‘ระบอบทักษิณ-ทุนสามานย์’ ต้องถูกขับพ้นแผ่นดินไทย แท้จริงคือรูปแบบเผด็จการทุนนิยม ซึ่งเลวร้ายกว่า ระบอบธนาธิปไตย ผุดรัฐตำรวจ-ฮุบทรัพยากรธรรมชาติ ยึดครองอำนาจเบ็ดเสร็จ ยันคำวินิจฉัยศาล รธน.ชี้ชัดให้สังคมได้รับรู้ไว้ว่า ระบอบทักษิณ ครอบงำจริงๆ ขณะที่แก้วสรร บอกประชากรไทยกลายเป็น ‘กบ’ ส่วน ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ แนะพลังประชาชนเท่านั้นจะจัดการทุนสามานย์ได้ เป้าหมายเพื่อสร้างสมดุลใหม่ รัฐ-ทุน-ประชาชน!
นับถอยหลังการเมืองของไทยกำลังก้าวสู่สถานการณ์ “นองเลือด” ตามที่โหรหลายสำนักทำนายทายทัก และที่สำคัญม็อบทั้ง 3 เวที ประกอบด้วย ม็อบราชดำเนินหรือกลุ่มต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนนำ กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ หรือ กปท. ซึ่งมีกองทัพธรรมและกลุ่มภาคีเครือข่ายประชาชน 77 จังหวัดเป็นพลังหนุน ปักหลักอยู่บริเวณผ่านฟ้า รวมไปถึงม็อบเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย หรือ คปท. ที่ยึดพื้นที่บริเวณสะพานมัฆวานเป็นที่ชุมนุม
โดยทั้ง 3 เวที ผนึกกำลังยกระดับสู่เป้าหมายเดียวกันคือการโค่นล้มระบอบทักษิณ ให้พ้นไปจากประเทศไทย!
อย่างไรก็ดี การที่นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ออกมาปฏิเสธว่าการครอบงำทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่ใช่ระบอบทักษิณ แต่เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มาจากประชาชนและพยายามจะชี้ให้สังคมเห็นว่านายสุเทพใช้วาทกรรมป้ายสีให้สังคมเข้าใจผิด!
ขณะที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 20 พ.ย.มีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของ ส.ว.เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมกับมีมติ 5 ต่อ 4 เสียงเห็นว่าการแก้ไขดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ดังนั้น คำว่าระบอบทักษิณ จริงๆ แล้วมันน่าสะพรึงกลัวขนาดไหน หากปล่อยให้ระบอบทักษิณ หรือบางท่านเรียกว่าทุนสามานย์อยู่ต่อไป ประเทศจะหายน่ะจริงหรือไม่ จนเป็นเหตุให้คนเรือนแสน เรือนล้านจะต้องออกมาชุมนุมในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ เพื่อขับไล่ “ทักษิณ-วงศ์วาน” GET OUT จากสังคมไทย ณ บัดนี้
ระบอบทักษิณ=ทุนสามานย์
ระบอบทักษิณ (Thaksinocracy) เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นมาใหม่ หลังจากที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์บางคนตั้งขึ้นเพื่อนิยามการปกครองของประเทศไทยในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าเป็นระบอบที่ไม่สนใจถึงเจตนารมณ์ที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประเทศแปรสภาพไปอยู่ในรูปแบบของเผด็จการรัฐสภา บ้างก็เรียกแบบการปกครองนี้ว่า “ทักษิณาธิปไตย” “ทรราชเสียงข้างมาก”
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไม่เคยเรียกว่าระบอบทักษิณ ใช้แต่คำว่าทุนสามานย์ ทุนสามานย์ของทักษิณ คือ ตัวของพรรคเพื่อไทยและนโยบายของพรรค ซึ่งเป็นทุนที่ไม่โปร่งใส ไม่เป็นประชาธิปไตย การเลือกตั้งเป็นเผด็จการสุดๆ
