ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สภาเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต พร้อมเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดภูเก็ต ยื่นหนังสือคัดค้านร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. … ถึง นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ชี้เป็นการทำลายเศรษฐกิจ สังคม
เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (9 ธ.ค.) ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดภูเก็ต คณะกรรมการสภาเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต นำโดย นายสมชาย สกุลชิต ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยสมาชิกสภาเกษตรกรฯ และเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดภูเก็ต นำโดย นายสมชาย หยีสัน พร้อมด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่ง พร้อมถือแผ่นป้ายข้อความต่างๆ เช่น ไม่เอา GMO ผู้บริโภคภูเก็ต, ไม่กิน ไม่ปลูก ไม่ขาย Thailand No GMOs, เกษตรนิเวศดีกว่า จีเอ็มโอ, ไม่กินไม่ซื้อ ไม่ปลูก NO GMOs, หยุด พ.ร.บ.GMO หยุดย่ำยี เกษตรกรไทย หยุดป้อนยาพิษให้ประชาชน เป็นต้น ร่วมยื่นหนังสือคัดค้านร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. … ถึง นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านทาง นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต โดยมี สมาชิกสภาเกษตรกรฯ และเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
นายสมชาย สกุลชิต ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งหากร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. ... ฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ความหลากหลายทางชีวภาพ ชีวิตเกษตรกร และเศรษฐกิจ การส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยอย่างประเมินค่ามิได้ เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดหลักการเพื่อควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ แต่รายละเอียดที่ปรากฏในร่างพระราชบัญญัติฯ กลับไม่สอดคล้องต่อหลักการที่วางไว้ โดยขาดหลักการป้องกันเอาไว้ก่อน รวมทั้งมิได้นำเอาหลักการของพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งเป็นหลักการสากลมาบัญญัติไว้ ทำให้ประเทศไทยต้องรับความเสี่ยงจากการปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบาย เกี่ยวกับการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกร และระบบเกษตรกรรมของประเทศอย่างร้ายแรงในอนาคต
สภาเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต ในฐานะตัวแทนของภาคเกษตรกรรมของจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับสถาบันเกษตรกร/องค์กรต่างๆ รวมทั้งเครือข่ายของภาคประชาชนในจังหวัดภูเก็ต ขอคัดค้านพร้อมทั้งขอให้ชะลอร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. ... โดยให้มีการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ทั้งกระบวนการ และเนื้อหา เพื่อให้สามารถป้องกันกิจกรรมเกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรมไม่ให้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอบการด้านการเกษตรและอาหาร ผู้บริโภค อํานาจอธิปไตย และความมั่นคงทางอาหารของประเทศ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนา เกษตรอินทรีย์ของรัฐบาล ซึ่งมองว่าร่างดังกล่าวจะทำลายสังคมไทยผู้ผลิตรายใหญ่กับผู้ผลิตรายเล็กจะมีปัญหาขัดแย้งกัน นอกจากนั้น ยังจะเป็นการทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ จึงขอเสนอให้มีการดำเนินการดังนี้
1.ขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เพื่อปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพก่อนนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยให้มีตัวแทนจากสถาบันเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม กลุ่มผู้ประกอบการด้านเกษตรอินทรีย์ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรสาธารณประโยชน์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และเกษตรอินทรีย์ และนักวิชาการด้านกฎหมายที่ได้ติดตามประเด็นความปลอดภัยทางชีวภาพเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพฉบับนี้ และ/หรืออนุมัติให้มีตัวแทนจากกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม กลุ่มผู้ประกอบการด้านเกษตรอินทรีย์ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรสาธารณประโยชน์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เกษตรอินทรีย์ และนักวิชาการด้านกฎหมายที่ได้ติดตามประเด็นความปลอดภัยทางชีวภาพ ร่วมเสนอความเห็นในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งให้โอกาสเสนอร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพฉบับประชาชนประกอบการพิจารณาด้วย
2.พิจารณานำข้อเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงพาณิชย์ ไปใช้ประกอบในการปรับปรุงร่างกฎหมายนี้ และ 3.นำหลักการป้องกันไว้ก่อน การคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตามพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ และข้อเสนอแนะอื่นที่สำคัญตามข้อเสนอของคณะกรรมการในข้อ 1 เพื่อปรับปรุงร่างกฎหมายให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
