ยะลา - สปต.จี้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และ ศชต. เร่งคลี่คดีฆ่า 3 ศพ และป้องกันชาวไทยพุทธที่กลายเป็น “เหยื่อ” สถานการณ์ 10 ศพ ใน 7 วัน
วันนี้ (14 ก.พ.) ที่ห้องประชุมเอนกประสงค์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา ได้มีการประชุมสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สปต.) โดยมีนายอาซิส เบ็ญหาวัน ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม มีหน่วยงานความมั่นคงเข้าร่วมประชุม เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น เช่น พล.ต.ปราการ ชลยุทธ รองแม่ทัพภาคที่ 4 และรอง ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รอง เลขาธิการ ศอ.บต. พล.ต.ต.สาคร ทองมุณี รอง ผบช.ศชต. และ ผอ.สำนักกองต่างๆ ของ ศอ.บต. เข้าร่วมประชุม
นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ จากภาคส่วนหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ได้ตั้งกระทู้ถามแม่ทัพภาคที่ 4 และ ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ถึงสถานการณ์ความรุนแรง และการแก้ปัญหาการคุ้มครองชาวไทยพุทธที่ถูก “แนวร่วม” ทำร้ายจนเสียชีวิตจำนวน 10 ราย ในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ และตั้งกระทู้ถาม ผบช.ศชต. ถึงความคืบหน้าในคดีคนร้ายฆ่าล้างครัวของนายเจะมุ มะมัน แนวร่วมกลุ่มก่อการร้ายจนเป็นเหตุให้ “แนวร่วม” ใช้เป็นเงื่อนไขในการทำร้ายชาวไทยพุทธ
ซึ่งปรากฏว่า ขณะนี้มีชาวไทยพุทธในพื้นที่ 3 จังหวัดถูกฆ่าตายอย่างโหดเหี้ยม โดยเฉพาะการฆ่าแล้วเผา น.ส.เบ็ญจพร เกื้อตุ้ง และ น.ส.ศยามล แซ่ลิ่ม ที่ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี และ ล่าสุด คือการกราดยิงพระภิกษุ และลูกเมียตำรวจ และชาวไทยพุทธที่รอใส่บาตรพระที่บ้านศาลาใหม่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี จนเป็นเหตุให้พระ และชาวไทยพุทธเสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บอีก 7 ราย และ “แนวร่วม” ยังได้ทิ้งใบปลิวข่มขู่ว่าเป็นการแก้แค้นที่มีการฆ่าเด็ก 3 ศพ ที่ อ.บาเจาะ และมีการปล่อยข่าวว่าจะต้องฆ่าคนไทยพุทธในพื้นที่ 100 ศพ เพื่อเป็นการล้างแค้น จึงขอถามว่า กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จะแก้ปัญหาอย่างไร และจะให้การดูแลชาวไทยพุทธในพื้นที่ 3 จังหวัดอย่างไร
โดย พล.ต.ปราการ ชลยุทธ รองแม่ทัพภาคที่ 4 และรอง ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งมาตอบกระทู้แทน พล.ท.สกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 และ ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า การฆ่าเด็กที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งคนในพื้นที่ส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐนั้น ในขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่ง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า พร้อมให้ความร่วมมือกับตำรวจ หากการสอบสวนพบว่ามีคนของ กอ.รมน.เข้าไปเกี่ยวข้อง ก็พร้อมที่จะให้ดำเนินคดีเพื่อความถูกต้อง เป็นธรรม และความสบายใจของประชาชนในพื้นที่
แต่ขอให้ประชาชนอย่าเพิ่งตัดสินใจเชื่อตามกระแสข่าวของ “แนวร่วม” ที่ใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเครื่องมือ เงื่อนไขในการปลุกระดม เพราะนายเจะมุ มะมัน พ่อของเด็กๆ ที่เสียชีวิต เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบหลายครั้งด้วยกัน ทั้งในพื้นที่ จ.ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งอาจจะทำให้ญาติพี่น้องของผู้ถูกกระทำต้องการแก้แค้นก็ได้ จึงขอให้สภาที่ปรึกษาช่วยคลี่คลายสร้างความเข้าใจแก่ชาวบ้าน และทำหน้าที่หาข้อเท็จจริงคู่ขนานกับเจ้าหน้าที่เพื่อความโปร่งใสในการตรวจสอบข้อเท็จจริง หาคนผิดมาลงโทษ
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า มีผู้หลงผิดที่ถูกหมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และผู้ที่พ้นคดีโดยที่ศาลสั่งไม่ฟ้อง จำนวน 70 คน และถูกฆ่าไปแล้ว 30 คนนั้น เชื่อว่าเป็นการปล่อยข่าวเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อมิให้ผู้หลงผิดเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรม เนื่องจากโครงการพาคนกลับบ้านของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้านั้น มีผู้เข้ารายงานตัวกว่า 1,000 คน ไม่ใช่มีเพียง 70 คน แต่หากผู้ที่พ้นจากหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และพ้นจากขบวนการของศาล ต้องการให้เจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย กองทัพพร้อมที่จะ คุ้มครองให้ทุกคน
สำหรับการดูแลกลุ่มคนไทยพุทธ ซึ่งเป็นเป้าหมายอ่อนแอในพื้นที่ รอง ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า มีแผนปฏิบัติการอยู่แล้วในทุกพื้นที่ แต่เมื่อเกิดเหตุติดๆ กันขึ้นอีกจะมีการปรับวิธีการอุดช่องว่าง และร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น ตำรวจ ปกครอง เพิ่มความเข้มในการรักษาความปลอดภัยให้มากกว่าเดิม รวมทั้งการติดตาม กดดัน จับกุมแนวร่วมในพื้นที่เพื่อสร้างความปลอดภัยแก่ประชาชน ทั้งไทยพุทธ และมุสลิม
ในขณะที่ พล.ต.ต.สาคร ทองมุณี รอง ผบช.ศชต. ซึ่งมาตอบกระทู้ถามแทน พล.ต.ท.ยงยุทธ เจริญวานิช ผบช.ศชต. กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าในคดีการฆ่าเด็ก 3 ศพ ที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส จนกลายเป็นเงื่อนไขให้แนวร่วมกล่าวหาว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ และตอบโต้ด้วยการฆ่าชาวไทยพุทธไปแล้ว 10 รายนั้น ในการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาสาเหตุ และคนร้าย ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก โดย ศชต. ขอเวลาในการสืบสวนสอบสวนอีกไม่เกิน 20 วัน ก่อนที่จะสรุปสำนวน ในเบื้องต้นจากการพิสูจน์วัตถุพยานพบว่า ปลอกกระสุนปืนที่พบในที่เกิดเหตุ ปืนที่คนร้ายใช้ไม่เคยมีประวัติในการก่อเหตุ แม้ว่าในการก่อเหตุจะไม่มีประจักษ์พยาน แต่เจ้าหน้าที่มีเบาะแส และพยานแวดล้อมเพียงพอในการคลี่คลายคดี
สำหรับคดีฆ่าแล้วเผาผู้หญิงในพื้นที่ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ทั้ง 2 ราย และการฆ่าพระ และประชาชนชาวไทยพุทธมาแล้วทั้งสิ้น จึงสรุปได้ว่าเป็นการกระทำของแนวร่วมในพื้นที่เพื่อสร้างสถานการณ์ให้เกิดความแตกแยกระหว่างคนในพื้นที่ ส่วนการคุ้มครองพระและชาวไทยพุทธนั้น มีการจัดกำลังร่วมกับทหารเพื่อคุ้มครองพระที่ออกบิณฑบาตมาโดยตลอด สำหรับ อ.แม่ลาน นั้น เนื่องจากเป็นพื้นที่สีเขียว ที่มีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัย การคุ้มครองพระ และประชาชนชาวไทยพุทธจึงค่อนข้างจะไม่เข้มงวด ทำให้แนวร่วมฉวยโอกาสกระทำต่อเป้าหมายอ่อนแอในครั้งนี้ ซึ่งหลังเกิดเหตุจะต้องมีการปรับแผนการดูแลพระ และพี่น้องชาวไทยพุทธอีกครั้งหนึ่ง
นายไชยยงค์ ได้ให้ข้อสังเกตว่า การแก้แค้นของแนวร่วมทุกครั้งที่เกิดความสูญเสียกับพี่น้องที่เป็นมุสลิม ซึ่งไม่ว่าเกิดขึ้นที่จังหวัดไหน แต่พื้นที่การแก้แค้นจะเกิดขึ้นที่ จ.ปัตตานี ทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่าแนวร่วมในพื้นที่ จ.ปัตตานี มีความเข้มแข็ง ซึ่ง กอ.รมน.ต้องมีมาตรการในการยับยั้ง หรือมีแผนเชิงรุกเพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดกับชาวไทยพุทธในพื้นที่ ตลอดจนต้องมีการสร้างความเข้าใจแก่คนในพื้นที่ให้มากกว่าเดิม โดยเฉพาะต้องแก้ปัญหาในส่วนของโซเชียล เน็ตเวิร์ก ที่ใช้ข้อมูลที่ยังไม่ถูกต้อง สร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชน รวมทั้งการให้ข้อเท็จจริงแก่ชาวไทยพุทธ เพื่อให้สามารถป้องกันตนเอง และไม่ใช้หลงกลเดินตามเงื่อนไขของแนวร่วม จนกลายเป็นความขัดแย้งของประชาชนชาวไทยพุทธ และมุสลิมเกิดขึ้น ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของขบวนการ
วันนี้ (14 ก.พ.) ที่ห้องประชุมเอนกประสงค์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา ได้มีการประชุมสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สปต.) โดยมีนายอาซิส เบ็ญหาวัน ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม มีหน่วยงานความมั่นคงเข้าร่วมประชุม เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น เช่น พล.ต.ปราการ ชลยุทธ รองแม่ทัพภาคที่ 4 และรอง ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รอง เลขาธิการ ศอ.บต. พล.ต.ต.สาคร ทองมุณี รอง ผบช.ศชต. และ ผอ.สำนักกองต่างๆ ของ ศอ.บต. เข้าร่วมประชุม
นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ จากภาคส่วนหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ได้ตั้งกระทู้ถามแม่ทัพภาคที่ 4 และ ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ถึงสถานการณ์ความรุนแรง และการแก้ปัญหาการคุ้มครองชาวไทยพุทธที่ถูก “แนวร่วม” ทำร้ายจนเสียชีวิตจำนวน 10 ราย ในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ และตั้งกระทู้ถาม ผบช.ศชต. ถึงความคืบหน้าในคดีคนร้ายฆ่าล้างครัวของนายเจะมุ มะมัน แนวร่วมกลุ่มก่อการร้ายจนเป็นเหตุให้ “แนวร่วม” ใช้เป็นเงื่อนไขในการทำร้ายชาวไทยพุทธ
ซึ่งปรากฏว่า ขณะนี้มีชาวไทยพุทธในพื้นที่ 3 จังหวัดถูกฆ่าตายอย่างโหดเหี้ยม โดยเฉพาะการฆ่าแล้วเผา น.ส.เบ็ญจพร เกื้อตุ้ง และ น.ส.ศยามล แซ่ลิ่ม ที่ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี และ ล่าสุด คือการกราดยิงพระภิกษุ และลูกเมียตำรวจ และชาวไทยพุทธที่รอใส่บาตรพระที่บ้านศาลาใหม่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี จนเป็นเหตุให้พระ และชาวไทยพุทธเสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บอีก 7 ราย และ “แนวร่วม” ยังได้ทิ้งใบปลิวข่มขู่ว่าเป็นการแก้แค้นที่มีการฆ่าเด็ก 3 ศพ ที่ อ.บาเจาะ และมีการปล่อยข่าวว่าจะต้องฆ่าคนไทยพุทธในพื้นที่ 100 ศพ เพื่อเป็นการล้างแค้น จึงขอถามว่า กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จะแก้ปัญหาอย่างไร และจะให้การดูแลชาวไทยพุทธในพื้นที่ 3 จังหวัดอย่างไร
โดย พล.ต.ปราการ ชลยุทธ รองแม่ทัพภาคที่ 4 และรอง ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งมาตอบกระทู้แทน พล.ท.สกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 และ ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า การฆ่าเด็กที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งคนในพื้นที่ส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐนั้น ในขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่ง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า พร้อมให้ความร่วมมือกับตำรวจ หากการสอบสวนพบว่ามีคนของ กอ.รมน.เข้าไปเกี่ยวข้อง ก็พร้อมที่จะให้ดำเนินคดีเพื่อความถูกต้อง เป็นธรรม และความสบายใจของประชาชนในพื้นที่
แต่ขอให้ประชาชนอย่าเพิ่งตัดสินใจเชื่อตามกระแสข่าวของ “แนวร่วม” ที่ใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเครื่องมือ เงื่อนไขในการปลุกระดม เพราะนายเจะมุ มะมัน พ่อของเด็กๆ ที่เสียชีวิต เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบหลายครั้งด้วยกัน ทั้งในพื้นที่ จ.ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งอาจจะทำให้ญาติพี่น้องของผู้ถูกกระทำต้องการแก้แค้นก็ได้ จึงขอให้สภาที่ปรึกษาช่วยคลี่คลายสร้างความเข้าใจแก่ชาวบ้าน และทำหน้าที่หาข้อเท็จจริงคู่ขนานกับเจ้าหน้าที่เพื่อความโปร่งใสในการตรวจสอบข้อเท็จจริง หาคนผิดมาลงโทษ
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า มีผู้หลงผิดที่ถูกหมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และผู้ที่พ้นคดีโดยที่ศาลสั่งไม่ฟ้อง จำนวน 70 คน และถูกฆ่าไปแล้ว 30 คนนั้น เชื่อว่าเป็นการปล่อยข่าวเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อมิให้ผู้หลงผิดเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรม เนื่องจากโครงการพาคนกลับบ้านของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้านั้น มีผู้เข้ารายงานตัวกว่า 1,000 คน ไม่ใช่มีเพียง 70 คน แต่หากผู้ที่พ้นจากหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และพ้นจากขบวนการของศาล ต้องการให้เจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย กองทัพพร้อมที่จะ คุ้มครองให้ทุกคน
สำหรับการดูแลกลุ่มคนไทยพุทธ ซึ่งเป็นเป้าหมายอ่อนแอในพื้นที่ รอง ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า มีแผนปฏิบัติการอยู่แล้วในทุกพื้นที่ แต่เมื่อเกิดเหตุติดๆ กันขึ้นอีกจะมีการปรับวิธีการอุดช่องว่าง และร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น ตำรวจ ปกครอง เพิ่มความเข้มในการรักษาความปลอดภัยให้มากกว่าเดิม รวมทั้งการติดตาม กดดัน จับกุมแนวร่วมในพื้นที่เพื่อสร้างความปลอดภัยแก่ประชาชน ทั้งไทยพุทธ และมุสลิม
ในขณะที่ พล.ต.ต.สาคร ทองมุณี รอง ผบช.ศชต. ซึ่งมาตอบกระทู้ถามแทน พล.ต.ท.ยงยุทธ เจริญวานิช ผบช.ศชต. กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าในคดีการฆ่าเด็ก 3 ศพ ที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส จนกลายเป็นเงื่อนไขให้แนวร่วมกล่าวหาว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ และตอบโต้ด้วยการฆ่าชาวไทยพุทธไปแล้ว 10 รายนั้น ในการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาสาเหตุ และคนร้าย ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก โดย ศชต. ขอเวลาในการสืบสวนสอบสวนอีกไม่เกิน 20 วัน ก่อนที่จะสรุปสำนวน ในเบื้องต้นจากการพิสูจน์วัตถุพยานพบว่า ปลอกกระสุนปืนที่พบในที่เกิดเหตุ ปืนที่คนร้ายใช้ไม่เคยมีประวัติในการก่อเหตุ แม้ว่าในการก่อเหตุจะไม่มีประจักษ์พยาน แต่เจ้าหน้าที่มีเบาะแส และพยานแวดล้อมเพียงพอในการคลี่คลายคดี
สำหรับคดีฆ่าแล้วเผาผู้หญิงในพื้นที่ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ทั้ง 2 ราย และการฆ่าพระ และประชาชนชาวไทยพุทธมาแล้วทั้งสิ้น จึงสรุปได้ว่าเป็นการกระทำของแนวร่วมในพื้นที่เพื่อสร้างสถานการณ์ให้เกิดความแตกแยกระหว่างคนในพื้นที่ ส่วนการคุ้มครองพระและชาวไทยพุทธนั้น มีการจัดกำลังร่วมกับทหารเพื่อคุ้มครองพระที่ออกบิณฑบาตมาโดยตลอด สำหรับ อ.แม่ลาน นั้น เนื่องจากเป็นพื้นที่สีเขียว ที่มีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัย การคุ้มครองพระ และประชาชนชาวไทยพุทธจึงค่อนข้างจะไม่เข้มงวด ทำให้แนวร่วมฉวยโอกาสกระทำต่อเป้าหมายอ่อนแอในครั้งนี้ ซึ่งหลังเกิดเหตุจะต้องมีการปรับแผนการดูแลพระ และพี่น้องชาวไทยพุทธอีกครั้งหนึ่ง
นายไชยยงค์ ได้ให้ข้อสังเกตว่า การแก้แค้นของแนวร่วมทุกครั้งที่เกิดความสูญเสียกับพี่น้องที่เป็นมุสลิม ซึ่งไม่ว่าเกิดขึ้นที่จังหวัดไหน แต่พื้นที่การแก้แค้นจะเกิดขึ้นที่ จ.ปัตตานี ทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่าแนวร่วมในพื้นที่ จ.ปัตตานี มีความเข้มแข็ง ซึ่ง กอ.รมน.ต้องมีมาตรการในการยับยั้ง หรือมีแผนเชิงรุกเพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดกับชาวไทยพุทธในพื้นที่ ตลอดจนต้องมีการสร้างความเข้าใจแก่คนในพื้นที่ให้มากกว่าเดิม โดยเฉพาะต้องแก้ปัญหาในส่วนของโซเชียล เน็ตเวิร์ก ที่ใช้ข้อมูลที่ยังไม่ถูกต้อง สร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชน รวมทั้งการให้ข้อเท็จจริงแก่ชาวไทยพุทธ เพื่อให้สามารถป้องกันตนเอง และไม่ใช้หลงกลเดินตามเงื่อนไขของแนวร่วม จนกลายเป็นความขัดแย้งของประชาชนชาวไทยพุทธ และมุสลิมเกิดขึ้น ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของขบวนการ