xs
xsm
sm
md
lg

ผ่า “ร่าง พ.ร.บ.ประมง” ที่กำลังจะผ่าน สนช.! จับตาอิทธิฤทธิ์กลุ่มทุนประมงพาณิชย์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ตัวแทนจากสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ได้เดินทางไปยื่นเอกสารให้ สนช.ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา
 
โดย...วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี รองเลขาธิการ กป.อพช.ใต้
---------------------------------------------------
 
(๑) กรณีผู้เริ่ม/เลิก อาชีพ “การประมง” ต้องแจ้งกรมประมง ตามมาตรา ๒๒ และมาตรา ๑๔
 
เจตนาของบทบัญญัติตามมาตรานี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเก็บระบบสถิติ แต่ใช้วิธีการกำหนดให้เป็น “หน้าที่” ของประชาชนเป็นฝ่ายแจ้ง กิจกรรม การประมงที่ตนทำ แทนที่จะกำหนดให้เป็น “หน้าที่” ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 
มาตรา ๒๒ และ ๒๔ บังคับบุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล ทุกกลุ่ม ที่ประกอบอาชีพการประมงเป็นอาชีพปกติของตน อาชีพการประมงครอบคลุมถึงการทำการประมง การเพาะเลี้ยง การดูแลสัตว์น้ำหลังการจับ หรือการแปรรูปสัตว์น้ำด้วย
 
การบังคับให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการประมง (ที่มีนัยสำคัญ หรือควรแก่การจ่ายอากรแก่รัฐ) ต้องแจ้งข้อมูลต่อรัฐนั้น แท้จริงร่าง พ.ร.บ.การประมงฉบับนี้ได้กำหนดไว้เป็นไปโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว กล่าวคือ ข้อบัญญัติต่างๆ ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการประมงต้องขออนุญาต ต้องมีอาชญาบัตรเครื่องมือ ต้องมีใบอนุญาตทำการประมง การเพาะเลี้ยงต่างๆ  รัฐสามารถนำเอาหลักฐานเอกสารต่างๆ มารวบรวมเป็นสถิติได้อย่างชัดแจ้งอยู่แล้ว
 
ตัวแทนจากสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ได้เดินทางไปยื่นเอกสารให้ สนช.ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา
 
อนึ่ง ในพื้นที่ที่จำเป็น รัฐมนตรีก็มีอำนาจอยู่แล้วในการประกาศกำหนดบังคับให้ผู้ประกอบอาชีพการประมง และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมง ในพื้นที่ใดๆ ต้องมาจดทะเบียน หรือขออนุญาตฯ ตามมาตรา ๘ และกรมประมงเองสามารถรวบรวมสถิติจากการรายการจดทะเบียน หรือใบอนุญาตได้
 
ดังนั้น การกำหนดเพิ่มบังคับในมาตรา ๒๒ และ ๒๔ นั้น เท่ากับเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อบังคับ “กลุ่มที่ไม่เข้าข่ายต้องจ่ายอากรฯ” ที่เหลือเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น คือ กลุ่มชาวบ้านทั่วไป ที่ประกอบอาชีพการประมงเล็กๆ น้อยๆ เช่น “การเก็บหอย” “การทำกะปิ” ”น้ำปลา” “ปลาแดก” “ปลาร้า” “การเลี้ยงปลาในบ้าน” ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นเสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชนที่มีมาแต่ดั้งเดิม ปัญหาจึงเกิดว่า “การประมงแบบใด” ที่รัฐจะต้องบังคับกะเกณฑ์ประชาชนเหล่านั้นให้มาแจ้ง “การประกอบอาชีพการประมง” ต่อรัฐ และจำเป็นแค่ไหน? หรือไม่? อย่างไร?
 
บางคนเข้าใจว่าแค่ว่า ชาวประมงที่ใช้เรือหัวโทง ใช้เรือท้ายตัดเป็นการประมงพื้นบ้านที่ไม่ต้องขออนุญาต แท้จริงแล้ว การขออนุญาตตามกฎหมายนี้กำหนดที่เครื่องมือทำการประมง หรือกิจกรรมการประมงนั้นๆ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะใช้เรือประเภทใด กิจการใหญ่เล็กแค่ไหน จะเป็นประชาชนยากจน ร่ำรวย ก็ไม่ได้ถือเป็นข้อยกเว้น หากบุคคลนั้นทำการประมงด้วยเครื่องมือที่กฎหมายนี้กำหนดให้ข้ออนุญาต เป็นเครื่องมือในพิกัด เช่น อวน หรือตาข่าย, ลอบ/ไซ, แห ฯลฯ ซึ่งบางท่านให้ความเห็นเลยเถิด โดยใช้คำพูดกำกวมว่า “ชาวประมงพื้นบ้านเดี๋ยวนี้พัฒนาเครื่องมือไปเยอะ หลายคนใช้อวนยาวเป็นกิโลเมตร กฎหมายฉบับนี้ต้องบังคับคนเหล่านี้เข้ามาในระบบ ต้องบังคับให้มาแจ้งโดยการตรามาตรา ๒๒ และ ๒๔ ขึ้น”
 
อันที่จริงการประมงแบบที่ว่านั้น บทบัญญัติอื่นๆ ในกฎหมายนี้ได้บังคับต้องขออนุญาตอยู่แล้ว และกำหนดให้ “เครื่องมืออวนฯ คิดค่าอากร เมตรละ ๑๐ บาท” เหตุจำเป็นที่ว่านั้น จึงซ้ำซ้อน สร้างภาระให้แก่ประชาชนเกินกว่าเหตุ
 
ความจำเป็นของบทบัญญัตินี้...เป็นไปเพื่อให้รัฐรู้ข้อมูลสถิติเท่านั้น มิได้เป็นเหตุให้ผู้ไม่แจ้งข้อมูลเสียสิทธิที่พึงมีตามบทบัญญัติใดๆ ของร่าง พ.ร.บ.การประมงฉบับนี้ และหากไม่แจ้งก็ไม่ได้ทำให้รัฐเกิดความเสียหายแต่ประการใด
 
ข้อเสนอ ควรตัดเนื้อความในมาตรา ๒๒, ๒๓ และ ๒๔ ออกไป และเปลี่ยนเป็นกำหนด มาตรา ๒๒ “เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านการประมง ให้กรมประมงรวมรวมสถิติผู้ประกอบอาชีพการประมงที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้เป็นประจำทุกปี เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ”
 
ตัวแทนจากสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ได้เดินทางไปยื่นเอกสารให้ สนช.ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา
 
(๒) กรณีมาตรา ๔๑ และ มาตรา ๔๒ เกิดปัญหาว่า ผ่อนปรนภายใน (เขตใน) เข้มงวดภายนอก (นอกชายฝั่ง)
 
มาตรา ๔๑ ระบุว่า ผู้ใดจะใช้เครื่องมือทำการประมงตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทำการประมงในเขตประมงน้ำจืด และเขตประมงทะเลชายฝั่งต้องได้รับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมงนั้นจากพนักงานเจ้าหน้าที่  มีความหมายว่า “ควบคุมเฉพาะเครื่องมือประมงในพิกัด” (เท่าที่กรมประมงจะรู้จัก) ส่วนนอกจากนั้น ที่กรมประมง หรือรัฐไม่ได้ประกาศไว้ในกฎกระทรวง สามารถทำประมงในเขตชายฝั่งได้ทั้งหมด
 
ในทางกลับกัน มาตรา ๔๒ ระบุว่า ผู้ใดจะใช้เครื่องมือทำการประมงใดทำการประมงในเขตประมงทะเลนอกชายฝั่งต้องได้รับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือ ทำการประมงนั้นจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า เครื่องมือการประมงทุกชนิดต้องได้รับอนุญาตก่อน แม้จะไม่อยู่ในพิกัดตามกฎกระทรวงก็ตาม
 
แม้ว่าจะอนุโลมให้ผู้ทำการประมงด้วยเครื่องมือที่มีใบอนุญาตตาม มาตรา ๔๑ (ซึ่งก็คือเครื่องมือในพิกัด) หรือเครื่องมือทำการประมงพื้นบ้าน ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด แต่กลายเป็นประเด็นว่า รัฐกำลังออกกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ห้ามเครื่องมือประมงทุกชนิด ทำการประมงนอกชายฝั่ง แต่กลับอนุญาตทุกอย่างทำการประมงได้ในเขตชายฝั่งและน้ำจืด ทั้งที่อยู่ในพื้นที่เปราะบางมากกว่า
 
ประการต่อมา นอกเขตชายฝั่งนั้น อาจยังมีชุมชนชายฝั่ง และประชาชนอาศัยอยู่ มันไม่ใช่มีเฉพาะทะเลเท่านั้น เพราะเขตประมงชายฝั่งจะถูกกำหนดขึ้นหลังจากนี้ และมีลักษณะเป็นเขตอำนาจที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัด
 
(๓) กรณีบทลงโทษ
 
(๓.๑) กรณีเจ้าพนักงานมีอำนาจเปรียบเทียบปรับ และให้คดีเลิกกัน (ใช้เกณฑ์ โทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี)
 

 
(๓.๒) กรณีความผิดที่เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ ต้องส่งฟ้องศาลอย่างเดียว
 

 
สรุป... 
 
บทกำหนดโทษความผิดที่พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเปรียบเทียบปรับได้ ๓๔ ลักษณะความผิด/ส่งฟ้องศาลพิจารณาลงโทษ ๑๕ ลักษณะเท่านั้น
 
หมายความว่า พระราชบัญญัตินี้ได้มอบอำนาจซึ่งเคยเป็นของศาลยุติธรรม กลับมาให้บุคคลระดับ “พนักงานเจ้าหน้าที่” ใช้อำนาจแทนเกือบทั้งสิ้น
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น