คอลัมน์ : คนคาบสมุทรมลายู
โดย...จรูญ หยูทอง-แสงอทัย
สงครามอันยืดเยื้อยาวนานระหว่างมวลมหาประชาชนกับรัฐบาลเถื่อน รัฐมนตรีถ่อยของสมุนบริวารสถุลยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ง่ายๆ ท่ามกลางความเบื่อหน่ายเอือมระอาของปวงชนชาวไทยทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายเสมอนอก หรือ “พวกเกาะรั้ว” และ “พวกโลกสวย” ของกำนันสุเทพ
มันเป็นสงครามบนความขัดแย้งระหว่างสองขั้วความคิด ฝ่ายหนึ่งคือ มวลมหาประชาชนยึดหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เมื่อรัฐบาลขาดความชอบธรรม ทั้งตามหลักกฎหมายและหลักทางการเมือง โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลยึดหลักเสียงข้างมาก มาจากการเลือกตั้งอยู่ เพื่อปกป้องประชาธิปไตย
ขณะที่ฝ่ายทหารที่เคยมีบทบาทสำคัญในการจัดการกับความขัดแย้งทางการเมืองในอดีต มาวันนี้ทหารระมัดระวังในการก้าวย่างทางการเมืองจนน่ารำคาญ แรกๆ ก็ทำหน้าที่เก็บศพของมวลมหาประชาชนที่โดนกองกำลังไม่ทราบฝ่าย (แต่ประชาชนส่วนใหญ่ทราบดี) เข่นฆ่าทั้งต่อหน้า และลับหลัง หลังๆ ก็ออกมาปกป้องประชาชนบ้างในรูปแบบของ “ป๊อปคอร์น” และการตั้งบังเกอร์ตรวจตราบนท้องถนนในพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อการลอบฆาตกรรมกลางเมืองหลวง
ล่าสุด แกนนำคนใหม่ของ นปช. ออกมาประกาศศักดาท้ารบไปทั่วราชอาณาจักร สร้างความคึกคักให้แก่สื่อสารมวลชนประเภทสุนัขรับใช้ (ไม่ใช่หมาเฝ้าบ้าน) พร้อมเพรียงกันพาดหัว และนำเสนอข่าวจนเกินความจริงมากมาย ทั้งในเรื่องจำนวน หรือปริมาณและคุณภาพ เพราะแกนนำประกาศว่าจะมีคนมาร่วมชุมนุมมากกว่าห้าแสน และรัฐมนตรี กับฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็ต่างออกมารับลูกว่าจะมีคนมาร่วมชุมนุมเป็นแสนๆ ทีเดียว แต่ในที่สุดปรากฏว่ายังห่างไกลจากจำนวนดังกล่าวมากจนเทียบกันไม่ได้กับราคาคุย
หลายคนประเมินว่า การต่อสู้ครั้งนี้เป็นสงครามตัวแทนระหว่างฝ่ายไพร่กับอำมาตย์ ระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ ระหว่างเผด็จการล้าหลังกับฝ่ายประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงผู้เขียนมองว่าเป็นสงครามระหว่าง “ศักดิ์สิทธิ์” กับ “อุบาทว์” มากกว่า
มีคนถามว่าใครศักดิ์สิทธิ์ ใครอุบาทว์ ผู้เขียนไม่ขอบอกว่าฝ่ายไหนเป็นอะไร เพียงอยากยกคำอธิบายของพ่อที่เคยท้าทายต่อสิ่งที่ป้าผู้นิยมนับถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างเคร่งครัด เคยอธิบายพวกเราว่า ศักดิ์สิทธิ์กับอุบาทว์แตกต่างกันตรงที่ว่า ถ้าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะต้องทำแต่สิ่งดีงาม สิ่งที่เป็นมงคลมาให้ผู้นับถือ ปฏิบัติ แต่ถ้าเป็นอุบาทว์ จะมีแต่ให้โทษ อาเพศ ให้มีอันเป็นไป สร้างความเดือดร้อนอยู่มิได้ขาด จนลูกหลานแทบไม่เป็นทำมาหากินต้องคอยเซ่นไหว้ปรนนิบัติมิได้ขาด
