คดีถอดถอน “ปู” จุดวัดใจ สนช. 23 มกราคมนี้ หวั่นใจสายทหารแสดงเจตนาชัด ชี้ไม่ถอดถอนกระเทือนเสถียรภาพรัฐบาล เท่ากับปล่อย ยิ่งลักษณ์ ตีปีกลงเลือกตั้งรอบใหม่ ฟื้นเพื่อไทยผงาดอีกรอบ จับตา สนช.สายทหารแยกได้อีก “สายประวิตร-สายประยุทธ์” ไปทางเดียวกันหรือไม่ หวั่นมติไม่ถอดถอนถูกใช้เป็นแนวทางสั่งไม่ฟ้องของอัยการสูงสุด สุดท้ายการเมืองเข้าสู่วังวนเดิม
กระบวนการถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญปมที่มา ส.ว.โดยมิชอบ รวมถึง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประเด็นจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ระงับยับยั้งความเสียหายโครงการจำนำข้าว ที่ยืดเยื้อมาทั้งจากสถานการณ์ทางการเมือง กระทั่งการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จนถึงมีการตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้านี้กว่าจะมีการรับเรื่องการถอดถอนของทั้ง 3 บุคคลในชั้นของสมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ทำหน้าที่ควบทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาในคราวเดียวกัน จะผ่านมาได้อย่างกระท่อนกระแท่น เนื่องจากท่าทีของสายทหาร ชัดเจนว่าไม่ต้องการนำเรื่องการถอดถอนเข้าสู่การพิจารณามาตั้งแต่แรก รับเรื่องถอดถอนเข้ามาพิจารณาได้อย่างเฉียดฉิว เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2557 ด้วยมติรับเรื่องถอดถอน 87 ต่อ 75 เสียง งดออกเสียง 15 เสียง โดยมีสมาชิก สนช.ร่วมประชุมเพียง 177 ราย และ สนช.จำนวนหนึ่งที่เป็นคณะนายทหารได้ไปร่วมงานทอดกฐินแทน
รวมไปถึงการแสดงความเห็นของ พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ น้องชายพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ระบุว่า “ส่วนตัวคิดว่าการถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา สว. และการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีไม่ยับยั้งความเสียหายในโครงการจำนำข้าว คงเป็นไปได้ยากที่จะได้มติ 3 ใน 5 หรือ 132 เสียง ในการถอดถอน เนื่องจาก สนช.หลายคนเห็นว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว ส่วนคดีความผิดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ก็ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว”
8 มกราคม 2558 เป็นคิวเปิดคดีของอดีตประธานวุฒิสภาและอดีตประธานรัฐสภา ตามมาด้วย 9 มกราคม 2558 เป็นคิวของอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของไทย ที่ประชุม สนช.มีการแถลงเปิดสำนวนคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่งตามมาตรา 6 วรรคสองของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 ประกอบมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กรณีไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว ขณะที่นางสาวยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรีได้แถลงคัดค้านโต้แย้งสำนวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
แม้ในระหว่างนี้จะเป็นช่วงของกระบวนการส่งคำถามของสมาชิก สนช. ให้กับกรรมาธิการซักถามเมื่อ 13 มกราคม และในวันที่ 16 มกราคมนี้ อดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์จะเข้าตอบคำถาม และทาง สนช.จะลงมติในคดีของนางสาวยิ่งลักษณ์ในวันที่ 23 มกราคม 2558
“ถอดถอน-ไม่ถอดถอน” มีผลทางการเมือง
คดีดังกล่าวนับเป็นที่จับตาของภาคประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากทั้ง 2 กรณี นับเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤตทางการเมืองตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2556 จนเหตุการณ์ได้พัฒนาขึ้นมาจนกระทั่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกต้องเข้ามายึดอำนาจในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
การลงมติถอดถอนในวันที่ 23 มกราคมนี้ โดยเฉพาะกรณีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเป็นจุดทดสอบที่สำคัญของ สนช. เพราะในจำนวนนี้มีการแต่งตั้งทหารเข้ามาเป็นจำนวนมาก และก่อนหน้านี้ สนช.สายทหารเองก็ไม่อยากรับเรื่องการถอดถอนเข้ามาสู่การพิจารณา
มติในการถอดถอนในครั้งนี้ต้องได้เสียง 3 ใน 5 หรือ 132 เสียง ยิ่งลักษณ์จึงจะหลุด แม้ปัจจุบันยิ่งลักษณ์จะไม่มีตำแหน่งใดๆ แล้วก็ตาม แต่ในทางการเมืองแล้วมติดังกล่าวจะทำให้สถานะของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หมดสิทธิ์ลงเล่นการเมือง 5 ปี ซึ่งจะทำให้ตัวเล่นของพรรคเพื่อไทยเหลือน้อยลง หากไม่ถอดถอนเมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติคืนอำนาจให้ประชาชน พรรคเพื่อไทยก็จะมียิ่งลักษณ์เป็นตัวหลักในการเลือกตั้งอีกครั้ง นี่จึงเป็นปมสำคัญในทางการเมือง
ไม่ถอดถอน เสื่อมถึง คสช.
แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าวว่า “ต้องไม่ลืมว่า สนช.เกินกว่าครึ่งมาจากสายทหารและตำรวจ ที่เหลือแม้จะมาจากวิชาชีพอื่น แต่คนที่เห็นชอบในการแต่งตั้งทั้งหมดก็คือ คสช. ดังนั้นการลงมติถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ของ สนช.ในครั้งนี้ ถ้าผ่านก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่ผ่านจะกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับ สนช. และจะเป็นการสร้างรอยด่างหรือแผลให้กับ คสช. และคนที่เคยให้การสนับสนุนก็จะเริ่มไม่ไว้วางใจ การจะทำอะไรต่อไปจากนี้ก็จะลำบากมากขึ้น ถ้ารัฐบาลหรือ คสช. ฉลาดพอต้องฟังเสียงประชาชน”
กรณีถอดถอนนายสมศักดิ์หรือนายนิคมถือว่าเป็นเรื่องรอง ข้ออ้างในเรื่องการกระทำผิดตามรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น อาจพอฟังได้เนื่องจาก คสช.ยึดอำนาจและยกเลิกรัฐธรรมนูญไป แต่กรณีของคุณยิ่งลักษณ์นั้นกฎหมาย ป.ป.ช. ยังอยู่และมีผลบังคับใช้ ดังนั้นข้ออ้างในเรื่องรัฐธรรมนูญสำหรับกรณีคุณยิ่งลักษณ์นั้นฟังไม่ขึ้น
สายประวิตร-สายประยุทธ์
อย่างไรก็ตาม จากข้อสังเกตถึงท่าทีของ สนช.สายทหารที่ผ่านมา ค่อนข้างชัดเจนว่าไม่เต็มใจในเรื่องการถอดถอนในครั้งนี้
“ต้องยอมรับว่าใน สนช.เฉพาะสายทหารนั้นต้องแยกลงไปอีกว่ามาจากสายใคร สายแรกคือสายของพลเอกประยุทธ์ อีกสายมาจากคนของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ นายทหารรุ่นพี่ของพลเอกประยุทธ์ที่ร่วมรัฐบาลชุดนี้ ปัญหาคือคนในสายของใครจะมากกว่ากัน และ สนช.ของทั้ง 2 สายนี้จะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ นายของทั้ง 2 สายจะมองในเรื่องนี้อย่างไร”
ที่ผ่านมาเราพอจะทราบมาบ้างว่าพลเอกประยุทธ์ที่แม้เป็นรุ่นน้องก็ไม่ได้ทำตามสิ่งที่พลเอกประวิตรเสนอมาทุกเรื่อง ดังนั้นการลงมติในครั้งนี้คงต้องวัดใจกันว่า สนช.สายทหารจะลงมติในทิศทางใด เพราะนี่คือตัวแปรสำคัญที่จะชี้ชะตาบ้านเมืองจากนี้ไป
คสช.ต้องกลับไปที่จุดเริ่มต้นว่าการจะจับโจรนั้นต้องดำเนินการตามกฎหมาย อย่างที่พลเอกประยุทธ์พูดไว้ อะไรผิดก็ว่าไปตามผิด แต่ไม่ใช่ไปปรองดองกับโจร ไม่อย่างนั้นการยึดอำนาจที่ผ่านมาจะเป็นการกระทำที่เสียของ โดยส่วนตัวยังเชื่อว่าพลเอกประยุทธ์จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ประเมิน สนช.ยากถอด “ยิ่งลักษณ์”
ขณะที่ฝ่ายการเมืองรายหนึ่งประเมินถึงผลของการลงมติถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ในวันที่ 23 มกราคมนี้ว่า โดยส่วนตัวมองว่า ความหวังที่จะถอดถอนอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ด้วยมติของ สนช. นั้นยากมาก เห็นได้จากท่าทีของ สนช.ในครั้งแรก รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็นล่าสุดของน้องชายพลเอกประวิตรที่เป็น สนช.อยู่
จะว่าไปแล้ว สนช.ทั้ง 220 ท่าน ล้วนมาจากการแต่งตั้งของ คสช.ทั้งสิ้น ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากกลุ่ม 40 ส.ว.เดิมที่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ แต่ที่เหลือคงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละท่าน ส่วนจะมีใบสั่งหรือไม่นั้นคงไม่มีใครตอบได้
เพียงแต่เรื่องดังกล่าวแม้จะมีความพยายามที่จะอ้างเรื่องรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้นถูกล้มไปเนื่องจากการยึดอำนาจและกำลังร่างรัฐธรรมนูญใหม่ นั่นเป็นเรื่องของการใช้เทคนิคทางกฎหมายเข้ามาสร้างความได้เปรียบหรือใช้เป็นข้ออ้าง รวมไปถึงการยกเหตุเรื่องปรองดอง แต่ในการถอดถอนนักการเมืองนั้นอยากให้ท่าน สนช.พิจารณาในภาคของคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมืองเป็นหลัก
