วงในเผยที่มาปฏิรูปพุทธศาสนา ยอมรับ “ธรรมกาย” เป็นเหตุ นายกฯ เปรยหลายครั้ง ธุดงค์ธรรมชัยเป็นจุดเริ่มต้น หวั่นไม่เข้าแก้ปัญหาจะกลายเป็นอันตราย ขณะที่กรรมการในชุดนี้เป็นคนที่รู้จักธรรมกายเป็นอย่างดี ส่วน ดร.มโน เลาหวนิช เผยปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบ แจงเป้าแรกที่เลือก “ธรรมกาย” เพราะข้อร้องเรียนมากที่สุด เตรียมเข้าเฝ้าผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชขอกรรมการ 3 คนร่วมกันแก้ปัญหา ชี้ “ไม่ทำในช่วงนี้ถือว่าเสียของ” ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามเดินเครื่องเสนอยุบกรรมการชุดนี้
วงการสงฆ์ร้อนแรงขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ จากกรณีเสนอให้มีการปลดพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย จากการหยิบยกพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี 2542
จนนำไปสู่การประชุมของมหาเถรสมาคมเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีมติว่าพระธัมมชโยไม่มีเจตนาฉ้อโกง ไม่ผิดพระวินัย ไม่ถือเป็นความผิด ถือเป็นอันยุติ ทั้งนี้ เมื่อไม่มีเจตนาฉ้อโกง ไม่ได้ฝ่าฝืนพระลิขิต ไม่ถือว่ามีความผิด และพ้นมลทิน รวมทั้งยึดตามมติมหาเถรสมาคม ปี 2549 ได้คืนตำแหน่งเจ้าอาวาส และได้ขอพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ให้ตามเดิม
ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า การปฏิบัติตนของพระภิกษุบางรูปที่ผ่านมาในสายตาหมู่ของพุทธศาสนิกชนนั้น มีความไม่เหมาะสมเกิดขึ้นหลายครั้ง ทั้งเรื่องความประพฤติที่ไม่เหมาะสม เรื่องชู้สาว รวมไปถึงเรื่องของผลประโยชน์ในทรัพย์สินเงินทอง และแต่ละรายที่เป็นข่าวโด่งดังก็เป็นผลมาจากการตรวจสอบจากภาคประชาชนแทบทั้งสิ้น แต่ยังไม่ได้เห็นมาตรการที่จะออกมาควบคุมการประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุให้เข้ารูปเข้ารอยจากมหาเถรสมาคม
ขณะที่เรื่องใหญ่ในวงการพระพุทธศาสนา ที่มีวัดใหญ่ได้ตีความพระธรรมวินัยของพุทธศาสนาแตกต่างไปจากเดิม ในเรื่องดังกล่าวนี้ถูกปล่อยให้เกิดขึ้นมาหลายสิบปี แต่ฝ่ายปกครองคณะสงฆ์อย่างมหาเถรสมาคมกลับไม่สามารถสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้ได้ และวัดดังกล่าวก็ใหญ่โตขึ้นทุกวัน แม้จะมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับวัดดังกล่าว แต่การตัดสินของมหาเถรสมาคมแทบทุกครั้งนั้นวัดดังกล่าวรอดมาได้ทุกครั้ง
นอกจากนี้ในวงการพระสงฆ์ ต่างก็กล่าวกันถึงเรื่องการซื้อขายตำแหน่งทางสงฆ์ว่าทำได้เช่นเดียวกัน ไม่ต่างกับในวงการข้าราชการ เพราะยศตำแหน่งที่สูงขึ้นนั้นย่อมหมายถึงโอกาสต่างๆ ที่จะตามมา อีกทั้งกระบวนการดูแลและควบคุมพระสงฆ์ อำนาจทั้งหมดตกอยู่ที่มหาเถรสมาคม หากคณะสงฆ์ที่เข้ามาบริหารจัดการในมหาเถรสมาคมไม่ดำเนินการอย่างจริงจัง สุดท้ายพุทธศาสนาก็จะเสื่อมลงทุกขณะ
ที่มากรรมการปฏิรูปฯ
ก่อนหน้านี้นายวันชัย สอนศิริ โฆษกกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ปรารภสั้นๆ ว่าพระบางรูป วัดบางวัด มีการสอนที่ผิดเพี้ยน บางรูปหรือบางแห่งมีเงินเป็นจำนวนมาก เสนอให้ไปปฏิรูปด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่กระทบต่อคนจำนวนมาก จึงมีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปศาสนาขึ้นมา โดยมี นายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธาน
โดยคำสั่งสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ 8/2558 ให้เหตุผลในการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาดังนี้
สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่สำคัญในการจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปด้านต่างๆ ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 โดยที่ความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในประวัติศาสตร์ไทยที่ผ่านมา ขึ้นอยู่กับ “ความสัมพันธ์ 3 เส้า” ที่ลงตัวระหว่างพระสงฆ์ ประชาชน และรัฐ
แต่ปัจจุบันเกิดปัญหาในกิจการพระพุทธศาสนามากมาย สาเหตุส่วนหนึ่งที่สำคัญมาจากพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ที่เน้นการปกครองภายในคณะสงฆ์เป็นส่วนใหญ่ โดยขาดความมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้นคณะสงค์จึงดำเนินกิจการพระพุทธศาสนาขึ้นอย่างเอกเทศ โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงเกิดปัญหาความเสื่อมถอยและความศรัทธาในคณะสงฆ์ทั้งจากภายในและภายนอก ซึ่งหากไม่ได้รับการปฏิรูปโครงสร้างอย่างจริงจังทั้งระบบ จะส่งผลให้กิจการพระพุทธศาสนาในสังคมไทยเสื่อมลงตามลำดับ
การปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทโดยตรงในการพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
ผุดกลุ่มหนุน-กลุ่มต้าน
จากการดำเนินการกรณีวัดพระธรรมกาย รวมถึงมติของมหาเถรสมาคมที่ผ่านมา ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขององค์กรสงฆ์ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและคัดค้าน
ขณะที่พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม หรือหลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จังหวัดนครปฐม ได้ออกมายื่นเรื่องต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อขอให้ตรวจสอบทรัพย์สิน เส้นทางเงินของกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ทุกรูป รวมถึงเส้นทางเงินและทรัพย์สินของวัดพระธรรมกาย พระเทพญาณมหามุนี หรือหลวงพ่อธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ทรัพย์สินของเจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกวัดอย่างละเอียด รวมถึงขอให้ตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณ การใช้งบประมาณของมหาเถรสมาคม มหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้งของธรรมยุติและมหานิกายอย่างละเอียด ตรวจสอบทรัพย์สินของคนใกล้ชิดเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และเจ้าคณะทุกระดับชั้นอย่างละเอียด และขอให้รื้อฟื้นคดีของวัดพระธรรมกายขึ้นมาพิจารณาใหม่
ส่วนฝ่ายที่คัดค้านได้พุ่งเป้าไปที่ตัวกรรมการคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ที่ถูกกล่าวหาจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยว่า เป็นกลุ่มที่สุดโต่ง เกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่มีพระสงฆ์ที่เข้าไปเป็นกรรมการชุดนี้ รวมไปถึงการตรวจสอบการทำงานของมหาเถรสมาคมถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสม
นี่คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทันทีกับวงการสงฆ์ หลังจากที่มีความพยายามจะไปแตะต้องวัดพระธรรมกาย
“ธรรมกาย” อันตรายต่อพุทธศาสนา?
แหล่งข่าวจากวงการพุทธศาสนากล่าวว่า ที่มาการปฏิรูปศาสนานอกจากข้อหารือของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว อีกจุดหนึ่งคือเรื่องของการเดินธุดงค์ธรรมชัยของวัดพระธรรมกายเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ที่เหมือนบททดสอบทางวัดจะทำอะไรก็ได้
สำหรับในเรื่องของวงการพระพุทธศานาเป็นที่ทราบกันดีว่าวัดพระธรรมกายนั้นได้ขยายอาณาจักรและขยายแนวคิดของตนเองที่ขัดต่อหลักพระธรรมวินัยและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นเวลานาน แต่ไม่มีใครกล้าเข้าไปจัดการ
“เขามีทั้งทุน ทั้งอำนาจ เกิดเหตุครั้งใดหน่วยงานต่างๆ เงียบหมด ทุนที่มาจากการบริจาคที่มีกระบวนการและขั้นตอนอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงบรรดาผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาที่ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีตำแหน่งหน้าที่ทางสังคมและหน่วยงานราชการระดับสูง”
ธรรมกายเหมือนกับมะเร็งที่ดูดเอาทรัพยากร เงินทอง บุคลากร ด้วยวิธีการที่แยบยล กัดกร่อนส่วนต่างๆ ของสังคม ถ้าร่วมมือกับนักการเมืองได้จะเท่ากับเป็นการกินรวบประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาเราได้เข้าไปสู่ยุคนั้นแล้วระดับหนึ่ง
จนมีการเปรียบเปรยกันว่าในภาคการเมืองนั้นทักษิณ ชินวัตร เป็นคนครอบครอง ส่วนศาสนจักรก็มีธรรมกายเป็นผู้ครอบครอง เสมือนเป็นการแบ่งแยกกันระหว่างนักการเมืองกับผู้นำทางศาสนา แต่ทั้ง 2 ฝ่ายจะเอื้อต่อกันและกัน
ขณะที่หน่วยงานที่กำกับดูแลพระสงฆ์ทั้งหมดอย่างมหาเถรสมาคม ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอว่าเป็นองค์กรศักดินา ง่ายต่อการติดสินบน เมื่อคราวใดที่พวกเดียวกันตกต่ำก็ต้องช่วยเหลือกันถึงที่สุด ไม่ได้มองเรื่องความเป็นธรรมที่มี
อีกประการหนึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าแนวคิดของวัดพระธรรมกายแตกต่างจากหลักของพุทธศาสนาทั่วไป บุญกุศลที่จะได้ตามแนวคิดของวัดนี้จะวัดกันที่เงินทำบุญ ซึ่งเป็นการตีความที่แตกต่างไปจากหลักธรรมคำสอนเดิมอย่างสิ้นเชิง
นี่คือสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อวงการพระพุทธศาสนาและเป็นที่มาของการปฏิรูปพุทธศาสนา
สำหรับคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งขึ้นนั้น หนึ่งในนั้นถือว่าเป็นผู้ที่รู้จักธรรมกายเป็นอย่างดี การดึงคนเหล่านี้เข้ามาก็เพื่อทราบที่มาที่ไปและหาทางที่จะปรับให้พุทธศาสนาเข้ารูปเข้ารอย เป็นไปตามหลักธรรมคำสอนอย่างแท้จริง
กรรมการฯ ไม่เป็นกลาง
ดร.นพ.มโน เลาหวนิช หรืออดีตพระเมตตานันโท อดีตกรรมการบริหารอาวุโสและมูลนิธิวัดพระธรรมกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการ คณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา กล่าวถึงเรื่องที่ถูกมองว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าวไม่เป็นกลางว่า
เป็นสิทธิที่มองได้ แต่ยืนยันว่ากรรมการชุดนี้มีความเป็นกลาง โดยนายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธาน เป็นผู้คัดเลือก โดยเลือกคนที่มีประสบการณ์ด้านนี้เข้ามาทำหน้าที่ ทุกคนก็มีอคติกันทุกคน ไม่มากก็น้อย แต่เรายึดในหลักการ ในที่ประชุมทุกท่านก็แสดงความเห็นได้โดยอิสระ และหลายประเด็นก็เห็นไม่ตรงกัน
