xs
xsm
sm
md
lg

สุดท้ายประมงไทยอาจไม่รอด “ใบแดง” EU เดือนนี้รู้ผล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

(ภาพอินเตอร์เน็ต)
 
โดย..อภิญญา ศรีเปารยะ

(หมายเหตุกองบรรณาธิการ : อภิญญา ศรีเปารยะ พื้นเพเป็นชาว อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ในประเทศเยอรมนี ทำงานเป็นล่าม และนักสังคมสงเคราะห์ มีความสนใจด้านสิ่งแวดล้อม และได้แปลงานวิจัยรวมถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แลกเปลี่ยนกับนักพัฒนาเอกชน และนักวิชาการในประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอ)

รัฐสภาอียูเรียกร้องให้ใช้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ยุโรปกดดันไทย ในการต่อสู้ปัญหาการใช้แรงงานทาส (บทความนี้เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2558 โดยคัดแปลเพียงห้าสิบเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นท่อนหลังของบทความ..)

“เขาคงจะต้องเตรียมตัวตอบคำถามด้านสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพในการแสดงออกไว้เป็นอย่างดี และบอกว่า ประเทศไทยกำลังพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น”

Barbara Lochbihler ผู้แทนสภาอียูจากพรรคกรีน (เยอรมนี) กล่าวต่อ EurActiv เกี่ยวกับ (...ไม่แปล...) เธอมั่นใจว่า สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนจะดีขึ้นได้ก็ต้องมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้เสรีภาพในการแสดงออกมีพื้นที่มากขึ้น

แต่การพัฒนาปัจจุบันกลับดำเนินไปในทางตรงกันข้าม (..ไม่แปล...) องค์กร “ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน” ได้ลดอันดับเสรีภาพสื่อมวลชนในประเทศไทยจากอันดับ 130 ตกลงมาอันดับที่ 180

การประมงที่ผิดกฎหมายเอื้ออำนวยต่อการใช้แรงงานทาส สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศยังคงเป็นสิ่งทีน่ากังวล การแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ใช้แรงงานที่เป็นคนยากจนจากกัมพูชา มาเลเซีย และพม่า โดยเรือประมงพาณิชย์ยังคงเกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ประจำวัน

จากเรือประมงจำนวนประมาณ 50,000 ลำ มีเพียงประมาณ 20,000 ลำเท่านั้นที่ได้จดทะเบียนต่อกรมประมง ซึ่งไม่เพียงเป็นการเปิดประตูให้มีการทำประมงเกินอัตราเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้มีการใช้แรงงานทาส

คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้ออก “ใบเหลือง” ให้แก่ประเทศไทยไปแล้ว และได้เรียกร้องให้ไทยปรับปรุงกฎหมายเพื่อต่อสู้กับการประมงที่ผิดกฎหมาย และติดตั้งระบบตรวจสอบ การควบคุม และตรวจสอบย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปพบข้อบกพร่องที่สำคัญในการตรวจเยี่ยมประเทศไทยในเดือนตุลาคมนี้ ประเทศไทยอาจได้รับ “ใบแดง” ตามมาอีกก็เป็นได้

Overfishing ต้องไม่เป็นเพียงประเด็นเดียวในการเจรจาต่อรองเท่านั้น แต่ยังมีเครื่องมืออื่นในการสร้างความกดดัน นั่นคือ... แผนการตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ยุโรป-ไทย ที่ผ่านมา มีเพียงกฎระเบียบ IUU-Fisching เพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นหัวใจสำคัญของการต่อรอง ซึ่งไม่ได้โฟกัสไปที่สิทธิมนุษยชน และแรงงานทาส

“การบรรลุข้อตกลงจะต้องรวมทั้งสามประเด็นไว้ด้วยกัน”

ด้วยเหตุนี้ รัฐสภายุโรปจึงได้เรียกร้องให้จัดลำดับความสำคัญของ IUU และหัวข้อการใช้แรงงานทาสไว้ในความสัมพันธ์ทางการทูต และในความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย

ทางด้านรัฐบาลกลางของเยอรมนีก็ได้มีความเคลื่อนไหวในด้านความสัมพันธ์กับประเทศไทยไปบ้างแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะสหภาพยุโรปยังคงมุ่งมั่นที่จะสรุปข้อตกลงการค้าเสรีต่อไปกับประเทศเอเชียอื่นๆ

เอกสารแสดงจุดยืนของแผนการตกลงการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ยุโรป-ไทย ระบุไว้ว่า มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงทางการค้าดังกล่าว

“แน่นอนมันเป็นเรื่องยากที่จะติดตามการปฏิบัติตามตลอดห่วงโซ่อุปทาน แต่ผู้บริโภคก็ต้องมีส่วนร่วมในการสร้างความกดดัน” Barbara Lochbihler กล่าวในที่สุด

อ่านต้นฉบับบทความภาษาเยอรมันได้ที่ http://www.euractiv.de/sections/eu-aussenpolitik/thailand-eu-freihandelsabkommen-als-druckmittel-gegen-sklavenarbeit-318036
 
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น