ศูนย์ข่าวภูเก็ต - “ดร.ธรณ์” ชี้รักษาแนวปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติ ทะเลอันดามัน ต้องมีการปฏิรูปการใช้แนวปะการังให้เหมาะสม เผยปัจจุบันปะการังในภูเก็ต พังงา กระบี่ เสียหาย ถึงเสียหายหนักมีมากถึง 37%
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลายภายหลังการบินสำรวจแนวปะการังและการใช้ประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติต่างๆ ในฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่หมู่เกาะสิมิลัน เกาะสุรินทร์ เกาะตาชัย อ่าวพังงา หมู่เกาะพีพี และเกาะอื่นๆ ครอบคลุมฝั่งทะเลอันดามัน ว่า จากการบินสำรวจพบว่า ปัญหาสำคัญที่ทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรมลงเกิดจากสภาพการใช้ประโยชน์แนวปะการังแบบไม่มีขอบเขต ไม่มีการจำกัดจำนวนคนที่เข้าไปใช้ เรือจอดบริเวณแนวปะการัง ปล่อยให้มีเรือแล่นผ่านแนวปะการังด้วยความเร็วสูง
สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรม จากการข้อมูลสำหรับแนวปะการังฝั่งทะเลอันดามัน ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่า ปัจจุบัน สถานการณ์แนวปะการังในพื้นที่จังหวัดพังงา มีจำนวน 37% ที่มีความเสียหายถึงเสียหายหนัก ขณะที่ในส่วนของกระบี่ และภูเก็ต สภาพปะการังมีความเสียหาย ถึงเสียหายหนักประมาณ 30%
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่เห็นว่ามีการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร ไม่มีการจำกัดเขตพื้นที่ในการเล่นน้ำ การจอดเรือ หรือการแล่นเรือเพื่อไม่ให้กระทบต่อแนวปะการัง ในเขตอุทยานต่างๆ ก็มีการปล่อยให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปจำนวนมาก ซึ่งจริงแล้วในเขตอุทยานนั้นจะมีกฎหมายควบคุมอยู่แล้วแต่ก็ไม่ค่อยที่จะมีการปฏิบัติตามกัน ถ้ามีการบังคับใช้กฎหมายก็ไม่กระทบต่อประชาชนทั่วไป เพราะเป็นการบังคับใช้เฉพาะในเขตอุทยานเท่านั้น
ซึ่งเรื่องนี้คิดว่าถึงเวลาที่จะต้องมีการปฏิรูปการใช้ปะการังในฝั่งทะเลอันดามันเพื่อให้เกิดความเหมาะสม และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชนจะต้องมองไปข้างหน้า ซึ่งขณะนี้ในส่วนของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้ผลัดดันให้อุทยานแห่งชาติในทะเลอันดามัน เป็นมรดกโลกแล้ว และได้มีการนำเข้า ครม.เพื่อพิจารณา ถ้า ครม.อนุมัติก็จะมีการนำเสนอต่อไป ถ้าเป็นไปตามแผนก็จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 2 ปี ซึ่งการผลักดันให้อุทยานแห่งชาติเข้าสู่มรดกโลกนั้นเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรักษาธรรมชาติให้ยั่งยืน และเรื่องของการท่องเที่ยว
ดร.ธรณ์ กล่าวต่อไปว่า เรื่องของการรักษาแนวปะการัง สิ่งที่จะต้องทำอย่างเร่งด่วนคือการปฏิรูป ยกเครื่องใหม่ โดยการเอาภาคประชาชน นักวิชาการ ภาครัฐ เข้ามาร่วมกันระดมความคิดเห็นกำหนดแนวทางในการดำเนินการร่วมกัน ซึ่งเร็วๆ นี้จะมีการประชุมเรื่องนี้ แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจน แต่ในส่วนของอุทยานก็จะมีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้ตนเคยเขียนในจดหมายเปิดผนึกไปแล้ว ซึ่งมีข้อเสนอแนะไว้ชัดเจน ว่า ต้องมีการปฏิรูปอุทยานทางทะเลทั้งหมด ทั้งการดูแลทรัพยากร เจ้าหน้าที่ การจัดการท่องเที่ยว ระบบอนุญาต และติดตามผู้ประกอบการ การจ่ายค่าธรรมเนียม ฯลฯ ซึ่งกรณี เกาะตาชัย เป็นเพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่มีการนำมาเปิดเผยให้ทราบ
อุทยานแห่งชาติอื่นก็มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน อ่าวมาหยา เกาะพีพี ซึ่งมีเรือจอดลอยลำจำนวนมาก และเรือเหล่านี้จอดอยู่บนอะไร ปัจจุบันแหล่งปะการังหลายจุดซึ่งเมื่อก่อนถือว่าเป็นแหล่งปะการังที่มีความสวยงามดำน้ำลงไปแล้วไม่อยากขึ้นมา แต่ปัจจุบันแหล่งปะการังเหล่านั้นกลายเป็นเพียงทางผ่านของเรือเร็วที่แล่นเข้าออกชั่วโมงละหลายสิบลำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลายภายหลังการบินสำรวจแนวปะการังและการใช้ประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติต่างๆ ในฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่หมู่เกาะสิมิลัน เกาะสุรินทร์ เกาะตาชัย อ่าวพังงา หมู่เกาะพีพี และเกาะอื่นๆ ครอบคลุมฝั่งทะเลอันดามัน ว่า จากการบินสำรวจพบว่า ปัญหาสำคัญที่ทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรมลงเกิดจากสภาพการใช้ประโยชน์แนวปะการังแบบไม่มีขอบเขต ไม่มีการจำกัดจำนวนคนที่เข้าไปใช้ เรือจอดบริเวณแนวปะการัง ปล่อยให้มีเรือแล่นผ่านแนวปะการังด้วยความเร็วสูง
สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรม จากการข้อมูลสำหรับแนวปะการังฝั่งทะเลอันดามัน ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่า ปัจจุบัน สถานการณ์แนวปะการังในพื้นที่จังหวัดพังงา มีจำนวน 37% ที่มีความเสียหายถึงเสียหายหนัก ขณะที่ในส่วนของกระบี่ และภูเก็ต สภาพปะการังมีความเสียหาย ถึงเสียหายหนักประมาณ 30%
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่เห็นว่ามีการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร ไม่มีการจำกัดเขตพื้นที่ในการเล่นน้ำ การจอดเรือ หรือการแล่นเรือเพื่อไม่ให้กระทบต่อแนวปะการัง ในเขตอุทยานต่างๆ ก็มีการปล่อยให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปจำนวนมาก ซึ่งจริงแล้วในเขตอุทยานนั้นจะมีกฎหมายควบคุมอยู่แล้วแต่ก็ไม่ค่อยที่จะมีการปฏิบัติตามกัน ถ้ามีการบังคับใช้กฎหมายก็ไม่กระทบต่อประชาชนทั่วไป เพราะเป็นการบังคับใช้เฉพาะในเขตอุทยานเท่านั้น
ซึ่งเรื่องนี้คิดว่าถึงเวลาที่จะต้องมีการปฏิรูปการใช้ปะการังในฝั่งทะเลอันดามันเพื่อให้เกิดความเหมาะสม และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชนจะต้องมองไปข้างหน้า ซึ่งขณะนี้ในส่วนของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้ผลัดดันให้อุทยานแห่งชาติในทะเลอันดามัน เป็นมรดกโลกแล้ว และได้มีการนำเข้า ครม.เพื่อพิจารณา ถ้า ครม.อนุมัติก็จะมีการนำเสนอต่อไป ถ้าเป็นไปตามแผนก็จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 2 ปี ซึ่งการผลักดันให้อุทยานแห่งชาติเข้าสู่มรดกโลกนั้นเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรักษาธรรมชาติให้ยั่งยืน และเรื่องของการท่องเที่ยว
ดร.ธรณ์ กล่าวต่อไปว่า เรื่องของการรักษาแนวปะการัง สิ่งที่จะต้องทำอย่างเร่งด่วนคือการปฏิรูป ยกเครื่องใหม่ โดยการเอาภาคประชาชน นักวิชาการ ภาครัฐ เข้ามาร่วมกันระดมความคิดเห็นกำหนดแนวทางในการดำเนินการร่วมกัน ซึ่งเร็วๆ นี้จะมีการประชุมเรื่องนี้ แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจน แต่ในส่วนของอุทยานก็จะมีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้ตนเคยเขียนในจดหมายเปิดผนึกไปแล้ว ซึ่งมีข้อเสนอแนะไว้ชัดเจน ว่า ต้องมีการปฏิรูปอุทยานทางทะเลทั้งหมด ทั้งการดูแลทรัพยากร เจ้าหน้าที่ การจัดการท่องเที่ยว ระบบอนุญาต และติดตามผู้ประกอบการ การจ่ายค่าธรรมเนียม ฯลฯ ซึ่งกรณี เกาะตาชัย เป็นเพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่มีการนำมาเปิดเผยให้ทราบ
อุทยานแห่งชาติอื่นก็มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน อ่าวมาหยา เกาะพีพี ซึ่งมีเรือจอดลอยลำจำนวนมาก และเรือเหล่านี้จอดอยู่บนอะไร ปัจจุบันแหล่งปะการังหลายจุดซึ่งเมื่อก่อนถือว่าเป็นแหล่งปะการังที่มีความสวยงามดำน้ำลงไปแล้วไม่อยากขึ้นมา แต่ปัจจุบันแหล่งปะการังเหล่านั้นกลายเป็นเพียงทางผ่านของเรือเร็วที่แล่นเข้าออกชั่วโมงละหลายสิบลำ