“สมบัติ” แจงเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ให้โอกาสรัฐบาลบริหารประเทศได้ต่อเนื่อง แก้ปัญหาซื้อเสียง เปิดหน้าผู้สมัครให้ประชาชนได้เลือก “เอา-ไม่เอา” ขณะที่เสียงข้างน้อยในกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองหวั่นเพิ่มอำนาจให้รัฐบาลมากขึ้น อาจได้เห็น “พานทองแท้” เสนอตัวชิงนายกฯ สู้กับ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”ด้านกรรมาธิการยกร่างฯ มองข้อเสนอ หลวม-ช่องโหว่มาก ชี้ตัวระบบไม่ได้เลว ทุกอย่างอยู่ที่คน คาดไม่ผ่านในชั้นยกร่างฯ
ทำเอาเป็นที่ถกเถียงของผู้คนกันทั้งประเทศกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยเฉพาะเสียงข้างมากที่มี ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการชุดนี้ได้ทำการศึกษาแนวทางการปฏิรูปการเมือง ด้วยการเสนอเลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง อันเป็นประเด็นที่สังคมจับตาอยู่ในเวลานี้
ข้อเสนอในเบื้องต้นคือเสนอให้เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง ลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งเหลือเพียง 350 คน ใช้ระบบเขตเลือกตั้ง เขตละ 3 คน ด้วยเหตุผลเพื่อลดอิทธิพลและการซื้อขายเสียง
ส่วนวุฒิสภา มีจำนวน 154 คน มาจากการเลือกตั้ง 77 คน จังหวัดละ 1 คน อีก 77 คน มาจากการสรรหาของกลุ่มอาชีพหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
ประเด็นหลักที่ถูกจับจ้องเป็นพิเศษคือการเลือกตัวนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง เนื่องจากสภาพการเมืองไทยที่ผ่านมาถูกแปรสภาพไปเป็นเผด็จการรัฐสภา จนเกิดปัญหาในทางการเมืองในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา และประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองก็เป็นหนึ่งในผู้เคลื่อนไหวต่อสู้กับระบบการเมืองในอดีตในนามแกนนำของ กปปส. แต่กลับเสนอให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน
“สมบัติ” แจงแก้ปัญหาทุกจุด
ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวถึงที่มาของข้อเสนอดังกล่าวว่า “เราวิเคราะห์ปัญหาก่อนว่าการเมืองที่ผ่านมาสร้างปัญหาอะไร โดยดูโครงสร้างเดิมว่าแก้ไขได้หรือไม่ และจะประยุกต์แก้อะไรได้บ้าง”
ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองกล่าวถึงข้อดีของการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรงว่า ประการแรกประชาชนรู้เลยว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล ใครจะมาเป็นรัฐมนตรี มีประวัติเป็นอย่างไร ทีมเศรษฐกิจเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ เป็นนายทุน หรือเจ้าของบ่อน ที่ผ่านมารัฐบาลบริหารประเทศได้ 3-6 เดือนก็เปลี่ยนตัวรัฐมนตรี ทำให้คนที่เข้ามาไม่ได้แก้ปัญหาให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง นี่จึงเป็นการเปิดหน้าตาให้คนได้มีโอกาสทราบก่อนว่าจะเลือกหรือไม่
ประการที่สอง เปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้ขายเสียง ได้เลือกนายกรัฐมนตรีบ้าง ที่ผ่านมานายกฯ เป็นของกลุ่มคนที่ขายเสียง ขณะนี้คนที่ไม่ขายเสียงมีมากขึ้น คนในชนบทมีมากขึ้นที่ไม่ขายเสียง และสามารถชี้ชะตาผู้นำได้มากขึ้น