สำหรับการแถลงคัดค้านของนางสาวยิ่งลักษณ์เมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา หากใครที่ไม่ได้ติดตามเรื่องดังกล่าวมาก่อนก็จะเห็นด้วยกับการชี้แจงในครั้งนั้น แต่สำหรับคนที่ตามเรื่องการจำนำข้าวมาตลอดจะทราบดีว่า สิ่งที่อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวนั้นพูดความจริงไม่หมด โดยเฉพาะในภาคของความเสียหายและการทุจริตที่ไม่กล่าวถึง
จับตาไม่ถอดถอน-อัยการอาจสั่งไม่ฟ้อง
หากอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์รอดพ้นจากการถูกถอดถอนในครั้งนี้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ย่อมส่งผลต่อการพิจารณาในคดีอาญาที่ ป.ป.ช. ส่งเรื่องไปที่อัยการสูงสุดที่ยังยื้อกันอยู่ โดยในชั้นของอัยการสูงสุดยังไม่สั่งฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ผลของการมีมติถอดถอนหรือไม่ในวันที่ 23 มกราคมนี้จะเป็นตัวชี้แนวทางให้อีกคดีหนึ่งว่าจะเป็นอย่างไร โดยยึดจากผลกรณีไม่ถอดถอน อัยการสูงสุดอาจไม่สั่งฟ้อง ซึ่งปล่อยให้ ป.ป.ช.เดินหน้าฟ้องเอง
ทุกคนก็รู้ว่าที่ผ่านมาแนวทางการทำงานของอัยการสูงสุดนั้นเป็นอย่างไร หลายท่านที่พ้นจากที่นี่ก็ได้รับโอกาสเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลพรรคเพื่อไทย บางท่านที่ยังอยู่ก็มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับคนในเพื่อไทย จึงอยากให้ท่านยึดในเรื่องความถูกต้องเป็นหลัก เพื่อประโยชน์กับประเทศชาติ
ถ้าผลออกมาเป็นอย่างนี้ เสถียรภาพของรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ย่อมลดลง และข้อสงสัยที่หลายฝ่ายสังเกตไว้ก็จะกลายเป็นความจริง ความไว้วางใจของประชาชนที่ผ่านมาก็จะหมดไป ดังนั้นการทำงานจากนี้ไปรัฐบาลและคสช.จะทำงานลำบากมากขึ้น
ในกรณีที่อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ถูกถอดถอนนั้น เรายังเชื่อว่าจะไม่เป็นการปลุกให้คนเสื้อแดงกลับมาต่อต้าน เนื่องจากหลังจากที่ คสช.ยึดอำนาจนั้น คนเสื้อแดงคาดการณ์อยู่แล้วว่า นางสาวยิ่งลักษณ์คงต้องถูกถอดถอนในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์อยู่แล้ว
นอกจากนี้ผลของการไม่ถูกถอดถอนของนางสาวยิ่งลักษณ์นั้น ย่อมเป็นประโยชน์ในทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยอีกทางหนึ่ง คุณยิ่งลักษณ์ก็จะกลับมาเล่นการเมืองในครั้งต่อไปได้ เนื่องจากไม่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี จากนั้นด้วยนโยบายทางการตลาดและแนวทางประชานิยมที่พรรคเพื่อไทยใช้มาตลอดก็จะทำให้พรรคเพื่อไทยกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากหากเสียงข้างมากของพรรคเพื่อไทยจะเข้ามาแก้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่เหมือนครั้งที่ผ่านมา เมื่อนั้นปัญหาทางการเมืองที่เคยเกิดขึ้นในอดีตจะกลับมาอีกครั้ง
กระบวนการถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญปมที่มา ส.ว.โดยมิชอบ รวมถึง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประเด็นจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ระงับยับยั้งความเสียหายโครงการจำนำข้าว ที่ยืดเยื้อมาทั้งจากสถานการณ์ทางการเมือง กระทั่งการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จนถึงมีการตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้านี้กว่าจะมีการรับเรื่องการถอดถอนของทั้ง 3 บุคคลในชั้นของสมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ทำหน้าที่ควบทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาในคราวเดียวกัน จะผ่านมาได้อย่างกระท่อนกระแท่น เนื่องจากท่าทีของสายทหาร ชัดเจนว่าไม่ต้องการนำเรื่องการถอดถอนเข้าสู่การพิจารณามาตั้งแต่แรก รับเรื่องถอดถอนเข้ามาพิจารณาได้อย่างเฉียดฉิว เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2557 ด้วยมติรับเรื่องถอดถอน 87 ต่อ 75 เสียง งดออกเสียง 15 เสียง โดยมีสมาชิก สนช.ร่วมประชุมเพียง 177 ราย และ สนช.จำนวนหนึ่งที่เป็นคณะนายทหารได้ไปร่วมงานทอดกฐินแทน
รวมไปถึงการแสดงความเห็นของ พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ น้องชายพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ระบุว่า “ส่วนตัวคิดว่าการถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา สว. และการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีไม่ยับยั้งความเสียหายในโครงการจำนำข้าว คงเป็นไปได้ยากที่จะได้มติ 3 ใน 5 หรือ 132 เสียง ในการถอดถอน เนื่องจาก สนช.หลายคนเห็นว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว ส่วนคดีความผิดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ก็ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว”
8 มกราคม 2558 เป็นคิวเปิดคดีของอดีตประธานวุฒิสภาและอดีตประธานรัฐสภา ตามมาด้วย 9 มกราคม 2558 เป็นคิวของอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของไทย ที่ประชุม สนช.มีการแถลงเปิดสำนวนคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่งตามมาตรา 6 วรรคสองของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 ประกอบมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กรณีไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว ขณะที่นางสาวยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรีได้แถลงคัดค้านโต้แย้งสำนวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
แม้ในระหว่างนี้จะเป็นช่วงของกระบวนการส่งคำถามของสมาชิก สนช. ให้กับกรรมาธิการซักถามเมื่อ 13 มกราคม และในวันที่ 16 มกราคมนี้ อดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์จะเข้าตอบคำถาม และทาง สนช.จะลงมติในคดีของนางสาวยิ่งลักษณ์ในวันที่ 23 มกราคม 2558
“ถอดถอน-ไม่ถอดถอน” มีผลทางการเมือง
คดีดังกล่าวนับเป็นที่จับตาของภาคประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากทั้ง 2 กรณี นับเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤตทางการเมืองตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2556 จนเหตุการณ์ได้พัฒนาขึ้นมาจนกระทั่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกต้องเข้ามายึดอำนาจในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
การลงมติถอดถอนในวันที่ 23 มกราคมนี้ โดยเฉพาะกรณีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเป็นจุดทดสอบที่สำคัญของ สนช. เพราะในจำนวนนี้มีการแต่งตั้งทหารเข้ามาเป็นจำนวนมาก และก่อนหน้านี้ สนช.สายทหารเองก็ไม่อยากรับเรื่องการถอดถอนเข้ามาสู่การพิจารณา
มติในการถอดถอนในครั้งนี้ต้องได้เสียง 3 ใน 5 หรือ 132 เสียง ยิ่งลักษณ์จึงจะหลุด แม้ปัจจุบันยิ่งลักษณ์จะไม่มีตำแหน่งใดๆ แล้วก็ตาม แต่ในทางการเมืองแล้วมติดังกล่าวจะทำให้สถานะของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หมดสิทธิ์ลงเล่นการเมือง 5 ปี ซึ่งจะทำให้ตัวเล่นของพรรคเพื่อไทยเหลือน้อยลง หากไม่ถอดถอนเมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติคืนอำนาจให้ประชาชน พรรคเพื่อไทยก็จะมียิ่งลักษณ์เป็นตัวหลักในการเลือกตั้งอีกครั้ง นี่จึงเป็นปมสำคัญในทางการเมือง
ไม่ถอดถอน เสื่อมถึง คสช.
แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าวว่า “ต้องไม่ลืมว่า สนช.เกินกว่าครึ่งมาจากสายทหารและตำรวจ ที่เหลือแม้จะมาจากวิชาชีพอื่น แต่คนที่เห็นชอบในการแต่งตั้งทั้งหมดก็คือ คสช. ดังนั้นการลงมติถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ของ สนช.ในครั้งนี้ ถ้าผ่านก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่ผ่านจะกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับ สนช. และจะเป็นการสร้างรอยด่างหรือแผลให้กับ คสช. และคนที่เคยให้การสนับสนุนก็จะเริ่มไม่ไว้วางใจ การจะทำอะไรต่อไปจากนี้ก็จะลำบากมากขึ้น ถ้ารัฐบาลหรือ คสช. ฉลาดพอต้องฟังเสียงประชาชน”
กรณีถอดถอนนายสมศักดิ์หรือนายนิคมถือว่าเป็นเรื่องรอง ข้ออ้างในเรื่องการกระทำผิดตามรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น อาจพอฟังได้เนื่องจาก คสช.ยึดอำนาจและยกเลิกรัฐธรรมนูญไป แต่กรณีของคุณยิ่งลักษณ์นั้นกฎหมาย ป.ป.ช. ยังอยู่และมีผลบังคับใช้ ดังนั้นข้ออ้างในเรื่องรัฐธรรมนูญสำหรับกรณีคุณยิ่งลักษณ์นั้นฟังไม่ขึ้น
สายประวิตร-สายประยุทธ์
อย่างไรก็ตาม จากข้อสังเกตถึงท่าทีของ สนช.สายทหารที่ผ่านมา ค่อนข้างชัดเจนว่าไม่เต็มใจในเรื่องการถอดถอนในครั้งนี้
“ต้องยอมรับว่าใน สนช.เฉพาะสายทหารนั้นต้องแยกลงไปอีกว่ามาจากสายใคร สายแรกคือสายของพลเอกประยุทธ์ อีกสายมาจากคนของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ นายทหารรุ่นพี่ของพลเอกประยุทธ์ที่ร่วมรัฐบาลชุดนี้ ปัญหาคือคนในสายของใครจะมากกว่ากัน และ สนช.ของทั้ง 2 สายนี้จะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ นายของทั้ง 2 สายจะมองในเรื่องนี้อย่างไร”
ที่ผ่านมาเราพอจะทราบมาบ้างว่าพลเอกประยุทธ์ที่แม้เป็นรุ่นน้องก็ไม่ได้ทำตามสิ่งที่พลเอกประวิตรเสนอมาทุกเรื่อง ดังนั้นการลงมติในครั้งนี้คงต้องวัดใจกันว่า สนช.สายทหารจะลงมติในทิศทางใด เพราะนี่คือตัวแปรสำคัญที่จะชี้ชะตาบ้านเมืองจากนี้ไป
คสช.ต้องกลับไปที่จุดเริ่มต้นว่าการจะจับโจรนั้นต้องดำเนินการตามกฎหมาย อย่างที่พลเอกประยุทธ์พูดไว้ อะไรผิดก็ว่าไปตามผิด แต่ไม่ใช่ไปปรองดองกับโจร ไม่อย่างนั้นการยึดอำนาจที่ผ่านมาจะเป็นการกระทำที่เสียของ โดยส่วนตัวยังเชื่อว่าพลเอกประยุทธ์จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ประเมิน สนช.ยากถอด “ยิ่งลักษณ์”
ขณะที่ฝ่ายการเมืองรายหนึ่งประเมินถึงผลของการลงมติถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ในวันที่ 23 มกราคมนี้ว่า โดยส่วนตัวมองว่า ความหวังที่จะถอดถอนอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ด้วยมติของ สนช. นั้นยากมาก เห็นได้จากท่าทีของ สนช.ในครั้งแรก รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็นล่าสุดของน้องชายพลเอกประวิตรที่เป็น สนช.อยู่
จะว่าไปแล้ว สนช.ทั้ง 220 ท่าน ล้วนมาจากการแต่งตั้งของ คสช.ทั้งสิ้น ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากกลุ่ม 40 ส.ว.เดิมที่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ แต่ที่เหลือคงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละท่าน ส่วนจะมีใบสั่งหรือไม่นั้นคงไม่มีใครตอบได้
เพียงแต่เรื่องดังกล่าวแม้จะมีความพยายามที่จะอ้างเรื่องรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้นถูกล้มไปเนื่องจากการยึดอำนาจและกำลังร่างรัฐธรรมนูญใหม่ นั่นเป็นเรื่องของการใช้เทคนิคทางกฎหมายเข้ามาสร้างความได้เปรียบหรือใช้เป็นข้ออ้าง รวมไปถึงการยกเหตุเรื่องปรองดอง แต่ในการถอดถอนนักการเมืองนั้นอยากให้ท่าน สนช.พิจารณาในภาคของคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมืองเป็นหลัก
สำหรับการแถลงคัดค้านของนางสาวยิ่งลักษณ์เมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา หากใครที่ไม่ได้ติดตามเรื่องดังกล่าวมาก่อนก็จะเห็นด้วยกับการชี้แจงในครั้งนั้น แต่สำหรับคนที่ตามเรื่องการจำนำข้าวมาตลอดจะทราบดีว่า สิ่งที่อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวนั้นพูดความจริงไม่หมด โดยเฉพาะในภาคของความเสียหายและการทุจริตที่ไม่กล่าวถึง
จับตาไม่ถอดถอน-อัยการอาจสั่งไม่ฟ้อง
หากอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์รอดพ้นจากการถูกถอดถอนในครั้งนี้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ย่อมส่งผลต่อการพิจารณาในคดีอาญาที่ ป.ป.ช. ส่งเรื่องไปที่อัยการสูงสุดที่ยังยื้อกันอยู่ โดยในชั้นของอัยการสูงสุดยังไม่สั่งฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ผลของการมีมติถอดถอนหรือไม่ในวันที่ 23 มกราคมนี้จะเป็นตัวชี้แนวทางให้อีกคดีหนึ่งว่าจะเป็นอย่างไร โดยยึดจากผลกรณีไม่ถอดถอน อัยการสูงสุดอาจไม่สั่งฟ้อง ซึ่งปล่อยให้ ป.ป.ช.เดินหน้าฟ้องเอง
ทุกคนก็รู้ว่าที่ผ่านมาแนวทางการทำงานของอัยการสูงสุดนั้นเป็นอย่างไร หลายท่านที่พ้นจากที่นี่ก็ได้รับโอกาสเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลพรรคเพื่อไทย บางท่านที่ยังอยู่ก็มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับคนในเพื่อไทย จึงอยากให้ท่านยึดในเรื่องความถูกต้องเป็นหลัก เพื่อประโยชน์กับประเทศชาติ
ถ้าผลออกมาเป็นอย่างนี้ เสถียรภาพของรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ย่อมลดลง และข้อสงสัยที่หลายฝ่ายสังเกตไว้ก็จะกลายเป็นความจริง ความไว้วางใจของประชาชนที่ผ่านมาก็จะหมดไป ดังนั้นการทำงานจากนี้ไปรัฐบาลและคสช.จะทำงานลำบากมากขึ้น
ในกรณีที่อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ถูกถอดถอนนั้น เรายังเชื่อว่าจะไม่เป็นการปลุกให้คนเสื้อแดงกลับมาต่อต้าน เนื่องจากหลังจากที่ คสช.ยึดอำนาจนั้น คนเสื้อแดงคาดการณ์อยู่แล้วว่า นางสาวยิ่งลักษณ์คงต้องถูกถอดถอนในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์อยู่แล้ว
นอกจากนี้ผลของการไม่ถูกถอดถอนของนางสาวยิ่งลักษณ์นั้น ย่อมเป็นประโยชน์ในทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยอีกทางหนึ่ง คุณยิ่งลักษณ์ก็จะกลับมาเล่นการเมืองในครั้งต่อไปได้ เนื่องจากไม่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี จากนั้นด้วยนโยบายทางการตลาดและแนวทางประชานิยมที่พรรคเพื่อไทยใช้มาตลอดก็จะทำให้พรรคเพื่อไทยกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากหากเสียงข้างมากของพรรคเพื่อไทยจะเข้ามาแก้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่เหมือนครั้งที่ผ่านมา เมื่อนั้นปัญหาทางการเมืองที่เคยเกิดขึ้นในอดีตจะกลับมาอีกครั้ง