แต่ต่อไปจะมีการเพิ่มกรรมการเข้ามา โดยจะขอเข้าเฝ้าผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเพื่อขอให้มีการแต่งตั้งตัวแทนจากมหาเถรสมาคมอีก 3 รูป เข้ามาร่วมในกรรมการชุดนี้ และจะมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งปัจจุบันก็มีรองอธิการบดีจากมหาจุฬาฯ อยู่ในกรรมการชุดนี้แล้ว
ทำไมต้อง “ธรรมกาย” ก่อน
ดร.นพ.มโน กล่าวว่า ที่เราหยิบยกเรื่องของธรรมกายมาเป็นเรื่องแรก เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนเข้ามามากที่สุด เมื่อดำเนินการไปแล้วและมหาเถรสมาคมมีมติดังกล่าวออกมา กรรมการคงไม่ย้อนกลับเข้าไปดำเนินการในเรื่องนี้อีก ทางมหาเถระต้องให้ความกระจ่างในเรื่องเหล่านี้เอง กรรมการชุดนี้ก็ไม่ได้วิจารณ์ในเรื่องนี้
แต่ทางกรรมการฯ ตั้งประเด็นสงสัย เพราะปกติการประชุมของมหาเถรสมาคม จะต้องมีเอกสารแจ้งเป็นวาระอย่างเป็นทางการ แต่ครั้งนี้วาระการประชุมก็ไม่มี รวมไปถึงข้อสังเกตของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็ตอบไม่เคลียร์ ที่ออกมาตั้งข้อสังเกตว่าพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชเป็นของปลอม แต่ทางกรรมการยึดตามมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติสงฆ์ ที่ระบุว่าสมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ และทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัยและกฎมหาเถรสมาคม
“เห็นว่าเรื่องนี้มีการตุกติก มหาเถรสมาคมบอกว่าไม่ใช่พระบัญชา ทางเราพิจารณากันแล้วว่าเอกสารดังกล่าวเป็นสิ่งที่ถูกต้อง”
ส่วนเรื่องของสหกรณ์ยูเนี่ยนคลองจั่น เรายังสงสัยในเรื่องที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จะต้องเข้ามาดำเนินการ
ไม่ทำตอนนี้ถือว่า “เสียของ”
กรรมการคณะกรรมการปฏิรูปฯ กล่าวว่า ภารกิจของคณะกรรมการชุดนี้คือ 1.ระดมปัญหาที่เกิดขึ้น 2.หาทางแก้ไขโครงสร้างหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เตรียมจะระดมสมองกันอีกครั้ง เพื่อสรุปหาแนวทางแล้วส่งต่อไปในสภาปฏิรูปแห่งชาติชุดใหญ่ ส่วนจะถึงขั้นของการแก้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์หรือไม่ก็ต้องรอข้อสรุปอีกครั้ง และจะเป็นไปตามขั้นตอน
“เราไม่ได้ดูเรื่องของวัดธรรมกายเพียงอย่างเดียว อย่างเรื่องที่วัดสระเกศเราก็ดู ดูเรื่องการฟอกเงิน การเลี่ยงภาษีต่างๆ เพื่อนำมาแก้ไขทั้งหมด เรามีเวลา 3 สัปดาห์ในการระดมปัญหาแล้วเสนอต่อ สปช.ว่าจะปฏิรูปอย่างไร”
ดังนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากที่มหาเถรสมาคมมีมติออกมาแล้วมีการเคลื่อนไหวกันนั้น เป็นส่วนของภาคส่วนอื่น กรรมการไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง เราให้เกียรติมหาเถรสมาคมเพราะเป็นองค์กรบริหารด้านสงฆ์ มติของมหาเถรสมาคมออกมา กรรมการฯ เองก็ประหลาดใจ นึกไม่ถึง จากนี้ไปทางมหาเถรสมาคมต้องตอบคำถามต่อสังคมเอง
เมื่อถามว่าทำไมต้องเข้ามาทำในช่วงเวลานี้ ได้รับคำตอบเพียงสั้นๆ ว่า “ถ้าไม่ทำตอนนี้ ถือว่าเสียของ”
หลังจากที่คณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ดำเนินการเกี่ยวกับกรณีของวัดพระธรรมกาย ได้มีปฏิกิริยาตอบโต้จากฝ่ายสงฆ์จำนวนไม่น้อย โดยพระเมธีธรรมาจารย์ ประธานสงฆ์สังฆสามัคคี และกลุ่มภาคประชาชนบางส่วนยื่นหนังสือขอให้นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ สั่งยุบคณะกรรมการชุดดังกล่าวภายใน 15 วัน ไม่เช่นนั้นจะเคลื่อนไหวใหญ่เพื่อปกป้องคุ้มครองมหาเถรสมาคมและพุทธศาสนา
นี่จึงกลายเป็นเรื่องที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่งของคณะกรรมการชุดนี้ที่หาญกล้าไปดำเนินการกับวัดใหญ่อย่างวัดพระธรรมกาย ที่คณะสงฆ์หลายยุคหลายสมัยไม่กล้าแตะต้อง จะทนแรงเสียดทานได้นานแค่ไหน
วงการสงฆ์ร้อนแรงขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ จากกรณีเสนอให้มีการปลดพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย จากการหยิบยกพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี 2542
จนนำไปสู่การประชุมของมหาเถรสมาคมเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีมติว่าพระธัมมชโยไม่มีเจตนาฉ้อโกง ไม่ผิดพระวินัย ไม่ถือเป็นความผิด ถือเป็นอันยุติ ทั้งนี้ เมื่อไม่มีเจตนาฉ้อโกง ไม่ได้ฝ่าฝืนพระลิขิต ไม่ถือว่ามีความผิด และพ้นมลทิน รวมทั้งยึดตามมติมหาเถรสมาคม ปี 2549 ได้คืนตำแหน่งเจ้าอาวาส และได้ขอพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ให้ตามเดิม
ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า การปฏิบัติตนของพระภิกษุบางรูปที่ผ่านมาในสายตาหมู่ของพุทธศาสนิกชนนั้น มีความไม่เหมาะสมเกิดขึ้นหลายครั้ง ทั้งเรื่องความประพฤติที่ไม่เหมาะสม เรื่องชู้สาว รวมไปถึงเรื่องของผลประโยชน์ในทรัพย์สินเงินทอง และแต่ละรายที่เป็นข่าวโด่งดังก็เป็นผลมาจากการตรวจสอบจากภาคประชาชนแทบทั้งสิ้น แต่ยังไม่ได้เห็นมาตรการที่จะออกมาควบคุมการประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุให้เข้ารูปเข้ารอยจากมหาเถรสมาคม
ขณะที่เรื่องใหญ่ในวงการพระพุทธศาสนา ที่มีวัดใหญ่ได้ตีความพระธรรมวินัยของพุทธศาสนาแตกต่างไปจากเดิม ในเรื่องดังกล่าวนี้ถูกปล่อยให้เกิดขึ้นมาหลายสิบปี แต่ฝ่ายปกครองคณะสงฆ์อย่างมหาเถรสมาคมกลับไม่สามารถสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้ได้ และวัดดังกล่าวก็ใหญ่โตขึ้นทุกวัน แม้จะมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับวัดดังกล่าว แต่การตัดสินของมหาเถรสมาคมแทบทุกครั้งนั้นวัดดังกล่าวรอดมาได้ทุกครั้ง
นอกจากนี้ในวงการพระสงฆ์ ต่างก็กล่าวกันถึงเรื่องการซื้อขายตำแหน่งทางสงฆ์ว่าทำได้เช่นเดียวกัน ไม่ต่างกับในวงการข้าราชการ เพราะยศตำแหน่งที่สูงขึ้นนั้นย่อมหมายถึงโอกาสต่างๆ ที่จะตามมา อีกทั้งกระบวนการดูแลและควบคุมพระสงฆ์ อำนาจทั้งหมดตกอยู่ที่มหาเถรสมาคม หากคณะสงฆ์ที่เข้ามาบริหารจัดการในมหาเถรสมาคมไม่ดำเนินการอย่างจริงจัง สุดท้ายพุทธศาสนาก็จะเสื่อมลงทุกขณะ
ที่มากรรมการปฏิรูปฯ
ก่อนหน้านี้นายวันชัย สอนศิริ โฆษกกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ปรารภสั้นๆ ว่าพระบางรูป วัดบางวัด มีการสอนที่ผิดเพี้ยน บางรูปหรือบางแห่งมีเงินเป็นจำนวนมาก เสนอให้ไปปฏิรูปด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่กระทบต่อคนจำนวนมาก จึงมีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปศาสนาขึ้นมา โดยมี นายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธาน
โดยคำสั่งสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ 8/2558 ให้เหตุผลในการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาดังนี้
สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่สำคัญในการจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปด้านต่างๆ ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 โดยที่ความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในประวัติศาสตร์ไทยที่ผ่านมา ขึ้นอยู่กับ “ความสัมพันธ์ 3 เส้า” ที่ลงตัวระหว่างพระสงฆ์ ประชาชน และรัฐ
แต่ปัจจุบันเกิดปัญหาในกิจการพระพุทธศาสนามากมาย สาเหตุส่วนหนึ่งที่สำคัญมาจากพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ที่เน้นการปกครองภายในคณะสงฆ์เป็นส่วนใหญ่ โดยขาดความมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้นคณะสงค์จึงดำเนินกิจการพระพุทธศาสนาขึ้นอย่างเอกเทศ โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงเกิดปัญหาความเสื่อมถอยและความศรัทธาในคณะสงฆ์ทั้งจากภายในและภายนอก ซึ่งหากไม่ได้รับการปฏิรูปโครงสร้างอย่างจริงจังทั้งระบบ จะส่งผลให้กิจการพระพุทธศาสนาในสังคมไทยเสื่อมลงตามลำดับ
การปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทโดยตรงในการพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
ผุดกลุ่มหนุน-กลุ่มต้าน
จากการดำเนินการกรณีวัดพระธรรมกาย รวมถึงมติของมหาเถรสมาคมที่ผ่านมา ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขององค์กรสงฆ์ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและคัดค้าน
ขณะที่พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม หรือหลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จังหวัดนครปฐม ได้ออกมายื่นเรื่องต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อขอให้ตรวจสอบทรัพย์สิน เส้นทางเงินของกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ทุกรูป รวมถึงเส้นทางเงินและทรัพย์สินของวัดพระธรรมกาย พระเทพญาณมหามุนี หรือหลวงพ่อธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ทรัพย์สินของเจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกวัดอย่างละเอียด รวมถึงขอให้ตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณ การใช้งบประมาณของมหาเถรสมาคม มหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้งของธรรมยุติและมหานิกายอย่างละเอียด ตรวจสอบทรัพย์สินของคนใกล้ชิดเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และเจ้าคณะทุกระดับชั้นอย่างละเอียด และขอให้รื้อฟื้นคดีของวัดพระธรรมกายขึ้นมาพิจารณาใหม่
ส่วนฝ่ายที่คัดค้านได้พุ่งเป้าไปที่ตัวกรรมการคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ที่ถูกกล่าวหาจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยว่า เป็นกลุ่มที่สุดโต่ง เกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่มีพระสงฆ์ที่เข้าไปเป็นกรรมการชุดนี้ รวมไปถึงการตรวจสอบการทำงานของมหาเถรสมาคมถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสม
นี่คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทันทีกับวงการสงฆ์ หลังจากที่มีความพยายามจะไปแตะต้องวัดพระธรรมกาย
“ธรรมกาย” อันตรายต่อพุทธศาสนา?
แหล่งข่าวจากวงการพุทธศาสนากล่าวว่า ที่มาการปฏิรูปศาสนานอกจากข้อหารือของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว อีกจุดหนึ่งคือเรื่องของการเดินธุดงค์ธรรมชัยของวัดพระธรรมกายเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ที่เหมือนบททดสอบทางวัดจะทำอะไรก็ได้
สำหรับในเรื่องของวงการพระพุทธศานาเป็นที่ทราบกันดีว่าวัดพระธรรมกายนั้นได้ขยายอาณาจักรและขยายแนวคิดของตนเองที่ขัดต่อหลักพระธรรมวินัยและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นเวลานาน แต่ไม่มีใครกล้าเข้าไปจัดการ
“เขามีทั้งทุน ทั้งอำนาจ เกิดเหตุครั้งใดหน่วยงานต่างๆ เงียบหมด ทุนที่มาจากการบริจาคที่มีกระบวนการและขั้นตอนอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงบรรดาผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาที่ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีตำแหน่งหน้าที่ทางสังคมและหน่วยงานราชการระดับสูง”
ธรรมกายเหมือนกับมะเร็งที่ดูดเอาทรัพยากร เงินทอง บุคลากร ด้วยวิธีการที่แยบยล กัดกร่อนส่วนต่างๆ ของสังคม ถ้าร่วมมือกับนักการเมืองได้จะเท่ากับเป็นการกินรวบประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาเราได้เข้าไปสู่ยุคนั้นแล้วระดับหนึ่ง
จนมีการเปรียบเปรยกันว่าในภาคการเมืองนั้นทักษิณ ชินวัตร เป็นคนครอบครอง ส่วนศาสนจักรก็มีธรรมกายเป็นผู้ครอบครอง เสมือนเป็นการแบ่งแยกกันระหว่างนักการเมืองกับผู้นำทางศาสนา แต่ทั้ง 2 ฝ่ายจะเอื้อต่อกันและกัน
ขณะที่หน่วยงานที่กำกับดูแลพระสงฆ์ทั้งหมดอย่างมหาเถรสมาคม ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอว่าเป็นองค์กรศักดินา ง่ายต่อการติดสินบน เมื่อคราวใดที่พวกเดียวกันตกต่ำก็ต้องช่วยเหลือกันถึงที่สุด ไม่ได้มองเรื่องความเป็นธรรมที่มี
อีกประการหนึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าแนวคิดของวัดพระธรรมกายแตกต่างจากหลักของพุทธศาสนาทั่วไป บุญกุศลที่จะได้ตามแนวคิดของวัดนี้จะวัดกันที่เงินทำบุญ ซึ่งเป็นการตีความที่แตกต่างไปจากหลักธรรมคำสอนเดิมอย่างสิ้นเชิง
นี่คือสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อวงการพระพุทธศาสนาและเป็นที่มาของการปฏิรูปพุทธศาสนา
สำหรับคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งขึ้นนั้น หนึ่งในนั้นถือว่าเป็นผู้ที่รู้จักธรรมกายเป็นอย่างดี การดึงคนเหล่านี้เข้ามาก็เพื่อทราบที่มาที่ไปและหาทางที่จะปรับให้พุทธศาสนาเข้ารูปเข้ารอย เป็นไปตามหลักธรรมคำสอนอย่างแท้จริง
กรรมการฯ ไม่เป็นกลาง
ดร.นพ.มโน เลาหวนิช หรืออดีตพระเมตตานันโท อดีตกรรมการบริหารอาวุโสและมูลนิธิวัดพระธรรมกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการ คณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา กล่าวถึงเรื่องที่ถูกมองว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าวไม่เป็นกลางว่า
เป็นสิทธิที่มองได้ แต่ยืนยันว่ากรรมการชุดนี้มีความเป็นกลาง โดยนายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธาน เป็นผู้คัดเลือก โดยเลือกคนที่มีประสบการณ์ด้านนี้เข้ามาทำหน้าที่ ทุกคนก็มีอคติกันทุกคน ไม่มากก็น้อย แต่เรายึดในหลักการ ในที่ประชุมทุกท่านก็แสดงความเห็นได้โดยอิสระ และหลายประเด็นก็เห็นไม่ตรงกัน
แต่ต่อไปจะมีการเพิ่มกรรมการเข้ามา โดยจะขอเข้าเฝ้าผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเพื่อขอให้มีการแต่งตั้งตัวแทนจากมหาเถรสมาคมอีก 3 รูป เข้ามาร่วมในกรรมการชุดนี้ และจะมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งปัจจุบันก็มีรองอธิการบดีจากมหาจุฬาฯ อยู่ในกรรมการชุดนี้แล้ว
ทำไมต้อง “ธรรมกาย” ก่อน
ดร.นพ.มโน กล่าวว่า ที่เราหยิบยกเรื่องของธรรมกายมาเป็นเรื่องแรก เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนเข้ามามากที่สุด เมื่อดำเนินการไปแล้วและมหาเถรสมาคมมีมติดังกล่าวออกมา กรรมการคงไม่ย้อนกลับเข้าไปดำเนินการในเรื่องนี้อีก ทางมหาเถระต้องให้ความกระจ่างในเรื่องเหล่านี้เอง กรรมการชุดนี้ก็ไม่ได้วิจารณ์ในเรื่องนี้
แต่ทางกรรมการฯ ตั้งประเด็นสงสัย เพราะปกติการประชุมของมหาเถรสมาคม จะต้องมีเอกสารแจ้งเป็นวาระอย่างเป็นทางการ แต่ครั้งนี้วาระการประชุมก็ไม่มี รวมไปถึงข้อสังเกตของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็ตอบไม่เคลียร์ ที่ออกมาตั้งข้อสังเกตว่าพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชเป็นของปลอม แต่ทางกรรมการยึดตามมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติสงฆ์ ที่ระบุว่าสมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ และทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัยและกฎมหาเถรสมาคม
“เห็นว่าเรื่องนี้มีการตุกติก มหาเถรสมาคมบอกว่าไม่ใช่พระบัญชา ทางเราพิจารณากันแล้วว่าเอกสารดังกล่าวเป็นสิ่งที่ถูกต้อง”
ส่วนเรื่องของสหกรณ์ยูเนี่ยนคลองจั่น เรายังสงสัยในเรื่องที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จะต้องเข้ามาดำเนินการ
ไม่ทำตอนนี้ถือว่า “เสียของ”
กรรมการคณะกรรมการปฏิรูปฯ กล่าวว่า ภารกิจของคณะกรรมการชุดนี้คือ 1.ระดมปัญหาที่เกิดขึ้น 2.หาทางแก้ไขโครงสร้างหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เตรียมจะระดมสมองกันอีกครั้ง เพื่อสรุปหาแนวทางแล้วส่งต่อไปในสภาปฏิรูปแห่งชาติชุดใหญ่ ส่วนจะถึงขั้นของการแก้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์หรือไม่ก็ต้องรอข้อสรุปอีกครั้ง และจะเป็นไปตามขั้นตอน
“เราไม่ได้ดูเรื่องของวัดธรรมกายเพียงอย่างเดียว อย่างเรื่องที่วัดสระเกศเราก็ดู ดูเรื่องการฟอกเงิน การเลี่ยงภาษีต่างๆ เพื่อนำมาแก้ไขทั้งหมด เรามีเวลา 3 สัปดาห์ในการระดมปัญหาแล้วเสนอต่อ สปช.ว่าจะปฏิรูปอย่างไร”
ดังนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากที่มหาเถรสมาคมมีมติออกมาแล้วมีการเคลื่อนไหวกันนั้น เป็นส่วนของภาคส่วนอื่น กรรมการไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง เราให้เกียรติมหาเถรสมาคมเพราะเป็นองค์กรบริหารด้านสงฆ์ มติของมหาเถรสมาคมออกมา กรรมการฯ เองก็ประหลาดใจ นึกไม่ถึง จากนี้ไปทางมหาเถรสมาคมต้องตอบคำถามต่อสังคมเอง
เมื่อถามว่าทำไมต้องเข้ามาทำในช่วงเวลานี้ ได้รับคำตอบเพียงสั้นๆ ว่า “ถ้าไม่ทำตอนนี้ ถือว่าเสียของ”
หลังจากที่คณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ดำเนินการเกี่ยวกับกรณีของวัดพระธรรมกาย ได้มีปฏิกิริยาตอบโต้จากฝ่ายสงฆ์จำนวนไม่น้อย โดยพระเมธีธรรมาจารย์ ประธานสงฆ์สังฆสามัคคี และกลุ่มภาคประชาชนบางส่วนยื่นหนังสือขอให้นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ สั่งยุบคณะกรรมการชุดดังกล่าวภายใน 15 วัน ไม่เช่นนั้นจะเคลื่อนไหวใหญ่เพื่อปกป้องคุ้มครองมหาเถรสมาคมและพุทธศาสนา
นี่จึงกลายเป็นเรื่องที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่งของคณะกรรมการชุดนี้ที่หาญกล้าไปดำเนินการกับวัดใหญ่อย่างวัดพระธรรมกาย ที่คณะสงฆ์หลายยุคหลายสมัยไม่กล้าแตะต้อง จะทนแรงเสียดทานได้นานแค่ไหน