กระบี่ - ดร.ธรณ์ เผยประสบความสำเร็จผลการทดลองใช้ “ซูเปอร์ แองจี้” แก้ปัญหาปะการังฟอกขาวเกาะพีพี พบฟื้นตัวได้ผลร้อยละ 50 แต่จากการสำรวจพบอุปกรณ์เสียหายจากคลื่นลมแรง ต้องคิดค้นอุปกรณ์ในการครอบเพิ่มเติม
วันนี้ (5 ก.ค.) ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจสอบติดตามผลการฟื้นฟูปะการังฟอกขาวโดยใช้สาหร่ายจิ๋ว (ซูเปอร์ แองจี้) Super Algae ฟื้นฟู โดยมี นายศรายุทธ ตันเถียร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ได้ลงพื้นที่สำรวจปะการังที่บริเวณทะเลแหวก เกาะไก่ หมู่เกาะปอดะ ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ พื้นที่ทดลองใช้อุปกรณ์เติมสาหร่ายทำจากแพลงก์ตอนเน็ต ขนาด 20 ไมครอน หรือ “ซูเปอร์ แองจี้” กับปะการังที่เกิดการฟอกขาว โดยเริ่มทดลองเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา
ผลจาการสำรวจจากการทดลองใช้ “ซูเปอร์ แองจี้” ในท้องทะเลหลังครบกำหนด 14 วัน ปรากฏว่า ผลการทดลองออกมาว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ มีปะการังฟื้นตัวร้อยละ 50 แต่เพื่อความมั่นใจจะทำการทดลองไปอีกระยะหนึ่งในพื้นที่เดิม และเชื่อว่าวิธีการดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาปะการังฟอกขาวในพื้นที่ต่างๆ ที่เกิดวิกฤตในทะเลไทยได้
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังกล่าวอีกว่า ปัญหาที่พบคือ อุปกรณ์ครอบปะการังที่นำลงไปติดกับก้อนปะการังนั้นหลุดเพราะคลื่นลมแรง ทำให้ปะการังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงยังคงฟอกขาวอยู่ ซึ่งหลังจากนี้ จะต้องหาแนวทางคิดค้นอุปกรณ์ในการครอบเพื่อเติมสาหร่ายอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะได้ทำการรักษาปะการังในบริเวณกว้างขึ้น และในจุดที่น้ำลึก
วันนี้ (5 ก.ค.) ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจสอบติดตามผลการฟื้นฟูปะการังฟอกขาวโดยใช้สาหร่ายจิ๋ว (ซูเปอร์ แองจี้) Super Algae ฟื้นฟู โดยมี นายศรายุทธ ตันเถียร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ได้ลงพื้นที่สำรวจปะการังที่บริเวณทะเลแหวก เกาะไก่ หมู่เกาะปอดะ ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ พื้นที่ทดลองใช้อุปกรณ์เติมสาหร่ายทำจากแพลงก์ตอนเน็ต ขนาด 20 ไมครอน หรือ “ซูเปอร์ แองจี้” กับปะการังที่เกิดการฟอกขาว โดยเริ่มทดลองเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา
ผลจาการสำรวจจากการทดลองใช้ “ซูเปอร์ แองจี้” ในท้องทะเลหลังครบกำหนด 14 วัน ปรากฏว่า ผลการทดลองออกมาว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ มีปะการังฟื้นตัวร้อยละ 50 แต่เพื่อความมั่นใจจะทำการทดลองไปอีกระยะหนึ่งในพื้นที่เดิม และเชื่อว่าวิธีการดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาปะการังฟอกขาวในพื้นที่ต่างๆ ที่เกิดวิกฤตในทะเลไทยได้
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังกล่าวอีกว่า ปัญหาที่พบคือ อุปกรณ์ครอบปะการังที่นำลงไปติดกับก้อนปะการังนั้นหลุดเพราะคลื่นลมแรง ทำให้ปะการังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงยังคงฟอกขาวอยู่ ซึ่งหลังจากนี้ จะต้องหาแนวทางคิดค้นอุปกรณ์ในการครอบเพื่อเติมสาหร่ายอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะได้ทำการรักษาปะการังในบริเวณกว้างขึ้น และในจุดที่น้ำลึก