xs
xsm
sm
md
lg

กป.อพช.ใต้ เตรียมระดมพลต้านนายกฯ ใช้อำนาจพิเศษลิดรอนสิทธิชุมชน จี้เลิกคำสั่ง คสช.3 ฉบับ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
ศูนย์ข่าวภาคใต้ - คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ แถลงการณ์ค้านนายกฯ ใช้อำนาจพิเศษลิดรอนสิทธิชุมชน พร้อมจี้ คสช.ยกเลิกคำสั่งที่ 3, 4 และคำสั่งที่ 9 เตรียมระดมเครือข่ายองค์กรชุมชนทั่วภาคใต้ ร่วมกันกำหนดมาตรการการเคลื่อนไหวตอบโต้การบังคับใช้กฎหมายอันไม่เป็นธรรมของรัฐบาล

วันนี้ (10 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) ได้ออกแถลงการณ์ เรื่องขอให้ยกเลิกคำสั่งที่ 3, 4 และ 9/2559 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และขอให้หยุดใช้อำนาจพิเศษรุกรานสิทธิชุมชน โดยเนื้อหาระบุว่า

ตั้งแต่การเข้ามาควบคุมการบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.พบว่า คสช. ได้ใช้ช่องทางของอำนาจพิเศษ ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 มาเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ ด้วยการออกคาสั่งต่างๆ มากมายหลายฉบับ หากพิจารณาตามสาระสำคัญของมาตรา 44 แล้ว เข้าใจว่า เจตนารมณ์ของการกำหนดมาตรานี้ขึ้นเพื่อให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีเครื่องมือเพื่อการบางอย่างตามเนื้อความว่า “ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคี และความสมานฉันท์ของประชาชนคนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ฯลฯ”

จะเห็นว่าการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ด้วยการออกคาสั่งต่างๆ เหล่านั้น มีหลายคำสั่งที่ออกมาแล้วกลับส่งผลกระทบต่อชุมชน และสังคมในวงกว้างมากมาย อันนำไปสู่การละเมิดสิทธิชุมขนอีกด้วย อย่างเช่น การใช้อำนาจพิเศษนี้เข้าไปยกเลิกพระราชบัญญัติการประมง 2558 และเข้าไปปรับแก้เนื้อหาบางมาตรา และใช้อำนาจนี้ออกเป็นพระราชกำหนดการประมง 2558 จนทำให้เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านทั่วประเทศรวมตัวกันคัดค้านเนื้อหาสำคัญของมาตรา 34 ตามพระราชกำหนดฉบับนี้อย่างคึกคัก จนนายกรัฐมนตรี ต้องเรียกรัฐตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงตัวแทนชาวประมงพื้นบ้านเข้าพบเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาแล้ว

และตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา ก็มีการออกคาสั่งที่ 3 และที่ 4 /2559 ที่เกี่ยวข้องต่อการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองในบางพื้นที่ และในกิจการบางกรณี จนทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อพี่น้องประชาชนทั่วทุกหัวระแหง โดยเฉพาะเรื่องของข้อยกเว้นพื้นที่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงไฟฟ้าขยะ และรวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวต่อการจัดการขยะมลพิษต่างๆ จนนำไปสู่การลุกขึ้นคัดค้านคำสั่งดังกล่าวของเครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

และล่าสุด เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2559 คสช.ได้ออกคาสั่งที่ 9/2559 ตามมาอีก เพื่อนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 47 ของพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 ซึ่งมีสาระสำคัญว่า “ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินโครงการ หรือกิจการด้านค้านการคมนาคมขนส่ง การชลประทาน การป้องกันสาธารณภัย โรงพยาบาล หรือที่อยู่อาศัยในระหว่างที่รอผลการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามวรรคหนึ่ง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ หรือกิจการนั้นอาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ดาเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกชนผู้รับดาเนินการตามโครงการหรือกิจการไปพลางก่อนได้ แต่จะลงนามผูกพันในสัญญา หรือให้สิทธิแก่เอกชนผู้ดาเนินการตามโครงการหรือกิจการไม่ได้”

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ มีความเห็นต่อการใช้อำนาจพิเศษของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.นี้ ดังนี้ 1.คสช. ต้องระมัดระวังการใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 โดยต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์เดิมที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 และจะต้องยึดตามหลักธรรมาภิบาลเป็นสำคัญ 2.การออกคำสั่งต่างๆ ต้องคำนึงถึงตัวบทกฎหมาย ระเบียบการ หรือขั้นตอนปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับของสังคมที่มีอยู่เดิม และให้คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของคนส่วนใหญ่ มิใช่เพื่อกลุ่มทุนใดบางกลุ่ม

3.ในคำสั่งนั้นๆ ต้องไม่ละเมิดสิทธิชุมชน และต้องคำนึงถึงการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นเป็นสำคัญ 4.คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ต้องยกเลิกคาสั่งฉบับที่ 3, 4 และคำสั่งที่ 9 เพราะขัดต่อข้อเสนอดังกล่าวเบื้องต้นทั้ง 3 ข้อ

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ หรือ กป.อพช.ใต้ ยังยืนยันว่า การใช้อำนาจดังกล่าวต้องกระทำด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่ต้องการให้เป็นไปเพื่อการปฏิรูป หรือเพื่อการสมานฉันท์ของคนในสังคมส่วนใหญ่เป็นที่ตั้ง และไม่ควรใช้อำนาจนี้เพื่อการประโยชน์เฉพาะกลุ่ม แต่กลับสร้างความเดือนร้อนแก่คนส่วนใหญ่

จากนี้ไป กป.อพช.ใต้ จะประสานภาคีเครือข่ายองค์กรนักพัฒนา รวมถึงเครือข่ายองค์กรชุมชนทั่วภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งต่างๆ นี้ให้มาพบกัน เพื่อมาร่วมกันกำหนดมาตรการการเคลื่อนไหวอันจะนำไปสู่การยกเลิกคำสั่งที่ 3, 4 และคำสั่งที่ 9 อย่างถึงที่สุด และจะเฝ้าติดตามการใช้อำนาจพิเศษของรัฐบาล และของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อย่างเข้มข้นต่อไป
 
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น