xs
xsm
sm
md
lg

“ธปท.ใต้” ดึงคนสื่อเสี้ยมความรู้วางแผนการเงิน ออมและสร้างหนี้อย่างมีความสุข

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - “แบงก์ชาติใต้” ระดมสื่อมวลชนเสี้ยมความรู้ด้านการวางแผนทางการเงินอย่างชาญฉลาด เน้นการออม และสร้างหนี้อย่างมีความสุข เพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยจากปัญหาเศรษฐกิจ

วันนี้ (27 เม.ย.) ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ มีการจัดกิจกรรมโครงการ “ส่งเสริมความรู้แก่สื่อมวลชนภาคใต้” เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางการเงินผ่านสื่อมวลชนไปสู่ประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ ความเข้าใจในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ การจัดโครงการครั้งนี้ได้มีสื่อมวลชนภาคใต้ต่างๆ เข้าร่วมอย่างมากมาย ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้

โดยในกิจกรรมจะมีการบรรยาย และ Workshop ด้วยกัน 3 หัวข้อ คือ 1.การวางแผนทางการเงิน ผู้บรรยาย คือ น.ส.หทัยชนก อนันต์ทวีวัฒน์ ผู้วิเคราะห์อาวุโส 2.การบริหารจัดการหนี้ ผู้บรรยายคือ นายประสิทธิ์ สุวรรณสุนทร ผู้วิเคราะห์อาวุโส และ 3.ภัยทางการเงิน ผู้บรรยาย นายวันชัย ชยานันต์นุกุล ผู้วิเคราะห์อาวุโส
 

 
น.ส.หทัยชนก อนันต์ทวีวัฒน์ ผู้วิเคราะห์อาวุโส กล่าวว่า มีคนไทยมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีการออมเงิน และไม่มีการเตรียมพร้อมทางการเงินที่ดีพอ และโดยเฉลี่ยจะเริ่มคิดเกี่ยวกับชีวิตหลังเกษียณเมื่ออายุ 44 ปีขึ้นไป สำหรับหลักการในการออมเงินที่ดีที่สุด คือ เก็บเงินออมไว้ทันที่ 1 ใน 4 ของรายรับที่เราได้มา ก่อนนำส่วนที่เหลือไปใช้จ่าย เพื่อที่เราจะได้มีเงินออมที่แน่นอนในทุกๆ เดือน ยิ่งเราเก็บเงินออมไวเท่าไร ชีวิตหลังเกษียณเราก็จะยิ่งสบายมากขึ้น

นายประสิทธิ์ สุวรรณสุนทร ผู้วิเคราะห์อาวุโส กล่าวว่า สำหรับคนที่คิดจะก่อหนี้ควรจะคิดให้ดีก่อน โดยยึดหลักการไว้ด้วยกัน 3 ข้อ 1.จำเป็น...ไหม 2.รอ...ได้ไหม และ 3.ผ่อน...ไหวไหม หากมีความจำเป็นจริงๆ ก็ควรเลือกสินเชื่อที่ตรงต่อวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ เปรียบเทียบเงื่อนไข และอัตราดอกเบี้ยจากหลายๆ แห่ง (เลือกเป็นหนี้ในระบบ) สุดท้ายควรมีภาระหนี้ต่อเดือนรวมกันไม่เกิน 1 ใน 3 ของรายได้

นายวันชัย ชยานันต์นุกุล ผู้วิเคราะห์อาวุโส กล่าวว่า สำหรับภัยทางการเงินทางช่องทางต่างๆ เราควรที่จะมีสติไม่หลงเชื่อไปกับผลประโยชน์ที่มิจฉาชีพนำมาหลอกล่อ ทบทวนข้อมูลที่ได้รับมาก่อนว่ามีความน่าจะเป็นมากน้อยเพียงใด และหากมีการกล่าวอ้างถึงสถาบันการเงิน หรือบุคคลที่สาม ควรติดต่อสอบถามกับสถาบันการเงิน หรือบุคคลนั้นๆ เพื่อหาข้อเท็จจริง
 


 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น