ฝ่ายความมั่นคงประเมินการไหลกลับของแรงงานกัมพูชาไม่ใช่เรื่องปกติ เชื่อมีกระบวนการสร้างความตื่นตระหนกให้เกิดขึ้น ฝ่ายทหารจะต้องการแก้ปัญหาความมั่นคงไปในตัว ตั้งข้อสังเกตลือหนักจากฝั่งเขมร แถมเตรียมรถรอรับที่ชายแดน ตามด้วยองค์กรสิทธิมนุษยชนกัมพูชาประณามไทย เข้าล็อกโลกล้อมประเทศ เหมือนทุกอย่างเตรียมการไว้ เป้าหลักอยู่ที่การทำลายความน่าเชื่อถือ คสช. ขณะที่นายหน้าเตรียมฟันหัวคิวรอบใหม่
“นี่คือสถานการณ์ที่ผิดปกติ” แหล่งข่าวด้านความมั่นคงตั้งข้อสังเกตจากเหตุการณ์ที่แรงงานชาวกัมพูชาเดินทางกลับประเทศเกินกว่าแสนคน หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกคำสั่งฉบับที่ 59/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว และคำสั่ง คสช. 60/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2557 เพื่อแก้ไขแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการ ลดผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคม
ในเมื่อแรงงานต่างชาติในประเทศไทยมากที่สุดคือสัญชาติพม่ากว่า 1.7 ล้านคน รองลงมาเป็นกัมพูชาราว 4 แสนคน แต่แรงงานพม่าไม่ได้มีอาการตื่นตระหนกอพยพกลับประเทศเหมือนแรงงานชาวกัมพูชา สิ่งที่เป็นอยู่ในเวลานี้น่าจะมีอะไรที่มากกว่าการจัดระเบียบแรงงานต่างชาติของคำสั่ง คสช.
เกี่ยวข้องเหตุวุ่นวาย
ปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกันว่าช่วงก่อนที่ คสช.จะเข้ามาควบคุมอำนาจในการบริหารประเทศนั้น ผู้นำของไทยอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา แม้จะเปลี่ยนรัฐบาลมาเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์ แต่ ฮุน เซน ยังคงหนุนทักษิณ ชินวัตร สุดตัว ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาไม่ดีนักโดยเฉพาะพื้นที่ชายแดน
ครั้นมาถึงช่วงที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาก็กลับมาปกติอีกครั้ง แม้ในช่วงที่ คสช.เข้ามาบริหารงานแทนรัฐบาลพรรคเพื่อไทย นายกฯ ฮุน เซน ได้ออกมาปฏิเสธถึงการที่จะให้ขั้วอำนาจเก่าคนในสายของชินวัตรเข้าไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น
“ในด้านความมั่นคงแล้ว ฝ่ายทหารรู้ดีว่าในช่วงเกิดเหตุความวุ่นวายทางการเมืองช่วงปี 2553 ที่ผู้ชุมนุมเสื้อแดงมีกองกำลังติดอาวุธเข้ามาเป็นกำลังหนุนและปะทะกับทหารจนมีผู้เสียชีวิตกว่า 90 รายในเวลานั้นมาจากไหน และในช่วงการชุมนุมของกลุ่ม กปปส.ที่ต้องการขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้นก็มีการนำกองกำลังติดอาวุธจากเพื่อนบ้านเข้ามาเตรียมพร้อมเพื่อปฏิบัติการเช่นเดียวกัน แต่ถูกสกัดและประกบตัวไว้จนยากต่อการเคลื่อนไหว” แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าว
การกระจายตัวของชาวกัมพูชาในพื้นที่ต่างๆ นั้น จึงเป็นอีกปัญหาหนึ่งทางด้านความมั่นคง เพราะอาจมีการแฝงตัวของผู้ก่อเหตุปะปนไปกับแรงงานทั่วไป และพร้อมปฏิบัติการเมื่อได้รับคำสั่ง
ผลักดัน-ปั่นกระแส
นอกจากนี้ในช่วงที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20 ปีการศึกษา 2550-2551 ได้ทำงานวิจัยเรื่อง “การปรับบทบาทของกองทัพไทย เพื่อรองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่” และเรียบเรียงออกมาเป็นหนังสือชื่อ “กองทัพไทยกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ Non-Traditional Threats”
