กระบี่ - แฉอ่าวปีเละ จ.กระบี่ แหล่งท่องเที่ยวสวยงาม และมีชื่อของกระบี่วิกฤตหนัก พบกองขยะลอยเกลื่อนทั้งอ่าว ทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยว ขณะที่ชาวโซเชียลจี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขด่วน ด้านหัวหน้าอุทยานหมู่เกาะพีพี ระบุเป็นขยะที่เกิดจากมรสุมพัดเข้ามา และเกิดขึ้นบ่อยครั้งช่วงมรสุม เบื้องต้นได้สั่งเจ้าหน้าที่เร่งกำจัดขยะแล้ว
วันนี้ (10 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ได้มีการวิพากษ์จารณ์กันอย่างหนักในโลกโซเชียลมีเดีย หลังจากที่ ดร.ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ได้โพสต์ภาพขยะจำนวนมากลอยเกลื่อนบริเวณอ่าวปีเละ เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว Thon Thamrongnawasawat พร้อมข้อความ “อ่าวปีเละ...กำลังเละ” และว่าเป็นอ่าวที่สวยที่สุดในประเทศไทย เพราะเป็นแหล่งปะการังใต้ทะเลที่มีความสวยงาม โอบล้อมไปด้วยผาหินปูน ที่สวยงาม
แต่ปัจจุบันพบว่า อ่าวเล็กๆ แห่งนี้มีขยะลอยอยู่จำนวนมาก เกลื่อนเป็นแพอยู่เต็มอ่าว ส่งผลให้เสียบรรยากาศการท่องเที่ยว ซึ่งหลังมีการโพสต์ข้อความดังกล่าวตั้งแต่เมื่อวานนี้ ได้มีสมาชิกเข้าไปกดไลก์จำนวนมาก ล่าสุด จำนวนผู้กดไลค์กว่า 18,000 ครั้ง และส่งต่อกันกว่า 9,100 ครั้ง นับเป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ และมีการวิจารณ์แสดงความเสียดาย และเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปแก้ไขโดยเร็ว
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวยังได้รับการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่องว่า อ่าวปีเละ ถูกปล่อยให้เป็นบ่อขยะมานานหลายปี ทั้งมาจากขยะที่นักท่องเที่ยวทิ้ง และขยะจากมรสุมซัดเข้ามา โดยพบว่า เป็นอ่าวขนาดใหญ่กว้างกว่า 100 เมตร ปากทางเข้าเป็นช่องแคบ และมีน้ำลึก ซึ่งมองจากด้านนอกจะไม่เห็น แต่เมื่อเข้าไปในอ่าวก็จะพบขยะจำนวนมาก ตามซอกเขาภายในอ่าวประมาณ 3-4 จุด พบขยะจำพวกเศษโฟม ขวดพลาสติก กระป๋องจำนวนมาก ซึ่งยังได้มีการจัดเก็บ โดยนักท่องเที่ยวจะไม่เข้าไปบริเวณดังกล่าว พร้อมระบุว่า เป็นปัญหาที่หมักหมมมานาน อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลจัดระเบียบเพื่อฟื้นฟูอ่าวปีเละ และหาทางป้องกันโดยเร็ว หากปล่อยไว้ก็จะทำให้เสื่อมโทรม นักท่องเที่ยวก็จะไม่มาเที่ยวอีกตอ่ไป
ด้าน นายสรายุทธ ตัณเถียร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี กล่าวว่า ขยะที่เกิดขึ้นมาจากหลายพื้นที่ถูกมรสุมที่พัดเข้ามาในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นทุกปี ขณะนี้ก็ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เขาไปดำเนินการกำจัดขยะดังกล่าวแล้ว และกำลังเตรียมจัดหาทุ่นไข่ปลามาผูกบริเวณปากอ่าวเพื่อกันพื้นที่ป้องกันไม่ให้เรือขนาดใหญ่เข้าไป ซึ่งจะเป็นการป้องกันแนวปะการังได้รับความเสียหายด้วย
วันนี้ (10 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ได้มีการวิพากษ์จารณ์กันอย่างหนักในโลกโซเชียลมีเดีย หลังจากที่ ดร.ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ได้โพสต์ภาพขยะจำนวนมากลอยเกลื่อนบริเวณอ่าวปีเละ เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว Thon Thamrongnawasawat พร้อมข้อความ “อ่าวปีเละ...กำลังเละ” และว่าเป็นอ่าวที่สวยที่สุดในประเทศไทย เพราะเป็นแหล่งปะการังใต้ทะเลที่มีความสวยงาม โอบล้อมไปด้วยผาหินปูน ที่สวยงาม
แต่ปัจจุบันพบว่า อ่าวเล็กๆ แห่งนี้มีขยะลอยอยู่จำนวนมาก เกลื่อนเป็นแพอยู่เต็มอ่าว ส่งผลให้เสียบรรยากาศการท่องเที่ยว ซึ่งหลังมีการโพสต์ข้อความดังกล่าวตั้งแต่เมื่อวานนี้ ได้มีสมาชิกเข้าไปกดไลก์จำนวนมาก ล่าสุด จำนวนผู้กดไลค์กว่า 18,000 ครั้ง และส่งต่อกันกว่า 9,100 ครั้ง นับเป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ และมีการวิจารณ์แสดงความเสียดาย และเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปแก้ไขโดยเร็ว
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวยังได้รับการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่องว่า อ่าวปีเละ ถูกปล่อยให้เป็นบ่อขยะมานานหลายปี ทั้งมาจากขยะที่นักท่องเที่ยวทิ้ง และขยะจากมรสุมซัดเข้ามา โดยพบว่า เป็นอ่าวขนาดใหญ่กว้างกว่า 100 เมตร ปากทางเข้าเป็นช่องแคบ และมีน้ำลึก ซึ่งมองจากด้านนอกจะไม่เห็น แต่เมื่อเข้าไปในอ่าวก็จะพบขยะจำนวนมาก ตามซอกเขาภายในอ่าวประมาณ 3-4 จุด พบขยะจำพวกเศษโฟม ขวดพลาสติก กระป๋องจำนวนมาก ซึ่งยังได้มีการจัดเก็บ โดยนักท่องเที่ยวจะไม่เข้าไปบริเวณดังกล่าว พร้อมระบุว่า เป็นปัญหาที่หมักหมมมานาน อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลจัดระเบียบเพื่อฟื้นฟูอ่าวปีเละ และหาทางป้องกันโดยเร็ว หากปล่อยไว้ก็จะทำให้เสื่อมโทรม นักท่องเที่ยวก็จะไม่มาเที่ยวอีกตอ่ไป
ด้าน นายสรายุทธ ตัณเถียร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี กล่าวว่า ขยะที่เกิดขึ้นมาจากหลายพื้นที่ถูกมรสุมที่พัดเข้ามาในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นทุกปี ขณะนี้ก็ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เขาไปดำเนินการกำจัดขยะดังกล่าวแล้ว และกำลังเตรียมจัดหาทุ่นไข่ปลามาผูกบริเวณปากอ่าวเพื่อกันพื้นที่ป้องกันไม่ให้เรือขนาดใหญ่เข้าไป ซึ่งจะเป็นการป้องกันแนวปะการังได้รับความเสียหายด้วย