คสช.-นปช. ชิงจังหวะคุมเกมก่อนถึงวันลงประชามติ 7 สิงหาคม ฝ่ายรัฐใช้อำนาจที่มีสกัดการปลุกฐานเสียงไม่เอารัฐธรรมนูญ แม้จะช้ากว่า 1 ก้าว วัดใจปิด Peace TV หรือไม่ หลังเพิ่มอำนาจให้ กสทช. ขณะที่ “จตุพร” เตรียมแผนเป็นขั้นตอน หวังนำเสนอเนื้อหาล่อให้ถูกปิด และหวังไกลถึงขั้นให้ถูกจับปลุกกระแสฐานเสียงไม่รับร่างฯ
ใกล้ถึงวันลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เข้ามาทุกขณะ การเคลื่อนไหวคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีให้เห็นในหลากหลายวิธีการ โดยกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ชัดเจนมากที่สุดคือ กลุ่มของผู้สูญเสียอำนาจจากการเข้ายึดอำนาจของคณะนายทหาร แน่นอนว่าพรรคเพื่อไทยและกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เปิดหน้าไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างชัดเจน โดยที่ล่าสุดคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ุ ได้โพสต์ข้อความไม่ยอมรับเช่นกัน
แต่ข้อจำกัดของพรรคเพื่อไทยอาจจะทำได้ไม่สะดวกนัก เนื่องจากการเคลื่อนไหวต่อต้านกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ในนามพรรคมีข้อจำกัด และสุ่มเสี่ยงที่จะถูกดำเนินการกับพรรคภายใต้อำนาจสูงสุดของ คสช. ตามมาตรา 44
ดังนั้นการขับเคลื่อนปลุกกระแสฐานเสียงเพื่อไทยจึงดำเนินการผ่าน นปช. แม้จะดูเหมือนเป็นคนละส่วนกับพรรคเพื่อไทย แต่ก็เป็นที่ทราบกันว่าแกนนำของ นปช.ก็เป็นสมาชิกของพรรคเพื่อไทย เพียงแต่ขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้ฐานมวลชนคนเสื้อแดงที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยอยู่ ทำให้การแสดงความคิดเห็นต่อต้าน คสช.ทำได้สะดวกกว่า
โต้ทุกเรื่องต้าน คสช.
การดำเนินการของ นปช. เริ่มตั้งแต่การแสดงความไม่เห็นด้วยการเข้ายึดอำนาจของ คสช. กล่าวถึงที่มาของรัฐบาลชุดปัจจุบันมาจากความไม่เป็นประชาธิปไตย และออกโรงปกป้องนโยบายการบริหารงานของพรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือตอบโต้ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ในโครงการรับจำนำข้าวที่ถูกดำเนินคดี หรือกรณีที่จะมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าวจากนางสาวยิ่งลักษณ์
รวมไปถึงการให้กำลังใจกับกลุ่มนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล คสช. เสมือนเป็นหนึ่งในตัวแทนที่ออกมาเคลื่อนไหวในเป้าหมายเดียวกัน แต่การเคลื่อนไหวผ่านทางนักศึกษาจะได้ภาพลักษณ์ที่ดีกว่า ทั้งหมดนี้กระทำผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์และทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมในช่อง Peace TV
ขณะที่รัฐบาล คสช.ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อตีกรอบให้นักการเมืองปฏิบัติ ด้วยความหวังว่าจะลดความขัดแย้งทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ มีช่องว่าง ทำให้นักการเมืองบางพรรคใช้ควบคุมอำนาจบริหารจนพรรคการเมืองอื่นไม่สามารถคานอำนาจได้ แม้จะอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย แต่ความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการบริหารของรัฐบาลเพื่อไทยจึงถูกมองว่าเป็นเผด็จการประชาธิปไตย
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกภายใต้รัฐบาล คสช. ร่างโดยคณะทำงานของ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ถูกท้วงติงจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยจากหลายฝ่าย รวมไปถึงพรรคเพื่อไทยและทีมงานของ นปช. จนในที่สุดร่างแรกก็ต้องยุติไป