งานวิจัยชิ้นนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้แบ่งภัยคุกคามรูปแบบใหม่ไว้ 7 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.ความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.การก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติ 3.ยาเสพติด 4.แรงงานต่างด้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง 5.ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของธรรมชาติและโรคระบาด 6.การขาดดุลของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 7.ความยากจน
ดังนั้นเมื่อฝ่ายทหารเข้ามามีอำนาจเต็ม จึงเข้ามาจัดระเบียบแรงงานต่างชาติ เนื่องจากแรงงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาด้านความมั่นคง ปฏิบัติการตรวจจับแรงงานต่างชาติที่เข้ามาโดยผิดกฎหมายจึงดำเนินการอย่างจริงจัง
ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าความต้องการของฝ่ายทหารนั้นต้องการให้แรงงานต่างชาตินั้นมีการขึ้นทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะสามารถควบคุมหรือทราบหลักแหล่งที่แน่นนอนได้ว่าอยู่ในพื้นที่ใด และยังเป็นการป้องกันปัญหาเรื่องความมั่นคงไปในตัว เนื่องจากที่ผ่านมากองกำลังติดอาวุธจากเพื่อนบ้านมักจะมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองตลอดเวลา อันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ที่ดีและประโยชน์ร่วมกันของทักษิณ ชินวัตร และฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
การผลักดันให้แรงงานชาวกัมพูชาเดินทางออกนอกประเทศไปก่อนนั้น ด้านหนึ่งเท่ากับเป็นการทำประวัติแรงงานเหล่านี้ไปในตัว เพราะต้องแจ้งชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ จากนี้ไปการเดินทางเข้าออกประเทศไทย ฝ่ายความมั่นคงจะมีข้อมูลชาวกัมพูชาเหล่านี้ทั้งหมด
หวั่นเกมระดับประเทศ
แต่ฝ่ายทหารคงไม่ได้คาดหวังว่าชาวกัมพูชาจะเดินทางกลับประเทศมากขนาดนี้ การอาศัยช่วงจังหวะเวลานี้ปั่นกระแสให้เกิดความหวาดกลัวจนมีการเดินทางกลับเป็นจำนวนมากอย่างนี้ จะทำให้เรื่องนี้ถูกจับตาจากนานาชาติทันที
“ข้อมูลที่เราได้มาถึงสาเหตุที่ชาวกัมพูชาเดินทางกลับกันมานั้น มาจากคนในกัมพูชาที่ลือกันว่าทหารจะกวาดล้างแรงงานชาวกัมพูชา ผนวกกับมีกรณีที่รถของแรงงานชาวกัมพูชาเกิดอุบัติเหตุจนมีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 13 ราย ก็ลือกันว่าเป็นการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย”
สอดคล้องกับผู้ประสานงานแรงงานชาวกัมพูชาที่กล่าวตรงกันว่า ข่าวลือนั้นมาจากฝั่งกัมพูชา แรงงานชาวกัมพูชาที่ติดต่อกับเราอยู่ได้มาปรึกษาว่าควรจะกลับหรือไม่ โดยแรงงานรายนี้เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เราก็แนะนำว่าไม่ต้องกลับเพราะคำสั่งที่ออกมานั้นเป็นการจัดเรียบสำหรับแรงงานที่เข้ามาไม่ถูกต้อง หลังจากนั้นเขาโทร.กลับมาว่ากลับไปที่กัมพูชาแล้ว เนื่องจากพ่อแม่ของเขาได้ติดต่อมาว่ามีข่าวทหารในไทยจะจัดการขั้นเด็ดขาด
นี่จึงเป็นเรื่องที่ไม่ปกติที่เกิดขึ้นกับแรงงานชาวกัมพูชา ข่าวที่ลือกันในฝั่งกัมพูชาไม่เหมือนเป็นไปตามธรรมชาติ ทุกอย่างรวดเร็วมากและกระจายไปในวงกว้าง อีกทั้งที่ฝั่งกัมพูชานั้น รัฐบาลกัมพูชาได้เตรียมรถยนต์และรถทหารร่วม 300 คันมาเพื่อรอรับชาวกัมพูชาที่บริเวณชายแดน ดูเหมือนทุกอย่างมีการเตรียมการมาโดยเฉพาะ
