ผุด Upcycling the Oceans, Thailand แห่งแรกในเอเชีย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) และมูลนิธิอีโคอัลฟ์ (Ecoalf) ร่วมแถลงเปิดตัวโครงการ “Upcycling the Oceans, Thailand”
คาดหวังให้ตระหนักถึงการเก็บขยะตามแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทย และนำมารีไซเคิลพัฒนาเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่า รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย ในฐานะจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก และถือว่าเป็นอันดับแรกหากเปรียบเทียบกับอัตราส่วนต่อจำนวนประชากร วัตถุประสงค์ของโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand ในระยะเวลา 3 ปี จึงต้องการให้คนไทยตระหนักถึงการเก็บขยะในสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญ เช่น เกาะสมุย เกาะภูก็ต และเกาะเสม็ด เป็นต้น
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการทางทะเล กล่าวถึง “การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง” มีใจความสำคัญว่า “แต่ละปีประเทศไทยทิ้งขยะลงทะเลมากกว่า 1 ล้านตัน โดยที่ร้อยละ 80 ของขยะในท้องทะเลไม่ได้เกิดจากชุมชนอยู่ริมทะเลเท่านั้น แต่ยังเกิดจากแม่น้ำลำคลอง และธุรกิจท่องเที่ยวที่ก่อขยะ ปัจจุบัน สัตว์ทะเลจำนวนมากต้องตายเพราะกินขยะเข้าไป แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้น คือ “ไมโครพลาสติก” ซึ่งเกิดขึ้นจากพลาสติกที่ย่อยสลายจนมีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร หากว่าปลาหรือสัตว์น้ำกินเข้าไป แล้วมนุษย์ก็ไปบริโภคปลาเหล่านั้น ทำให้ไมโครพลาสติกเข้ามาอยู่ในร่างกายมนุษย์ ถึงแม้จะไม่สามารถยืนยันถึงอันตรายจากไมโครพลาสติดในร่างกาย แต่คงไม่มีใครอยากให้มีไมโครพลาสติกอยู่ในท้องตัวเองแน่”
“หากไทยไม่เร่งดำเนินการอย่างจริงจังกับขยะในท้องทะเล จะถูกกดดันจากนานาประเทศมากขึ้น เนื่องจากขยะในท้องทะเลสามารถลอยตามกระแสน้ำไปได้ทั่วโลก ไม่ได้อยู่เฉพาะในบริเวณน่านน้ำของไทยเท่านั้น ทุกวันนี้แทบทุกประเทศทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับปัญหาขยะในทะเลเป็นอันดับต้นๆ”
ด้าน ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท.) กล่าวว่า “การท่องเที่ยวถือเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้ประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวจากการประเมินของ World Economic Forum (WEF) ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 35 โดยด้านที่ประเทศไทยได้คะแนนน้อยมาก คือ “ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม” ซึ่งก็เกิดจากปัญหาขยะ น้ำเสีย โดยขาดการจัดการอย่างมีคุณภาพ
“ททท.จึงมองหาทางแก้ไขปัญหา โดยมี พีทีที โกลบอล เคมิคอล ได้แสดงออกถึงความต้องการในการจัดการขยะพลาสติกอย่างจริงจัง และมีนวัตกรรมเกี่ยวกับเม็ดพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้ามาร่วม รวมถึงมูลนิธิอีโคอัลฟ์จากสเปน ซึ่งมีประสบการณ์ และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับขยะในทะเลได้”
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีจีซี กล่าวว่า "บริษัทฯ ในฐานะผู้ผลิตเม็ดพลาสติก มีส่วนได้เสียโดยตรงกับขยะพลาสติกในทะเล มีความมุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการดำเนินกิจกรรมเพื่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวทาง Sustainable Business ในการดำเนินโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand เพื่อลดปริมาณขยะในทะเลและลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ครงการนี้มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกอย่างคุ้มค่าโดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่เพิ่มมูลค่าได้ ไม่ใช่นำมาผลิตสินค้าราคาถูก เพราะต้นทุนการรีไซเคิลสูง”
“นอกจากนี้ในฐานะผู้นำด้านธุรกิจเคมีภัณฑ์จะเข้ามาร่วมรณรงค์การนำขยะขวดพลาสติกใสหรือขวด PET และขยะจากพลาสติกโพลิเอทิลีน (PE) ในทะเลและพื้นที่ชายฝั่ง มาใช้ซ้ำโดยการแปรรูปในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ด้วยนวัตกรรมการผลิตเป็นเส้นใยสังเคราะห์และพัฒนาและออกแบบเป็นเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นที่มีมูลค่าที่สูงขึ้นตามแนวคิดเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกอย่างคุ้มค่าและช่วยประหยัดพลังงานและน้ำในการผลิตในอุตสาหกรรมช่วยลดมลพิษ ในทะเลและช่วยฟื้นฟูและดูแลแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงาม” สุพัฒนพงษ์ กล่าวเสริม
ฮาเวียร์ โกเยนิเช่ ประธานและผู้ก่อตั้งมูลนิธิอีโคอัลฟ์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการUpcycling the Oceans ในประเทศสเปน ตั้งแต่ปี 2558 เล่าถึงจุดเริ่มต้นว่าว่า “ต้องการจะทำบริษัทเสื้อผ้าแฟชั่น ที่ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ช่วงแรกเริ่มต้นจากยางรถยนต์ จนกระทั่งวันหนึ่งได้เจอกับชาวประมงที่ชวนไปดูขยะในทะเล ทำให้ตนได้ตระหนักว่าในทะเลมีขยะอยู่ในปริมาณมาก จึงนำขยะจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมาแปรรูปเป็นสินค้าแฟชั่นภายใต้แบรนด์ "อีโคอัลฟ์" ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค และได้ต่อยอดความสำเร็จสู่ประเทศอื่นที่ประสบปัญหาด้านขยะในทะเลเช่นเดียวกัน”
“ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีการดำเนินโครงการ Upcycling the Oceansโดยมูลนิธิฯ ได้ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และพีทีที โกลบอล เคมิคอลเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ดำเนินการจัดเก็บขยะในทะเลไทยอย่างเป็นระบบ ซึ่งเชื่อว่าทุกประเทศทั่วโลกมีปัญหานี้เหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการลงมือทำอย่างจริงจังเหมือนกับไทยหรือไม่ โดยตลอดกระบวนการการจัดเก็บ แปรรูป และพัฒนาเป็นเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นจะดำเนินการในไทย รวมทั้งการสร้างความตระหนักของปัญหาและผลกระทบของขยะในทะเลซึ่งมีขยะพลาสติกในมหาสมุทรทั่วโลกถึง 269,000 ตัน หรือ 2.25 ล้านล้านชิ้น”
สำหรับขั้นตอนการดำเนินการนั้น จะเน้นไปที่การให้ความรู้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ รวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วไปที่สนใจร่วมเป็นอาสาสมัคร เกี่ยวกับการเก็บขยะจากท้องทะเลและพื้นที่ชายฝั่ง รวมถึงวิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง เพื่อนำมาแปรรูปขยะพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยพื้นที่เป้าหมายในการจัดเก็บขยะในทะเลไทยของโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand ได้แก่ ฝั่งทะเลตะวันออก (เกาะเสม็ดจังหวัดระยอง) ฝั่งทะเลอ่าวไทย (เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี) และ ฝั่งทะเลอันดามัน(จังหวัดภูเก็ต) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ ซึ่งคาดหวังว่า โครงการUpcycling the Oceans, Thailand จะเป็นการขับเคลื่อนที่นำไปสู่การลดปริมาณขยะในทะเลไทยอย่างยั่งยืนต่อไป
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) และมูลนิธิอีโคอัลฟ์ (Ecoalf) ร่วมแถลงเปิดตัวโครงการ “Upcycling the Oceans, Thailand”
คาดหวังให้ตระหนักถึงการเก็บขยะตามแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทย และนำมารีไซเคิลพัฒนาเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่า รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย ในฐานะจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก และถือว่าเป็นอันดับแรกหากเปรียบเทียบกับอัตราส่วนต่อจำนวนประชากร วัตถุประสงค์ของโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand ในระยะเวลา 3 ปี จึงต้องการให้คนไทยตระหนักถึงการเก็บขยะในสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญ เช่น เกาะสมุย เกาะภูก็ต และเกาะเสม็ด เป็นต้น
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการทางทะเล กล่าวถึง “การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง” มีใจความสำคัญว่า “แต่ละปีประเทศไทยทิ้งขยะลงทะเลมากกว่า 1 ล้านตัน โดยที่ร้อยละ 80 ของขยะในท้องทะเลไม่ได้เกิดจากชุมชนอยู่ริมทะเลเท่านั้น แต่ยังเกิดจากแม่น้ำลำคลอง และธุรกิจท่องเที่ยวที่ก่อขยะ ปัจจุบัน สัตว์ทะเลจำนวนมากต้องตายเพราะกินขยะเข้าไป แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้น คือ “ไมโครพลาสติก” ซึ่งเกิดขึ้นจากพลาสติกที่ย่อยสลายจนมีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร หากว่าปลาหรือสัตว์น้ำกินเข้าไป แล้วมนุษย์ก็ไปบริโภคปลาเหล่านั้น ทำให้ไมโครพลาสติกเข้ามาอยู่ในร่างกายมนุษย์ ถึงแม้จะไม่สามารถยืนยันถึงอันตรายจากไมโครพลาสติดในร่างกาย แต่คงไม่มีใครอยากให้มีไมโครพลาสติกอยู่ในท้องตัวเองแน่”
“หากไทยไม่เร่งดำเนินการอย่างจริงจังกับขยะในท้องทะเล จะถูกกดดันจากนานาประเทศมากขึ้น เนื่องจากขยะในท้องทะเลสามารถลอยตามกระแสน้ำไปได้ทั่วโลก ไม่ได้อยู่เฉพาะในบริเวณน่านน้ำของไทยเท่านั้น ทุกวันนี้แทบทุกประเทศทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับปัญหาขยะในทะเลเป็นอันดับต้นๆ”
ด้าน ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท.) กล่าวว่า “การท่องเที่ยวถือเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้ประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวจากการประเมินของ World Economic Forum (WEF) ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 35 โดยด้านที่ประเทศไทยได้คะแนนน้อยมาก คือ “ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม” ซึ่งก็เกิดจากปัญหาขยะ น้ำเสีย โดยขาดการจัดการอย่างมีคุณภาพ
“ททท.จึงมองหาทางแก้ไขปัญหา โดยมี พีทีที โกลบอล เคมิคอล ได้แสดงออกถึงความต้องการในการจัดการขยะพลาสติกอย่างจริงจัง และมีนวัตกรรมเกี่ยวกับเม็ดพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้ามาร่วม รวมถึงมูลนิธิอีโคอัลฟ์จากสเปน ซึ่งมีประสบการณ์ และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับขยะในทะเลได้”
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีจีซี กล่าวว่า "บริษัทฯ ในฐานะผู้ผลิตเม็ดพลาสติก มีส่วนได้เสียโดยตรงกับขยะพลาสติกในทะเล มีความมุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการดำเนินกิจกรรมเพื่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวทาง Sustainable Business ในการดำเนินโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand เพื่อลดปริมาณขยะในทะเลและลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ครงการนี้มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกอย่างคุ้มค่าโดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่เพิ่มมูลค่าได้ ไม่ใช่นำมาผลิตสินค้าราคาถูก เพราะต้นทุนการรีไซเคิลสูง”
“นอกจากนี้ในฐานะผู้นำด้านธุรกิจเคมีภัณฑ์จะเข้ามาร่วมรณรงค์การนำขยะขวดพลาสติกใสหรือขวด PET และขยะจากพลาสติกโพลิเอทิลีน (PE) ในทะเลและพื้นที่ชายฝั่ง มาใช้ซ้ำโดยการแปรรูปในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ด้วยนวัตกรรมการผลิตเป็นเส้นใยสังเคราะห์และพัฒนาและออกแบบเป็นเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นที่มีมูลค่าที่สูงขึ้นตามแนวคิดเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกอย่างคุ้มค่าและช่วยประหยัดพลังงานและน้ำในการผลิตในอุตสาหกรรมช่วยลดมลพิษ ในทะเลและช่วยฟื้นฟูและดูแลแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงาม” สุพัฒนพงษ์ กล่าวเสริม
ฮาเวียร์ โกเยนิเช่ ประธานและผู้ก่อตั้งมูลนิธิอีโคอัลฟ์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการUpcycling the Oceans ในประเทศสเปน ตั้งแต่ปี 2558 เล่าถึงจุดเริ่มต้นว่าว่า “ต้องการจะทำบริษัทเสื้อผ้าแฟชั่น ที่ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ช่วงแรกเริ่มต้นจากยางรถยนต์ จนกระทั่งวันหนึ่งได้เจอกับชาวประมงที่ชวนไปดูขยะในทะเล ทำให้ตนได้ตระหนักว่าในทะเลมีขยะอยู่ในปริมาณมาก จึงนำขยะจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมาแปรรูปเป็นสินค้าแฟชั่นภายใต้แบรนด์ "อีโคอัลฟ์" ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค และได้ต่อยอดความสำเร็จสู่ประเทศอื่นที่ประสบปัญหาด้านขยะในทะเลเช่นเดียวกัน”
“ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีการดำเนินโครงการ Upcycling the Oceansโดยมูลนิธิฯ ได้ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และพีทีที โกลบอล เคมิคอลเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ดำเนินการจัดเก็บขยะในทะเลไทยอย่างเป็นระบบ ซึ่งเชื่อว่าทุกประเทศทั่วโลกมีปัญหานี้เหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการลงมือทำอย่างจริงจังเหมือนกับไทยหรือไม่ โดยตลอดกระบวนการการจัดเก็บ แปรรูป และพัฒนาเป็นเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นจะดำเนินการในไทย รวมทั้งการสร้างความตระหนักของปัญหาและผลกระทบของขยะในทะเลซึ่งมีขยะพลาสติกในมหาสมุทรทั่วโลกถึง 269,000 ตัน หรือ 2.25 ล้านล้านชิ้น”
สำหรับขั้นตอนการดำเนินการนั้น จะเน้นไปที่การให้ความรู้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ รวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วไปที่สนใจร่วมเป็นอาสาสมัคร เกี่ยวกับการเก็บขยะจากท้องทะเลและพื้นที่ชายฝั่ง รวมถึงวิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง เพื่อนำมาแปรรูปขยะพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยพื้นที่เป้าหมายในการจัดเก็บขยะในทะเลไทยของโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand ได้แก่ ฝั่งทะเลตะวันออก (เกาะเสม็ดจังหวัดระยอง) ฝั่งทะเลอ่าวไทย (เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี) และ ฝั่งทะเลอันดามัน(จังหวัดภูเก็ต) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ ซึ่งคาดหวังว่า โครงการUpcycling the Oceans, Thailand จะเป็นการขับเคลื่อนที่นำไปสู่การลดปริมาณขยะในทะเลไทยอย่างยั่งยืนต่อไป