ประการที่สาม การเลือกตั้งโดยตรง ทำให้การบริหารประเทศมีเสถียรภาพ เพราะอยู่ได้ครบเทอม ยกเว้นกระทำผิดที่มีมาตรการถอดถอนแล้วส่งศาลคดีการเมือง ทั้งนี้ที่ผ่านมาการลงมติทุกครั้งฝ่ายค้านที่ตรวจสอบแพ้ทุกครั้ง การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลจึงไม่เป็นผล แต่รูปแบบนี้มีการแบ่งแยกอำนาจ ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถส่งเรื่องฟ้องไปที่ศาลการเมืองได้เลย
ประการที่สี่ ฝ่ายรัฐบาลมีโอกาสบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลงมาแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องสภาฯ เพราะที่ผ่านมาการใช้ระบบสภาฯ ไม่มีประโยชน์ เมื่อเสียงของรัฐบาลมีมากกว่า
ข้อเสนอนี้ช่วยลดการซื้อเสียงได้พอสมควร เพราะเลือกโดยประชาชน ส่วนเรื่องการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลนั้น ที่เกรงกันว่ารัฐบาลจะมีอำนาจมาก ในส่วนของสภาฯ สามารถตรวจสอบได้และส่งเรื่องไปที่ศาลการเมืองให้ตัดสินได้เลย
หวั่นเพิ่มอำนาจตัวนายกฯ
ขณะที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวอย่างนายประสาร มฤคพิทักษ์ กล่าวว่า “ผมในฐานะเสียงข้างน้อย ก็คัดค้านข้อเสนอดังกล่าวไปแล้ว และเป็นการแสดงความเห็นที่เป็นไมตรีต่อกัน”
ในส่วนของกรรมาธิการเสียงข้างน้อยมองการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงว่า ประการแรกข้อเสนอดังกล่าวเป็นการสวนทางกับการปฏิรูปประเทศไทย ที่ต้องเพิ่มอำนาจให้กับประชาชน แต่แนวทางดังกล่าวเป็นการเพิ่มอำนาจให้นายกรัฐมนตรีสามารถอยู่ในวาระได้ 4 ปี การจะยุบสภาหรือลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจต้องรออีก 4 ปี อำนาจของประชาชนไม่ได้เพิ่มอะไรขึ้นมา
ประการต่อมา ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องการซื้อเสียง เป็นการเปิดโอกาสให้พรรคใหญ่ที่มีทุนเยอะใช้เงินนับพันล้านบาทเพื่อให้การเลือกตั้งได้ผล ตั้งแต่ระดับ อบต. อบจ. หรือหัวคะแนนต่างๆ จึงหนีไม่พ้นจากระบบอุปถัมภ์ที่เคยมีมา
ประการที่สาม การทำงานร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรีกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหากเป็นคนละพรรคจะทำได้ลำบาก มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาเหมือนในต่างประเทศได้ หากนายกฯ กับ ส.ส.เป็นพรรคเดียวกัน ก็เท่ากับเป็นพยัคฆ์ติดปีก ฝ่ายอื่นไม่สามารถทำอะไรได้และอ้างถึงเสียงข้างมากที่มาจากประชาชน
ถ้าผ่าน “พานทองแท้” นายกฯ
กรรมาธิการเสียงข้างน้อยกล่าวต่อไปว่า ของเดิมระบบวางไว้ค่อนข้างดี ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้การตรวจสอบมีความเข้มข้นขึ้นได้ เช่น ตำแหน่งรองประธานสภาคนที่ 1 ควรมาจากพรรคอันดับ 2 หรือรองประธานสภาคนที่ 2 ก็มาจากพรรคอันดับ 3 รวมไปถึงคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ 36 คณะ ก็ให้ 15 คณะเป็นของฝ่ายค้าน ตรงนี้จะช่วยให้มีการตรวจสอบฝ่ายรัฐบาลทำได้ดีขึ้น
อีกทั้งตำแหน่งประธานสภา จริงๆ แล้วต้องมีความเป็นกลาง ควรต้องพ้นจากการครอบงำของพรรคการเมือง หรือการตั้งกระทู้สอบถามการบริหารงานของรัฐบาล ตัวนายกรัฐมนตรีก็ต้องเข้ามาตอบ
“จริงๆ แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคการเมืองนั้นเป็นเรื่องของคน ระบบไม่ได้ผิด คนต่างหากทำระบบให้ผิดจนเกิดเป็นปัญหา ในระบบดังกล่าวนั้นยังมีช่องโหว่อยู่มาก และกลไกในการควบคุมยังไม่รอบด้าน”
ขณะเดียวกัน นายประสาร มฤคพิทักษ์ ยังพูดด้วยน้ำเสียงเหน็บแนมว่าหากใช้ระบบเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงจริงๆ เราอาจได้เห็นผู้สมัครอย่างพานทองแท้ ชินวัตร ที่มีฐานเสียงเหนือและอีสาน แข่งกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มีฐานเสียงภาคใต้และกรุงเทพฯ
กระทบพระราชอำนาจ
แหล่งข่าวจากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า จากรูปแบบปัจจุบันตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงไม่ต้องโปรดเกล้า หากเราจะใช้การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง ต้องไตร่ตรองให้ดีว่าอำนาจในส่วนนี้ของพระมหากษัตริย์จะหายไป เพราะมาจากการเลือกตั้งทางตรง
สังคมไทยมองเรื่องนี้อย่างไรที่จากนี้นายกฯ และคณะรัฐมนตรีไม่ต้องโปรดเกล้า จะเป็นการท้าทายพระราชอำนาจหรือไม่ เพราะเดิมจะโปรดเกล้านายกฯ และคณะรัฐมนตรีหลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอชื่อมา
ประการต่อมา เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบที่เสนอมาไม่มีประเทศไหนใช้ แม้จะมีแต่ก็เลิกใช้ไปแล้ว แต่ไม่ว่าใครจะเรียกระบบนี้ว่าอย่างไร หนีไม่พ้นรูปแบบเดียวกับประธานาธิบดี
ปัญหาที่จะต้องคำนึงถึงคือในระบบสภาฯ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ยังเกิดสภาพของเผด็จการรัฐสภาได้ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ กับฝ่ายบริหารอย่างนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้ และถ้าแยกฝ่ายบริหารกับสภาฯ ออกจากกัน ย่อมเท่ากับให้อำนาจกับฝ่ายบริหารเต็มที่ หากได้ฝ่ายบริหารที่ดีไม่ทุจริตคอร์รัปชันก็ดีไป แต่ถ้าได้คนไม่ดีเข้ามาการจัดการจะทำได้ลำบากมากขึ้นกว่าเดิม
มีสิทธิ์ถูกคว่ำ
ดังนั้นการปฏิรูปการเมืองที่ทำอยู่ในเวลานี้ส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องการแก้ปัญหาเรื่องการครอบงำอำนาจทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารที่ผนึกกันอย่างแนบแน่นในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตรและยิ่งลักษณ์ จนฝ่ายค้านไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบใดๆ ได้ อีกทั้งสปิริตของพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ก็ไม่มีให้เห็น หรือบางโอกาสพรรคเพื่อไทยได้เสียงข้างมากจนไม่ต้องหาพรรคอื่นมาร่วม
แต่ข้อเสนอที่ให้เลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรงนั้น เมื่อพิจารณาภายใต้บริบทของสังคมไทยในวันนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก ถ้าเลือกตั้งแล้วได้นักการเมืองที่ไม่พึงประสงค์ ดำเนินนโยบายที่ไม่ถูกต้อง มีการทุจริตคอร์รัปชัน การตรวจสอบหรือถ่วงดุลจะทำแทบไม่ได้เลย แม้จะมีกระบวนการทางศาล แต่การไต่สวนทุกอย่างต้องใช้เวลานาน
