คอลัมน์ : โลกที่ซับซ้อน
โดย...ประสาท มีแต้ม
เผลอแป๊บเดียว โครงการท่อส่งก๊าซไทย-พม่าที่เคยเป็นปัญหาในหลายด้านของสังคมไทยก็ได้ผ่านมาครึ่งทางของอายุสัญญา 30 ปี โดยที่วันเริ่มต้นสัญญาที่ก๊าซจะผ่านท่อคือ วันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ภายหลังจากประเทศเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งไปแล้วหนึ่งปี
ปัญหาดังกล่าวมีทั้งเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ป่าของทั้ง 2 ประเทศ การละเมิดสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อยในสหภาพพม่าโดยบริษัทยูโนแคลจนเป็นคดีฟ้องร้อง และโด่งดังในระดับโลก แต่บทความนี้จะสนใจเฉพาะปริมาณการรับซื้อก๊าซจากประเทศพม่าของประเทศไทยเราว่า มีความใกล้เคียงแค่ไหนกับแผนการที่ได้ระบุไว้ในสัญญาที่ได้ทำไว้
วัตถุประสงค์ในการนำเรื่องนี้มาเขียนก็เพื่อประเมินโครงการด้านพลังงานของรัฐที่ผมได้สนใจมาเป็นเวลานาน การประเมินผลเป็นโอกาสให้เราสามารถปรับปรุงตนเองให้ดียิ่งขึ้น แต่ในวงการราชการ และการเมืองไทยมีข้อด้อยที่สำคัญมากคือ มักจะไม่ทำ ผ่านแล้วก็ผ่านเลยไป ถ้าจะมีการระลึกถึงกันบ้างในโอกาสครบรอบต่างๆ ก็มักจะเป็นแค่การจัดงานรื่นเริงเพื่อเฉลิมฉลองกันเท่านั้น แต่หารู้ไหมว่าแท้จริงแล้วเป็นการฉลองบนความล้มเหลวของตนเอง
ผมเข้าใจครับว่า ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเสนอโครงการนี้คงไม่มีใครคาดว่าจะเกิด วิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในเวลาต่อมา ซึ่งมีผลให้การใช้ก๊าซธรรมชาติที่คาดหมายไว้ต้องต่ำกว่าความเป็นจริง แต่จากประสบการณ์ที่คนไทยเราได้รับ และพบเห็นเสมอมาก็คือ ความไม่ชอบมาพากลและฉ้อฉลของนักการเมือง และข้าราชการระดับสูง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากอะไร แต่ความจำเป็นในการประเมินก็ยังต้องมีอยู่
ก่อนจะติดตามประเมินผล ผมต้องขอทำความเข้าใจในความหมาย และกติกาทั่วไปของโครงการกันก่อน กล่าวคือ ในวงการซื้อ-ขายก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจของทั้งผู้ขาย หรือผู้ผลิตว่าเมื่อผลิตก๊าซขึ้นมาแล้ว ต้องขายได้ และความมั่นใจของผู้ซื้อด้วยว่าจะสามารถนำก๊าซมาใช้งานได้ตลอดโครงการ ไม่ขาดๆ หายๆ ดังนั้น สัญญาการซื้อ-ขายก๊าซธรรมชาติจึงต้องมีลักษณะคล้ายกับการผูกอาหารปิ่นโต คือ ผู้ส่งต้องส่งอาหารทุกวัน โดยที่วันไหนผู้รับซื้อไม่กินก็ต้องจ่ายตามข้อตกลงเป็นรายเดือน
ในวงการซื้อ-ขายก๊าซธรรมชาติเขามีสัญญาที่เรียกว่า “ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย (Take or Pay)” ซึ่งอาจจะดีกว่าการผูกอาหารปิ่นโตอยู่บ้าง กล่าวคือ ผู้ขายต้องส่งก๊าซตามจำนวนที่ได้ให้ไว้ในสัญญา ส่วนผู้ซื้อถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ในจำนวนที่น้อยกว่าในสัญญาก็สามารถทำได้ แต่ต้องจ่ายเงินในจำนวนที่อยู่ในสัญญาไปก่อน โดยที่ในปีต่อๆ ไป ถ้าผู้ซื้อสามารถเรียกรับก๊าซคืน (Make Up) ส่วนที่ได้จ่ายเงินไปแล้ว (เมื่อปีก่อน) ก็ไม่ต้องจ่ายเงินอีก แต่ทั้งนี้ต้องรับก๊าซตามจำนวนเดิมที่ได้ระบุไว้ในสัญญาให้ครบถ้วนด้วย โดยสรุปก็คือ จะรับก๊าซส่วนที่ไม่ได้ใช้คืนได้ก็ต้องพยายามใช้ก๊าซในปีถัดๆ มาให้ได้มากกว่าที่ได้ระบุไว้ในแผนเท่านั้น
