ขั้วอำนาจเก่าเคลื่อนไหวไม่เลิกสบช่องภัยแล้ง หวังปลุกชาวนาต้านรัฐบาล ใช้เครือข่ายและสื่อในอาณัติเสี้ยม หลังใช้สารพัดวิธีแต่ยังไม่ได้ผล ทั้งปล่อยข่าวยุบกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หนุนนักศึกษาเคลื่อนไหว ฝ่ายความมั่นคงจับตาเร่งเคลียร์ทุกปม หนักใจเปลี่ยนตัวทีมเศรษฐกิจ รับตอนนี้ทุกปัญหาโถมใส่รัฐบาลประยุทธ์ทั้งเศรษฐกิจไม่ฟื้นและองค์กรระหว่างประเทศพร้อมใจกดดัน เชื่อฝ่าวิกฤตนี้ไปได้
ยิ่งนานวันรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยิ่งเจอกับปัญหานานาประการมาให้แก้กันมากยิ่งขึ้น ไม่มีใครปฏิเสธว่าการเข้ามายึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 นั้น ช่วยยุติการเผชิญหน้ากันของคนที่ชื่นชอบรัฐบาลพรรคไทยรักไทยกับกลุ่มคนที่ยืนในฝั่งตรงข้าม ลดการเผชิญหน้า หยุดยั้งแนวโน้มของโอกาสที่คนทั้ง 2 ฝ่ายจะปะทะกัน
เมื่อพลเอกประยุทธ์ได้อาสาเข้ามาบริหารประเทศ เพื่อดึงประเทศไทยกลับไปสู่ทิศทางที่ควรจะเป็น แรงกดดันต่างๆ ได้เริ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งจากสิ่งตกค้างมาจากรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปัจจัยใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาและภัยแล้งที่เข้ามาซ้ำเติม ขณะที่ปัจจัยจากต่างประเทศก็ดาหน้าเข้ามากดดันการทำงานของรัฐบาลนี้ ทั้งเป็นผลมาจากรัฐบาลชุดก่อนๆ และบางเรื่องมาจากการแทรกตัวเข้ามาของมหาอำนาจที่ร่วมวงเข้ามากดดันประเทศไทย
แต่บาดแผลของนโยบายประชานิยมจากรัฐบาลชุดก่อน ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลปัจจุบันต้องเร่งเข้ามาแก้ปัญหา ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ กำลังซื้อต่างชาติหาย รวมถึงราคาสินค้าเกษตรลดลง แม้รัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาระยะหนึ่ง แต่ไม่ช่วยให้ความมั่นใจของคนในชาติรู้สึกดีขึ้น นับวันอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศยังไม่มีทีท่าฟื้นตัว
กระตุ้นใหม่-ไม่กระเตื้อง
14 กรกฎาคม 2558 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2558-2559 การขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.3 ล้านล้านบาท การส่งเสริมการลงทุนโดยให้ผู้แทนการค้าไทยเชิญชวนนักลงทุนต่างประเทศให้มาลงทุนในไทยและมาตรการการเงินการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วนในวงเงิน 1 แสนล้านบาท
โครงการก่อสร้างพื้นฐานถือเป็นของเดิมที่มีมาตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อนๆ เรื่องการให้ผู้แทนการค้าเชิญนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ทำกันมาตลอด มาตรการใหม่ที่มีคือการฟื้นฟูเศรษฐกิจเร่งด่วน วงเงิน 1 แสนล้านบาท
ประกอบด้วยมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง การกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น เช่น การซ่อมแซมแหล่งน้ำ ซ่อมโรงเรียนและโรงพยาบาล การให้ธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อให้ธนาคารพาณิชย์ในอัตราดอกเบี้ยต่ำและนำไปปล่อยกู้กับเอสเอ็มอี มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเร่งรัดให้เอกชนนำเข้าเครื่องจักรในปี 2558-2559 โดยจะยกเว้นภาษีนำเข้า
