ตอนนี้กระแสชาวนาขายข้าวเองกำลังเป็นที่กล่าวขวัญกัน เห็นหลายคนออกมาอาสาช่วยกันคึกคักทั้งคนที่เคยเป็นลูกชาวนาแล้วเรียนจบมาทำอาชีพอื่น คนที่มีความรู้ด้านการตลาด คนที่มีความรู้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงคนที่มีพื้นที่จัดวางสินค้าทั้งที่มีหน้าร้านและมีตลาดเป็นของตัวเอง มีดาราออกมาประกาศว่าให้ชาวนาฝากขายข้าวในไอจีได้
โฆษกรัฐบาลก็บอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็สนับสนุนแนวทางให้ชาวนาขายข้าวเองไม่ผ่านโรงสี โดยยืนยันว่าสามารถทำได้หลังมีนักกฎหมายบางคนอ้างว่าอาจผิดกฎหมายขายตรง
ผมว่ามาถูกทางแล้วนะถ้าทำได้จริง อาจจะเป็นทางออกที่ดีของชาวนาด้วยที่จะปลดแอกตัวเองจากพ่อค้าคนกลาง โรงสีและนายทุน ใครที่ได้อ่านข่าวไม่กี่วันนี้จะเห็นว่ามีชาวนามาโอดครวญว่าวันนี้ข้าวเปลือกเหลือกิโลละ 5 บาท ซึ่งนักวิชาการข้าวท่านหนึ่งบอกผมว่า ข้าวที่ขายได้ตันละ 5,000 ตามข่าวที่บุรีรัมย์นั้น น่าจะเป็นข้าวเปียกฝนความชื้นสูง เพราะข้าวนาปียังไม่ออก ข้าวดอกมะลิ 105 จะเก็บกันราวกลางเดือนพ.ย.ถึงธ.ค.ต้องดูราคาจริงช่วงนั้น
ส่วนเรื่องสต็อกข้าวที่ค้างมาจากจำนำข้าวระบายออกมาล้นตลาดนั่นเรื่องหนึ่ง แต่ปัจจัยความผิดพลาดจากการเมืองเก็บไว้ก่อนเอาเฉพาะหน้าว่าจะช่วยชาวนาอย่างไร ทำไมคนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ชาวนาซึ่งปลูกข้าวเลี้ยงคนไทยถึงยากจน
ผมเห็นคนที่เอาจริงเอาจังเรื่องนี้มากคือคุณพิจารณ์ แจ้งสว่าง ซึ่งใช้เฟซบุ๊กว่า Pijarn Jangsawang เห็นตอนนี้มีสื่อหลายค่ายไปสัมภาษณ์กันบ้างแล้ว ตามประวัติคุณพิจารณ์เป็นคนสุรินทร์ บอกว่าเป็นลูกชาวนา แต่ปัจจุบันเป็นสถาปนิกมีบริษัทเป็นของตัวเอง เมื่อข้าวเปลือกราคาตกคุณพิจารณ์ก็มานั่งคิดว่าจะช่วยชาวนาอย่างไรให้มีรายได้มากขึ้น
คุณพิจารณ์ทำโครงการที่ชื่อว่า “ข้าวฟางเส้นสุดท้าย” โดยรับซื้อข้าวจากชาวนาโดยตรง และเชิญชวนให้ชาวนาเข้ามาร่วมโครงการแล้วจะส่งข้าวหอมมะลิใหม่สด 10กิโลในราคา 350 บาทถึงบ้านในทุกๆ เดือน
ผมถามคุณพิจารณ์ว่า ค่าส่งคิดอย่างไร คุณพิจารณ์บอกว่า ราคา 10 กิโล 350 บาทนี้รวมค่าส่งแล้ว ซึ่งผมคิดว่าจะไหวเหรอ แต่คุณพิจารณ์มั่นใจว่าไหวและสามารถให้ราคาชาวนาได้มากกว่าที่โรงสีจ่ายพอสมควร
รวมค่าขนส่งแล้วนี่นะยังขายกันที่กิโลละ 35 บาท เป็นข้าวหอมมะลิชั้นดีด้วย เพราะขึ้นชื่อสุรินทร์แล้วก็ได้ชื่อว่าเป็นเรื่องปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในประเทศไทย ผมเลยมานั่งคิดว่า แล้วที่ขายกันในตลาดข้าวถุงตอนนี้ 5 กิโลขายกันที่ 180-230 บาท เอาว่าเฉลี่ยที่ 200 บาท ตกที่กิโลละ 40 บาทไม่กำไรมหาศาลเหรอ
หลายวันมานี้ ผมจึงมานั่งอ่านเรื่องข้าวผ่านกูเกิล ถามเพื่อนที่เป็นนักวิจัยพันธุ์ข้าว เพื่อหาข้อมูลสิ่งที่ผมอยากรู้คือ ต้นทุนของชาวนาต่อไร่
ถามผู้รู้บอกว่าข้าวเปลือก 1 กิโลได้ข้าวสารประมาณ 600 กรัม ถ้าซื้อข้าวเปลือกกันแค่กิโลละ 5 บาทอย่างที่ชาวนาโอดครวญ ก็แปลว่าเป็นข้าวสารแล้วต้นทุนตกประมาณที่กิโลละ 8 บาทกว่า ค่าสีข้าวอยู่ที่ตันละ 1,000 บาท เท่ากับกิโลละ 1 บาท ผู้ประกอบการมีต้นทุนค่าข้าวบวกค่าสีข้าว 1 บาท (ถ้าผู้ค้าข้าวกับโรงสีเป็นรายเดียวกันเงินค่าสีก็ต่ำลงอีกเพราะจ่ายไปแบบกระเป๋าซ้ายกระเป๋าขวา) เมื่อรวมค่าการตลาด ค่าขนส่ง ค่าแรงงานแล้วขายกันในที่กิโลละประมาณ 40 บาท เขามีกำไรไม่ขาดทุนแน่ๆ ก็ลองคิดดูตอนยิ่งลักษณ์จำนำข้าว 15,000 บาทต่อตันก็ขายกันราคานี้ได้ ตอนนี้ราคาต่ำลงราคาปลีกก็ยังคงเดิมกำไรก็ยิ่งบานเบอะ
นี่ยังไม่รวมรายได้จากปลายข้าว รำละเอียด รำหยาบและแกลบอีกนะ ทั้งหมดมีราคาทั้งนั้น
ทีนี้มาดูว่าชาวนาจะอยู่ได้อย่างไร มีคนคำนวณไว้ในกูเกิลตั้งแต่ปี 2555 นะครับว่า นา 1 ไร่ มีต้นทุน 3,362 บาท โดยจำแนกดังนี้ ค่าไถ 550 บาท/ไร่ ค่าหว่าน 100 กก.250 บาท หว่านได้ 4 ไร่ ตกไร่ละ 62 บาท ค่าสูบน้ำ ต้องใช้น้ำมันประมาณ 20 ลิตรต่อไร่ (อย่างมาก) ประมาณ 600 บาท ค่าปุ๋ยยูเรีย 700 บาทต่อกระสอบ 1 ไร่ใช้ 1 กระสอบ ตกไร่ละ 700 บาท ค่าปุ๋ยอุ้มท้อง 700 บาทต่อกระสอบ กระสอบละ 1 ไร่ ค่ายาฆ่าแมลงรวมค่าคนฉีด แล้วแต่ความจำเป็นเผื่อไว้ 200 บาทต่อไร่ ค่ารถเกี่ยวนวดข้าว 550 บาท ต่อไร่ ค่าบรรทุกลากไปขายโรงสี 100-200 บาทต่อตัน แล้วแต่ระยะทาง
ต้นทุนยังไม่รวมค่าแรงที่ลงไปนะครับ ผลผลิตต่อไร่ของไทยในปี 2559 ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยอยู่ที่ไร่ละ 429 กิโลกรัม ถ้าต้นทุนไร่ละ 3,362 บาทก็ตกกิโลละ 7.83 บาท ถ้าบวกค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทเข้าไปต้นทุนก็เพิ่มขึ้นอีก
มาดูราคาซื้อขายที่อ้างอิงเมื่อวันศุกร์ที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ของสมาคมโรงสีข้าวไทย ราคาซื้อขายที่กรุงเทพฯ ข้าวเปลือก 100% (ความชื้น 15%) 7,800 บาท/ตัน,ข้าวเปลือก 5% (ความชื้น 15%) 7,500 บาท/ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุม (ความชื้น 15%) 8,600 บาท/ตัน อุบลราชธานี ข้าวหอมมะลิ 59/60 (ความชื้นรวม) 6,700 - 8,000 บาท/ตัน บุรีรัมย์ ข้าวหอมมะลิ 59/60 (ความชื้น 30%) 6,200 - 6,300 บาท/ตัน พิจิตร ข้าวเปลือก 5% (ความชื้น 25-30%) 6,000 - 6,400 บาท/ตัน
ต่อให้ขายได้ราคาตามที่อ้างอิงจากสมาคมโรงสีชาวนาก็ยังขาดทุนเลย แล้วชาวนากระดูกสันหลังของชาติจะเป็นอย่างไร
มีคนบอกว่าชาวนาขายข้าวขาดทุนมาตลอดแหละ บางคนถามว่าทำไมรู้แล้วว่าขายข้าวขาดทุนก็ยังทำนาอยู่ ชาวนาส่วนใหญ่ก็ตอบว่า ถ้าไม่ทำนาก็ไม่รู้จะทำอะไร เพราะพ่อแม่ทำนามา ถึงฤดูทำนาก็ไปกู้หนี้มาส่วนใหญ่ก็กู้จากโรงสีนั่นแหละ
ทีนี้มาถึงทางออกที่ว่าปลูกเองขายเอง ตามที่เป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ นั่นก็คือ การตัดโรงสีและพ่อค้าคนกลางออกไปนั่นเอง แทนที่จะขายข้าวเปลือกให้โรงสีไปที่กิโลละ 6 บาทถึง 8 บาทตามราคาในขณะนี้ ถ้าสีเองและขายเองในราคาตามตลาดที่ประมาณกิโลละ 40 บาท น่าจะเห็นอนาคตกว่า หรือกระทั่งขายแค่ 35 บาทรวมค่าส่งแล้วแบบที่คุณพิจารณ์ทำก็ยังยืนยันว่าชาวนาจะได้เงินมากกว่าขายข้าวเปลือกให้โรงสี
ถ้าทำกันได้จริงๆ มองเห็นอนาคตที่สดใสของชาวนาเลยนะครับ ไม่ใช่วันนี้ชาวนาลงแรงปลูกข้าวให้เรากินตัวเองกลับอดโซ แต่โรงสีและพ่อค้าคนกลางอ้วนพี
ยิ่งเมื่อพล.อ.ประยุทธ์ บอกว่าสนับสนุนให้ชาวนาเดินแนวทางนี้ ก็ต้องทำให้เป็นรูปธรรมว่าจะช่วยชาวนาได้อย่างไร นอกจากมาตรการจำนำยุ้งฉางละ 13,000 บาทต่อตันที่รัฐบาลประกาศออกมา รวมถึงที่กระทรวงพาณิชย์มาบอกว่า ถ้าชาวนาจะขายเองต้องจดทะเบียนผู้ค้าก่อนนั้นงดเว้นไปได้มั้ย ทำอย่างไรให้ต้นทุนการสีข้าวลดลง หรือเอาแบบ 1 หมู่บ้าน 1 โรงสีชุมชน รัฐควรจะคิดและเข้าไปช่วยตรงนี้ หาตลาดให้และจัดที่จัดทางให้ขาย ทำให้เป็นนโยบายระดับชาติเลยสนับสนุนชาวนาปลูกเองขายเอง ค่าขนส่งไปรษณีย์จะลดลงมาได้มั้ย ฯลฯ
ว่าแต่ว่ากระแสช่วยชาวนาขายข้าวเองช่วยซื้อข้าวจากชาวนาจะกลายเป็นแฟชั่นที่วูบหายไปเหมือนเรื่องอื่นๆ หรือไม่เท่านั้นเอง
โฆษกรัฐบาลก็บอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็สนับสนุนแนวทางให้ชาวนาขายข้าวเองไม่ผ่านโรงสี โดยยืนยันว่าสามารถทำได้หลังมีนักกฎหมายบางคนอ้างว่าอาจผิดกฎหมายขายตรง
ผมว่ามาถูกทางแล้วนะถ้าทำได้จริง อาจจะเป็นทางออกที่ดีของชาวนาด้วยที่จะปลดแอกตัวเองจากพ่อค้าคนกลาง โรงสีและนายทุน ใครที่ได้อ่านข่าวไม่กี่วันนี้จะเห็นว่ามีชาวนามาโอดครวญว่าวันนี้ข้าวเปลือกเหลือกิโลละ 5 บาท ซึ่งนักวิชาการข้าวท่านหนึ่งบอกผมว่า ข้าวที่ขายได้ตันละ 5,000 ตามข่าวที่บุรีรัมย์นั้น น่าจะเป็นข้าวเปียกฝนความชื้นสูง เพราะข้าวนาปียังไม่ออก ข้าวดอกมะลิ 105 จะเก็บกันราวกลางเดือนพ.ย.ถึงธ.ค.ต้องดูราคาจริงช่วงนั้น
ส่วนเรื่องสต็อกข้าวที่ค้างมาจากจำนำข้าวระบายออกมาล้นตลาดนั่นเรื่องหนึ่ง แต่ปัจจัยความผิดพลาดจากการเมืองเก็บไว้ก่อนเอาเฉพาะหน้าว่าจะช่วยชาวนาอย่างไร ทำไมคนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ชาวนาซึ่งปลูกข้าวเลี้ยงคนไทยถึงยากจน
ผมเห็นคนที่เอาจริงเอาจังเรื่องนี้มากคือคุณพิจารณ์ แจ้งสว่าง ซึ่งใช้เฟซบุ๊กว่า Pijarn Jangsawang เห็นตอนนี้มีสื่อหลายค่ายไปสัมภาษณ์กันบ้างแล้ว ตามประวัติคุณพิจารณ์เป็นคนสุรินทร์ บอกว่าเป็นลูกชาวนา แต่ปัจจุบันเป็นสถาปนิกมีบริษัทเป็นของตัวเอง เมื่อข้าวเปลือกราคาตกคุณพิจารณ์ก็มานั่งคิดว่าจะช่วยชาวนาอย่างไรให้มีรายได้มากขึ้น
คุณพิจารณ์ทำโครงการที่ชื่อว่า “ข้าวฟางเส้นสุดท้าย” โดยรับซื้อข้าวจากชาวนาโดยตรง และเชิญชวนให้ชาวนาเข้ามาร่วมโครงการแล้วจะส่งข้าวหอมมะลิใหม่สด 10กิโลในราคา 350 บาทถึงบ้านในทุกๆ เดือน
ผมถามคุณพิจารณ์ว่า ค่าส่งคิดอย่างไร คุณพิจารณ์บอกว่า ราคา 10 กิโล 350 บาทนี้รวมค่าส่งแล้ว ซึ่งผมคิดว่าจะไหวเหรอ แต่คุณพิจารณ์มั่นใจว่าไหวและสามารถให้ราคาชาวนาได้มากกว่าที่โรงสีจ่ายพอสมควร
รวมค่าขนส่งแล้วนี่นะยังขายกันที่กิโลละ 35 บาท เป็นข้าวหอมมะลิชั้นดีด้วย เพราะขึ้นชื่อสุรินทร์แล้วก็ได้ชื่อว่าเป็นเรื่องปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในประเทศไทย ผมเลยมานั่งคิดว่า แล้วที่ขายกันในตลาดข้าวถุงตอนนี้ 5 กิโลขายกันที่ 180-230 บาท เอาว่าเฉลี่ยที่ 200 บาท ตกที่กิโลละ 40 บาทไม่กำไรมหาศาลเหรอ
หลายวันมานี้ ผมจึงมานั่งอ่านเรื่องข้าวผ่านกูเกิล ถามเพื่อนที่เป็นนักวิจัยพันธุ์ข้าว เพื่อหาข้อมูลสิ่งที่ผมอยากรู้คือ ต้นทุนของชาวนาต่อไร่
ถามผู้รู้บอกว่าข้าวเปลือก 1 กิโลได้ข้าวสารประมาณ 600 กรัม ถ้าซื้อข้าวเปลือกกันแค่กิโลละ 5 บาทอย่างที่ชาวนาโอดครวญ ก็แปลว่าเป็นข้าวสารแล้วต้นทุนตกประมาณที่กิโลละ 8 บาทกว่า ค่าสีข้าวอยู่ที่ตันละ 1,000 บาท เท่ากับกิโลละ 1 บาท ผู้ประกอบการมีต้นทุนค่าข้าวบวกค่าสีข้าว 1 บาท (ถ้าผู้ค้าข้าวกับโรงสีเป็นรายเดียวกันเงินค่าสีก็ต่ำลงอีกเพราะจ่ายไปแบบกระเป๋าซ้ายกระเป๋าขวา) เมื่อรวมค่าการตลาด ค่าขนส่ง ค่าแรงงานแล้วขายกันในที่กิโลละประมาณ 40 บาท เขามีกำไรไม่ขาดทุนแน่ๆ ก็ลองคิดดูตอนยิ่งลักษณ์จำนำข้าว 15,000 บาทต่อตันก็ขายกันราคานี้ได้ ตอนนี้ราคาต่ำลงราคาปลีกก็ยังคงเดิมกำไรก็ยิ่งบานเบอะ
นี่ยังไม่รวมรายได้จากปลายข้าว รำละเอียด รำหยาบและแกลบอีกนะ ทั้งหมดมีราคาทั้งนั้น
ทีนี้มาดูว่าชาวนาจะอยู่ได้อย่างไร มีคนคำนวณไว้ในกูเกิลตั้งแต่ปี 2555 นะครับว่า นา 1 ไร่ มีต้นทุน 3,362 บาท โดยจำแนกดังนี้ ค่าไถ 550 บาท/ไร่ ค่าหว่าน 100 กก.250 บาท หว่านได้ 4 ไร่ ตกไร่ละ 62 บาท ค่าสูบน้ำ ต้องใช้น้ำมันประมาณ 20 ลิตรต่อไร่ (อย่างมาก) ประมาณ 600 บาท ค่าปุ๋ยยูเรีย 700 บาทต่อกระสอบ 1 ไร่ใช้ 1 กระสอบ ตกไร่ละ 700 บาท ค่าปุ๋ยอุ้มท้อง 700 บาทต่อกระสอบ กระสอบละ 1 ไร่ ค่ายาฆ่าแมลงรวมค่าคนฉีด แล้วแต่ความจำเป็นเผื่อไว้ 200 บาทต่อไร่ ค่ารถเกี่ยวนวดข้าว 550 บาท ต่อไร่ ค่าบรรทุกลากไปขายโรงสี 100-200 บาทต่อตัน แล้วแต่ระยะทาง
ต้นทุนยังไม่รวมค่าแรงที่ลงไปนะครับ ผลผลิตต่อไร่ของไทยในปี 2559 ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยอยู่ที่ไร่ละ 429 กิโลกรัม ถ้าต้นทุนไร่ละ 3,362 บาทก็ตกกิโลละ 7.83 บาท ถ้าบวกค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทเข้าไปต้นทุนก็เพิ่มขึ้นอีก
