค่าฝากเก็บ ชาวนาจะได้เงินร่วมตันละ 1.3 หมื่นบาท และกรณีขายข้าวในตลาดทั่วไป ได้กำหนดราคาตลาดที่ตันละ 1.1 หมื่นบาท และรัฐบาลยังได้จ่ายเงินช่วยเหลืออีกตันละ 2 พันบาท ซึ่งจะได้เงินรวม ตันละ 1.3 หมื่นบาทเท่ากัน
โดยหลังจากที่รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือในส่วนของข้าวเปลือกหอมมะลิไปแล้ว ขณะนี้ชาวนาที่ปลูกข้าวเปลือกเจ้า และข้าวหอมชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวหอมปทุมธานี ได้เริ่มออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเหมือนกับข้าวเปลือกหอมมะลิ เพราะมีแนวโน้มราคาตกต่ำเช่นเดียวกัน
นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย.2559 เป็นต้นไป ข้าวเปลือกเจ้า จะออกมามากกว่าข้าวเปลือกหอมมะลิเป็นเท่าตัว แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดเรียกประชุมหารือเพื่อเตรียมมาตรการรับมือ ซึ่งชาวนาอาจจะมีการประชุมหารือกัน เพื่อยื่นหนังสือต่อรมว.พาณิชย์ และรมว.เกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เชิญตัวแทนชาวนาเข้าร่วมประชุมหารือ เพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือด้วย เพราะตอนนี้ชาวนากำลังเดือดร้อนหนัก และที่ผ่านมา หน่วยงานรัฐ ไม่เคยเรียกตัวแทนชาวนาเข้าหารือเลย
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ขณะนี้เริ่มมีกระบวนการปั่นหัวชาวนา โดยกลุ่มนักการเมืองและผู้มีอิทธิพลในจังหวัดที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว โดยการให้ข้อมูลที่ผิดๆ เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือชาวนาว่ารัฐบาลช่วยเหลือเฉพาะชาวนาที่ปลูกข้าวหอมมะลิ ไม่ช่วยเหลือชาวนาที่ปลูกข้าวเจ้า ข้าวเหนียว และข้าวหอมชนิดอื่นๆ เพื่อผลักดันให้ชาวนาไม่พอใจรัฐบาล และรวมตัวกันประท้วง เพื่อหวังผลทางการเมืองให้เกิดความวุ่นวายว่ารัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำได้
การดำเนินการดังกล่าว เป็นการพลิกแผลงจากเดิมที่ร่วมมือกับโรงสีในการกดราคารับซื้อข้าว เพราะขณะนี้โรงสีในจังหวัดต่างๆ ได้ถูกฝ่ายทหารเข้ากดดัน โดยทหารได้มีการลงพื้นที่ไปตรวจสอบและติดตามการรับซื้อข้าวจากชาวนาอย่างใกล้ชิด ทำให้โรงสีกระติกตัวได้ยาก
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังมีโรงสีบางแห่งที่ไม่ยอมร่วมมือกับภาครัฐ โดยเฉพาะโรงสีที่อยู่ในข่ายบัญชีดำ ที่จะถูกดำเนินการเรียกค่าเสียหายจากการดำเนินโครงการรับจำนำของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในส่วนของ 80% ที่มีวงเงินกว่า 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งล่าสุดศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ได้แบ่งกลุ่มผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแล้ว 3 กลุ่ม คือ คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯ และภาคเอกชน ซึ่งโรงสีจะอยู่ในกลุ่มนี้ และได้กำหนดไว้ว่า ภายในวันที่ 15 พ.ย.นี้ จะเห็นภาพชัดเจนว่าใครต้องชดใช้ค่าเสียหายบ้าง
สำหรับนักการเมืองที่อยู่ในข่าย ที่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย เช่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ นายภูมิ สาระผล อดีตรมช.พาณิชย์ พ.ต.นพ.ดร.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ อดีตผู้ช่วยเลขานุการ รมว.พาณิชย์ ข้าราชการ เช่น นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางวัชรี วิมุกตายน อดีตอธิบดีกรมการค้าภายใน นางปราณี ศิริพันธ์ อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และในระดับปฏิบัติ จะเป็นข้าราชการของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรฯ เริ่มตั้งแต่อธิบดี รองอธิบดี ไล่ลงไปจนถึงระดับผู้อำนวยการกอง และเจ้าหน้าที่ ส่วนองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ในฐานะหน่วยงานปฏิบัติ โดยผู้อยู่ในข่ายจะเริ่มตั้งแต่ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ เรื่อยลงมาจนถึงหัวหน้าคลัง และเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้ จากกรณีที่การกำหนดให้ชดใช้ค่าเสียหายในส่วน 80% ที่เหลือ ใกล้จะได้ข้อยุติ และกระทบกับกลุ่มการเมืองในรัฐบาลเดิม จึงได้มีความพยายามที่จะทำให้เกิดความปั่นป่วน เพื่อกดดันรัฐบาล และมีเป้าหมายที่จะทำให้รัฐบาลหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ เพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับชาวนาได้
ล่าสุดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเปลือกเจ้าแล้ว ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการ และคาดว่าจะมีการประกาศความช่วยเหลือออกมาได้ในเร็วๆ นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางด้านการเคลื่อนไหวของกลุ่มโรงสี ได้มีการนัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในวันนี้ (3 พ.ย.) ที่สมาคมโรงสีข้าวไทย ตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ เพื่อชี้แจงถึงสถานการณ์ข้าวและปัญหาเรื่องข่าวโรงสีร่วมกับฝ่ายการเมืองกดราคารับซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อหวังผลการเมือง โดยเบื้องต้น มีการยืนยันว่า โรงสีไม่ได้กดราคารับซื้อหรือร่วมมือกับใคร เพื่อหวังผลให้ราคาข้าวตกต่ำ โดยมีการรับซื้อข้าวตามกลไกราคาตลาดที่สอดคล้องกับการกำหนดราคาซื้อข้าวสารจากผู้ส่งออกที่แจ้งมายังโรงสี แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่า มีโรงสีที่ไม่ดี ที่มีการกระทำการดังกล่าวจริงหรือไม่
ขณะที่กระทรวงมหาดไทย ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 0310.3/ว 23513 ลว 1 พฤศจิกายน 2559 เรื่องการโอนจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ให้เป็นค่าบริหารจัดการโครงการ โดยจังหวัดต้องเบิกจ่ายภายในวันที่ 30 ธ.ค.นี้ อาทิ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดประชุม ค่าติดตามการดำเนินงานต่างๆ ในพื้นที่ 77 จังหวัด รวมวงเงิน 72,240,000 บาท