“เราคิดว่าแม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ออกมา คงไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นมาได้มากนัก ทั้งนี้เข้าใจเจตนาดีของรัฐบาล แต่เมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ประกอบกันแล้ว นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากโดยเฉพาะเรื่องกำลังซื้อของคนไทยและต่างชาติ บวกด้วยปัญหาภัยแล้งที่หนักหน่วงกว่าทุกปี” หน่วยงานด้านประเมินเศรษฐกิจแห่งหนึ่งกล่าว
ตอนนี้ทีมงานประเมินเศรษฐกิจต่างปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลงจากเดิมกันแล้วเหลือระหว่าง 2.5-2.8% อีกไม่นานหน่วยงานรัฐอย่างสภาพัฒน์ และธนาคารแห่งประเทศไทยก็อาจต้องปรับลดประมาณการลงมา
เงินในอนาคตถูกล็อก
“ถือเป็นเรื่องยากสำหรับรัฐบาลชั่วคราวที่เข้ามาเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ แล้วจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้เพราะกำลังซื้อในอนาคตถูกล็อกไว้ด้วยโครงการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก หรือแม้แต่ชาวนาที่ได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวต่างก็นำเอารายได้ส่วนนี้ไปใช้สิทธิตามโครงการของรัฐบาลยิ่งลักษณ์”
เมื่อเงินในอนาคตถูกเร่งนำมาใช้และต้องทำตามเงื่อนไข อีกทั้งปัจจัยแวดล้อมด้านเศรษฐกิจโดยรวมโดยเฉพาะเรื่องค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ประกาศใช้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เศรษฐกิจทั่วโลกไม่ดีหลายกลุ่มประเทศเกิดวิกฤตการเงิน ทุกอย่างจึงเป็นตัวบั่นทอนกำลังซื้อของคนในประเทศ แม้จะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ติดขัดในเงื่อนไขดังกล่าว แต่ทุกคนก็ต้องระวังในเรื่องของการใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น ดังนั้นจึงทำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศทำได้ยาก
นักเศรษฐศาสตร์รายหนึ่งกล่าวว่า ในอดีตหากเศรษฐกิจต่างประเทศไม่ดี เรามักจะใช้วิธีกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศแทน ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำมากระตุ้น สร้างกิจกรรมต่าง เพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ตอนนี้ทุกอย่างขยับไม่ได้ รถคันแรกถูกล็อกด้วยเงื่อนไขห้ามเปลี่ยนมือ 5 ปี ธุรกิจรถยนต์ในเวลานี้รถรุ่นใหม่ทำตลาดได้ยาก เลิกจำนำข้าวมาสู่โลกความเป็นจริงกลับมาเจอภัยแล้งอีก ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องประสบปัญหา ล่าสุดโรงงานซัมซังที่โคราชต้องย้ายฐานการผลิตไปเวียดนาม เลิกจ้างพนักงานกว่า 1,800 คน
รัฐมนตรีเศรษฐกิจปัญหาหนักอก
ดังนั้นจึงเป็นที่มาของข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจที่นำโดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจที่ดูด้านนี้มาตั้งแต่แรก แม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาแต่ยังไม่สามารถฟื้นสภาพเศรษฐกิจให้ดีขึ้นมาได้ จึงมีเสียงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนตัวมือเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์
สำหรับทีมงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้ หลายท่านล้วนแล้วแต่มาจากข้าราชการประจำ บางท่านไม่มีประสบการณ์ในกระทรวงที่เข้าไปบริหาร นโยบายบางตัวจึงออกมาบั่นทอนกำลังซื้อของคนในประเทศ จนพลเอกประยุทธ์ต้องออกมาเบรกแนวทางดังกล่าว เช่น การปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประการสำคัญหากมีการเปลี่ยนตัวทีมงานด้านเศรษฐกิจของหม่อมอุ๋ยนั้น หลายคนเล็งไปที่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ปัญหาคือจะมีเวลาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้นานเท่าไหร่ เพราะเงื่อนไขของเวลาถือเป็นสิ่งที่ภาคการเมืองจับตาอยู่ หากอยู่เกินกำหนดจากเดิมจะกลายเป็นข้อครหาเรื่องการสืบทอดอำนาจ
รัฐมนตรีในสายของหม่อมอุ๋ยบริหารงานในหลายกระทรวง ปัญหาคือพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจในเรื่องนี้อย่างไร ประการแรกคือท่านเป็นคนเชิญหม่อมอุ๋ยมา หากทีมหม่อมอุ๋ยพร้อมใจกันออกยกทีม แม้จะหาบุคคลมาทดแทนในตำแหน่งต่างๆ ได้ ตอนนี้เริ่มมีชื่อของนักการเมืองในสายของพรรคภูมิใจไทยออกมาบ้าง ซึ่งแนบแน่นกับพี่ใหญ่ของบูรพาพยัคฆ์ แต่ภาพลักษณ์ที่ออกมาย่อมไม่ดีต่อสายตาภายนอก คงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีว่าจะมีสูตรในการปรับเปลี่ยนอย่างไร
สบช่อง “ภัยแล้ง” ปลุกชาวนา
ไม่เพียงแค่สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจที่ทำให้การเข้ามาแก้ปัญหาประเทศของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ดำเนินการได้ลำบากแล้ว ภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้น แล้งที่สุดในรอบหลายสิบปี นับเป็นอีกแรงกดดันหนึ่งที่มีทั้งมิติด้านเศรษฐกิจและมิติด้านการเมือง
หลังจากที่รัฐบาลปัจจุบันไม่สานต่อนโยบายประชานิยมอย่างโครงการรับจำนำข้าว ราคาข้าวจึงอยู่ที่ตันละ 6-7 พันบาทต่อตัน รายได้ของชาวนาหายไปไม่น้อยเมื่อเทียบกับ 15,000 บาท โชคร้ายของรัฐบาลฝนที่ทิ้งช่วงมายาวนาน จนต้องประกาศให้งดเว้นการทำนา แต่ชาวนาจำนวนไม่น้อยที่ยังเสี่ยงทำนาต่อไป เมื่อไม่มีน้ำจึงได้เห็นการแย่งน้ำของชาวนาในหลายพื้นที่
“เมื่อปลูกข้าวไม่ได้ ชาวนาก็ไม่มีรายได้ ภาระหนี้สินเดิมที่มีอยู่ หรือเงินที่ต้องใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต จึงส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม เพราะการใช้จ่ายของชาวนาถือว่ามีผลต่อกำลังซื้อโดยรวมของประเทศ แน่นอนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมสร้างความไม่พอใจให้กับชาวนาไม่น้อย เนื่องจากรายได้ของพวกเขาหายไป” แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าว
ภายใต้ภัยแล้งที่ชาวไร่ชาวนาสัมผัสโดยตรงนั้น ตอนนี้ยังมีความพยายามของกลุ่มอำนาจเดิมที่เข้าไปสร้างความรู้สึกให้ชาวนาไม่พอใจกับรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางและภาคอีสาน ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งโดยตรง ด้วยการใช้สื่อในเครือข่ายที่ได้รับความคุ้มครองเป็นเครื่องมือในการสอดแทรกความคิดเหล่านี้ รวมถึงพยายามที่จะสร้างความแตกแยกระหว่างคนเมืองกับคนในชนบท ที่อาศัยภาวะภัยแล้งมาเป็นตัวจุดชนวน
พวกเขาพยายามในหลากหลายวิธี ก่อนหน้านี้ก็มีกลุ่มนักศึกษาในนาม “ดาวดิน” ออกมาเคลื่อนไหว แต่กระแสดังกล่าวเงียบลงหลังจากที่ศาลทหารปล่อยตัวออกมา
หรือการปล่อยข่าวว่ารัฐบาลชุดนี้จะมีการยุบตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จนรัฐบาลต้องเชิญกำนัน ผู้ใหญ่บ้านมาชี้แจงเมื่อ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา นอกจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะมาให้ความเชื่อมั่นกับเหล่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านแล้ว พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังกล่าวย้ำว่า อยากฝากเรื่องยุบกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่มีใครยุบได้ และคำพูดที่น่าสนใจมากคือ “ท่านจำคำผมไว้อย่างหนึ่ง ถ้าวิกฤตคราวหน้าอาวุธมาแน่ รับรองได้ว่าทุกพวกมีอาวุธทั้งนั้น แต่ถ้าตัวเองถือยังไม่ค่อยแรง เขาก็จะไปจ้างอดีตทหารพรานถือปืนรบกันแน่นอน”