“ที่จริงไม่มีระบอบไหนเลวในตัวของมันเอง ทุกอย่างอยู่ที่คนใช้ ถ้าเลือกตั้งโดยตรงแล้วได้คนไม่ดีเข้ามาบริหารประเทศบ้านเมืองก็เละ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนเพื่อหวังปฏิรูปการเมืองนั้นจะต้องดูบริบทแวดล้อมของประเทศด้วยว่าลักษณะและวัฒนธรรมของคนเป็นอย่างไร เพราะแบบสำเร็จรูปทางการเมืองจากบางที่อาจใช้ไม่ได้ผลกับประเทศไทย”
ถ้าเรามีนักการเมืองที่เก่ง ฉลาด แต่โกง ไม่ว่าจะมีระบบไหนมา คนเหล่านี้ก็สามารถหาทางที่จะทำให้กุมอำนาจได้มากที่สุด เพื่อให้พวกของตนได้ประโยชน์จากการอยู่ในอำนาจนั้น ดังนั้นการป้องกันการทุจริต ป้องกันการซื้อเสียงของนักการเมือง ด้วยการออกแบบปฏิรูปการเมืองจึงเป็นแค่ผลพลอยได้เท่านั้น ต้องออกแบบกลไกอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น บทลงโทษที่หนักสำหรับคนซื้อเสียง คนขายเสียงหรือข้าราชการที่มีส่วนรู้เห็นกับเรื่องดังกล่าว
ทางที่ดีที่สุดคือภาคประชาชนต้องเข้มแข็ง รู้ปัญหาและร่วมมือกันเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาไม่ให้สิ่งที่ผิดพลาดในอดีต หวนกลับมาเกิดขึ้นอีก
ในภาคของนักการเมือง การลดเรื่อง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หรือลดจำนวน ส.ส.ลง ย่อมไม่มีใครเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว โดยเฉพาะพรรคใหญ่ ที่เดิมมี ส.ส.จำนวนมาก และภายใต้ความไม่เห็นด้วยดังกล่าวก็ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ด้วยกัน
ขั้นตอนกว่าที่จะออกมาบังคับใช้จริงนั้น อาจต้องผ่านอีกหลายขั้นตอน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการนำเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ จากนั้นจึงเข้าสู่การพิจารณาของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และผ่านไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รัฐบาล และ คสช.
“แต่เราเชื่อว่าหากข้อเสนอการปฏิรูปการเมืองผ่าน เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ข้อเสนอนี้อาจถูกปรับตกไป”
ทำเอาเป็นที่ถกเถียงของผู้คนกันทั้งประเทศกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยเฉพาะเสียงข้างมากที่มี ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการชุดนี้ได้ทำการศึกษาแนวทางการปฏิรูปการเมือง ด้วยการเสนอเลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง อันเป็นประเด็นที่สังคมจับตาอยู่ในเวลานี้
ข้อเสนอในเบื้องต้นคือเสนอให้เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง ลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งเหลือเพียง 350 คน ใช้ระบบเขตเลือกตั้ง เขตละ 3 คน ด้วยเหตุผลเพื่อลดอิทธิพลและการซื้อขายเสียง
ส่วนวุฒิสภา มีจำนวน 154 คน มาจากการเลือกตั้ง 77 คน จังหวัดละ 1 คน อีก 77 คน มาจากการสรรหาของกลุ่มอาชีพหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
ประเด็นหลักที่ถูกจับจ้องเป็นพิเศษคือการเลือกตัวนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง เนื่องจากสภาพการเมืองไทยที่ผ่านมาถูกแปรสภาพไปเป็นเผด็จการรัฐสภา จนเกิดปัญหาในทางการเมืองในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา และประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองก็เป็นหนึ่งในผู้เคลื่อนไหวต่อสู้กับระบบการเมืองในอดีตในนามแกนนำของ กปปส. แต่กลับเสนอให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน
“สมบัติ” แจงแก้ปัญหาทุกจุด
ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวถึงที่มาของข้อเสนอดังกล่าวว่า “เราวิเคราะห์ปัญหาก่อนว่าการเมืองที่ผ่านมาสร้างปัญหาอะไร โดยดูโครงสร้างเดิมว่าแก้ไขได้หรือไม่ และจะประยุกต์แก้อะไรได้บ้าง”
ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองกล่าวถึงข้อดีของการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรงว่า ประการแรกประชาชนรู้เลยว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล ใครจะมาเป็นรัฐมนตรี มีประวัติเป็นอย่างไร ทีมเศรษฐกิจเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ เป็นนายทุน หรือเจ้าของบ่อน ที่ผ่านมารัฐบาลบริหารประเทศได้ 3-6 เดือนก็เปลี่ยนตัวรัฐมนตรี ทำให้คนที่เข้ามาไม่ได้แก้ปัญหาให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง นี่จึงเป็นการเปิดหน้าตาให้คนได้มีโอกาสทราบก่อนว่าจะเลือกหรือไม่
ประการที่สอง เปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้ขายเสียง ได้เลือกนายกรัฐมนตรีบ้าง ที่ผ่านมานายกฯ เป็นของกลุ่มคนที่ขายเสียง ขณะนี้คนที่ไม่ขายเสียงมีมากขึ้น คนในชนบทมีมากขึ้นที่ไม่ขายเสียง และสามารถชี้ชะตาผู้นำได้มากขึ้น
ประการที่สาม การเลือกตั้งโดยตรง ทำให้การบริหารประเทศมีเสถียรภาพ เพราะอยู่ได้ครบเทอม ยกเว้นกระทำผิดที่มีมาตรการถอดถอนแล้วส่งศาลคดีการเมือง ทั้งนี้ที่ผ่านมาการลงมติทุกครั้งฝ่ายค้านที่ตรวจสอบแพ้ทุกครั้ง การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลจึงไม่เป็นผล แต่รูปแบบนี้มีการแบ่งแยกอำนาจ ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถส่งเรื่องฟ้องไปที่ศาลการเมืองได้เลย
ประการที่สี่ ฝ่ายรัฐบาลมีโอกาสบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลงมาแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องสภาฯ เพราะที่ผ่านมาการใช้ระบบสภาฯ ไม่มีประโยชน์ เมื่อเสียงของรัฐบาลมีมากกว่า
ข้อเสนอนี้ช่วยลดการซื้อเสียงได้พอสมควร เพราะเลือกโดยประชาชน ส่วนเรื่องการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลนั้น ที่เกรงกันว่ารัฐบาลจะมีอำนาจมาก ในส่วนของสภาฯ สามารถตรวจสอบได้และส่งเรื่องไปที่ศาลการเมืองให้ตัดสินได้เลย
หวั่นเพิ่มอำนาจตัวนายกฯ
ขณะที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวอย่างนายประสาร มฤคพิทักษ์ กล่าวว่า “ผมในฐานะเสียงข้างน้อย ก็คัดค้านข้อเสนอดังกล่าวไปแล้ว และเป็นการแสดงความเห็นที่เป็นไมตรีต่อกัน”
ในส่วนของกรรมาธิการเสียงข้างน้อยมองการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงว่า ประการแรกข้อเสนอดังกล่าวเป็นการสวนทางกับการปฏิรูปประเทศไทย ที่ต้องเพิ่มอำนาจให้กับประชาชน แต่แนวทางดังกล่าวเป็นการเพิ่มอำนาจให้นายกรัฐมนตรีสามารถอยู่ในวาระได้ 4 ปี การจะยุบสภาหรือลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจต้องรออีก 4 ปี อำนาจของประชาชนไม่ได้เพิ่มอะไรขึ้นมา