จากนั้นต้องมาเริ่มนับหนึ่งในการร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ ครั้งนี้มี ดร.มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน และก็ตามคาดมีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยเหมือนเดิม รวมทั้งเจ้าเดิมอย่างพรรคเพื่อไทยและกลุ่ม นปช. เช่นกัน แต่ครั้งนี้ทุกอย่างผ่านเส้นทางต่าง ๆ มาได้ และกำลังจะเข้าสู่กระบวนการประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมที่จะถึงนี้
รัฐธรรมนูญฉบับไหนก็ไม่รับ
เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถูกตีความว่ามีทั้งเป็นความต้องการสืบทอดอำนาจของ คสช. และไม่มีความเป็นประชาธิปไตยตามหลักสากล โดยทางพรรคเพื่อไทยทำได้เพียงแค่การแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์และเฟซบุ๊ก แต่กลุ่ม นปช. ใช้ทั้งเฟซบุ๊กและแสดงความคิดเห็นผ่านสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม Peace TV
เมื่อทุกอย่างหยุดไม่อยู่ การลงประชามติกำลังจะเกิดขึ้น นปช.พลิกเกมด้วยการเสนอตัวที่จะตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติ โดยในครั้งแรกยังมีความเห็นไม่ชัดเจนจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าทำได้หรือไม่ จนทำให้ นปช.เตรียมเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติในวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่สุดท้ายรัฐบาลก็ออกมาสร้างความชัดเจนว่าศูนย์ดังกล่าวของ นปช. ไม่สามารถเปิดได้
จากนั้นภาครัฐจึงมีการตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยการออกเสียงประชามติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศรส.ปต.ตร.) โดยมี พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ด้านความมั่นคง เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ มีภารกิจดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยการออกเสียงประชามติและจับตาผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหว ระหว่างวันที่ 11 กรกฎาคมถึง 11 สิงหาคม 2559
เป็นอันว่า นปช.ผิดหวังไปสำหรับแนวคิดที่จะเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ เพราะในแนวทางของรัฐนั้นเกรงกันว่าจะมีการใช้ศูนย์ฯ ดังกล่าวสร้างความวุ่นวายทั้งระหว่างการลงประชามติและภายหลัง
นอกจากเรื่องศูนย์ปราบโกงฯ แล้ว ทาง นปช.ยังไปยื่นเรื่องให้สหประชาชาติเข้ามาสังเกตการณ์การทำประชามติ นับเป็นเป้าหมายหลักที่ต้องการให้หน่วยงานระหว่างประเทศเข้ามาจับตาดูการลงประชามติและเพิ่มแรงกดดันไปยังรัฐบาล
ปิด Peace TV ไม่ได้
นอกจากนี้ นปช. ยังวิพากษ์วิจารณ์ในทุกเรื่องที่ คสช.ดำเนินการ รวมไปถึงกรณีของวัดพระธรรมกาย ที่แม้นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.ก็ออกมาโจมตีนายแพทย์มโน เลาหวนิช อดีตศิษย์วัดพระธรรมกายที่ออกมาเป็นหนึ่งในแกนนำที่เรียกร้องให้ดำเนินคดีกับพระธัมมชโย โดย นปช. ยังใช้สื่อหลัก ๆ อย่างเฟซบุ๊กและ Peace TV แม้เดิมสถานีโทรทัศน์แห่งนี้จะถูกสั่งให้ยุติการออกอากาศ แต่ด้วยคำสั่งของศาลปกครองยังทำให้สถานีโทรทัศน์แห่งนี้ออกอากาศได้ต่อไป
กระทั่ง 4 กรกฎาคม 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีมติสั่งปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องพีซ ทีวี อีกครั้งเป็นเวลา 30 วัน โดยให้มีผลบังคับในวันที่ 10 กรกฎาคมเป็นต้นไป โดยให้เหตุผลการพิจารณาว่ามีการออกอากาศเนื้อหาขัดคำสั่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.ได้ออกมาโจมตีการทำงานของ กสท. และกล่าวว่า เป็นความโชคดีของ Peace TV เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งชี้ขาดกรณี กสท.ยื่นอุทธรณ์ให้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว แต่ศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดให้ยืนคุ้มครองชั่วคราวต่อ Peace TV ดังนั้นการออกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตในทางปฏิบัติจึงเป็นการละเมิดอำนาจศาลปกครอง
เป็นอันว่าเมื่อล่วงเลยเข้าวันที่ 10 กรกฎาคม Peace TV ก็ยังคงออกอากาศได้ตามปกติ เพราะติดขัดเรื่องคำสั่งของศาลปกครองที่ให้ความคุ้มครองอยู่
คสช.ใช้มาตรา 44 ให้อำนาจ
จากนั้น 13 กรกฎาคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกคำสั่งที่ 41/2559 เพิ่มอำนาจ กสทช. ปิดสื่อล้มล้างการปกครอง หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดย กสทช.ได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย แต่ไม่ตัดสิทธิ์ผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ คำสั่งดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 14 กรกฎาคม 2559
เมื่อคำสั่งดังกล่าวออกมา นปช.ตีความกันว่าออกมาเพื่อจัดการกับ Peace Tv โดยเฉพาะ เพราะในขณะนี้กรณีของทีวีที่ออกอากาศในเชิงการเมืองและอยู่ภายใต้การพิจารณาของ กสทช.น่าจะมีแค่ Peace TV เท่านั้น
แต่ในภาพรวมแล้ว แม้แต่สมาคมนักข่าวก็ออกมาท้วงติง โดยนายเทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยว่า เรื่องแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในบรรยากาศก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นช่วงที่ทุกคนโดยเฉพาะสื่อควรมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นเพื่อให้สังคมมีข้อมูลรอบด้านที่สุดในการตัดสินใจ เพราะฉะนั้นการมีคำสั่งนี้ออกมาก็ทำให้สื่อมีความรู้สึกว่าไม่สามารถทำหน้าที่ อยากให้ คสช.ทบทวนเรื่องนี้
จากนี้ไปคงต้องขึ้นกับ Peace TV ว่าจะนำเสนอเนื้อหาที่เข้าข่ายตามที่ คสช.ให้อำนาจไว้กับ กสทช.หรือไม่ เพราะครั้งนี้ กสทช. สามารถออกคำสั่งได้ทันที
ขณะเดียวกันในระหว่างนี้ยังมีปฏิบัติการในการรณรงค์ไม่ให้คนรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ด้วยการส่งจดหมายไปยังกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง จำนวนหลายพันฉบับ แต่ถูกตรวจพบเมื่อ 13 กรกฎาคม ก่อนที่จะนำไปจ่ายยังบ้านปลายทาง
ชิงจังหวะ คสช.-นปช.
แหล่งข่าวจากฝ่ายการเมืองกล่าวว่า ถือเป็นการชิงจังหวะกันระหว่าง นปช.กับรัฐบาล อย่างเรื่องศูนย์ปราบโกง ถือว่าหน่วยงานรัฐช้ากว่า นปช. 1 ก้าว เขาชิงจังหวะเรื่องนี้ก่อน ขณะที่หน่วยงานรัฐยังหาคำตอบไม่ได้ชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าจะให้เปิดหรือไม่ และเมื่อไม่อนุญาตให้ นปช. เปิด โดยให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยการออกเสียงประชามติดูแลเรื่องนี้แทน
ต่อมาเป็นเรื่องของ Peace TV จะเห็นได้ว่าเนื้อหาที่นำเสนอนั้น มุ่งไปที่ติติงการทำงานของรัฐบาล คสช. เพราะถือว่าเป็นคู่ขัดแย้งกันโดยตรง ยิ่งนำเสนอมากเท่าไหร่รัฐบาลก็ยิ่งไม่ชอบ หากรัฐดำเนินการเอาผิด คนใน นปช.ก็ปั่นข่าวว่ารัฐบาลกลั่นแกล้ง กลายเป็นเข้าทางของ นปช.ไปทันที
แม้แต่นายจตุพรเองก็พูดในรายการทาง Peace TV เองว่า ฝ่าย นปช.ก็เตรียมการไว้แล้วเช่นกัน อย่างเมื่อตอนไม่อนุญาตให้เปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ กระแสเรื่องการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญก็เพิ่มขึ้น นี่ถ้าปิด Peace TV ด้วยกระแสไม่รับร่างก็จะเพิ่มมากขึ้น และมองกันถึงขั้นที่ว่ามีการจับกุมตัวแกนนำของ นปช. กระแสก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก ก่อนจะถึงวันลงประชามติ
ดังนั้นในช่วงใกล้วันลงประชามติ นปช.อาจเลือกเดินเกมด้วยการออกอากาศเนื้อหาที่ล่อแหลม เพื่อให้ กสทช.ใช้อำนาจ ม.44 ที่มีอยู่สั่งปิดสถานีโทรทัศน์ Peace Tv ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่อาจจะมีการใช้ ทำให้เกิดเป็นกระแสแล้วเพิ่มฐานผู้ลงคะแนนให้กับแนวทางของ นปช.
นับว่าเป็นการชิงไหวชิงพริบกันระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายของ นปช. ที่ช่วงชิงความได้เปรียบและอาศัยจังหวะในช่วงนี้สร้างความชอบธรรม ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเพลี่ยงพล้ำกับการประลองเชิงของการลงประชามติในครั้งนี้เท่านั้น
ใกล้ถึงวันลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เข้ามาทุกขณะ การเคลื่อนไหวคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีให้เห็นในหลากหลายวิธีการ โดยกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ชัดเจนมากที่สุดคือ กลุ่มของผู้สูญเสียอำนาจจากการเข้ายึดอำนาจของคณะนายทหาร แน่นอนว่าพรรคเพื่อไทยและกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เปิดหน้าไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างชัดเจน โดยที่ล่าสุดคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ุ ได้โพสต์ข้อความไม่ยอมรับเช่นกัน
แต่ข้อจำกัดของพรรคเพื่อไทยอาจจะทำได้ไม่สะดวกนัก เนื่องจากการเคลื่อนไหวต่อต้านกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ในนามพรรคมีข้อจำกัด และสุ่มเสี่ยงที่จะถูกดำเนินการกับพรรคภายใต้อำนาจสูงสุดของ คสช. ตามมาตรา 44
ดังนั้นการขับเคลื่อนปลุกกระแสฐานเสียงเพื่อไทยจึงดำเนินการผ่าน นปช. แม้จะดูเหมือนเป็นคนละส่วนกับพรรคเพื่อไทย แต่ก็เป็นที่ทราบกันว่าแกนนำของ นปช.ก็เป็นสมาชิกของพรรคเพื่อไทย เพียงแต่ขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้ฐานมวลชนคนเสื้อแดงที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยอยู่ ทำให้การแสดงความคิดเห็นต่อต้าน คสช.ทำได้สะดวกกว่า
โต้ทุกเรื่องต้าน คสช.
การดำเนินการของ นปช. เริ่มตั้งแต่การแสดงความไม่เห็นด้วยการเข้ายึดอำนาจของ คสช. กล่าวถึงที่มาของรัฐบาลชุดปัจจุบันมาจากความไม่เป็นประชาธิปไตย และออกโรงปกป้องนโยบายการบริหารงานของพรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือตอบโต้ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ในโครงการรับจำนำข้าวที่ถูกดำเนินคดี หรือกรณีที่จะมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าวจากนางสาวยิ่งลักษณ์
รวมไปถึงการให้กำลังใจกับกลุ่มนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล คสช. เสมือนเป็นหนึ่งในตัวแทนที่ออกมาเคลื่อนไหวในเป้าหมายเดียวกัน แต่การเคลื่อนไหวผ่านทางนักศึกษาจะได้ภาพลักษณ์ที่ดีกว่า ทั้งหมดนี้กระทำผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์และทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมในช่อง Peace TV
ขณะที่รัฐบาล คสช.ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อตีกรอบให้นักการเมืองปฏิบัติ ด้วยความหวังว่าจะลดความขัดแย้งทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ มีช่องว่าง ทำให้นักการเมืองบางพรรคใช้ควบคุมอำนาจบริหารจนพรรคการเมืองอื่นไม่สามารถคานอำนาจได้ แม้จะอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย แต่ความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการบริหารของรัฐบาลเพื่อไทยจึงถูกมองว่าเป็นเผด็จการประชาธิปไตย
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกภายใต้รัฐบาล คสช. ร่างโดยคณะทำงานของ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ถูกท้วงติงจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยจากหลายฝ่าย รวมไปถึงพรรคเพื่อไทยและทีมงานของ นปช. จนในที่สุดร่างแรกก็ต้องยุติไป
จากนั้นต้องมาเริ่มนับหนึ่งในการร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ ครั้งนี้มี ดร.มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน และก็ตามคาดมีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยเหมือนเดิม รวมทั้งเจ้าเดิมอย่างพรรคเพื่อไทยและกลุ่ม นปช. เช่นกัน แต่ครั้งนี้ทุกอย่างผ่านเส้นทางต่าง ๆ มาได้ และกำลังจะเข้าสู่กระบวนการประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมที่จะถึงนี้