นอกจากนี้ยังมีกระบวนการปล่อยข่าวในรูปแบบต่างๆ อีกหลายครั้ง ทั้งเรื่องของข่าว 2 พรรคการเมืองลงขันกันล้มรัฐบาล และก็จบลงด้วยพลเอกประยุทธ์ออกมากล่าวว่าไม่มีเรื่องดังกล่าว หรือแม้กระทั่งการปรับคณะรัฐมนตรีก็อาจถูกนำไปขยายผลว่าเป็นความล้มเหลวของรัฐบาลชุดนี้
นี่คือสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าฝ่ายอำนาจเก่ายังคงจ้องหาวิธีการเพื่อลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาล โดยที่รัฐบาลก็ทราบถึงแผนนั้นจึงต้องหาทางหยุดความเคลื่อนไหวดังกล่าว
เร่งเคลียร์ต่างประเทศ
ส่วนปัจจัยอื่นที่เข้ามากระทบมีทั้งเรื่ององค์กรระหว่างประเทศเข้ามากดดัน ทั้งเรื่องใบเหลืองในอุตสาหกรรมประมงของไทย ที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการขึ้นทะเบียนเรือประมง หรือการลดมาตรการการบินของไทยจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ICAO และหน่วยงานทั้งของยุโรปและสหรัฐฯ รวมถึงเรื่องการส่งชาวอุยกูร์กลับจีนจนเกิดการทำลายสถานกงสุลไทยที่อิสตันบูล ประเทศตุรกี และหน่วยงานอย่างสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ออกโรงมากดดันประเทศไทย
แม้เกือบทุกกรณีจะเป็นผลมาจากรัฐบาลก่อนหน้านี้ แต่รัฐบาลปัจจุบันก็ต้องเข้ามาเร่งแก้ปัญหา ตอนนี้เรื่องประมงอยู่ในระหว่างการแก้ไขว่าจะเป็นที่พอใจของสหภาพยุโรปหรือไม่ รวมถึงการแก้ไขเรื่องมาตรฐานการบินของกรมการบินพลเรือนไทยที่ดำเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน และการเดินทางไปติดตามชาวอุยกูร์ที่ส่งกลับไปยังประเทศจีนของเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ว่าทางจีนดูแลเป็นอย่างดี
เชื่อรัฐบาลฝ่าวิกฤตได้
ฝ่ายความมั่นคงยอมรับว่า ตอนนี้มีแรงกดดันจากหลายส่วนเข้ามาที่รัฐบาล ทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะค่อยๆ คลี่คลายได้ อย่างภัยแล้งแม้จะมีความพยายามปลุกกระแสชาวนาจากฝ่ายที่สูญเสียอำนาจ แต่ระยะนี้เริ่มมีฝนตกลงมาบ้างในหลายพื้นที่และมีแนวโน้มจะตกต่อเนื่อง รัฐบาลเริ่มเปิดให้เกษตรกรบางพื้นที่สูบน้ำเข้านาได้หลังจากที่ปริมาณน้ำเริ่มมีมากขึ้น
ส่วนแรงกดดันจากองค์กรระหว่างประเทศนั้น รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ปัญหาเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือเงื่อนไขของนานาชาติ
ทั้งเป็นเพราะรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลทหารมาจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลเดิม ทำให้ประเทศมหาอำนาจให้การยอมรับน้อย เนื่องจากไม่ได้มาตามระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นในมาตรการที่ออกมากดดันในช่วงนี้บางกรณีจะมีมิติทางการเมืองระหว่างประเทศเข้ามารวมอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตามแม้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์จะไม่ได้ตามระบอบประชาธิปไตย แต่การตัดสินใจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาประชาชนในประเทศยังคงให้การสนับสนุนรัฐบาลชุดนี้ เห็นได้จากผลสำรวจต่างๆ ที่มีต่อตัวของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีทั้งชื่นชมและเห็นว่าควรเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีก 2 ปีหลังจากมีรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อปฏิรูปประเทศให้พร้อมก่อนการเลือกตั้ง
