เทียบกรมธรรม์คนสูงอายุ 3 ราย รายใหม่ให้สิทธิประโยชน์เกทับรายเก่า แต่รายละเอียดหลักไม่ต่างกัน เป้าหลักเน้นที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หากป่วยตายช่วง 1-2 ปีได้น้อย ถ้า 3 ปีขึ้นไปได้ 100% ของเงินเอาประกัน ค่ายเมืองไทยให้ 200% เสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะ เอไอเอเอาคืนให้ 500% อลิอันซ์อยู่ครบให้คืน 120% เอไอเอให้ 150% คนใน คปภ.แนะอ่านรายละเอียดให้ดีก่อนตัดสินใจ

การแข่งขันกันของธุรกิจประกันชีวิตที่หันมาทำตลาดผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ มีหลายรายรูปแบบความคุ้มครอง การนำเสนอด้วยเรื่องราวที่ประทับใจหรือสะเทือนใจถูกถ่ายทอดออกมาเพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำประกันชีวิต ท้ายที่สุดคือการเลือกทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันที่ออกโฆษณาผ่านทางโทรทัศน์ด้วยการโทรศัพท์เข้าไปแสดงความจำนงในการทำประกัน
รูปแบบที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่มีตัวแทนไปนำเสนอรูปแบบกรมธรรม์ประเภทต่างๆ มาเป็นวิธีการเรียกลูกค้าให้เดินเข้ามาทำประกันโดยไม่ต้องผ่านตัวแทน เรียกกันว่าเป็น Direct Marketing
เอไอเอ บริษัทประกันรายใหญ่ให้ความหมายว่า คือการเสนอขายสินค้าประกันภัยทางตรงให้กับลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์ โดยใช้ช่องทางการโฆษณาผ่านสื่อในวงกว้างทั้งทางโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ ที่ลูกค้าสามารถติดต่อกลับได้ทันทีเมื่อลูกค้าสะดวก เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างทั่วถึงและเข้าถึงลูกค้าที่ตัวแทนยังไม่สามารถเข้าถึงได้อีกด้วย ซึ่งการขายในรูปแบบนี้เป็นการขายที่ไม่ต้องผ่านตัวแทน
ดังนั้นลูกค้าจึงไม่ต้องประสบปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับตัวแทนและไม่ยุ่งยากในการนัดพบ ทั้งยังเป็นการขายที่มาจากความประสงค์ของลูกค้าโดยตรงต่อความต้องการรับข้อมูลและซื้อสินค้าประกันภัยในทุกเวลาเมื่อเห็นสื่อโฆษณา ลูกค้าจะได้รับการบริการที่สะดวก รวดเร็ว ทันใจ และง่ายต่อการได้รับข้อมูลและซื้อสินค้าประกันภัยเพียงแค่ยกหูโทรศัพท์เท่านั้น
ออกกฎคุม “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ”
ประกันชีวิตอีกกลุ่มหนึ่งที่ปลุกกระแสคนให้อยากทำประกันมากขึ้นคือกลุ่มผู้สูงวัยที่เดิมเมื่ออายุเข้าสู่วัยเกษียณแล้วการจะทำประกันชีวิตใหม่เป็นเรื่องยาก ช่องว่างทางการตลาดจึงเกิดขึ้น บริษัทประกันจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าจับลูกค้าในกลุ่มนี้ ด้วยการนำเอาดาราหรือพิธีกรรุ่นใหญ่มาเป็นพรีเซนเตอร์ในการดึงดูดความสนใจ พร้อมด้วยการประดิษฐ์ถ้อยคำที่โน้มน้าวใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
คำว่า “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ” กลายเป็นคำดึงดูดใจได้เป็นอย่างดี แถมด้วย “ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ” ยิ่งส่งผลให้ประกันประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก
จนกลายเป็นที่มาของการประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) เมื่อ 23 มกราคม 2556 ด้วยเหตุผลที่ว่า เนื่องจากปัจจุบันบริษัทประกันภัยมีการออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยในรูปแบบต่างๆ เพื่อแข่งขัน และตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันวินาศภัยผ่านสื่อต่างๆ เป็นจำนวนมาก
ดังนั้น เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชน ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบหลักการร่างกรอบการโฆษณาเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันชีวิต ประกันวินาศภัย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
- ข้อความที่โฆษณาต้องไม่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
- ข้อความที่โฆษณาต้องมีความชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่กำกวม
- ข้อความที่โฆษณาต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์หรือการจ่ายผลประโยชน์
- ในการโฆษณาที่ระบุ “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ” จะต้องมีการระบุให้ชัดเจนด้วยว่าต้องแถลงเกี่ยวกับสุขภาพในใบคำขอเอาประกันภัย/ชีวิตด้วยหรือไม่ หากมีการแถลงเกี่ยวกับสุขภาพ ต้องระบุเพิ่มด้วยว่า การแถลงสุขภาพเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัย/ชีวิต
- ให้มีการระบุคำเตือน โดยใช้ข้อความว่า “ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง” หรือข้อความอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกัน
เอาดารามาล่อ
แหล่งข่าวจาก คปภ.กล่าวว่า พอบริษัทประกันหันมาใช้วิธีการขายตรงด้วยการโฆษณา ทำให้ได้ลูกค้าจำนวนมากและเกิดปัญหาตามมามากเช่นกัน เพราะคำว่า “ไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ” ถือว่าเป็นการทะลุข้อจำกัดเดิมของระบบประกันที่เคยมีเรื่องการตรวจสุขภาพ ตรงนี้จะเกี่ยวข้องกับผู้ที่ซื้อกรมธรรม์ที่คุ้มครองสุขภาพ
ประกันชีวิตในกลุ่มของผู้สูงอายุนั้นจะมีทั้งเฉพาะประกันชีวิตเพียงอย่างเดียวและส่วนที่ประกันสุขภาพ หากมองเฉพาะในส่วนของประกันชีวิตเพียงอย่างเดียวนั้นที่นำเอาดารามาโฆษณาในตลาดขณะนี้มี 3 รายหลักประกอบด้วย เอไอเอ เมืองไทยประกันชีวิต และอลิอันซ์ อยุธยา
ค่ายเอไอเอนำเอา เศรษฐา ศิระฉายา นักร้อง ดาราและพิธีกรชื่อดังขึ้นมาเป็นพรีเซนเตอร์ กับชื่อ “ประกันชีวิตอาวุโสโอเค” จากนั้นค่ายเมืองไทยประกันชีวิตออกผลิตภัณฑ์ “เมืองไทยวัยเก๋า” ดึงเอา วิทวัส สุนทรวิเนตร์ พิธีกรชื่อดังมาเป็นต้นแบบ อีกค่ายที่ตามมาคืออลิอันซ์ อยุธยา ออกผลิตภัณฑ์ “สูงวัย ใช่เลย” ได้ นพพล โกมารชุน นักแสดงรุ่นใหญ่มาเป็นพรีเซนเตอร์ จากนั้นเอไอเอได้ออกผลิตภัณฑ์อีกตัวคือ “เอไอเอ 50 อัพ” มี นิรุตติ์ ศิริจรรยา ดาราอาวุโสมาเป็นต้นแบบ

เน้นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
ประกันประเภทนี้คล้ายกับฌาปนกิจสงเคราะห์ แต่กรณีนี้จะได้รับเงินคืนตามสัญญาเมื่อครบกำหนดกรณีที่ยังไม่เสียชีวิตด้วย นั่นหมายถึงท่านต้องมีอายุยืนถึง 90 ปี
ความแตกต่างของเงื่อนไขและความคุ้มครองไม่ต่างกันมากนัก คือเน้นไปที่การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเป็นหลัก แต่ก็ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย แม้ว่าจะไม่ต้องตรวจสุขภาพแต่ภายใต้สัญญาของผลประโยชน์ที่ได้รับนั้น ถือว่าเป็นการตรวจสุขภาพทางอ้อม เงื่อนไขเกือบทุกที่จะระบุไว้ว่าถ้าเสียชีวิตด้วยการเจ็บป่วยหรือโรคทั่วไปในช่วง 1-2 ปีแรก จะได้รับเงิน 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว ความหมายคือคุณส่งเบี้ยไปเท่าไหร่ก็จะได้คืนทั้งหมดบวกให้อีก 2% เช่นส่งเบี้ยไป 1,500 บาทและเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บก็จะได้เงิน 1,500 บาทบวกอีก 2% ของ 1,500 บาท หรือ 30 บาท ก็จะรับเงินไป 1,530 บาท
แต่หากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ในช่วง 1-2 ปีแรก ถึงจะได้เงิน 100% ของทุนเอาประกันบวกอีก 102% ของเบี้ยที่ชำระแล้ว และถ้าเข้าสู่ปีที่ 3 ขึ้นไปจะได้ 100% ของเงินเอาประกัน เพราะโดยพื้นฐานของมนุษย์แล้วคงไม่มีใครอยากตาย ดังนั้นการให้สิทธิประโยชน์ล่อใจจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในช่วง 1-2 ปีแรกนั้นคงไม่มีใครต้องการสิทธินั้น
กรมธรรม์ประเภทนี้อาจมีข้อแตกต่างกันไปบ้าง ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของความคุ้มครองและจำนวนการจ่ายเงินประกัน รายใหม่ก็มักจะให้เงื่อนไขพิเศษเพิ่มขึ้นมากกว่ารายเดิมเพื่อดึงดูดใจให้ลูกค้าหันมาใช้บริการ อย่างค่ายเมืองไทยประกันชีวิตได้เพิ่มความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะ จากส่วนใหญ่ที่จ่ายกัน 100% มาเป็น 200% ช่วง 1-2 ปีแรก และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะในปีที่ 3 ขึ้นไปได้ 200% ของเงินเอาประกัน
ถัดมาค่ายเอไอเอออก 50 อัพจ่ายเพิ่มจากอุบัติเหตุสาธารณะเป็น 500% และถ้าเสียชีวิตในปีที่ 3 ขึ้นไปเงินเอาประกันจะเพิ่มขึ้นในปีที่ 4 ปีละ 10% จนถึง 150% ของเงินเอาประกัน
ข้อพิจารณาอีกรายการหนึ่งคือเมื่อผู้เอาประกันไม่เสียชีวิตเมื่ออายุ 90 ปี จะได้เงินคืนที่แตกต่างกันไป ตัวอาวุโสและเมืองไทยวัยเก๋า จะได้ 100% ของเงินเอาประกัน ส่วนสูงวัยใช่เลยได้ 120% และ 50 อัพได้ 150%

ดูความพร้อม-ศึกษาเงื่อนไข
แหล่งข่าวแนะนำว่า ผู้ที่สนใจจะทำกรมธรรม์ประเภทนี้ควรเปรียบเทียบเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ได้จากเอกสารหรือสอบถามไปยังบริษัทให้ละเอียด แต่คงได้แค่รายละเอียดเบื้องต้นเท่านั้น เพราะตัวชี้วัดทั้งหมดอยู่ที่ค่าเบี้ยประกันที่ต้องชำระซึ่งจะผูกพันกับจำนวนทุนเอาประกันและเงื่อนไขในการจ่าย โดยทั่วไปแล้วทุนประกันสูง จ่ายคืนให้สูงในกรณีที่เสียชีวิต ค่าเบี้ยย่อมสูงควบคู่กันไป
อย่างกรณีของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะที่ค่ายเมืองไทยและเอไอเอ (50 อัพ) จ่ายให้ 200% และ 500% ของทุนเอาประกันนั้น ต้องสอบถามในเรื่องคำจำกัดความของอุบัติเหตุสาธารณะด้วยว่าครอบคลุมอะไรบ้าง แล้วตัวท่านมีแนวโน้มที่จะได้รับความเสี่ยงในส่วนนี้หรือไม่ ถ้าไม่ก็ตัดประเด็นนี้ออกไป
นอกจากนี้ต้องสอบถามเรื่องการซื้อกรมธรรม์คุ้มครองสุขภาพเพิ่มเติม (ถ้าต้องการ) ด้วยว่าทำได้หรือไม่ เพราะบางแห่งซื้อเพิ่มไม่ได้ แต่บางรายซื้อเพิ่มได้ หรือเรื่องการชำระเบี้ยบางแห่งชำระแค่เพียง 10 ปี บางแห่งต้องชำระตลอดจนอายุครบ 90 ปี สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการคิดค่าเบี้ยประกันทั้งสิ้น
ในกรณีของการจ่ายเงินคืนเมื่อครบกำหนด กรณีนี้คงไม่มีใครตอบได้เช่นกันว่าตัวท่านจะอยู่ถึงอายุครบ 90 ปีหรือไม่
ประกันประเภทนี้คนที่ทำไม่ได้เป็นคนใช้เงิน จำกัดอายุผู้ทำไว้ไม่เกิน 70 หรือ 75 ปีเท่านั้น จุดมุ่งหมายคือเมื่อเสียชีวิตแล้วมีเงินให้ลูกหลานจัดการงานศพ คือไม่เป็นภาระของลูกหลาน โดยจะใช้ค่าเบี้ยและจำนวนผู้ซื้อกรมธรรม์เป็นตัวเฉลี่ยกับการเสียชีวิต
ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะซื้อกรมธรรม์ประเภทนี้ต้องศึกษาและทำความเข้าใจถึงเงื่อนไขและการคุ้มครองให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจ เพื่อจะได้ประโยชน์สูงสุดสำหรับตัวท่านเอง
การแข่งขันกันของธุรกิจประกันชีวิตที่หันมาทำตลาดผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ มีหลายรายรูปแบบความคุ้มครอง การนำเสนอด้วยเรื่องราวที่ประทับใจหรือสะเทือนใจถูกถ่ายทอดออกมาเพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำประกันชีวิต ท้ายที่สุดคือการเลือกทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันที่ออกโฆษณาผ่านทางโทรทัศน์ด้วยการโทรศัพท์เข้าไปแสดงความจำนงในการทำประกัน
รูปแบบที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่มีตัวแทนไปนำเสนอรูปแบบกรมธรรม์ประเภทต่างๆ มาเป็นวิธีการเรียกลูกค้าให้เดินเข้ามาทำประกันโดยไม่ต้องผ่านตัวแทน เรียกกันว่าเป็น Direct Marketing
เอไอเอ บริษัทประกันรายใหญ่ให้ความหมายว่า คือการเสนอขายสินค้าประกันภัยทางตรงให้กับลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์ โดยใช้ช่องทางการโฆษณาผ่านสื่อในวงกว้างทั้งทางโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ ที่ลูกค้าสามารถติดต่อกลับได้ทันทีเมื่อลูกค้าสะดวก เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างทั่วถึงและเข้าถึงลูกค้าที่ตัวแทนยังไม่สามารถเข้าถึงได้อีกด้วย ซึ่งการขายในรูปแบบนี้เป็นการขายที่ไม่ต้องผ่านตัวแทน
ดังนั้นลูกค้าจึงไม่ต้องประสบปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับตัวแทนและไม่ยุ่งยากในการนัดพบ ทั้งยังเป็นการขายที่มาจากความประสงค์ของลูกค้าโดยตรงต่อความต้องการรับข้อมูลและซื้อสินค้าประกันภัยในทุกเวลาเมื่อเห็นสื่อโฆษณา ลูกค้าจะได้รับการบริการที่สะดวก รวดเร็ว ทันใจ และง่ายต่อการได้รับข้อมูลและซื้อสินค้าประกันภัยเพียงแค่ยกหูโทรศัพท์เท่านั้น
ออกกฎคุม “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ”
ประกันชีวิตอีกกลุ่มหนึ่งที่ปลุกกระแสคนให้อยากทำประกันมากขึ้นคือกลุ่มผู้สูงวัยที่เดิมเมื่ออายุเข้าสู่วัยเกษียณแล้วการจะทำประกันชีวิตใหม่เป็นเรื่องยาก ช่องว่างทางการตลาดจึงเกิดขึ้น บริษัทประกันจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าจับลูกค้าในกลุ่มนี้ ด้วยการนำเอาดาราหรือพิธีกรรุ่นใหญ่มาเป็นพรีเซนเตอร์ในการดึงดูดความสนใจ พร้อมด้วยการประดิษฐ์ถ้อยคำที่โน้มน้าวใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
คำว่า “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ” กลายเป็นคำดึงดูดใจได้เป็นอย่างดี แถมด้วย “ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ” ยิ่งส่งผลให้ประกันประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก
จนกลายเป็นที่มาของการประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) เมื่อ 23 มกราคม 2556 ด้วยเหตุผลที่ว่า เนื่องจากปัจจุบันบริษัทประกันภัยมีการออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยในรูปแบบต่างๆ เพื่อแข่งขัน และตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันวินาศภัยผ่านสื่อต่างๆ เป็นจำนวนมาก