เกรงว่าเรื่องนี้จะเป็นเกมระดับประเทศ แม้ผู้นำของประเทศเพื่อนบ้านจะออกมาเคารพการตัดสินใจของ คสช. นั่นเป็นเพียงการตอบตามมารยาท แต่ข้างหลังไม่มีใครรู้ได้ว่ามีการเจรจากันระหว่างอดีตผู้นำของไทยกับผู้นำประเทศเพื่อนบ้านที่มีประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ เพราะหากรูปการณ์ออกมาในลักษณะนี้แล้วคนของพรรคเพื่อไทยคงไม่สามารถทำได้ขนาดนี้ อีกทั้งฝ่ายทหารยังประกบตัวอย่างต่อเนื่อง คนที่เคลื่อนไหวได้อิสระที่สุดคือทักษิณ ชินวัตร
ครั้งนี้การปลุกกระแสให้เกิดความตื่นกลัวนั้นทำได้อย่างรวดเร็วและเห็นผล ไม่ต่างจากเหตุการณ์ชาวกัมพูชาเผาสถานทูตไทยเมื่อปี 2546 สะท้อนถึงความชำนาญในการปลุกกระแสมวลชน แน่นอนว่าภาพการเดินทางกลับของชาวกัมพูชาในครั้งนี้จึงอยู่ในความสนใจของสื่อชาติตะวันตก
ดึงต่างชาติจับตา คสช.
การเดินเครื่องของฝ่ายกัมพูชายังออกมาโจมตีประเทศไทยผ่านหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนของกัมพูชา โดยคณะกรรมการปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนกัมพูชา (CHRAC) ออกแถลงการณ์ว่านับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2557 มีคนงานชาวกัมพูชาราว 40,000 คนในประเทศไทย ออกจากประเทศด้วยตนเองหรือถูกทหารบังคับให้ออกจากประเทศ จากการสืบสวนของสมาคมเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาของกัมพูชา (ADHOC) มีแรงงานข้ามชาติบางรายถูกทุบตีหรือถูกสังหารโดยกองทัพไทย และยังระบุว่ากองทัพไทยละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อแรงงานข้ามชาติด้วยการขับไล่ออกจากประเทศและให้อยู่ในยานพาหนะแออัดยัดเยียด ถือเป็นการกระทำที่โหดร้ายและทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักวิชาการอิสระของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ออกมาระบุว่า มีการจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานหลายอย่างในประเทศไทยนับแต่ทหารยึดอำนาจ รัฐธรรมนูญถูกยกเลิก มีบุคคลจำนวนมากถูกคุมขัง และมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการชุมนุม
เรื่องเหล่านี้จะกระทำโดยผ่านสื่อต่างประเทศที่รายงานไป และจะสอดรับกับแนวทางในการตอบโต้ของสหรัฐฯ ที่ปฏิเสธการยึดอำนาจของ คสช. และอาจใช้สถานการณ์นี้ไปเพื่อสกัดกั้นในภาคส่งออกของไทยได้ในอนาคต
ถามว่าการดึงแรงงานกัมพูชากลับทั้งหมดนั้นจะเกิดอะไรขึ้น ในเรื่องนี้คนในวงการแรงงานอธิบายว่า แรงงานกัมพูชาในไทยส่วนใหญ่จะทำงานทางภาคตะวันออก และย่านชานเมืองรอบกรุงเทพฯ อาชีพส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานด้านก่อสร้าง แตกต่างจากพม่าที่กระจายทำงานทั้งตามโรงงานอุตสาหกรรมและงานด้านประมง
แน่นอนว่าภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากแรงงานกัมพูชากลับไปนั้นคือภาคก่อสร้าง ซึ่ง คสช.เตรียมเดินหน้าโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่นโครงการรถไฟรางคู่ หรือโครงการบริหารจัดการน้ำบางส่วน และภาคธุรกิจเอกชนที่เน้นงานด้านนี้ย่อมได้รับผลกระทบ เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน ภาพที่ออกมาจึงกลายเป็นภาพลบกับ คสช.
เราจึงเห็นการออกมาชี้แจงของ คสช.ในเรื่องเหล่านี้มากเป็นพิเศษ รวมถึงชี้แจงกับข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย เพราะหากไม่เร่งคลี่คลายสถานการณ์ประเด็นนี้จะถูกขยายโดยฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอำนาจเก่าและยกขึ้นเป็นเรื่องระดับโลกเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของ คสช.
ภาคธุรกิจแนะเร่งแก้ปัญหา
นายภูเบศ จันทนิมิ นายกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แรงงานชาวกัมพูชาที่เดินทางกลับไปนั้นน่าจะเป็นแรงงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อมีประกาศของ คสช.ออกมาก็กลัวถูกจับกุม เรื่องดังกล่าวนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งเข้ามาแก้ปัญหา เพื่อดำเนินการให้เกิดความถูกต้องไม่เช่นนั้นจะกระทบกับภาคธุรกิจที่หลายส่วนขาดแคลนแรงงาน
ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องแรงงานเข้ามาโดยผิดกฎหมายคือ ขั้นตอนในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างชาติค่อนข้างยุ่งยาก มีเอกสารมาก ขั้นตอนเยอะ อีกทั้งค่าธรรมเนียมที่นายจ้างจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนราว 3,800-4,000 บาทต่อหัว ทำให้นายจ้างบางส่วนหลีกเลี่ยง
การเร่งทำความเข้าใจว่าไม่ได้มีเหตุการณ์ต่างๆ ตามข่าวลือ และการลดค่าธรรมเนียมในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างชาติลงมา รวมทั้งการจัดสถานที่เพื่อให้ขั้นตอนต่างๆ รวมไว้ที่เดียวกัน เพื่อลดความยุ่งยากนั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการนำเอาแรงงานเหล่านั้นมาขึ้นทะเบียนมากขึ้น
นายหน้าเตรียมฟันหัวคิวรอบใหม่
ขณะที่ผู้ประสานงานกับแรงงานชาวกัมพูชา กล่าวเพิ่มเติมว่าการกลับไปของแรงงานชาวกัมพูชา ตอนนี้ก็ไม่มีงานทำ หากจะบอกว่ากลับไปทำนาตามฤดูกาลก็คงไม่ใช่เพราะการทำนาที่กัมพูชาจะเริ่มในเดือนเมษายน เชื่อว่าอีกไม่นานคนกลุ่มนี้ก็จะกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกครั้ง
ต้องยอมรับว่าแรงงานกัมพูชาเพิ่งเข้ามาในประเทศไทยได้ไม่นานนัก แตกต่างจากแรงงานพม่า ที่เข้ามานานและมีหน่วยงานต่างๆ คอยให้ความช่วยเหลือ ประสานงานหรือชี้แจงทำความเข้าใจ ขณะที่ชาวกัมพูชายังมีหน่วยงานเหล่านี้เข้ามาดูแลน้อย เมื่อเกิดเหตุอย่างนี้จึงลือต่อๆ กันไป
ครั้งนี้คนที่จะได้ประโยชน์คือบรรดานายหน้าที่นำเอาแรงงานกลุ่มนี้เข้ามา เพราะจะได้ค่าหัวคิวคนละ 5,000-10,000 บาท เหมือนกับเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับนายหน้าเหล่านี้ไปในตัว รวมไปถึงหน่วยงานราชการบางส่วนที่จะมีประโยชน์จากแรงงานเหล่านี้
ปฏิบัติการชิงไหวชิงพริบกันในระดับประเทศครั้งนี้ พอจะทราบกันว่าขั้วอำนาจเก่าอย่างทักษิณ ชินวัตร มีความเชี่ยวชาญในการเอาโลกล้อมประเทศไทย เพื่อตอบโต้และทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐในเวลานี้
นี่จึงกลายเป็นบททดสอบสำคัญของ คสช.ว่าจะฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้หรือไม่ หากไม่สามารถแก้ปัญหาได้เศรษฐกิจของประเทศก็จะประสบปัญหาเนื่องจากขาดแคลนแรงงาน ความตั้งใจที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนภาครัฐก็จะประสบปัญหา เพียงแค่ไม่ถึง 1 เดือนหลังการยึดอำนาจ คสช.ก็ถูกลองของซะแล้ว
“นี่คือสถานการณ์ที่ผิดปกติ” แหล่งข่าวด้านความมั่นคงตั้งข้อสังเกตจากเหตุการณ์ที่แรงงานชาวกัมพูชาเดินทางกลับประเทศเกินกว่าแสนคน หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกคำสั่งฉบับที่ 59/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว และคำสั่ง คสช. 60/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2557 เพื่อแก้ไขแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการ ลดผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคม
ในเมื่อแรงงานต่างชาติในประเทศไทยมากที่สุดคือสัญชาติพม่ากว่า 1.7 ล้านคน รองลงมาเป็นกัมพูชาราว 4 แสนคน แต่แรงงานพม่าไม่ได้มีอาการตื่นตระหนกอพยพกลับประเทศเหมือนแรงงานชาวกัมพูชา สิ่งที่เป็นอยู่ในเวลานี้น่าจะมีอะไรที่มากกว่าการจัดระเบียบแรงงานต่างชาติของคำสั่ง คสช.
เกี่ยวข้องเหตุวุ่นวาย
ปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกันว่าช่วงก่อนที่ คสช.จะเข้ามาควบคุมอำนาจในการบริหารประเทศนั้น ผู้นำของไทยอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา แม้จะเปลี่ยนรัฐบาลมาเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์ แต่ ฮุน เซน ยังคงหนุนทักษิณ ชินวัตร สุดตัว ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาไม่ดีนักโดยเฉพาะพื้นที่ชายแดน
ครั้นมาถึงช่วงที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาก็กลับมาปกติอีกครั้ง แม้ในช่วงที่ คสช.เข้ามาบริหารงานแทนรัฐบาลพรรคเพื่อไทย นายกฯ ฮุน เซน ได้ออกมาปฏิเสธถึงการที่จะให้ขั้วอำนาจเก่าคนในสายของชินวัตรเข้าไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น
“ในด้านความมั่นคงแล้ว ฝ่ายทหารรู้ดีว่าในช่วงเกิดเหตุความวุ่นวายทางการเมืองช่วงปี 2553 ที่ผู้ชุมนุมเสื้อแดงมีกองกำลังติดอาวุธเข้ามาเป็นกำลังหนุนและปะทะกับทหารจนมีผู้เสียชีวิตกว่า 90 รายในเวลานั้นมาจากไหน และในช่วงการชุมนุมของกลุ่ม กปปส.ที่ต้องการขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้นก็มีการนำกองกำลังติดอาวุธจากเพื่อนบ้านเข้ามาเตรียมพร้อมเพื่อปฏิบัติการเช่นเดียวกัน แต่ถูกสกัดและประกบตัวไว้จนยากต่อการเคลื่อนไหว” แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าว
การกระจายตัวของชาวกัมพูชาในพื้นที่ต่างๆ นั้น จึงเป็นอีกปัญหาหนึ่งทางด้านความมั่นคง เพราะอาจมีการแฝงตัวของผู้ก่อเหตุปะปนไปกับแรงงานทั่วไป และพร้อมปฏิบัติการเมื่อได้รับคำสั่ง
ผลักดัน-ปั่นกระแส
นอกจากนี้ในช่วงที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20 ปีการศึกษา 2550-2551 ได้ทำงานวิจัยเรื่อง “การปรับบทบาทของกองทัพไทย เพื่อรองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่” และเรียบเรียงออกมาเป็นหนังสือชื่อ “กองทัพไทยกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ Non-Traditional Threats”