“เชื่อว่ารัฐบาลนี้จะผ่านปัญหาเหล่านี้ไปได้ เพราะคนจำนวนไม่น้อยยังให้การสนับสนุนรัฐบาลนี้อยู่”
ยิ่งนานวันรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยิ่งเจอกับปัญหานานาประการมาให้แก้กันมากยิ่งขึ้น ไม่มีใครปฏิเสธว่าการเข้ามายึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 นั้น ช่วยยุติการเผชิญหน้ากันของคนที่ชื่นชอบรัฐบาลพรรคไทยรักไทยกับกลุ่มคนที่ยืนในฝั่งตรงข้าม ลดการเผชิญหน้า หยุดยั้งแนวโน้มของโอกาสที่คนทั้ง 2 ฝ่ายจะปะทะกัน
เมื่อพลเอกประยุทธ์ได้อาสาเข้ามาบริหารประเทศ เพื่อดึงประเทศไทยกลับไปสู่ทิศทางที่ควรจะเป็น แรงกดดันต่างๆ ได้เริ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งจากสิ่งตกค้างมาจากรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปัจจัยใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาและภัยแล้งที่เข้ามาซ้ำเติม ขณะที่ปัจจัยจากต่างประเทศก็ดาหน้าเข้ามากดดันการทำงานของรัฐบาลนี้ ทั้งเป็นผลมาจากรัฐบาลชุดก่อนๆ และบางเรื่องมาจากการแทรกตัวเข้ามาของมหาอำนาจที่ร่วมวงเข้ามากดดันประเทศไทย
แต่บาดแผลของนโยบายประชานิยมจากรัฐบาลชุดก่อน ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลปัจจุบันต้องเร่งเข้ามาแก้ปัญหา ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ กำลังซื้อต่างชาติหาย รวมถึงราคาสินค้าเกษตรลดลง แม้รัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาระยะหนึ่ง แต่ไม่ช่วยให้ความมั่นใจของคนในชาติรู้สึกดีขึ้น นับวันอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศยังไม่มีทีท่าฟื้นตัว
กระตุ้นใหม่-ไม่กระเตื้อง
14 กรกฎาคม 2558 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2558-2559 การขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.3 ล้านล้านบาท การส่งเสริมการลงทุนโดยให้ผู้แทนการค้าไทยเชิญชวนนักลงทุนต่างประเทศให้มาลงทุนในไทยและมาตรการการเงินการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วนในวงเงิน 1 แสนล้านบาท
โครงการก่อสร้างพื้นฐานถือเป็นของเดิมที่มีมาตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อนๆ เรื่องการให้ผู้แทนการค้าเชิญนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ทำกันมาตลอด มาตรการใหม่ที่มีคือการฟื้นฟูเศรษฐกิจเร่งด่วน วงเงิน 1 แสนล้านบาท
ประกอบด้วยมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง การกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น เช่น การซ่อมแซมแหล่งน้ำ ซ่อมโรงเรียนและโรงพยาบาล การให้ธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อให้ธนาคารพาณิชย์ในอัตราดอกเบี้ยต่ำและนำไปปล่อยกู้กับเอสเอ็มอี มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเร่งรัดให้เอกชนนำเข้าเครื่องจักรในปี 2558-2559 โดยจะยกเว้นภาษีนำเข้า
“เราคิดว่าแม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ออกมา คงไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นมาได้มากนัก ทั้งนี้เข้าใจเจตนาดีของรัฐบาล แต่เมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ประกอบกันแล้ว นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากโดยเฉพาะเรื่องกำลังซื้อของคนไทยและต่างชาติ บวกด้วยปัญหาภัยแล้งที่หนักหน่วงกว่าทุกปี” หน่วยงานด้านประเมินเศรษฐกิจแห่งหนึ่งกล่าว