รัฐธรรมนูญฉบับไหนก็ไม่รับ
เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถูกตีความว่ามีทั้งเป็นความต้องการสืบทอดอำนาจของ คสช. และไม่มีความเป็นประชาธิปไตยตามหลักสากล โดยทางพรรคเพื่อไทยทำได้เพียงแค่การแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์และเฟซบุ๊ก แต่กลุ่ม นปช. ใช้ทั้งเฟซบุ๊กและแสดงความคิดเห็นผ่านสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม Peace TV
เมื่อทุกอย่างหยุดไม่อยู่ การลงประชามติกำลังจะเกิดขึ้น นปช.พลิกเกมด้วยการเสนอตัวที่จะตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติ โดยในครั้งแรกยังมีความเห็นไม่ชัดเจนจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าทำได้หรือไม่ จนทำให้ นปช.เตรียมเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติในวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่สุดท้ายรัฐบาลก็ออกมาสร้างความชัดเจนว่าศูนย์ดังกล่าวของ นปช. ไม่สามารถเปิดได้
จากนั้นภาครัฐจึงมีการตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยการออกเสียงประชามติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศรส.ปต.ตร.) โดยมี พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ด้านความมั่นคง เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ มีภารกิจดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยการออกเสียงประชามติและจับตาผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหว ระหว่างวันที่ 11 กรกฎาคมถึง 11 สิงหาคม 2559
เป็นอันว่า นปช.ผิดหวังไปสำหรับแนวคิดที่จะเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ เพราะในแนวทางของรัฐนั้นเกรงกันว่าจะมีการใช้ศูนย์ฯ ดังกล่าวสร้างความวุ่นวายทั้งระหว่างการลงประชามติและภายหลัง
นอกจากเรื่องศูนย์ปราบโกงฯ แล้ว ทาง นปช.ยังไปยื่นเรื่องให้สหประชาชาติเข้ามาสังเกตการณ์การทำประชามติ นับเป็นเป้าหมายหลักที่ต้องการให้หน่วยงานระหว่างประเทศเข้ามาจับตาดูการลงประชามติและเพิ่มแรงกดดันไปยังรัฐบาล
ปิด Peace TV ไม่ได้
นอกจากนี้ นปช. ยังวิพากษ์วิจารณ์ในทุกเรื่องที่ คสช.ดำเนินการ รวมไปถึงกรณีของวัดพระธรรมกาย ที่แม้นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.ก็ออกมาโจมตีนายแพทย์มโน เลาหวนิช อดีตศิษย์วัดพระธรรมกายที่ออกมาเป็นหนึ่งในแกนนำที่เรียกร้องให้ดำเนินคดีกับพระธัมมชโย โดย นปช. ยังใช้สื่อหลัก ๆ อย่างเฟซบุ๊กและ Peace TV แม้เดิมสถานีโทรทัศน์แห่งนี้จะถูกสั่งให้ยุติการออกอากาศ แต่ด้วยคำสั่งของศาลปกครองยังทำให้สถานีโทรทัศน์แห่งนี้ออกอากาศได้ต่อไป
กระทั่ง 4 กรกฎาคม 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีมติสั่งปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องพีซ ทีวี อีกครั้งเป็นเวลา 30 วัน โดยให้มีผลบังคับในวันที่ 10 กรกฎาคมเป็นต้นไป โดยให้เหตุผลการพิจารณาว่ามีการออกอากาศเนื้อหาขัดคำสั่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.ได้ออกมาโจมตีการทำงานของ กสท. และกล่าวว่า เป็นความโชคดีของ Peace TV เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งชี้ขาดกรณี กสท.ยื่นอุทธรณ์ให้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว แต่ศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดให้ยืนคุ้มครองชั่วคราวต่อ Peace TV ดังนั้นการออกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตในทางปฏิบัติจึงเป็นการละเมิดอำนาจศาลปกครอง
เป็นอันว่าเมื่อล่วงเลยเข้าวันที่ 10 กรกฎาคม Peace TV ก็ยังคงออกอากาศได้ตามปกติ เพราะติดขัดเรื่องคำสั่งของศาลปกครองที่ให้ความคุ้มครองอยู่
คสช.ใช้มาตรา 44 ให้อำนาจ
จากนั้น 13 กรกฎาคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกคำสั่งที่ 41/2559 เพิ่มอำนาจ กสทช. ปิดสื่อล้มล้างการปกครอง หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดย กสทช.ได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย แต่ไม่ตัดสิทธิ์ผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ คำสั่งดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 14 กรกฎาคม 2559
เมื่อคำสั่งดังกล่าวออกมา นปช.ตีความกันว่าออกมาเพื่อจัดการกับ Peace Tv โดยเฉพาะ เพราะในขณะนี้กรณีของทีวีที่ออกอากาศในเชิงการเมืองและอยู่ภายใต้การพิจารณาของ กสทช.น่าจะมีแค่ Peace TV เท่านั้น
แต่ในภาพรวมแล้ว แม้แต่สมาคมนักข่าวก็ออกมาท้วงติง โดยนายเทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยว่า เรื่องแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในบรรยากาศก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นช่วงที่ทุกคนโดยเฉพาะสื่อควรมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นเพื่อให้สังคมมีข้อมูลรอบด้านที่สุดในการตัดสินใจ เพราะฉะนั้นการมีคำสั่งนี้ออกมาก็ทำให้สื่อมีความรู้สึกว่าไม่สามารถทำหน้าที่ อยากให้ คสช.ทบทวนเรื่องนี้
จากนี้ไปคงต้องขึ้นกับ Peace TV ว่าจะนำเสนอเนื้อหาที่เข้าข่ายตามที่ คสช.ให้อำนาจไว้กับ กสทช.หรือไม่ เพราะครั้งนี้ กสทช. สามารถออกคำสั่งได้ทันที
ขณะเดียวกันในระหว่างนี้ยังมีปฏิบัติการในการรณรงค์ไม่ให้คนรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ด้วยการส่งจดหมายไปยังกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง จำนวนหลายพันฉบับ แต่ถูกตรวจพบเมื่อ 13 กรกฎาคม ก่อนที่จะนำไปจ่ายยังบ้านปลายทาง
ชิงจังหวะ คสช.-นปช.
แหล่งข่าวจากฝ่ายการเมืองกล่าวว่า ถือเป็นการชิงจังหวะกันระหว่าง นปช.กับรัฐบาล อย่างเรื่องศูนย์ปราบโกง ถือว่าหน่วยงานรัฐช้ากว่า นปช. 1 ก้าว เขาชิงจังหวะเรื่องนี้ก่อน ขณะที่หน่วยงานรัฐยังหาคำตอบไม่ได้ชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าจะให้เปิดหรือไม่ และเมื่อไม่อนุญาตให้ นปช. เปิด โดยให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยการออกเสียงประชามติดูแลเรื่องนี้แทน
ต่อมาเป็นเรื่องของ Peace TV จะเห็นได้ว่าเนื้อหาที่นำเสนอนั้น มุ่งไปที่ติติงการทำงานของรัฐบาล คสช. เพราะถือว่าเป็นคู่ขัดแย้งกันโดยตรง ยิ่งนำเสนอมากเท่าไหร่รัฐบาลก็ยิ่งไม่ชอบ หากรัฐดำเนินการเอาผิด คนใน นปช.ก็ปั่นข่าวว่ารัฐบาลกลั่นแกล้ง กลายเป็นเข้าทางของ นปช.ไปทันที
แม้แต่นายจตุพรเองก็พูดในรายการทาง Peace TV เองว่า ฝ่าย นปช.ก็เตรียมการไว้แล้วเช่นกัน อย่างเมื่อตอนไม่อนุญาตให้เปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ กระแสเรื่องการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญก็เพิ่มขึ้น นี่ถ้าปิด Peace TV ด้วยกระแสไม่รับร่างก็จะเพิ่มมากขึ้น และมองกันถึงขั้นที่ว่ามีการจับกุมตัวแกนนำของ นปช. กระแสก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก ก่อนจะถึงวันลงประชามติ
ดังนั้นในช่วงใกล้วันลงประชามติ นปช.อาจเลือกเดินเกมด้วยการออกอากาศเนื้อหาที่ล่อแหลม เพื่อให้ กสทช.ใช้อำนาจ ม.44 ที่มีอยู่สั่งปิดสถานีโทรทัศน์ Peace Tv ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่อาจจะมีการใช้ ทำให้เกิดเป็นกระแสแล้วเพิ่มฐานผู้ลงคะแนนให้กับแนวทางของ นปช.
นับว่าเป็นการชิงไหวชิงพริบกันระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายของ นปช. ที่ช่วงชิงความได้เปรียบและอาศัยจังหวะในช่วงนี้สร้างความชอบธรรม ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเพลี่ยงพล้ำกับการประลองเชิงของการลงประชามติในครั้งนี้เท่านั้น