ประการต่อมา ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องการซื้อเสียง เป็นการเปิดโอกาสให้พรรคใหญ่ที่มีทุนเยอะใช้เงินนับพันล้านบาทเพื่อให้การเลือกตั้งได้ผล ตั้งแต่ระดับ อบต. อบจ. หรือหัวคะแนนต่างๆ จึงหนีไม่พ้นจากระบบอุปถัมภ์ที่เคยมีมา
ประการที่สาม การทำงานร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรีกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหากเป็นคนละพรรคจะทำได้ลำบาก มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาเหมือนในต่างประเทศได้ หากนายกฯ กับ ส.ส.เป็นพรรคเดียวกัน ก็เท่ากับเป็นพยัคฆ์ติดปีก ฝ่ายอื่นไม่สามารถทำอะไรได้และอ้างถึงเสียงข้างมากที่มาจากประชาชน
ถ้าผ่าน “พานทองแท้” นายกฯ
กรรมาธิการเสียงข้างน้อยกล่าวต่อไปว่า ของเดิมระบบวางไว้ค่อนข้างดี ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้การตรวจสอบมีความเข้มข้นขึ้นได้ เช่น ตำแหน่งรองประธานสภาคนที่ 1 ควรมาจากพรรคอันดับ 2 หรือรองประธานสภาคนที่ 2 ก็มาจากพรรคอันดับ 3 รวมไปถึงคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ 36 คณะ ก็ให้ 15 คณะเป็นของฝ่ายค้าน ตรงนี้จะช่วยให้มีการตรวจสอบฝ่ายรัฐบาลทำได้ดีขึ้น
อีกทั้งตำแหน่งประธานสภา จริงๆ แล้วต้องมีความเป็นกลาง ควรต้องพ้นจากการครอบงำของพรรคการเมือง หรือการตั้งกระทู้สอบถามการบริหารงานของรัฐบาล ตัวนายกรัฐมนตรีก็ต้องเข้ามาตอบ
“จริงๆ แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคการเมืองนั้นเป็นเรื่องของคน ระบบไม่ได้ผิด คนต่างหากทำระบบให้ผิดจนเกิดเป็นปัญหา ในระบบดังกล่าวนั้นยังมีช่องโหว่อยู่มาก และกลไกในการควบคุมยังไม่รอบด้าน”
ขณะเดียวกัน นายประสาร มฤคพิทักษ์ ยังพูดด้วยน้ำเสียงเหน็บแนมว่าหากใช้ระบบเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงจริงๆ เราอาจได้เห็นผู้สมัครอย่างพานทองแท้ ชินวัตร ที่มีฐานเสียงเหนือและอีสาน แข่งกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มีฐานเสียงภาคใต้และกรุงเทพฯ
กระทบพระราชอำนาจ
แหล่งข่าวจากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า จากรูปแบบปัจจุบันตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงไม่ต้องโปรดเกล้า หากเราจะใช้การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง ต้องไตร่ตรองให้ดีว่าอำนาจในส่วนนี้ของพระมหากษัตริย์จะหายไป เพราะมาจากการเลือกตั้งทางตรง
สังคมไทยมองเรื่องนี้อย่างไรที่จากนี้นายกฯ และคณะรัฐมนตรีไม่ต้องโปรดเกล้า จะเป็นการท้าทายพระราชอำนาจหรือไม่ เพราะเดิมจะโปรดเกล้านายกฯ และคณะรัฐมนตรีหลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอชื่อมา
ประการต่อมา เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบที่เสนอมาไม่มีประเทศไหนใช้ แม้จะมีแต่ก็เลิกใช้ไปแล้ว แต่ไม่ว่าใครจะเรียกระบบนี้ว่าอย่างไร หนีไม่พ้นรูปแบบเดียวกับประธานาธิบดี
ปัญหาที่จะต้องคำนึงถึงคือในระบบสภาฯ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ยังเกิดสภาพของเผด็จการรัฐสภาได้ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ กับฝ่ายบริหารอย่างนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้ และถ้าแยกฝ่ายบริหารกับสภาฯ ออกจากกัน ย่อมเท่ากับให้อำนาจกับฝ่ายบริหารเต็มที่ หากได้ฝ่ายบริหารที่ดีไม่ทุจริตคอร์รัปชันก็ดีไป แต่ถ้าได้คนไม่ดีเข้ามาการจัดการจะทำได้ลำบากมากขึ้นกว่าเดิม