ลักษณะของทุนสามานย์ ประกอบด้วยหลัก 4 ประการ คือ 1. ความไม่โปร่งใส 2. ความไม่เป็นประชาธิปไตย 3. ความไม่เป็นธรรม และ 4. ความไม่สมดุล
เรื่องความไม่โปร่งใสเราเห็นตัวอย่างได้จากเรื่องโครงการรับจำนำข้าว หรืออย่างโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่วันนี้ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ และที่กำลังอยู่ในการพิจารณานั่นคือโครงการเมกะโปรเจกต์ 2 ล้านล้านบาท หรือเรื่องอื่นๆ อย่างเช่น การโกงภาษี และเรื่องคดีที่ดินรัชดาที่ศาลตัดสินแล้วจำคุก 2 ปี
ด้านความไม่เป็นประชาธิปไตย อย่างการเลือกตั้งที่เราเห็นนั้นไม่ใช่การเลือกตั้งที่แท้จริง และไม่ใช่ประชาธิปไตย ที่ผ่านมาเป็นเผด็จการรัฐสภาเหมือนกับฮิตเลอร์
นอกจากนี้ในเรื่องความไม่เป็นธรรม เราก็ได้เห็นแล้วกับวิธีการทำให้คนผิดกลายเป็นถูก หรือวิธีการทำให้คนที่ทำถูกกลายเป็นคนผิด มีการโจมตีสถาบันเบื้องสูง หรือการปล้นฆ่าที่มัสยิดกรือเซะ รวมไปถึงเรื่องการแก้ไขพระราชบัญญัติต่างๆ
ส่วนความไม่สมดุล ที่ผ่านมารัฐบาลมีอำนาจมากเกินไป โดยรัฐเป็นผู้เข้าไปรวบอำนาจของทุนและประชาชน ทำให้การบริหารงานที่ผ่านมาของรัฐบาลเป็นไปเพื่อรับใช้หรือให้ประโยชน์กับกลุ่มของตน ในทางปฏิบัติแล้วความสมดุลจะประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคทุน และภาคประชาชน เมื่อภาคทุนเข้าไปยึดอำนาจของภาครัฐได้และมีฐานของประชาชนอีกจำนวนหนึ่งที่สนับสนุน จึงทำให้รัฐบาลชุดนี้ใช้อำนาจที่มีโดยไม่สนใจคนอื่น
ดังนั้นจึงต้องมีการปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ โดยใช้ประชาชนเข้ามามีส่วนในการควบคุมอำนาจรัฐ และการที่ประชาชนออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเป็นจำนวนมากนั้น หากวัดในเชิงปริมาณแล้ว การออกมาของประชาชนในครั้งนี้มากกว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งครั้งนั้นมีแค่นักศึกษา แต่ครั้งนี้เป็นอธิการบดีและอีกหลายภาคส่วน เท่ากับเป็นการช่วยทำให้รัฐบาลต้องฟังเสียงประชาชนมากขึ้น ไม่ใช่อยากจะทำอะไรตามอำเภอใจเหมือนที่ผ่านมา
หากปล่อยไว้ พวกนี้ก็จะใช้ประโยชน์จากทุนสามานย์เข้ามาจัดการกับสิ่งต่างๆ ดังนั้นพลังประชาชนต้องร่วมกันต้านทุนสามานย์ ออกมาแสดงพลังเพื่อทำให้เกิดความสมดุลใหม่ระหว่างอำนาจรัฐ อำนาจทุน และอำนาจประชาชน
ธนาธิปไตย+ตำรวจ
ขณะที่นักวิชาการจากกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ อาจารย์คมสัน โพธิ์คง กล่าวว่า ระบอบทักษิณ เป็นระบอบธนาธิปไตย ทุนนิยมสมัยใหม่ ไม่คำนึงถึงคุณธรรม
หากดูตามความหมายของระบอบธนาธิปไตย คือ ระบบการเมืองการปกครองที่อำนาจรัฐตกอยู่ในกำมือของกลุ่มคนมีเงิน และกลุ่มก็ใช้เงินเป็นปัจจัยในการเข้าสู่อำนาจรัฐและใช้อำนาจนั้นในการหาผลประโยชน์ การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยแต่เพียงรูปแบบ แต่เนื้อแท้ก็คือธนาธิปไตย ซึ่งเป็นการเมืองเพื่ออำนาจผลประโยชน์ และอภิสิทธิ์ของกลุ่มคนที่มีอำนาจการเมือง