งานวิจัยชิ้นนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้แบ่งภัยคุกคามรูปแบบใหม่ไว้ 7 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.ความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.การก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติ 3.ยาเสพติด 4.แรงงานต่างด้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง 5.ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของธรรมชาติและโรคระบาด 6.การขาดดุลของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 7.ความยากจน
ดังนั้นเมื่อฝ่ายทหารเข้ามามีอำนาจเต็ม จึงเข้ามาจัดระเบียบแรงงานต่างชาติ เนื่องจากแรงงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาด้านความมั่นคง ปฏิบัติการตรวจจับแรงงานต่างชาติที่เข้ามาโดยผิดกฎหมายจึงดำเนินการอย่างจริงจัง
ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าความต้องการของฝ่ายทหารนั้นต้องการให้แรงงานต่างชาตินั้นมีการขึ้นทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะสามารถควบคุมหรือทราบหลักแหล่งที่แน่นนอนได้ว่าอยู่ในพื้นที่ใด และยังเป็นการป้องกันปัญหาเรื่องความมั่นคงไปในตัว เนื่องจากที่ผ่านมากองกำลังติดอาวุธจากเพื่อนบ้านมักจะมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองตลอดเวลา อันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ที่ดีและประโยชน์ร่วมกันของทักษิณ ชินวัตร และฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
การผลักดันให้แรงงานชาวกัมพูชาเดินทางออกนอกประเทศไปก่อนนั้น ด้านหนึ่งเท่ากับเป็นการทำประวัติแรงงานเหล่านี้ไปในตัว เพราะต้องแจ้งชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ จากนี้ไปการเดินทางเข้าออกประเทศไทย ฝ่ายความมั่นคงจะมีข้อมูลชาวกัมพูชาเหล่านี้ทั้งหมด
หวั่นเกมระดับประเทศ
แต่ฝ่ายทหารคงไม่ได้คาดหวังว่าชาวกัมพูชาจะเดินทางกลับประเทศมากขนาดนี้ การอาศัยช่วงจังหวะเวลานี้ปั่นกระแสให้เกิดความหวาดกลัวจนมีการเดินทางกลับเป็นจำนวนมากอย่างนี้ จะทำให้เรื่องนี้ถูกจับตาจากนานาชาติทันที
“ข้อมูลที่เราได้มาถึงสาเหตุที่ชาวกัมพูชาเดินทางกลับกันมานั้น มาจากคนในกัมพูชาที่ลือกันว่าทหารจะกวาดล้างแรงงานชาวกัมพูชา ผนวกกับมีกรณีที่รถของแรงงานชาวกัมพูชาเกิดอุบัติเหตุจนมีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 13 ราย ก็ลือกันว่าเป็นการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย”
สอดคล้องกับผู้ประสานงานแรงงานชาวกัมพูชาที่กล่าวตรงกันว่า ข่าวลือนั้นมาจากฝั่งกัมพูชา แรงงานชาวกัมพูชาที่ติดต่อกับเราอยู่ได้มาปรึกษาว่าควรจะกลับหรือไม่ โดยแรงงานรายนี้เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เราก็แนะนำว่าไม่ต้องกลับเพราะคำสั่งที่ออกมานั้นเป็นการจัดเรียบสำหรับแรงงานที่เข้ามาไม่ถูกต้อง หลังจากนั้นเขาโทร.กลับมาว่ากลับไปที่กัมพูชาแล้ว เนื่องจากพ่อแม่ของเขาได้ติดต่อมาว่ามีข่าวทหารในไทยจะจัดการขั้นเด็ดขาด
นี่จึงเป็นเรื่องที่ไม่ปกติที่เกิดขึ้นกับแรงงานชาวกัมพูชา ข่าวที่ลือกันในฝั่งกัมพูชาไม่เหมือนเป็นไปตามธรรมชาติ ทุกอย่างรวดเร็วมากและกระจายไปในวงกว้าง อีกทั้งที่ฝั่งกัมพูชานั้น รัฐบาลกัมพูชาได้เตรียมรถยนต์และรถทหารร่วม 300 คันมาเพื่อรอรับชาวกัมพูชาที่บริเวณชายแดน ดูเหมือนทุกอย่างมีการเตรียมการมาโดยเฉพาะ