ด้าน นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังรับมอบหนังสือ ว่า ทางจังหวัดภูเก็ต จะทำหนังสือ และส่งหนังสือร้องเรียนของชาวบ้านไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทางนายกรัฐมนตรีได้รับทราบเรื่องดังกล่าวที่ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน
เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (9 ธ.ค.) ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดภูเก็ต คณะกรรมการสภาเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต นำโดย นายสมชาย สกุลชิต ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยสมาชิกสภาเกษตรกรฯ และเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดภูเก็ต นำโดย นายสมชาย หยีสัน พร้อมด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่ง พร้อมถือแผ่นป้ายข้อความต่างๆ เช่น ไม่เอา GMO ผู้บริโภคภูเก็ต, ไม่กิน ไม่ปลูก ไม่ขาย Thailand No GMOs, เกษตรนิเวศดีกว่า จีเอ็มโอ, ไม่กินไม่ซื้อ ไม่ปลูก NO GMOs, หยุด พ.ร.บ.GMO หยุดย่ำยี เกษตรกรไทย หยุดป้อนยาพิษให้ประชาชน เป็นต้น ร่วมยื่นหนังสือคัดค้านร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. … ถึง นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านทาง นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต โดยมี สมาชิกสภาเกษตรกรฯ และเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
นายสมชาย สกุลชิต ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งหากร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. ... ฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ความหลากหลายทางชีวภาพ ชีวิตเกษตรกร และเศรษฐกิจ การส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยอย่างประเมินค่ามิได้ เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดหลักการเพื่อควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ แต่รายละเอียดที่ปรากฏในร่างพระราชบัญญัติฯ กลับไม่สอดคล้องต่อหลักการที่วางไว้ โดยขาดหลักการป้องกันเอาไว้ก่อน รวมทั้งมิได้นำเอาหลักการของพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งเป็นหลักการสากลมาบัญญัติไว้ ทำให้ประเทศไทยต้องรับความเสี่ยงจากการปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบาย เกี่ยวกับการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกร และระบบเกษตรกรรมของประเทศอย่างร้ายแรงในอนาคต
สภาเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต ในฐานะตัวแทนของภาคเกษตรกรรมของจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับสถาบันเกษตรกร/องค์กรต่างๆ รวมทั้งเครือข่ายของภาคประชาชนในจังหวัดภูเก็ต ขอคัดค้านพร้อมทั้งขอให้ชะลอร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. ... โดยให้มีการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ทั้งกระบวนการ และเนื้อหา เพื่อให้สามารถป้องกันกิจกรรมเกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรมไม่ให้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอบการด้านการเกษตรและอาหาร ผู้บริโภค อํานาจอธิปไตย และความมั่นคงทางอาหารของประเทศ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนา เกษตรอินทรีย์ของรัฐบาล ซึ่งมองว่าร่างดังกล่าวจะทำลายสังคมไทยผู้ผลิตรายใหญ่กับผู้ผลิตรายเล็กจะมีปัญหาขัดแย้งกัน นอกจากนั้น ยังจะเป็นการทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ จึงขอเสนอให้มีการดำเนินการดังนี้
1.ขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เพื่อปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพก่อนนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยให้มีตัวแทนจากสถาบันเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม กลุ่มผู้ประกอบการด้านเกษตรอินทรีย์ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรสาธารณประโยชน์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และเกษตรอินทรีย์ และนักวิชาการด้านกฎหมายที่ได้ติดตามประเด็นความปลอดภัยทางชีวภาพเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพฉบับนี้ และ/หรืออนุมัติให้มีตัวแทนจากกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม กลุ่มผู้ประกอบการด้านเกษตรอินทรีย์ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรสาธารณประโยชน์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เกษตรอินทรีย์ และนักวิชาการด้านกฎหมายที่ได้ติดตามประเด็นความปลอดภัยทางชีวภาพ ร่วมเสนอความเห็นในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งให้โอกาสเสนอร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพฉบับประชาชนประกอบการพิจารณาด้วย
2.พิจารณานำข้อเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงพาณิชย์ ไปใช้ประกอบในการปรับปรุงร่างกฎหมายนี้ และ 3.นำหลักการป้องกันไว้ก่อน การคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตามพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ และข้อเสนอแนะอื่นที่สำคัญตามข้อเสนอของคณะกรรมการในข้อ 1 เพื่อปรับปรุงร่างกฎหมายให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
ด้าน นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังรับมอบหนังสือ ว่า ทางจังหวัดภูเก็ต จะทำหนังสือ และส่งหนังสือร้องเรียนของชาวบ้านไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทางนายกรัฐมนตรีได้รับทราบเรื่องดังกล่าวที่ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน