xs
xsm
sm
md
lg

เรื่องเล่าจากลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา : กึ่งศตวรรษชุมชนตะเครียะ ทะเลเปลี่ยนไป ชุมชนเปลี่ยนแปลง (6) / จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ภาพจากอินเตอร์เน็ต
 
คอลัมน์  :  คนคาบสมุทรมลายู
โดย...จรูญ  หยูทอง-แสงอุทัย
 
ต่อมา เมื่อเข้าสู่ยุคการพัฒนาให้ทันสมัย คือ การเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่ยังไม่เจริญโดยที่ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและเทคโนโลยียังล้าหลัง เปลี่ยนไปสู่สังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและเทคโนโลยีระดับสูง ตามนโยบายการทำให้เป็นเมือง คือ การทำให้ชุมชนมีการขยายวิถีชีวิตแบบเมือง โดยการแพร่ผ่านทางการมีไฟฟ้า ถนนหนทาง และสื่อมวลชน รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ทำให้รสนิยมความต้องการของประชาชนชาวชนบทเปลี่ยนแปลงไปในสิ่งที่คล้ายชาวเมืองมากขึ้น เกิดองค์กรทางสังคมอย่างเป็นทางการ เกิดกลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน และการทำให้เป็นประชาธิปไตย คือ กระบวนการแพร่ขยายของปรัชญา หรือระบบสังคมที่เน้นการมีส่วนร่วม และควบคุมกิจกรรมของชุมชนในฐานะเป็นตัวของตัวเอง
 
เกิดกลุ่ม องค์กรในชุมชนตะเครียะ เพื่อรับการสนับสนุนส่งเสริมจากรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ ตามภารกิจของแต่ละกระทรวงทบวงกรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การบริหารจัดการทรัพยากร การเมืองการปกครอง และการจัดสวัสดิการต่างๆ ชาวบ้านก็มองเห็นโอกาสของการเข้าถึงทรัพยากร และการบริการจากรัฐ รวมทั้งอำนาจในการต่อรองต่างๆ ทางสังคม ประกอบด้วย 
 
องค์กรชุมชนที่จดแจ้งในตำบลตะเครียะ มีดังนี้
 
1.กลุ่มกองทุน
 
กองทุนหมู่บ้านบ้านปากบาง มีสมาชิก 92 คน เงินออม 1,405,000 บาท ก่อตั้งปี 2544 มีนางวนิดา ชูเชิด เป็นผู้ประสานงาน กองทุนหมู่บ้านบ้านหนองถ้วย มีสมาชิก 106 คน เงินออม 1,598,000 บาท ก่อตั้งปี 2544 มีนางสายใจ จีนพานิชย์ เป็นผู้ประสานงาน กองทุนหมู่บ้านบ้านปากเหมือง มีสมาชิก 143 คน เงินออม 1,456,000 บาท ก่อตั้งปี 2554 มีนางอุไรวรรณ เกิดทิพย์ เป็นผู้ประสานงาน กองทนหมู่บ้านคลองโพธิ์ มีสมาชิก 137 คน เงินออม 1,140,000 บาท ก่อตั้งปี 2554 มีนางอรุณี สุวรรณมณี เป็นผู้ประสานงาน กองทนหมู่บ้านคลองโพธิ์ มีสมาชิก 106  คน เงินออม 1,444,000 บาท ก่อตั้งปี 2547 มีนางสาลี ชูบัวทอง เป็นผู้ประสานงาน
 
2.กลุ่มสังคมสงเคราะห์/สวัสดิการชุมชน
 
กลุ่มแก้ปัญหาความยากจน (กข.คจ.) มีสมาชิก 25 คน เงินออม 91,250 บาท ก่อตั้งปี 2545 มีนางจรีรัตน์ แกล้วทนงค์ เป็นผู้ประสานงาน กลุ่มพัฒนาสตรีและกองทุนฌาปนกิจสตรี มีสมาชิก 108 คน เงินออม 10,800 บาท ก่อตั้งปี 2551 มีนางสุรีย์ ฉิมสังข์ เป็นผู้ประสานงาน รพ.สต.สามอ่าง มีสมาชิก 25 คน เงินออม 9,125 บาท ก่อตั้งปี 2555 มีนางยุพิน สุวรรณมณี เป็นผู้ประสานงาน อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) มีสมาชิก 98 คน เงินออม 50,000 บาท ก่อตั้งปี 2538 มีนางอาภรณ์ ไพศาล เป็นผู้ประสานงาน กองทุนสัจจะวันละบาท มีสมาชิก 1,811 คน เงินออม 4,627,105 บาท ก่อตั้งปี 2548 มีนางปรานี พิทักษ์ เป็นผู้ประสานงาน
 
3.กลุ่มอาชีพ
 
กลุ่มทำไร่นาสวนผสม มีสมาชิก 32 คน เงินออม 11,680 บาท ก่อตั้งปี 2554 มีนางปทุม โกศล เป็นผู้ประสานงาน กลุ่มผูกผ้า-ดอกไม้จันทน์ สมาชิก 15 คน เงินออม 5,495 บาท ก่อตั้งปี 2554 นางศรียา จันทร์ปาน ผู้ประสานงาน กลุ่มทักษิณพัฒนา มีสมาชิก 80 คน เงินออม 204,400 บาท ก่อตั้งปี 2548 มีนายวิษณุพงศ์ ทองบุญ เป็นผู้ประสานงาน กลุ่มทำน้ำยาอเนกประสงค์และปลูกผักสวนครัว มีสมาชิก 23 คน เงินออม 16,790 บาท ก่อตั้งปี 2553 มีนางสุรีย์ ฉิมสังข์ เป็นผู้ประสานงาน นวดแพทย์แผนไทย มีสมาชิก 11 คน เงินออม 8,030 บาท ก่อตั้งปี 2553 มีนางบุญภา ดำแดง เป็นผู้ประสานงาน กลุ่มเลี้ยงปลา มีสมาชิก 16 คน เงินออม 1,600 บาท ก่อตั้งปี 2548 มีนายอำนวย เซ่งเอียง เป็นผู้ประสานงาน วิสาหกิจชุมชนภูมิปัญญาตะเครียะหนองลาน มีสมาชิก 8 คน เงินออม 2,920 บาท ก่อตั้งปี 2554 มีนางสุดใจ บัวขวัญ เป็นผู้ประสานงาน กลุ่มแม่บ้านดอนแบก (ปลาดุกร้า) มีสมาชิก 21 คน เงินออม 5,000 บาท ก่อตั้งปี 2549 มี น.ปิ.ยาภรณ์ ฉิมสนิท เป็นผู้ประสานงาน
 
กองทุนต่างๆ มีทั้งกองทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประชาสงเคราะห์ กรมพัฒนาชุมชน โดยให้การสนับสนุนทั้งในรูปแบบเงินหมุนเวียน และปัจจัยการผลิต เกษตรกรมีการทำประชาคมให้การตกลงกันว่า เมื่อได้รับปัจจัยการผลิตไปแล้วจะจ่ายคืนเป็นเงินตามที่แต่ละกิจกรรมกำหนด แล้วนำเงินเข้าบัญชีกองทุนให้เกษตรกรกู้ยืม โดยคิดดอกเบี้ยตามที่ประชาคมตกลงกัน
 
ปี 2544 รัฐบาลใช้วิธีกู้เงินจากธนาคารออมสินประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าอัดฉีดโดยตรงไปยังหมู่บ้าน และชุมชนต่างๆ ทั้งหมด 75,547 กองทุน
 
ระเบียบการกู้เงินช่วงแรกนั้นมีเพียงให้เลือก “คณะกรรมการกองทนหมู่บ้าน” ประมาณ 9-15 คน ทำหน้าที่ออกระเบียบข้อบังคับ รับสมัครสมาชิก จัดทำทะเบียนกองทุน และเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร จากนั้นชาวบ้านเสนอโครงการให้กรรมการเห็นชอบ และรอรับเงินจัดสรร 1 ล้านบาท ผ่านธนาคารออมสินได้ทันที
 
รัฐบาลกำหนดปรัชญากองทุนหมู่บ้านไว้ว่า 1.เสริมสร้างสำนึกชมชนและท้องถิ่น 2.ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตหมู่บ้านด้วยภูมิปัญญาตนเอง 3.ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชมชน 4.เชื่อมโยงการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน ราชการ เอกชน และประชาสังคม 5.กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น และพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน
 
แต่ดูเหมือนว่าจะมีหมู่บ้านไม่กี่แห่งที่สามารถทำได้ตามปรัชญา หรือแนวคิดที่ตั้งเป้าไว้ แต่ทุกรัฐบาลบาลก็ยังเสริมเม็ดเงินเข้าไปอย่างต่อเนื่อง เช่น ปี 2552 รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ใช้ชื่อว่า “กองทุนเอสเอ็มแอล” เพิ่มทุนเข้าไปเกือบ 2 หมื่นล้านบาท จากนั้นปี 2555 รัฐบาลพรรคเพื่อไทย เพิ่มทุนระยะที่ 3 เข้ามาอีก 5 หมื่นล้านบาท รวมทั้งสิ้นเงินที่จัดให้กองทุนหมู่บ้านไม่ต่ำกว่า 1.6 แสนล้านบาท
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น