ดังนั้น เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชน ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบหลักการร่างกรอบการโฆษณาเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันชีวิต ประกันวินาศภัย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
- ข้อความที่โฆษณาต้องไม่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
- ข้อความที่โฆษณาต้องมีความชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่กำกวม
- ข้อความที่โฆษณาต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์หรือการจ่ายผลประโยชน์
- ในการโฆษณาที่ระบุ “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ” จะต้องมีการระบุให้ชัดเจนด้วยว่าต้องแถลงเกี่ยวกับสุขภาพในใบคำขอเอาประกันภัย/ชีวิตด้วยหรือไม่ หากมีการแถลงเกี่ยวกับสุขภาพ ต้องระบุเพิ่มด้วยว่า การแถลงสุขภาพเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัย/ชีวิต
- ให้มีการระบุคำเตือน โดยใช้ข้อความว่า “ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง” หรือข้อความอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกัน
เอาดารามาล่อ
แหล่งข่าวจาก คปภ.กล่าวว่า พอบริษัทประกันหันมาใช้วิธีการขายตรงด้วยการโฆษณา ทำให้ได้ลูกค้าจำนวนมากและเกิดปัญหาตามมามากเช่นกัน เพราะคำว่า “ไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ” ถือว่าเป็นการทะลุข้อจำกัดเดิมของระบบประกันที่เคยมีเรื่องการตรวจสุขภาพ ตรงนี้จะเกี่ยวข้องกับผู้ที่ซื้อกรมธรรม์ที่คุ้มครองสุขภาพ
ประกันชีวิตในกลุ่มของผู้สูงอายุนั้นจะมีทั้งเฉพาะประกันชีวิตเพียงอย่างเดียวและส่วนที่ประกันสุขภาพ หากมองเฉพาะในส่วนของประกันชีวิตเพียงอย่างเดียวนั้นที่นำเอาดารามาโฆษณาในตลาดขณะนี้มี 3 รายหลักประกอบด้วย เอไอเอ เมืองไทยประกันชีวิต และอลิอันซ์ อยุธยา
ค่ายเอไอเอนำเอา เศรษฐา ศิระฉายา นักร้อง ดาราและพิธีกรชื่อดังขึ้นมาเป็นพรีเซนเตอร์ กับชื่อ “ประกันชีวิตอาวุโสโอเค” จากนั้นค่ายเมืองไทยประกันชีวิตออกผลิตภัณฑ์ “เมืองไทยวัยเก๋า” ดึงเอา วิทวัส สุนทรวิเนตร์ พิธีกรชื่อดังมาเป็นต้นแบบ อีกค่ายที่ตามมาคืออลิอันซ์ อยุธยา ออกผลิตภัณฑ์ “สูงวัย ใช่เลย” ได้ นพพล โกมารชุน นักแสดงรุ่นใหญ่มาเป็นพรีเซนเตอร์ จากนั้นเอไอเอได้ออกผลิตภัณฑ์อีกตัวคือ “เอไอเอ 50 อัพ” มี นิรุตติ์ ศิริจรรยา ดาราอาวุโสมาเป็นต้นแบบ
เน้นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
ประกันประเภทนี้คล้ายกับฌาปนกิจสงเคราะห์ แต่กรณีนี้จะได้รับเงินคืนตามสัญญาเมื่อครบกำหนดกรณีที่ยังไม่เสียชีวิตด้วย นั่นหมายถึงท่านต้องมีอายุยืนถึง 90 ปี
ความแตกต่างของเงื่อนไขและความคุ้มครองไม่ต่างกันมากนัก คือเน้นไปที่การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเป็นหลัก แต่ก็ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย แม้ว่าจะไม่ต้องตรวจสุขภาพแต่ภายใต้สัญญาของผลประโยชน์ที่ได้รับนั้น ถือว่าเป็นการตรวจสุขภาพทางอ้อม เงื่อนไขเกือบทุกที่จะระบุไว้ว่าถ้าเสียชีวิตด้วยการเจ็บป่วยหรือโรคทั่วไปในช่วง 1-2 ปีแรก จะได้รับเงิน 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว ความหมายคือคุณส่งเบี้ยไปเท่าไหร่ก็จะได้คืนทั้งหมดบวกให้อีก 2% เช่นส่งเบี้ยไป 1,500 บาทและเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บก็จะได้เงิน 1,500 บาทบวกอีก 2% ของ 1,500 บาท หรือ 30 บาท ก็จะรับเงินไป 1,530 บาท
แต่หากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ในช่วง 1-2 ปีแรก ถึงจะได้เงิน 100% ของทุนเอาประกันบวกอีก 102% ของเบี้ยที่ชำระแล้ว และถ้าเข้าสู่ปีที่ 3 ขึ้นไปจะได้ 100% ของเงินเอาประกัน เพราะโดยพื้นฐานของมนุษย์แล้วคงไม่มีใครอยากตาย ดังนั้นการให้สิทธิประโยชน์ล่อใจจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในช่วง 1-2 ปีแรกนั้นคงไม่มีใครต้องการสิทธินั้น
กรมธรรม์ประเภทนี้อาจมีข้อแตกต่างกันไปบ้าง ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของความคุ้มครองและจำนวนการจ่ายเงินประกัน รายใหม่ก็มักจะให้เงื่อนไขพิเศษเพิ่มขึ้นมากกว่ารายเดิมเพื่อดึงดูดใจให้ลูกค้าหันมาใช้บริการ อย่างค่ายเมืองไทยประกันชีวิตได้เพิ่มความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะ จากส่วนใหญ่ที่จ่ายกัน 100% มาเป็น 200% ช่วง 1-2 ปีแรก และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะในปีที่ 3 ขึ้นไปได้ 200% ของเงินเอาประกัน
ถัดมาค่ายเอไอเอออก 50 อัพจ่ายเพิ่มจากอุบัติเหตุสาธารณะเป็น 500% และถ้าเสียชีวิตในปีที่ 3 ขึ้นไปเงินเอาประกันจะเพิ่มขึ้นในปีที่ 4 ปีละ 10% จนถึง 150% ของเงินเอาประกัน
ข้อพิจารณาอีกรายการหนึ่งคือเมื่อผู้เอาประกันไม่เสียชีวิตเมื่ออายุ 90 ปี จะได้เงินคืนที่แตกต่างกันไป ตัวอาวุโสและเมืองไทยวัยเก๋า จะได้ 100% ของเงินเอาประกัน ส่วนสูงวัยใช่เลยได้ 120% และ 50 อัพได้ 150%
ดูความพร้อม-ศึกษาเงื่อนไข
แหล่งข่าวแนะนำว่า ผู้ที่สนใจจะทำกรมธรรม์ประเภทนี้ควรเปรียบเทียบเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ได้จากเอกสารหรือสอบถามไปยังบริษัทให้ละเอียด แต่คงได้แค่รายละเอียดเบื้องต้นเท่านั้น เพราะตัวชี้วัดทั้งหมดอยู่ที่ค่าเบี้ยประกันที่ต้องชำระซึ่งจะผูกพันกับจำนวนทุนเอาประกันและเงื่อนไขในการจ่าย โดยทั่วไปแล้วทุนประกันสูง จ่ายคืนให้สูงในกรณีที่เสียชีวิต ค่าเบี้ยย่อมสูงควบคู่กันไป
อย่างกรณีของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะที่ค่ายเมืองไทยและเอไอเอ (50 อัพ) จ่ายให้ 200% และ 500% ของทุนเอาประกันนั้น ต้องสอบถามในเรื่องคำจำกัดความของอุบัติเหตุสาธารณะด้วยว่าครอบคลุมอะไรบ้าง แล้วตัวท่านมีแนวโน้มที่จะได้รับความเสี่ยงในส่วนนี้หรือไม่ ถ้าไม่ก็ตัดประเด็นนี้ออกไป
นอกจากนี้ต้องสอบถามเรื่องการซื้อกรมธรรม์คุ้มครองสุขภาพเพิ่มเติม (ถ้าต้องการ) ด้วยว่าทำได้หรือไม่ เพราะบางแห่งซื้อเพิ่มไม่ได้ แต่บางรายซื้อเพิ่มได้ หรือเรื่องการชำระเบี้ยบางแห่งชำระแค่เพียง 10 ปี บางแห่งต้องชำระตลอดจนอายุครบ 90 ปี สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการคิดค่าเบี้ยประกันทั้งสิ้น
ในกรณีของการจ่ายเงินคืนเมื่อครบกำหนด กรณีนี้คงไม่มีใครตอบได้เช่นกันว่าตัวท่านจะอยู่ถึงอายุครบ 90 ปีหรือไม่
ประกันประเภทนี้คนที่ทำไม่ได้เป็นคนใช้เงิน จำกัดอายุผู้ทำไว้ไม่เกิน 70 หรือ 75 ปีเท่านั้น จุดมุ่งหมายคือเมื่อเสียชีวิตแล้วมีเงินให้ลูกหลานจัดการงานศพ คือไม่เป็นภาระของลูกหลาน โดยจะใช้ค่าเบี้ยและจำนวนผู้ซื้อกรมธรรม์เป็นตัวเฉลี่ยกับการเสียชีวิต
ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะซื้อกรมธรรม์ประเภทนี้ต้องศึกษาและทำความเข้าใจถึงเงื่อนไขและการคุ้มครองให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจ เพื่อจะได้ประโยชน์สูงสุดสำหรับตัวท่านเอง