คำถามที่คนไทยในฐานะเป็นเจ้าของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ซึ่งถูกได้แปรรูปเป็นบริษัท ปตท. จำกัด มหาชน) ก็คือ (1) ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา เราได้เสียค่าไม่ซื้อก็ต้องจ่ายไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด รวมทั้งค่าดอกเบี้ยด้วย (2) ยังมีก๊าซเหลือในสองแหล่งนี้คือ แหล่งยาดานา และเยตากุน อีกจำนวนเท่าใด (3) ต้องใช้เวลาอีกกี่ปีจึงจะหมด และ (4) ถ้าอายุของโครงการต้องยืดออกไปนานกว่า 30 ปี ความปลอดภัยของท่อส่งก๊าซจะมีมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น
ปริมาณก๊าซตามสัญญากับการใช้ในความเป็นจริง
ก๊าซทั้ง 2 แหล่งมีปริมาณที่สำรวจได้รวมกัน จำนวน 11.92 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต จากข้อมูลที่รวบรวมได้จากกระทรวงพลังงาน (eppo) พบว่า นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนถึงเดือนเมษายน 2556 มีการใช้ไปแล้วรวมทั้งสิ้น 3.49 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็น 81% ของปริมาณที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเท่านั้น
ดังนั้น ถ้าใช้ก๊าซในอัตราเฉลี่ยของ 5 ปีสุดท้าย คือ 827 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก๊าซจาก 2 แหล่งนี้จะหมดในอีก 28 ปี ในขณะที่ได้เปิดใช้มาก่อนแล้ว 15 ปี (หมายเหตุ แหล่งยาดานา มีการใช้ในปี 2541 แต่แหล่งเยตากุน เริ่มใช้ปี 2543)
โดยปกติ การออกแบบอายุท่อก๊าซที่ปลอดภัยจะอยู่ที่ประมาณ 30 ปี นั่นหมายว่า ท่อก๊าซนี้จะถูกฝืนทนใช้ไปจนถึงอายุ 43 ปี ดังนั้น ความปลอดของท่อก๊าซก็ยิ่งน่าเป็นห่วงมากขึ้นอีก
อนึ่ง แหล่งก๊าซในอ่าวไทยที่ชื่อเอราวัณ เดิมทีเดียวมีการประเมินกันว่าจะใช้ก๊าซหมดภายใน 17 ปี แต่เมื่อเวลาผ่านไป 30 ปี ทั้งๆ ที่มีการใช้ในอัตราตามแผนทุกอย่าง ก๊าซก็ยังไม่หมด และมีการประเมินใหม่จะหมดในอีก 7 ปีข้างหน้า
ในทำนองเดียวกันกับกรณีแหล่งเอราวัณ มีความเป็นไปได้ว่าปริมาณก๊าซในทั้ง 2 แหล่งของพม่าจะมีมากกว่าที่ได้ประเมินกันไปแล้ว หากเป็นอย่างนี้จริง เนื่องจาก 2 ปัจจัย คือ (1) มีการใช้ก๊าซน้อยกว่าที่ได้สัญญา และ (2) ปริมาณก๊าซมีมากกว่าที่ประเมิน ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่า ท่อก๊าซนี้จะถูกใช้ต่อไปจากวันนี้อีก 35-40 ปี
ดังนั้น มีความเป็นไปได้ 2 ทางสำหรับผู้เป็นเจ้าของท่อ ก็คือ เปลี่ยนท่อใหม่เมื่ออายุเกิน 30-35 ปี หรือทนใช้ต่อไปจนท่อมีอายุถึง 45-55 ปี
ผมจำได้ว่า ท่อก๊าซในสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในเขตป่าเคยระเบิดเพราะนักท่องเที่ยวไปตั้งแคมป์และจุดไฟประกอบอาหารจนท่อก๊าซระเบิดเป็นหลุมขนาดใหญ่ ผลการสอบสวนส่วนหนึ่งพบว่าเพราะท่อก๊าซอายุมากเกินไป ถ้าผมจำไม่ผิดก็ประมาณ 40 ปี
เราได้เสียค่าไม่ซื้อก็ต้องจ่ายไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด
ประเด็นนี้มีปัญหาเชิงมูลที่ไม่ค่อยจะตรงกันระหว่างข้อมูลที่เจ้าของโครงการ ได้เผยแพร่ไปแล้วกับข้อมูลที่ได้จากรายงานการตรวจสอบบัญชีโดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
ผมเองได้เก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เป็นไฟล์ แต่ไม่ได้เก็บเอกสารที่เป็นกระดาษ บางครั้งก็จดอ้างอิงที่มาที่ไปไว้ไม่ครบถ้วน และได้นำข้อมูลการรับก๊าซตามสัญญาของแต่ละแหล่งมารวมกัน (เพราะความสะดวกในการนำเสนอ) แต่ลืมคิดไปว่าการทำสัญญาเขาทำแยกกันทีละแปลง ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้ผมคิดค่าไม่ซื้อก็ต้องจ่ายเป็นรายแปลงไม่ได้ แต่สามารถคิดทั้ง 2 แหล่งได้แต่ก็จะคลาดเคลื่อนไปจากความจริงเล็กน้อย
นอกจากนี้ ผมยังได้เก็บเอกสารนำเสนอ (ในรูปเพาเวอร์พอยนต์) ของข้าราชการระดับสูงบางคนไว้ ซึ่งดูคร่าวๆ ก็พบว่าข้อมูลในสัญญาซื้อขายก็ตรงกับตัวเลขที่ผมได้เก็บไว้แล้ว แต่ที่เป็นปัญหาของผมก็คือ ข้อมูลของผู้ตรวจเงินแผ่นดินมีแต่เรื่องเงิน ไม่มีปริมาณก๊าซ ส่วนข้อมูลของผมก็มีแต่ปริมาณก๊าซแต่ไม่ทราบเรื่องเงิน
ผมขอนำเสนอผลการศึกษาเรื่องปริมาณก๊าซสะสมตามสัญญา ปริมาณก๊าซที่ได้รับไปใช้จริงและปริมาณก๊าซที่ได้จ่ายเงินไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ (ท่านที่ไม่คุ้นเคยกรุณาอย่ากลัวครับ ดูๆ ไปสักพักก็เจ้าใจได้เอง)
กราฟเส้นบนสุด (สีฟ้า) คือปริมาณก๊าซสะสมตามสัญญาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2541 ถึง 30 เมษายน 2556 เส้นถัดมาคือ ปริมาณก๊าซที่ได้ใช้สะสมตั้งแต่เริ่มโครงการ เราจะเห็นว่าในช่วง 2-3 ปีแรก เราแทบจะไม่ได้ใช้ก๊าซเลย (เพราะการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและท่อก๊าซล่าช้ากว่ากำหนด)
ถ้าเราใช้ก๊าซได้ตามแผนในสัญญาจริง กราฟ 2 เส้นนี้จะทับกันสนิท แต่อย่างที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าว่า ยิ่งนานวันความห่างของทั้ง 2 เส้นนี้ค่อยๆ กว้างขึ้นกว่าเดิม นั่นหมายความว่าประมาณก๊าซที่ถูกเรียกว่า “ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย” นั้นได้เพิ่มขึ้นมาทีละนิดๆ
ส่วนกราฟเส้นล่างสุด (สีเขียว) คือปริมาณก๊าซส่วนที่เรียกว่า “ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย” เราจะเห็นว่า ความสูงของกราฟจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น
สิ่งที่ผมแปลกใจมากก็คือ ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ส่วนที่ “ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย” เพิ่มขึ้นตลอด มีเพียงไม่ถึง 10 เดือนเท่านั้นที่การใช้จริงจะสูงกว่าที่ได้ระบุไว้ในสัญญา แต่ก็ไม่ครบทั้งปี (ที่จะเปิดให้มีการเรียกคืนหรือ make up) แต่จากรายงานประจำปี 2555 ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (หน้า 114) ระบุว่า ได้จ่ายค่า Take or Pay ให้แก่ทั้ง 2 แหล่ง แต่ได้รับก๊าซคืนในส่วนที่ Make Up จากแหล่งเยตากุนครบแล้ว ยังคงเหลือแต่จากแหล่งยาดานา
แต่จากการศึกษาของผมซึ่งใช้ข้อมูลของทางราชการล้วน (แต่ผิดพลาดตรงที่นำทั้ง 2 แหล่งมาคิดรวมกัน) พบว่าไม่น่าจะมีการเรียกคืนได้ (ในภาพรวม) ผมก็ไม่เข้าใจครับ
ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมเวทีเสวนาระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มนักวิชาการที่คัดค้านโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย (จัดโดยที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี หรือกลุ่ม 53 นายพล) เมื่อต้นปี 2545 ผมได้เก็บเอกสารไว้จึงขอนำมาเสนอในที่นี้
พบว่าในช่วง 3 ปีแรก ค่าไม่ซื้อก็ต้องจ่ายจาก 2 แหล่งในพม่าคิดเป็นจำนวน 31,054 ล้านบาท นั่นเป็นการคิดถึงสิ้นปี 2543 เท่านั้น หลังจากนั้นก็เกิดขึ้นทุกปี (ตามกราฟข้างต้น)
เอกสารในวันนั้นได้ระบุชัดเจนว่า ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเรียกก๊าซส่วนที่ได้จ่ายเงินไปแล้วคืนมาให้หมด (โดยใช้ก๊าซให้ได้มากกว่าแผน)
แต่ตอนนี้ผ่านมาแล้ว 15 ปี ก็ยังไม่สำเร็จตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญากับที่ประชุม
ผมได้พยายามค้นหาค่าไม่ใช้ก็ต้องจ่ายให้ครบทุกปี แต่ก็ได้มาจากรายงานประจำปีของบริษัท ปตท. จำกัด ดังสรุปในตาราง
จากตารางพบว่า ค่าไม่ใช้ก็ต้องจ่ายได้เพิ่มถึงระดับสูงสุดที่ 36,074 ล้านบาท ในปี 2544 อย่างที่ได้เรียนมาแล้วว่า ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมค่าไม่ใช้ก็ต้องจ่ายจึงลดลง ทั้งๆ ที่ทั้ง 2 แหล่งมีการใช้จริงต่ำกว่าในสัญญาเกือบทั้งหมด
เช่น ในเดือนมีนาคม เรามีสัญญาจะใช้ก๊าซในอัตรา 925 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่เรารับมาได้จริงเพียง 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เท่านั้น
ถ้าคิดในปี 2555 เราสัญญาจะรับ 925 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่รับได้จริงเพียง 820 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คำถามก็คือ เราจะรับส่วนที่เรียกว่า “เรียกคืน” หรือ Make Up ได้อย่างไร ผมไม่เข้าใจ หรือว่าสัญญาได้เปลี่ยนไปโดยที่ผมไม่ทราบ
สิ่งที่จะต้องเรียกร้องกันต่อไปก็คือ ขอความรับผิดชอบ และความโปร่งใสของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครับ อ้อ รวมถึงสื่อต่างๆ ด้วยโปรดสนใจติดตามกันหน่อย
ขอบคุณครับ
โดย...ประสาท มีแต้ม