วิธิสังเกตว่าฝ่ายไหนเป็นศักดิ์สิทธิ์ ฝ่ายไหนเป็นอุบาทว์ ผู้เขียนมีแนวคิดในการสังเกต ดังนี้
1.ดูที่แกนนำ หรือแม่ทัพพของแต่ละฝ่ายว่า ผู้นำทัพเป็นปราชญ์ หรือคนถ่อย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบาน หรือเป็นบัณฑิต หรือว่าคนพาล แน่นอนฝ่ายแรกย่อมเป็นศักดิ์สิทธิ์ และฝ่ายหลังน่าจะนับว่าเป็นอุบาทว์ได้
2.ดูที่ผู้เข้าร่วมชุมนุมว่ามาด้วยความสมัครใจ ด้วยความตื่นรู้ หรือมาด้วยการกวาดต้อน หรือจ้างวานกันมา เข้าทำนองว่า “ฝูงชนต้องนำ ฝูงสัตว์ต้องต้อน” ถ้ามาเองเพราะต้องการการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเพื่ออนาคตของลูกหลานก็น่าจะเป็นฝ่ายศักดิ์สิทธิ์ แต่ถ้ามาเพราะผลประโยชน์จ้างวาน หรือการมอมเมาปลุกปั่นน่าจะเป็นอุบาทว์
3.ดูที่เนื้อหาสาระของกิจกรรมบนเวทีการชุมนุมถ้าเป็นเวทีที่ให้ความรู้ ความเห็นที่เป็นประโยชน์ในการหาทางออกให้แก่บ้านเมืองก็น่าจะนับว่าเป็นฝ่ายศักดิ์สิทธิ์ แต่ถ้ามีแต่เรื่องบิดเบือน ปลุกระดมให้คนเกลียดชังกันอย่างไร้ความรับผิดชอบ ย่อมเป็นฝ่ายอุบาทว์
4.ดูที่เป้าหมายของการชุมนุมว่าทำเพื่ออะไร ถ้าทำเพื่อคนส่วนใหญ่ ทำเพื่อรักษาชาติบ้านเมืองให้ปลอดจากการโกงกินคอร์รัปชัน และการเอารัดเอาเปรียบ ถือได้ว่าเป็นฝ่ายศักดิ์สิทธิ์ แต่ถ้าทำเพื่อปกป้องคนบางคนบางกลุ่ม และบิดเบือนข้อเท็จจริงทางสังคมย่อมเป็นสิ่งอุบาทว์เช่นกัน
5.ดูที่ข้อเสนอเพื่อหาทางออกให้แก่บ้านเมือง ถ้ามีข้อเสนอที่เป็นเหตุเป็นผล และทำแล้วจะเกิดผลดีแก่ชาติบ้านเมืองน่าจะนับเป็นฝ่ายศักดิ์สิทธิ์ แต่ถ้าเป็นข้อเสนอแบบยอวาที โต้วาที และพูดเพียงเอามันไม่อาจจะเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นข้อเสนอของฝ่ายอุบทาว์เช่นกัน
นี่เป็นเพียงแนวคิดส่วนตัวที่อยากจะนำเสนอต่อสาธารณชน เพื่อทดลองนำเสนอกรอบคิด และมุมมองต่อปัญหา และทางออกของสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน อาจจะมองว่าไม่มีความเป็นกลาง ก็ไม่ว่ากันเพราะผู้เขียนไม่เคยเชื่อว่าโลกนี้มีความเป็นกลาง เว้นไว้แต่คนนั้นไม่มี “จุดยืน” เท่านั้นเอง
หลายคนตั้งคำถามกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองว่า “เมื่อไหร่จะจบเสียที” น่ารำคาญ น่าเบื่อหน่ายเหลือเกิน ฯลฯ ถ้าคำพูดเหล่านี้เป็นของคนต่างด้าวที่ไม่ใช่คนไทยก็พอทำเนา แต่ถ้ามันออกจากปากคนไทยก็เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ผู้ถามทำประหนึ่งกับว่าคนที่เขาออกจากบ้านไปขับไล่รัฐบาลทรราชเสียงข้างมากที่ทำผิดกฎหมายซ้ำซาก ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไร้ยางอาย เขาว่างงาน และสนุกสนานกับการทิ้งบ้านทิ้งช่องไม่มีเวลาทำมาหากิน และเสี่ยงตายกับการไปชุมนุมที่เต็มไปด้วยอันตรายยิ่งกว่าในสนามรบของประเทศเถื่อนๆ ทั่วไป
ตราบใดที่เราปล่อยให้นายกรัฐมนตรีเถื่อน รัฐมนตรีถ่อย และสมุนบริวารสถุลเขาข่มขู่คุกคามแม้แต่ศาลและองค์กรอิสระอยู่เช่นนี้ ย่อมยากที่ชาติบ้านเมืองของเราจะพัฒนาก้าวหน้าไปกว่านี้ ดังคำกล่าวที่ว่า “ประเทศชาติบ้านเมืองจะเจริญก้าวหน้าเกินกว่าคุณภาพของประชากรไปไม่ได้”
บัดนี้ ประเทศไทยมาถึงทางตันที่เมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองแล้ว การยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่ทุกอย่างก็ยุติ แต่ครั้งนี้แค่ยุบสภาแล้วรักษาการ และเลือกตั้งใหม่ก็ไม่ใช่ทางออก หรือแม้แต่การยึดอำนาจ หรือปฏิวัติรัฐประหารก็เป็นทางออกจากความขัดแย้งได้ แต่วันนี้ก็ไม่ใช่อีก ที่สำคัญที่สุดคือ “คนกลาง” ที่เคยมีในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และพฤษภาทมิฬ 2535 ก็ถูกผลักให้กลายเป็นคู่ขัดแย้งกันไปหมดแล้ว
ดังนั้น สงครามครั้งนี้จึงเป็นสงครามที่น่ากลัว เพราะมันเป็นการต่อสู้ระหว่าง “ศักดิ์สิทธิ์” กับ “อุบาทว์” ฝ่ายที่น่ากลัวไม่ใช่ฝ่ายศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นฝ่ายอุบาทว์ เพราะอะไรย่อมเข้าใจกันดีอยู่แล้วมิใช่หรือ
โดย...จรูญ หยูทอง-แสงอทัย
สงครามอันยืดเยื้อยาวนานระหว่างมวลมหาประชาชนกับรัฐบาลเถื่อน รัฐมนตรีถ่อยของสมุนบริวารสถุลยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ง่ายๆ ท่ามกลางความเบื่อหน่ายเอือมระอาของปวงชนชาวไทยทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายเสมอนอก หรือ “พวกเกาะรั้ว” และ “พวกโลกสวย” ของกำนันสุเทพ
มันเป็นสงครามบนความขัดแย้งระหว่างสองขั้วความคิด ฝ่ายหนึ่งคือ มวลมหาประชาชนยึดหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เมื่อรัฐบาลขาดความชอบธรรม ทั้งตามหลักกฎหมายและหลักทางการเมือง โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลยึดหลักเสียงข้างมาก มาจากการเลือกตั้งอยู่ เพื่อปกป้องประชาธิปไตย
ขณะที่ฝ่ายทหารที่เคยมีบทบาทสำคัญในการจัดการกับความขัดแย้งทางการเมืองในอดีต มาวันนี้ทหารระมัดระวังในการก้าวย่างทางการเมืองจนน่ารำคาญ แรกๆ ก็ทำหน้าที่เก็บศพของมวลมหาประชาชนที่โดนกองกำลังไม่ทราบฝ่าย (แต่ประชาชนส่วนใหญ่ทราบดี) เข่นฆ่าทั้งต่อหน้า และลับหลัง หลังๆ ก็ออกมาปกป้องประชาชนบ้างในรูปแบบของ “ป๊อปคอร์น” และการตั้งบังเกอร์ตรวจตราบนท้องถนนในพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อการลอบฆาตกรรมกลางเมืองหลวง
ล่าสุด แกนนำคนใหม่ของ นปช. ออกมาประกาศศักดาท้ารบไปทั่วราชอาณาจักร สร้างความคึกคักให้แก่สื่อสารมวลชนประเภทสุนัขรับใช้ (ไม่ใช่หมาเฝ้าบ้าน) พร้อมเพรียงกันพาดหัว และนำเสนอข่าวจนเกินความจริงมากมาย ทั้งในเรื่องจำนวน หรือปริมาณและคุณภาพ เพราะแกนนำประกาศว่าจะมีคนมาร่วมชุมนุมมากกว่าห้าแสน และรัฐมนตรี กับฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็ต่างออกมารับลูกว่าจะมีคนมาร่วมชุมนุมเป็นแสนๆ ทีเดียว แต่ในที่สุดปรากฏว่ายังห่างไกลจากจำนวนดังกล่าวมากจนเทียบกันไม่ได้กับราคาคุย
หลายคนประเมินว่า การต่อสู้ครั้งนี้เป็นสงครามตัวแทนระหว่างฝ่ายไพร่กับอำมาตย์ ระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ ระหว่างเผด็จการล้าหลังกับฝ่ายประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงผู้เขียนมองว่าเป็นสงครามระหว่าง “ศักดิ์สิทธิ์” กับ “อุบาทว์” มากกว่า
มีคนถามว่าใครศักดิ์สิทธิ์ ใครอุบาทว์ ผู้เขียนไม่ขอบอกว่าฝ่ายไหนเป็นอะไร เพียงอยากยกคำอธิบายของพ่อที่เคยท้าทายต่อสิ่งที่ป้าผู้นิยมนับถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างเคร่งครัด เคยอธิบายพวกเราว่า ศักดิ์สิทธิ์กับอุบาทว์แตกต่างกันตรงที่ว่า ถ้าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะต้องทำแต่สิ่งดีงาม สิ่งที่เป็นมงคลมาให้ผู้นับถือ ปฏิบัติ แต่ถ้าเป็นอุบาทว์ จะมีแต่ให้โทษ อาเพศ ให้มีอันเป็นไป สร้างความเดือดร้อนอยู่มิได้ขาด จนลูกหลานแทบไม่เป็นทำมาหากินต้องคอยเซ่นไหว้ปรนนิบัติมิได้ขาด
วิธิสังเกตว่าฝ่ายไหนเป็นศักดิ์สิทธิ์ ฝ่ายไหนเป็นอุบาทว์ ผู้เขียนมีแนวคิดในการสังเกต ดังนี้
1.ดูที่แกนนำ หรือแม่ทัพพของแต่ละฝ่ายว่า ผู้นำทัพเป็นปราชญ์ หรือคนถ่อย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบาน หรือเป็นบัณฑิต หรือว่าคนพาล แน่นอนฝ่ายแรกย่อมเป็นศักดิ์สิทธิ์ และฝ่ายหลังน่าจะนับว่าเป็นอุบาทว์ได้
2.ดูที่ผู้เข้าร่วมชุมนุมว่ามาด้วยความสมัครใจ ด้วยความตื่นรู้ หรือมาด้วยการกวาดต้อน หรือจ้างวานกันมา เข้าทำนองว่า “ฝูงชนต้องนำ ฝูงสัตว์ต้องต้อน” ถ้ามาเองเพราะต้องการการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเพื่ออนาคตของลูกหลานก็น่าจะเป็นฝ่ายศักดิ์สิทธิ์ แต่ถ้ามาเพราะผลประโยชน์จ้างวาน หรือการมอมเมาปลุกปั่นน่าจะเป็นอุบาทว์
3.ดูที่เนื้อหาสาระของกิจกรรมบนเวทีการชุมนุมถ้าเป็นเวทีที่ให้ความรู้ ความเห็นที่เป็นประโยชน์ในการหาทางออกให้แก่บ้านเมืองก็น่าจะนับว่าเป็นฝ่ายศักดิ์สิทธิ์ แต่ถ้ามีแต่เรื่องบิดเบือน ปลุกระดมให้คนเกลียดชังกันอย่างไร้ความรับผิดชอบ ย่อมเป็นฝ่ายอุบาทว์