อาจารย์คมสันกล่าวเพิ่มเติมว่า ระบอบทักษิณเป็นธนาธิปไตยบวกด้วยอำนาจของตำรวจ ใช้ทั้งเงินและอำนาจเข้าจัดการ ถือว่าเลวร้ายกว่าระบอบธนาธิปไตยแบบปกติ กลายเป็นประชาธิปไตยแปลงร่าง ดังนั้นระบอบนี้จึงเป็นเผด็จการทุนนิยม ไม่ใช่ประชาธิปไตย แม้ตามหลักการแล้วทางพรรคเพื่อไทยจะมาจากการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งเป็นแค่วิธีการหนึ่งให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย แต่ด้วยกระบวนการทั้งหมดเป็นแค่การแฝงมาในรูปของประชาธิปไตย
ปัจจุบันการเมืองไทยถูกเผด็จการผูกขาดโดยระบอบทักษิณครอบงำ ซื้อเสียงผ่านระบบการเลือกตั้ง จนได้เสียงข้างมากในสภา ใช้อำนาจเงินซื้อสภาจนกลายเป็นสภาทาส
“คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญที่มาสมาชิกวุฒิสภา เป็นการสะท้อนระบอบทักษิณชัดเจนโดยสังเกตได้จากการที่ศาลใช้คำว่า ไม่เป็นประชาธิปไตย ละเมิดหลักนิติรัฐ นิติธรรม และเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย แค่ตรงนี้ก็ชี้ชัดได้แล้วว่าระบอบทักษิณนั้นไม่ใช่ประชาธิปไตยแน่นอน” อาจารย์คมสัน ระบุ
โดยเมื่อวันที่ 20 พ.ย. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของ ส.ว.เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมกับมีมติ 5 ต่อ 4 เสียง เห็นว่าการแก้ไขดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นหากระบอบทักษิณยังคงอยู่ไม่ว่ากี่ครั้ง พวกเขาสามารถฝ่าด่านการเลือกตั้งเข้ามาได้แล้ว ด้วยอำนาจทุนที่มี พวกเขาจะใช้เศรษฐกิจนำการเมือง คือ พยายามทำให้เศรษฐกิจดีไม่ว่าจะด้วยวิธีใด เพื่อทำให้คนไม่คิดถึงเรื่องการเมือง นอกจากนี้ยังได้ภาพว่ามีผลงาน เมื่อผู้คนมองที่ตัวเงินมากกว่าคุณธรรมแล้ว จากนี้ไปพวกเขาก็จะเลือกกินทีละอย่าง
จากนั้นเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าครองทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมด ยึดครองอำนาจทั้งหมด อย่างเช่น กิจการดาวเทียม ดังนั้นในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ภาคประชาชนควรเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก นำไปสู่การปฏิรูปประเทศ เพราะจะใช้แบบเดิมต่อไปไม่ได้แล้ว
สังคมไทยแหลก
ด้าน นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวว่า หากระบอบทักษิณยังคงดำเนินอยู่ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือสังคมไทยแตกแยกเป็นเสี่ยง ระบอบทักษิณเห็นราษฎรเป็นกบที่ต้องกวาดมาเลี้ยงในบ่อด้วยความโลภ-โกรธ-หลง
คนไทยจะแตกแยกตามแนวดิ่ง เป็นชนชั้น ไพร่-อำมาตย์ และจะแตกแยกตามแนวราบ เป็นถิ่นฐานการเมือง ระบอบทักษิณไม่รู้จักคำว่า ส่วนรวม-ความเสมอภาค-ความสมานฉันท์
ข้าราชการจะกลายเป็นข้าทาสของนักการเมือง กระทำในสิ่งชั่วร้ายแบบบูรณาการทุกระดับ ทุกหน่วยงาน กลายเป็นยุคตำรวจทมิฬ อย่างเช่น 4 มีนาคม 2492 ที่เกิดคดีฆาตกรรม 4 อดีตรัฐมนตรีในสายของนายปรีดี พนมยงค์ นอกจากนี้จะทำให้เกิดหนี้สินท่วมประเทศ ผู้คนสิ้นกำลัง ประเทศชาติย่อยยับล้มเหลว ดังนั้นจึงเรียกร้องให้ภาคประชาชนออกมาในวันที่ 24 พฤศจิกายนเพื่อไม่ให้เกิดสิ่งเหล่านี้ในประเทศไทยอีก
นับถอยหลังการเมืองของไทยกำลังก้าวสู่สถานการณ์ “นองเลือด” ตามที่โหรหลายสำนักทำนายทายทัก และที่สำคัญม็อบทั้ง 3 เวที ประกอบด้วย ม็อบราชดำเนินหรือกลุ่มต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนนำ กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ หรือ กปท. ซึ่งมีกองทัพธรรมและกลุ่มภาคีเครือข่ายประชาชน 77 จังหวัดเป็นพลังหนุน ปักหลักอยู่บริเวณผ่านฟ้า รวมไปถึงม็อบเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย หรือ คปท. ที่ยึดพื้นที่บริเวณสะพานมัฆวานเป็นที่ชุมนุม
โดยทั้ง 3 เวที ผนึกกำลังยกระดับสู่เป้าหมายเดียวกันคือการโค่นล้มระบอบทักษิณ ให้พ้นไปจากประเทศไทย!
อย่างไรก็ดี การที่นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ออกมาปฏิเสธว่าการครอบงำทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่ใช่ระบอบทักษิณ แต่เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มาจากประชาชนและพยายามจะชี้ให้สังคมเห็นว่านายสุเทพใช้วาทกรรมป้ายสีให้สังคมเข้าใจผิด!
ขณะที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 20 พ.ย.มีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของ ส.ว.เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมกับมีมติ 5 ต่อ 4 เสียงเห็นว่าการแก้ไขดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ดังนั้น คำว่าระบอบทักษิณ จริงๆ แล้วมันน่าสะพรึงกลัวขนาดไหน หากปล่อยให้ระบอบทักษิณ หรือบางท่านเรียกว่าทุนสามานย์อยู่ต่อไป ประเทศจะหายน่ะจริงหรือไม่ จนเป็นเหตุให้คนเรือนแสน เรือนล้านจะต้องออกมาชุมนุมในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ เพื่อขับไล่ “ทักษิณ-วงศ์วาน” GET OUT จากสังคมไทย ณ บัดนี้
ระบอบทักษิณ=ทุนสามานย์
ระบอบทักษิณ (Thaksinocracy) เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นมาใหม่ หลังจากที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์บางคนตั้งขึ้นเพื่อนิยามการปกครองของประเทศไทยในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าเป็นระบอบที่ไม่สนใจถึงเจตนารมณ์ที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประเทศแปรสภาพไปอยู่ในรูปแบบของเผด็จการรัฐสภา บ้างก็เรียกแบบการปกครองนี้ว่า “ทักษิณาธิปไตย” “ทรราชเสียงข้างมาก”
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไม่เคยเรียกว่าระบอบทักษิณ ใช้แต่คำว่าทุนสามานย์ ทุนสามานย์ของทักษิณ คือ ตัวของพรรคเพื่อไทยและนโยบายของพรรค ซึ่งเป็นทุนที่ไม่โปร่งใส ไม่เป็นประชาธิปไตย การเลือกตั้งเป็นเผด็จการสุดๆ
ลักษณะของทุนสามานย์ ประกอบด้วยหลัก 4 ประการ คือ 1. ความไม่โปร่งใส 2. ความไม่เป็นประชาธิปไตย 3. ความไม่เป็นธรรม และ 4. ความไม่สมดุล
เรื่องความไม่โปร่งใสเราเห็นตัวอย่างได้จากเรื่องโครงการรับจำนำข้าว หรืออย่างโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่วันนี้ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ และที่กำลังอยู่ในการพิจารณานั่นคือโครงการเมกะโปรเจกต์ 2 ล้านล้านบาท หรือเรื่องอื่นๆ อย่างเช่น การโกงภาษี และเรื่องคดีที่ดินรัชดาที่ศาลตัดสินแล้วจำคุก 2 ปี
ด้านความไม่เป็นประชาธิปไตย อย่างการเลือกตั้งที่เราเห็นนั้นไม่ใช่การเลือกตั้งที่แท้จริง และไม่ใช่ประชาธิปไตย ที่ผ่านมาเป็นเผด็จการรัฐสภาเหมือนกับฮิตเลอร์
นอกจากนี้ในเรื่องความไม่เป็นธรรม เราก็ได้เห็นแล้วกับวิธีการทำให้คนผิดกลายเป็นถูก หรือวิธีการทำให้คนที่ทำถูกกลายเป็นคนผิด มีการโจมตีสถาบันเบื้องสูง หรือการปล้นฆ่าที่มัสยิดกรือเซะ รวมไปถึงเรื่องการแก้ไขพระราชบัญญัติต่างๆ
ส่วนความไม่สมดุล ที่ผ่านมารัฐบาลมีอำนาจมากเกินไป โดยรัฐเป็นผู้เข้าไปรวบอำนาจของทุนและประชาชน ทำให้การบริหารงานที่ผ่านมาของรัฐบาลเป็นไปเพื่อรับใช้หรือให้ประโยชน์กับกลุ่มของตน ในทางปฏิบัติแล้วความสมดุลจะประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคทุน และภาคประชาชน เมื่อภาคทุนเข้าไปยึดอำนาจของภาครัฐได้และมีฐานของประชาชนอีกจำนวนหนึ่งที่สนับสนุน จึงทำให้รัฐบาลชุดนี้ใช้อำนาจที่มีโดยไม่สนใจคนอื่น
ดังนั้นจึงต้องมีการปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ โดยใช้ประชาชนเข้ามามีส่วนในการควบคุมอำนาจรัฐ และการที่ประชาชนออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเป็นจำนวนมากนั้น หากวัดในเชิงปริมาณแล้ว การออกมาของประชาชนในครั้งนี้มากกว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งครั้งนั้นมีแค่นักศึกษา แต่ครั้งนี้เป็นอธิการบดีและอีกหลายภาคส่วน เท่ากับเป็นการช่วยทำให้รัฐบาลต้องฟังเสียงประชาชนมากขึ้น ไม่ใช่อยากจะทำอะไรตามอำเภอใจเหมือนที่ผ่านมา
หากปล่อยไว้ พวกนี้ก็จะใช้ประโยชน์จากทุนสามานย์เข้ามาจัดการกับสิ่งต่างๆ ดังนั้นพลังประชาชนต้องร่วมกันต้านทุนสามานย์ ออกมาแสดงพลังเพื่อทำให้เกิดความสมดุลใหม่ระหว่างอำนาจรัฐ อำนาจทุน และอำนาจประชาชน
ธนาธิปไตย+ตำรวจ
ขณะที่นักวิชาการจากกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ อาจารย์คมสัน โพธิ์คง กล่าวว่า ระบอบทักษิณ เป็นระบอบธนาธิปไตย ทุนนิยมสมัยใหม่ ไม่คำนึงถึงคุณธรรม
หากดูตามความหมายของระบอบธนาธิปไตย คือ ระบบการเมืองการปกครองที่อำนาจรัฐตกอยู่ในกำมือของกลุ่มคนมีเงิน และกลุ่มก็ใช้เงินเป็นปัจจัยในการเข้าสู่อำนาจรัฐและใช้อำนาจนั้นในการหาผลประโยชน์ การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยแต่เพียงรูปแบบ แต่เนื้อแท้ก็คือธนาธิปไตย ซึ่งเป็นการเมืองเพื่ออำนาจผลประโยชน์ และอภิสิทธิ์ของกลุ่มคนที่มีอำนาจการเมือง
อาจารย์คมสันกล่าวเพิ่มเติมว่า ระบอบทักษิณเป็นธนาธิปไตยบวกด้วยอำนาจของตำรวจ ใช้ทั้งเงินและอำนาจเข้าจัดการ ถือว่าเลวร้ายกว่าระบอบธนาธิปไตยแบบปกติ กลายเป็นประชาธิปไตยแปลงร่าง ดังนั้นระบอบนี้จึงเป็นเผด็จการทุนนิยม ไม่ใช่ประชาธิปไตย แม้ตามหลักการแล้วทางพรรคเพื่อไทยจะมาจากการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งเป็นแค่วิธีการหนึ่งให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย แต่ด้วยกระบวนการทั้งหมดเป็นแค่การแฝงมาในรูปของประชาธิปไตย
ปัจจุบันการเมืองไทยถูกเผด็จการผูกขาดโดยระบอบทักษิณครอบงำ ซื้อเสียงผ่านระบบการเลือกตั้ง จนได้เสียงข้างมากในสภา ใช้อำนาจเงินซื้อสภาจนกลายเป็นสภาทาส
“คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญที่มาสมาชิกวุฒิสภา เป็นการสะท้อนระบอบทักษิณชัดเจนโดยสังเกตได้จากการที่ศาลใช้คำว่า ไม่เป็นประชาธิปไตย ละเมิดหลักนิติรัฐ นิติธรรม และเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย แค่ตรงนี้ก็ชี้ชัดได้แล้วว่าระบอบทักษิณนั้นไม่ใช่ประชาธิปไตยแน่นอน” อาจารย์คมสัน ระบุ
โดยเมื่อวันที่ 20 พ.ย. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของ ส.ว.เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมกับมีมติ 5 ต่อ 4 เสียง เห็นว่าการแก้ไขดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นหากระบอบทักษิณยังคงอยู่ไม่ว่ากี่ครั้ง พวกเขาสามารถฝ่าด่านการเลือกตั้งเข้ามาได้แล้ว ด้วยอำนาจทุนที่มี พวกเขาจะใช้เศรษฐกิจนำการเมือง คือ พยายามทำให้เศรษฐกิจดีไม่ว่าจะด้วยวิธีใด เพื่อทำให้คนไม่คิดถึงเรื่องการเมือง นอกจากนี้ยังได้ภาพว่ามีผลงาน เมื่อผู้คนมองที่ตัวเงินมากกว่าคุณธรรมแล้ว จากนี้ไปพวกเขาก็จะเลือกกินทีละอย่าง
จากนั้นเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าครองทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมด ยึดครองอำนาจทั้งหมด อย่างเช่น กิจการดาวเทียม ดังนั้นในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ภาคประชาชนควรเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก นำไปสู่การปฏิรูปประเทศ เพราะจะใช้แบบเดิมต่อไปไม่ได้แล้ว
สังคมไทยแหลก
ด้าน นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวว่า หากระบอบทักษิณยังคงดำเนินอยู่ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือสังคมไทยแตกแยกเป็นเสี่ยง ระบอบทักษิณเห็นราษฎรเป็นกบที่ต้องกวาดมาเลี้ยงในบ่อด้วยความโลภ-โกรธ-หลง
คนไทยจะแตกแยกตามแนวดิ่ง เป็นชนชั้น ไพร่-อำมาตย์ และจะแตกแยกตามแนวราบ เป็นถิ่นฐานการเมือง ระบอบทักษิณไม่รู้จักคำว่า ส่วนรวม-ความเสมอภาค-ความสมานฉันท์
ข้าราชการจะกลายเป็นข้าทาสของนักการเมือง กระทำในสิ่งชั่วร้ายแบบบูรณาการทุกระดับ ทุกหน่วยงาน กลายเป็นยุคตำรวจทมิฬ อย่างเช่น 4 มีนาคม 2492 ที่เกิดคดีฆาตกรรม 4 อดีตรัฐมนตรีในสายของนายปรีดี พนมยงค์ นอกจากนี้จะทำให้เกิดหนี้สินท่วมประเทศ ผู้คนสิ้นกำลัง ประเทศชาติย่อยยับล้มเหลว ดังนั้นจึงเรียกร้องให้ภาคประชาชนออกมาในวันที่ 24 พฤศจิกายนเพื่อไม่ให้เกิดสิ่งเหล่านี้ในประเทศไทยอีก