มีสิทธิ์ถูกคว่ำ
ดังนั้นการปฏิรูปการเมืองที่ทำอยู่ในเวลานี้ส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องการแก้ปัญหาเรื่องการครอบงำอำนาจทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารที่ผนึกกันอย่างแนบแน่นในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตรและยิ่งลักษณ์ จนฝ่ายค้านไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบใดๆ ได้ อีกทั้งสปิริตของพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ก็ไม่มีให้เห็น หรือบางโอกาสพรรคเพื่อไทยได้เสียงข้างมากจนไม่ต้องหาพรรคอื่นมาร่วม
แต่ข้อเสนอที่ให้เลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรงนั้น เมื่อพิจารณาภายใต้บริบทของสังคมไทยในวันนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก ถ้าเลือกตั้งแล้วได้นักการเมืองที่ไม่พึงประสงค์ ดำเนินนโยบายที่ไม่ถูกต้อง มีการทุจริตคอร์รัปชัน การตรวจสอบหรือถ่วงดุลจะทำแทบไม่ได้เลย แม้จะมีกระบวนการทางศาล แต่การไต่สวนทุกอย่างต้องใช้เวลานาน
“ที่จริงไม่มีระบอบไหนเลวในตัวของมันเอง ทุกอย่างอยู่ที่คนใช้ ถ้าเลือกตั้งโดยตรงแล้วได้คนไม่ดีเข้ามาบริหารประเทศบ้านเมืองก็เละ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนเพื่อหวังปฏิรูปการเมืองนั้นจะต้องดูบริบทแวดล้อมของประเทศด้วยว่าลักษณะและวัฒนธรรมของคนเป็นอย่างไร เพราะแบบสำเร็จรูปทางการเมืองจากบางที่อาจใช้ไม่ได้ผลกับประเทศไทย”
ถ้าเรามีนักการเมืองที่เก่ง ฉลาด แต่โกง ไม่ว่าจะมีระบบไหนมา คนเหล่านี้ก็สามารถหาทางที่จะทำให้กุมอำนาจได้มากที่สุด เพื่อให้พวกของตนได้ประโยชน์จากการอยู่ในอำนาจนั้น ดังนั้นการป้องกันการทุจริต ป้องกันการซื้อเสียงของนักการเมือง ด้วยการออกแบบปฏิรูปการเมืองจึงเป็นแค่ผลพลอยได้เท่านั้น ต้องออกแบบกลไกอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น บทลงโทษที่หนักสำหรับคนซื้อเสียง คนขายเสียงหรือข้าราชการที่มีส่วนรู้เห็นกับเรื่องดังกล่าว
ทางที่ดีที่สุดคือภาคประชาชนต้องเข้มแข็ง รู้ปัญหาและร่วมมือกันเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาไม่ให้สิ่งที่ผิดพลาดในอดีต หวนกลับมาเกิดขึ้นอีก
ในภาคของนักการเมือง การลดเรื่อง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หรือลดจำนวน ส.ส.ลง ย่อมไม่มีใครเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว โดยเฉพาะพรรคใหญ่ ที่เดิมมี ส.ส.จำนวนมาก และภายใต้ความไม่เห็นด้วยดังกล่าวก็ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ด้วยกัน
ขั้นตอนกว่าที่จะออกมาบังคับใช้จริงนั้น อาจต้องผ่านอีกหลายขั้นตอน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการนำเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ จากนั้นจึงเข้าสู่การพิจารณาของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และผ่านไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รัฐบาล และ คสช.
“แต่เราเชื่อว่าหากข้อเสนอการปฏิรูปการเมืองผ่าน เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ข้อเสนอนี้อาจถูกปรับตกไป”