เกรงว่าเรื่องนี้จะเป็นเกมระดับประเทศ แม้ผู้นำของประเทศเพื่อนบ้านจะออกมาเคารพการตัดสินใจของ คสช. นั่นเป็นเพียงการตอบตามมารยาท แต่ข้างหลังไม่มีใครรู้ได้ว่ามีการเจรจากันระหว่างอดีตผู้นำของไทยกับผู้นำประเทศเพื่อนบ้านที่มีประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ เพราะหากรูปการณ์ออกมาในลักษณะนี้แล้วคนของพรรคเพื่อไทยคงไม่สามารถทำได้ขนาดนี้ อีกทั้งฝ่ายทหารยังประกบตัวอย่างต่อเนื่อง คนที่เคลื่อนไหวได้อิสระที่สุดคือทักษิณ ชินวัตร
ครั้งนี้การปลุกกระแสให้เกิดความตื่นกลัวนั้นทำได้อย่างรวดเร็วและเห็นผล ไม่ต่างจากเหตุการณ์ชาวกัมพูชาเผาสถานทูตไทยเมื่อปี 2546 สะท้อนถึงความชำนาญในการปลุกกระแสมวลชน แน่นอนว่าภาพการเดินทางกลับของชาวกัมพูชาในครั้งนี้จึงอยู่ในความสนใจของสื่อชาติตะวันตก
ดึงต่างชาติจับตา คสช.
การเดินเครื่องของฝ่ายกัมพูชายังออกมาโจมตีประเทศไทยผ่านหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนของกัมพูชา โดยคณะกรรมการปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนกัมพูชา (CHRAC) ออกแถลงการณ์ว่านับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2557 มีคนงานชาวกัมพูชาราว 40,000 คนในประเทศไทย ออกจากประเทศด้วยตนเองหรือถูกทหารบังคับให้ออกจากประเทศ จากการสืบสวนของสมาคมเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาของกัมพูชา (ADHOC) มีแรงงานข้ามชาติบางรายถูกทุบตีหรือถูกสังหารโดยกองทัพไทย และยังระบุว่ากองทัพไทยละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อแรงงานข้ามชาติด้วยการขับไล่ออกจากประเทศและให้อยู่ในยานพาหนะแออัดยัดเยียด ถือเป็นการกระทำที่โหดร้ายและทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักวิชาการอิสระของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ออกมาระบุว่า มีการจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานหลายอย่างในประเทศไทยนับแต่ทหารยึดอำนาจ รัฐธรรมนูญถูกยกเลิก มีบุคคลจำนวนมากถูกคุมขัง และมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการชุมนุม
เรื่องเหล่านี้จะกระทำโดยผ่านสื่อต่างประเทศที่รายงานไป และจะสอดรับกับแนวทางในการตอบโต้ของสหรัฐฯ ที่ปฏิเสธการยึดอำนาจของ คสช. และอาจใช้สถานการณ์นี้ไปเพื่อสกัดกั้นในภาคส่งออกของไทยได้ในอนาคต
ถามว่าการดึงแรงงานกัมพูชากลับทั้งหมดนั้นจะเกิดอะไรขึ้น ในเรื่องนี้คนในวงการแรงงานอธิบายว่า แรงงานกัมพูชาในไทยส่วนใหญ่จะทำงานทางภาคตะวันออก และย่านชานเมืองรอบกรุงเทพฯ อาชีพส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานด้านก่อสร้าง แตกต่างจากพม่าที่กระจายทำงานทั้งตามโรงงานอุตสาหกรรมและงานด้านประมง
แน่นอนว่าภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากแรงงานกัมพูชากลับไปนั้นคือภาคก่อสร้าง ซึ่ง คสช.เตรียมเดินหน้าโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่นโครงการรถไฟรางคู่ หรือโครงการบริหารจัดการน้ำบางส่วน และภาคธุรกิจเอกชนที่เน้นงานด้านนี้ย่อมได้รับผลกระทบ เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน ภาพที่ออกมาจึงกลายเป็นภาพลบกับ คสช.
เราจึงเห็นการออกมาชี้แจงของ คสช.ในเรื่องเหล่านี้มากเป็นพิเศษ รวมถึงชี้แจงกับข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย เพราะหากไม่เร่งคลี่คลายสถานการณ์ประเด็นนี้จะถูกขยายโดยฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอำนาจเก่าและยกขึ้นเป็นเรื่องระดับโลกเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของ คสช.
ภาคธุรกิจแนะเร่งแก้ปัญหา
นายภูเบศ จันทนิมิ นายกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แรงงานชาวกัมพูชาที่เดินทางกลับไปนั้นน่าจะเป็นแรงงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อมีประกาศของ คสช.ออกมาก็กลัวถูกจับกุม เรื่องดังกล่าวนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งเข้ามาแก้ปัญหา เพื่อดำเนินการให้เกิดความถูกต้องไม่เช่นนั้นจะกระทบกับภาคธุรกิจที่หลายส่วนขาดแคลนแรงงาน
ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องแรงงานเข้ามาโดยผิดกฎหมายคือ ขั้นตอนในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างชาติค่อนข้างยุ่งยาก มีเอกสารมาก ขั้นตอนเยอะ อีกทั้งค่าธรรมเนียมที่นายจ้างจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนราว 3,800-4,000 บาทต่อหัว ทำให้นายจ้างบางส่วนหลีกเลี่ยง
การเร่งทำความเข้าใจว่าไม่ได้มีเหตุการณ์ต่างๆ ตามข่าวลือ และการลดค่าธรรมเนียมในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างชาติลงมา รวมทั้งการจัดสถานที่เพื่อให้ขั้นตอนต่างๆ รวมไว้ที่เดียวกัน เพื่อลดความยุ่งยากนั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการนำเอาแรงงานเหล่านั้นมาขึ้นทะเบียนมากขึ้น
นายหน้าเตรียมฟันหัวคิวรอบใหม่
ขณะที่ผู้ประสานงานกับแรงงานชาวกัมพูชา กล่าวเพิ่มเติมว่าการกลับไปของแรงงานชาวกัมพูชา ตอนนี้ก็ไม่มีงานทำ หากจะบอกว่ากลับไปทำนาตามฤดูกาลก็คงไม่ใช่เพราะการทำนาที่กัมพูชาจะเริ่มในเดือนเมษายน เชื่อว่าอีกไม่นานคนกลุ่มนี้ก็จะกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกครั้ง
ต้องยอมรับว่าแรงงานกัมพูชาเพิ่งเข้ามาในประเทศไทยได้ไม่นานนัก แตกต่างจากแรงงานพม่า ที่เข้ามานานและมีหน่วยงานต่างๆ คอยให้ความช่วยเหลือ ประสานงานหรือชี้แจงทำความเข้าใจ ขณะที่ชาวกัมพูชายังมีหน่วยงานเหล่านี้เข้ามาดูแลน้อย เมื่อเกิดเหตุอย่างนี้จึงลือต่อๆ กันไป
ครั้งนี้คนที่จะได้ประโยชน์คือบรรดานายหน้าที่นำเอาแรงงานกลุ่มนี้เข้ามา เพราะจะได้ค่าหัวคิวคนละ 5,000-10,000 บาท เหมือนกับเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับนายหน้าเหล่านี้ไปในตัว รวมไปถึงหน่วยงานราชการบางส่วนที่จะมีประโยชน์จากแรงงานเหล่านี้
ปฏิบัติการชิงไหวชิงพริบกันในระดับประเทศครั้งนี้ พอจะทราบกันว่าขั้วอำนาจเก่าอย่างทักษิณ ชินวัตร มีความเชี่ยวชาญในการเอาโลกล้อมประเทศไทย เพื่อตอบโต้และทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐในเวลานี้
นี่จึงกลายเป็นบททดสอบสำคัญของ คสช.ว่าจะฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้หรือไม่ หากไม่สามารถแก้ปัญหาได้เศรษฐกิจของประเทศก็จะประสบปัญหาเนื่องจากขาดแคลนแรงงาน ความตั้งใจที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนภาครัฐก็จะประสบปัญหา เพียงแค่ไม่ถึง 1 เดือนหลังการยึดอำนาจ คสช.ก็ถูกลองของซะแล้ว