ตอนนี้ทีมงานประเมินเศรษฐกิจต่างปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลงจากเดิมกันแล้วเหลือระหว่าง 2.5-2.8% อีกไม่นานหน่วยงานรัฐอย่างสภาพัฒน์ และธนาคารแห่งประเทศไทยก็อาจต้องปรับลดประมาณการลงมา
เงินในอนาคตถูกล็อก
“ถือเป็นเรื่องยากสำหรับรัฐบาลชั่วคราวที่เข้ามาเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ แล้วจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้เพราะกำลังซื้อในอนาคตถูกล็อกไว้ด้วยโครงการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก หรือแม้แต่ชาวนาที่ได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวต่างก็นำเอารายได้ส่วนนี้ไปใช้สิทธิตามโครงการของรัฐบาลยิ่งลักษณ์”
เมื่อเงินในอนาคตถูกเร่งนำมาใช้และต้องทำตามเงื่อนไข อีกทั้งปัจจัยแวดล้อมด้านเศรษฐกิจโดยรวมโดยเฉพาะเรื่องค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ประกาศใช้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เศรษฐกิจทั่วโลกไม่ดีหลายกลุ่มประเทศเกิดวิกฤตการเงิน ทุกอย่างจึงเป็นตัวบั่นทอนกำลังซื้อของคนในประเทศ แม้จะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ติดขัดในเงื่อนไขดังกล่าว แต่ทุกคนก็ต้องระวังในเรื่องของการใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น ดังนั้นจึงทำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศทำได้ยาก
นักเศรษฐศาสตร์รายหนึ่งกล่าวว่า ในอดีตหากเศรษฐกิจต่างประเทศไม่ดี เรามักจะใช้วิธีกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศแทน ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำมากระตุ้น สร้างกิจกรรมต่าง เพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ตอนนี้ทุกอย่างขยับไม่ได้ รถคันแรกถูกล็อกด้วยเงื่อนไขห้ามเปลี่ยนมือ 5 ปี ธุรกิจรถยนต์ในเวลานี้รถรุ่นใหม่ทำตลาดได้ยาก เลิกจำนำข้าวมาสู่โลกความเป็นจริงกลับมาเจอภัยแล้งอีก ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องประสบปัญหา ล่าสุดโรงงานซัมซังที่โคราชต้องย้ายฐานการผลิตไปเวียดนาม เลิกจ้างพนักงานกว่า 1,800 คน
รัฐมนตรีเศรษฐกิจปัญหาหนักอก
ดังนั้นจึงเป็นที่มาของข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจที่นำโดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจที่ดูด้านนี้มาตั้งแต่แรก แม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาแต่ยังไม่สามารถฟื้นสภาพเศรษฐกิจให้ดีขึ้นมาได้ จึงมีเสียงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนตัวมือเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์
สำหรับทีมงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้ หลายท่านล้วนแล้วแต่มาจากข้าราชการประจำ บางท่านไม่มีประสบการณ์ในกระทรวงที่เข้าไปบริหาร นโยบายบางตัวจึงออกมาบั่นทอนกำลังซื้อของคนในประเทศ จนพลเอกประยุทธ์ต้องออกมาเบรกแนวทางดังกล่าว เช่น การปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประการสำคัญหากมีการเปลี่ยนตัวทีมงานด้านเศรษฐกิจของหม่อมอุ๋ยนั้น หลายคนเล็งไปที่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ปัญหาคือจะมีเวลาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้นานเท่าไหร่ เพราะเงื่อนไขของเวลาถือเป็นสิ่งที่ภาคการเมืองจับตาอยู่ หากอยู่เกินกำหนดจากเดิมจะกลายเป็นข้อครหาเรื่องการสืบทอดอำนาจ
รัฐมนตรีในสายของหม่อมอุ๋ยบริหารงานในหลายกระทรวง ปัญหาคือพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจในเรื่องนี้อย่างไร ประการแรกคือท่านเป็นคนเชิญหม่อมอุ๋ยมา หากทีมหม่อมอุ๋ยพร้อมใจกันออกยกทีม แม้จะหาบุคคลมาทดแทนในตำแหน่งต่างๆ ได้ ตอนนี้เริ่มมีชื่อของนักการเมืองในสายของพรรคภูมิใจไทยออกมาบ้าง ซึ่งแนบแน่นกับพี่ใหญ่ของบูรพาพยัคฆ์ แต่ภาพลักษณ์ที่ออกมาย่อมไม่ดีต่อสายตาภายนอก คงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีว่าจะมีสูตรในการปรับเปลี่ยนอย่างไร
สบช่อง “ภัยแล้ง” ปลุกชาวนา
ไม่เพียงแค่สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจที่ทำให้การเข้ามาแก้ปัญหาประเทศของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ดำเนินการได้ลำบากแล้ว ภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้น แล้งที่สุดในรอบหลายสิบปี นับเป็นอีกแรงกดดันหนึ่งที่มีทั้งมิติด้านเศรษฐกิจและมิติด้านการเมือง
หลังจากที่รัฐบาลปัจจุบันไม่สานต่อนโยบายประชานิยมอย่างโครงการรับจำนำข้าว ราคาข้าวจึงอยู่ที่ตันละ 6-7 พันบาทต่อตัน รายได้ของชาวนาหายไปไม่น้อยเมื่อเทียบกับ 15,000 บาท โชคร้ายของรัฐบาลฝนที่ทิ้งช่วงมายาวนาน จนต้องประกาศให้งดเว้นการทำนา แต่ชาวนาจำนวนไม่น้อยที่ยังเสี่ยงทำนาต่อไป เมื่อไม่มีน้ำจึงได้เห็นการแย่งน้ำของชาวนาในหลายพื้นที่
“เมื่อปลูกข้าวไม่ได้ ชาวนาก็ไม่มีรายได้ ภาระหนี้สินเดิมที่มีอยู่ หรือเงินที่ต้องใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต จึงส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม เพราะการใช้จ่ายของชาวนาถือว่ามีผลต่อกำลังซื้อโดยรวมของประเทศ แน่นอนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมสร้างความไม่พอใจให้กับชาวนาไม่น้อย เนื่องจากรายได้ของพวกเขาหายไป” แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าว
ภายใต้ภัยแล้งที่ชาวไร่ชาวนาสัมผัสโดยตรงนั้น ตอนนี้ยังมีความพยายามของกลุ่มอำนาจเดิมที่เข้าไปสร้างความรู้สึกให้ชาวนาไม่พอใจกับรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางและภาคอีสาน ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งโดยตรง ด้วยการใช้สื่อในเครือข่ายที่ได้รับความคุ้มครองเป็นเครื่องมือในการสอดแทรกความคิดเหล่านี้ รวมถึงพยายามที่จะสร้างความแตกแยกระหว่างคนเมืองกับคนในชนบท ที่อาศัยภาวะภัยแล้งมาเป็นตัวจุดชนวน
พวกเขาพยายามในหลากหลายวิธี ก่อนหน้านี้ก็มีกลุ่มนักศึกษาในนาม “ดาวดิน” ออกมาเคลื่อนไหว แต่กระแสดังกล่าวเงียบลงหลังจากที่ศาลทหารปล่อยตัวออกมา
หรือการปล่อยข่าวว่ารัฐบาลชุดนี้จะมีการยุบตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จนรัฐบาลต้องเชิญกำนัน ผู้ใหญ่บ้านมาชี้แจงเมื่อ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา นอกจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะมาให้ความเชื่อมั่นกับเหล่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านแล้ว พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังกล่าวย้ำว่า อยากฝากเรื่องยุบกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่มีใครยุบได้ และคำพูดที่น่าสนใจมากคือ “ท่านจำคำผมไว้อย่างหนึ่ง ถ้าวิกฤตคราวหน้าอาวุธมาแน่ รับรองได้ว่าทุกพวกมีอาวุธทั้งนั้น แต่ถ้าตัวเองถือยังไม่ค่อยแรง เขาก็จะไปจ้างอดีตทหารพรานถือปืนรบกันแน่นอน”
