xs
xsm
sm
md
lg

สภาพลเมืองจังหวัดชลบุรีร่วมด้วย ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ ผ่านไปยังนายกฯ ค้าน พ.ร.บ.GMO

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวศรีราชา - ตัวแทนสภาพลเมืองจังหวัดชลบุรี รวมตัวกันยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ผ่านไปถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อ คัดค้าน พ.ร.บ.GMO หวั่นผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (9 ธ.ค.) ที่บริเวณหน่าศาลากลางจังหวัดชลบุรี มีกลุ่มตัวแทนจาก 9 องค์กรในจังหวัดชลบุรี นำโดย ดร.สมนึก จงมีวศิน ตัวแทนสภาพลเมืองจังหวัดชลบุรี ขอเข้าพบ นายคมสัน เอกชน ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เพื่อยื่นหนังสือคัดค้าน พ.ร.บ.GMO ถึงท่านนายกรัฐมนตรี โดยผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี

ดร.สมนึก จงมีวศิน ตัวแทนสภาพลเมืองจังหวัดชลบุรี เผยว่า การเดินทางมายืนหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ในครั้งนี้ เนื่องจากขอให้มีการชะลอ และแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 นั้น

องค์กรและเครือข่ายของภาคประชาชนในจังหวัดชลบุรี ตามรายชื่อในท้ายจดหมายฉบับนี้ เห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคอย่างร้ายแรง เนื่องจากมิได้นำเอาหลักการป้องกันไว้ก่อน และหลักการผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมตามพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพซึ่งเป็นหลักการสากลมาบัญญัติไว้

จากการวิเคราะห์โดยนักวิชาการด้านกฎหมายจากหลายสถาบัน และองค์กรภาคประชาสังคมซึ่งได้ติดตามปัญหาเรื่องสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) เห็นว่า ร่างกฎหมายนี้มีเจตนาในการเปิดให้มีการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม เปิดช่องให้ผู้ประกอบการไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายโดยอ้างเหตุสุดวิสัย ไม่ได้บัญญัติให้ผู้ที่ครอบครองจีเอ็มโอที่ได้รับอนุญาตให้ปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมไม่ต้องรับผิด และชดใช้ความเสียหายในกรณีที่ทำให้เกิดผลกระทบ ทั้งที่เป็นผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และผลทางเศรษฐกิจสังคม เป็นต้น

องค์กรและเครือข่ายของภาคประชาชน และผู้ประกอบการในจังหวัดชลบุรีจึงขอเสนอต่อ ฯพณฯ ได้พิจารณาชะลอการส่งร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์ และสามารถปกป้องสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ สุขภาพ และผู้บริโภค ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังต่อไปนี้ คือ

1.ขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปรับปรุงร่างกฎหมายก่อนเสนอสู่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยให้มีตัวแทนของกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการจีเอ็มโอ ตัวแทนจากเกษตรกร และผู้ประกอบการด้านเกษตรอินทรีย์ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรสาธารณประโยชน์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและเกษตรอินทรีย์ และนักวิชาการด้านกฎหมายที่ได้ติดตามประเด็นความปลอดภัยทางชีวภาพ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการปรับปรุงร่างกฎหมาย

2.พิจารณานำข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงพาณิชย์ ไปใช้ประกอบในการปรับปรุงร่างกฎหมายนี้

3.การนำหลักการป้องกันไว้ก่อน การคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตามพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาค และข้อเสนออื่นๆ ที่สำคัญตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ในข้อ 1 เพื่อปรับปรุงร่างกฎหมายให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

องค์กรและเครือข่ายของภาคประชาชน และผู้ประกอบการในจังหวัดชลบุรี เห็นว่าการปรับปรุงร่างกฎหมายโดยกระบวนการ และเนื้อหาดังกล่าวจะสามารถป้องกันกิจกรรมเกี่ยวกับจีเอ็มโอไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอบการด้านเกษตรและอาหาร ผู้บริโภค อธิปไตยและความมั่นคงทางอาหารของประเทศ รวมทั้งยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของรัฐบาล

สำหรับตัวแทนที่ร่วมยื่นหนังสือกันในวันนี้ ประกอบด้วย 1.) สภาพลเมืองจังหวัดชลบุรี 2.) เครือข่ายคณะทำงานภาคประชาสังคมจังหวัด (คปจ.) จังหวัดชลบุรี 3.) สภาพัฒนาการเมือง (สพม.) จังหวัดชลบุรี 4.ชื่อ น.ส.สุกลภัทร ใจจรูญ สภาองค์กรชุมชนตำบลและขบวนองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดชลบุรี น.ส.ธีร์ลาธกรณ์ พนัสอัมพร เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดชลบุรี ชื่อ นางสุดา ประกอบกิจ 6.) เครือข่ายรักษ์พระแม่ธรณี ชื่อ นายสรายุทธ สนรักษา 7.) กลุ่มอนุรักษ์อ่าวนาเกลือ ชื่อนางรัตนา อ่องสมบัติ 8.) กลุ่มอนุรักษ์อ่าวบางละมุง ชื่อ นายรังสรรค์ สมบูรณ์ 9.ครือข่ายรักษ์อ่าวอุดม ชื่อ นายสมยศ เฉียวกุล 10.)เครือข่ายรักษ์บ่อวิน

จากนั้นได้มีตัวแทนจากผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งได้รับมอบหมายแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ซึ่งเกรงว่าจะเกิดผลกระทบตามมาอีกมากมายหลังจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านมา หลังจากนั้น ทางผู้แทนผู้ว่าฯ จึงรับหนังสือพร้อมกล่าวว่า จะนำไปเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดรับทราบ จึงได้แยกย้ายกันกลับ



กำลังโหลดความคิดเห็น