มาดูราคาซื้อขายที่อ้างอิงเมื่อวันศุกร์ที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ของสมาคมโรงสีข้าวไทย ราคาซื้อขายที่กรุงเทพฯ ข้าวเปลือก 100% (ความชื้น 15%) 7,800 บาท/ตัน,ข้าวเปลือก 5% (ความชื้น 15%) 7,500 บาท/ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุม (ความชื้น 15%) 8,600 บาท/ตัน อุบลราชธานี ข้าวหอมมะลิ 59/60 (ความชื้นรวม) 6,700 - 8,000 บาท/ตัน บุรีรัมย์ ข้าวหอมมะลิ 59/60 (ความชื้น 30%) 6,200 - 6,300 บาท/ตัน พิจิตร ข้าวเปลือก 5% (ความชื้น 25-30%) 6,000 - 6,400 บาท/ตัน
ต่อให้ขายได้ราคาตามที่อ้างอิงจากสมาคมโรงสีชาวนาก็ยังขาดทุนเลย แล้วชาวนากระดูกสันหลังของชาติจะเป็นอย่างไร
มีคนบอกว่าชาวนาขายข้าวขาดทุนมาตลอดแหละ บางคนถามว่าทำไมรู้แล้วว่าขายข้าวขาดทุนก็ยังทำนาอยู่ ชาวนาส่วนใหญ่ก็ตอบว่า ถ้าไม่ทำนาก็ไม่รู้จะทำอะไร เพราะพ่อแม่ทำนามา ถึงฤดูทำนาก็ไปกู้หนี้มาส่วนใหญ่ก็กู้จากโรงสีนั่นแหละ
ทีนี้มาถึงทางออกที่ว่าปลูกเองขายเอง ตามที่เป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ นั่นก็คือ การตัดโรงสีและพ่อค้าคนกลางออกไปนั่นเอง แทนที่จะขายข้าวเปลือกให้โรงสีไปที่กิโลละ 6 บาทถึง 8 บาทตามราคาในขณะนี้ ถ้าสีเองและขายเองในราคาตามตลาดที่ประมาณกิโลละ 40 บาท น่าจะเห็นอนาคตกว่า หรือกระทั่งขายแค่ 35 บาทรวมค่าส่งแล้วแบบที่คุณพิจารณ์ทำก็ยังยืนยันว่าชาวนาจะได้เงินมากกว่าขายข้าวเปลือกให้โรงสี
ถ้าทำกันได้จริงๆ มองเห็นอนาคตที่สดใสของชาวนาเลยนะครับ ไม่ใช่วันนี้ชาวนาลงแรงปลูกข้าวให้เรากินตัวเองกลับอดโซ แต่โรงสีและพ่อค้าคนกลางอ้วนพี
ยิ่งเมื่อพล.อ.ประยุทธ์ บอกว่าสนับสนุนให้ชาวนาเดินแนวทางนี้ ก็ต้องทำให้เป็นรูปธรรมว่าจะช่วยชาวนาได้อย่างไร นอกจากมาตรการจำนำยุ้งฉางละ 13,000 บาทต่อตันที่รัฐบาลประกาศออกมา รวมถึงที่กระทรวงพาณิชย์มาบอกว่า ถ้าชาวนาจะขายเองต้องจดทะเบียนผู้ค้าก่อนนั้นงดเว้นไปได้มั้ย ทำอย่างไรให้ต้นทุนการสีข้าวลดลง หรือเอาแบบ 1 หมู่บ้าน 1 โรงสีชุมชน รัฐควรจะคิดและเข้าไปช่วยตรงนี้ หาตลาดให้และจัดที่จัดทางให้ขาย ทำให้เป็นนโยบายระดับชาติเลยสนับสนุนชาวนาปลูกเองขายเอง ค่าขนส่งไปรษณีย์จะลดลงมาได้มั้ย ฯลฯ
ว่าแต่ว่ากระแสช่วยชาวนาขายข้าวเองช่วยซื้อข้าวจากชาวนาจะกลายเป็นแฟชั่นที่วูบหายไปเหมือนเรื่องอื่นๆ หรือไม่เท่านั้นเอง