นอกจากนี้ยังมีกระบวนการปล่อยข่าวในรูปแบบต่างๆ อีกหลายครั้ง ทั้งเรื่องของข่าว 2 พรรคการเมืองลงขันกันล้มรัฐบาล และก็จบลงด้วยพลเอกประยุทธ์ออกมากล่าวว่าไม่มีเรื่องดังกล่าว หรือแม้กระทั่งการปรับคณะรัฐมนตรีก็อาจถูกนำไปขยายผลว่าเป็นความล้มเหลวของรัฐบาลชุดนี้
นี่คือสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าฝ่ายอำนาจเก่ายังคงจ้องหาวิธีการเพื่อลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาล โดยที่รัฐบาลก็ทราบถึงแผนนั้นจึงต้องหาทางหยุดความเคลื่อนไหวดังกล่าว
เร่งเคลียร์ต่างประเทศ
ส่วนปัจจัยอื่นที่เข้ามากระทบมีทั้งเรื่ององค์กรระหว่างประเทศเข้ามากดดัน ทั้งเรื่องใบเหลืองในอุตสาหกรรมประมงของไทย ที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการขึ้นทะเบียนเรือประมง หรือการลดมาตรการการบินของไทยจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ICAO และหน่วยงานทั้งของยุโรปและสหรัฐฯ รวมถึงเรื่องการส่งชาวอุยกูร์กลับจีนจนเกิดการทำลายสถานกงสุลไทยที่อิสตันบูล ประเทศตุรกี และหน่วยงานอย่างสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ออกโรงมากดดันประเทศไทย
แม้เกือบทุกกรณีจะเป็นผลมาจากรัฐบาลก่อนหน้านี้ แต่รัฐบาลปัจจุบันก็ต้องเข้ามาเร่งแก้ปัญหา ตอนนี้เรื่องประมงอยู่ในระหว่างการแก้ไขว่าจะเป็นที่พอใจของสหภาพยุโรปหรือไม่ รวมถึงการแก้ไขเรื่องมาตรฐานการบินของกรมการบินพลเรือนไทยที่ดำเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน และการเดินทางไปติดตามชาวอุยกูร์ที่ส่งกลับไปยังประเทศจีนของเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ว่าทางจีนดูแลเป็นอย่างดี
เชื่อรัฐบาลฝ่าวิกฤตได้
ฝ่ายความมั่นคงยอมรับว่า ตอนนี้มีแรงกดดันจากหลายส่วนเข้ามาที่รัฐบาล ทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะค่อยๆ คลี่คลายได้ อย่างภัยแล้งแม้จะมีความพยายามปลุกกระแสชาวนาจากฝ่ายที่สูญเสียอำนาจ แต่ระยะนี้เริ่มมีฝนตกลงมาบ้างในหลายพื้นที่และมีแนวโน้มจะตกต่อเนื่อง รัฐบาลเริ่มเปิดให้เกษตรกรบางพื้นที่สูบน้ำเข้านาได้หลังจากที่ปริมาณน้ำเริ่มมีมากขึ้น
ส่วนแรงกดดันจากองค์กรระหว่างประเทศนั้น รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ปัญหาเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือเงื่อนไขของนานาชาติ
ทั้งเป็นเพราะรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลทหารมาจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลเดิม ทำให้ประเทศมหาอำนาจให้การยอมรับน้อย เนื่องจากไม่ได้มาตามระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นในมาตรการที่ออกมากดดันในช่วงนี้บางกรณีจะมีมิติทางการเมืองระหว่างประเทศเข้ามารวมอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตามแม้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์จะไม่ได้ตามระบอบประชาธิปไตย แต่การตัดสินใจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาประชาชนในประเทศยังคงให้การสนับสนุนรัฐบาลชุดนี้ เห็นได้จากผลสำรวจต่างๆ ที่มีต่อตัวของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีทั้งชื่นชมและเห็นว่าควรเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีก 2 ปีหลังจากมีรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อปฏิรูปประเทศให้พร้อมก่อนการเลือกตั้ง
“เชื่อว่ารัฐบาลนี้จะผ่านปัญหาเหล่านี้ไปได้ เพราะคนจำนวนไม่น้อยยังให้การสนับสนุนรัฐบาลนี้อยู่”