4.ดูที่เป้าหมายของการชุมนุมว่าทำเพื่ออะไร ถ้าทำเพื่อคนส่วนใหญ่ ทำเพื่อรักษาชาติบ้านเมืองให้ปลอดจากการโกงกินคอร์รัปชัน และการเอารัดเอาเปรียบ ถือได้ว่าเป็นฝ่ายศักดิ์สิทธิ์ แต่ถ้าทำเพื่อปกป้องคนบางคนบางกลุ่ม และบิดเบือนข้อเท็จจริงทางสังคมย่อมเป็นสิ่งอุบาทว์เช่นกัน
5.ดูที่ข้อเสนอเพื่อหาทางออกให้แก่บ้านเมือง ถ้ามีข้อเสนอที่เป็นเหตุเป็นผล และทำแล้วจะเกิดผลดีแก่ชาติบ้านเมืองน่าจะนับเป็นฝ่ายศักดิ์สิทธิ์ แต่ถ้าเป็นข้อเสนอแบบยอวาที โต้วาที และพูดเพียงเอามันไม่อาจจะเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นข้อเสนอของฝ่ายอุบทาว์เช่นกัน
นี่เป็นเพียงแนวคิดส่วนตัวที่อยากจะนำเสนอต่อสาธารณชน เพื่อทดลองนำเสนอกรอบคิด และมุมมองต่อปัญหา และทางออกของสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน อาจจะมองว่าไม่มีความเป็นกลาง ก็ไม่ว่ากันเพราะผู้เขียนไม่เคยเชื่อว่าโลกนี้มีความเป็นกลาง เว้นไว้แต่คนนั้นไม่มี “จุดยืน” เท่านั้นเอง
หลายคนตั้งคำถามกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองว่า “เมื่อไหร่จะจบเสียที” น่ารำคาญ น่าเบื่อหน่ายเหลือเกิน ฯลฯ ถ้าคำพูดเหล่านี้เป็นของคนต่างด้าวที่ไม่ใช่คนไทยก็พอทำเนา แต่ถ้ามันออกจากปากคนไทยก็เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ผู้ถามทำประหนึ่งกับว่าคนที่เขาออกจากบ้านไปขับไล่รัฐบาลทรราชเสียงข้างมากที่ทำผิดกฎหมายซ้ำซาก ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไร้ยางอาย เขาว่างงาน และสนุกสนานกับการทิ้งบ้านทิ้งช่องไม่มีเวลาทำมาหากิน และเสี่ยงตายกับการไปชุมนุมที่เต็มไปด้วยอันตรายยิ่งกว่าในสนามรบของประเทศเถื่อนๆ ทั่วไป
ตราบใดที่เราปล่อยให้นายกรัฐมนตรีเถื่อน รัฐมนตรีถ่อย และสมุนบริวารสถุลเขาข่มขู่คุกคามแม้แต่ศาลและองค์กรอิสระอยู่เช่นนี้ ย่อมยากที่ชาติบ้านเมืองของเราจะพัฒนาก้าวหน้าไปกว่านี้ ดังคำกล่าวที่ว่า “ประเทศชาติบ้านเมืองจะเจริญก้าวหน้าเกินกว่าคุณภาพของประชากรไปไม่ได้”
บัดนี้ ประเทศไทยมาถึงทางตันที่เมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองแล้ว การยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่ทุกอย่างก็ยุติ แต่ครั้งนี้แค่ยุบสภาแล้วรักษาการ และเลือกตั้งใหม่ก็ไม่ใช่ทางออก หรือแม้แต่การยึดอำนาจ หรือปฏิวัติรัฐประหารก็เป็นทางออกจากความขัดแย้งได้ แต่วันนี้ก็ไม่ใช่อีก ที่สำคัญที่สุดคือ “คนกลาง” ที่เคยมีในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และพฤษภาทมิฬ 2535 ก็ถูกผลักให้กลายเป็นคู่ขัดแย้งกันไปหมดแล้ว
ดังนั้น สงครามครั้งนี้จึงเป็นสงครามที่น่ากลัว เพราะมันเป็นการต่อสู้ระหว่าง “ศักดิ์สิทธิ์” กับ “อุบาทว์” ฝ่ายที่น่ากลัวไม่ใช่ฝ่ายศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นฝ่ายอุบาทว์ เพราะอะไรย่อมเข้าใจกันดีอยู่แล้วมิใช่หรือ