เผลอแป๊บเดียว โครงการท่อส่งก๊าซไทย-พม่าที่เคยเป็นปัญหาในหลายด้านของสังคมไทยก็ได้ผ่านมาครึ่งทางของอายุสัญญา 30 ปี โดยที่วันเริ่มต้นสัญญาที่ก๊าซจะผ่านท่อคือ วันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ภายหลังจากประเทศเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งไปแล้วหนึ่งปี
ปัญหาดังกล่าวมีทั้งเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ป่าของทั้ง 2 ประเทศ การละเมิดสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อยในสหภาพพม่าโดยบริษัทยูโนแคลจนเป็นคดีฟ้องร้อง และโด่งดังในระดับโลก แต่บทความนี้จะสนใจเฉพาะปริมาณการรับซื้อก๊าซจากประเทศพม่าของประเทศไทยเราว่า มีความใกล้เคียงแค่ไหนกับแผนการที่ได้ระบุไว้ในสัญญาที่ได้ทำไว้
วัตถุประสงค์ในการนำเรื่องนี้มาเขียนก็เพื่อประเมินโครงการด้านพลังงานของรัฐที่ผมได้สนใจมาเป็นเวลานาน การประเมินผลเป็นโอกาสให้เราสามารถปรับปรุงตนเองให้ดียิ่งขึ้น แต่ในวงการราชการ และการเมืองไทยมีข้อด้อยที่สำคัญมากคือ มักจะไม่ทำ ผ่านแล้วก็ผ่านเลยไป ถ้าจะมีการระลึกถึงกันบ้างในโอกาสครบรอบต่างๆ ก็มักจะเป็นแค่การจัดงานรื่นเริงเพื่อเฉลิมฉลองกันเท่านั้น แต่หารู้ไหมว่าแท้จริงแล้วเป็นการฉลองบนความล้มเหลวของตนเอง
ผมเข้าใจครับว่า ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเสนอโครงการนี้คงไม่มีใครคาดว่าจะเกิด วิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในเวลาต่อมา ซึ่งมีผลให้การใช้ก๊าซธรรมชาติที่คาดหมายไว้ต้องต่ำกว่าความเป็นจริง แต่จากประสบการณ์ที่คนไทยเราได้รับ และพบเห็นเสมอมาก็คือ ความไม่ชอบมาพากลและฉ้อฉลของนักการเมือง และข้าราชการระดับสูง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากอะไร แต่ความจำเป็นในการประเมินก็ยังต้องมีอยู่
ก่อนจะติดตามประเมินผล ผมต้องขอทำความเข้าใจในความหมาย และกติกาทั่วไปของโครงการกันก่อน กล่าวคือ ในวงการซื้อ-ขายก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจของทั้งผู้ขาย หรือผู้ผลิตว่าเมื่อผลิตก๊าซขึ้นมาแล้ว ต้องขายได้ และความมั่นใจของผู้ซื้อด้วยว่าจะสามารถนำก๊าซมาใช้งานได้ตลอดโครงการ ไม่ขาดๆ หายๆ ดังนั้น สัญญาการซื้อ-ขายก๊าซธรรมชาติจึงต้องมีลักษณะคล้ายกับการผูกอาหารปิ่นโต คือ ผู้ส่งต้องส่งอาหารทุกวัน โดยที่วันไหนผู้รับซื้อไม่กินก็ต้องจ่ายตามข้อตกลงเป็นรายเดือน
ในวงการซื้อ-ขายก๊าซธรรมชาติเขามีสัญญาที่เรียกว่า “ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย (Take or Pay)” ซึ่งอาจจะดีกว่าการผูกอาหารปิ่นโตอยู่บ้าง กล่าวคือ ผู้ขายต้องส่งก๊าซตามจำนวนที่ได้ให้ไว้ในสัญญา ส่วนผู้ซื้อถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ในจำนวนที่น้อยกว่าในสัญญาก็สามารถทำได้ แต่ต้องจ่ายเงินในจำนวนที่อยู่ในสัญญาไปก่อน โดยที่ในปีต่อๆ ไป ถ้าผู้ซื้อสามารถเรียกรับก๊าซคืน (Make Up) ส่วนที่ได้จ่ายเงินไปแล้ว (เมื่อปีก่อน) ก็ไม่ต้องจ่ายเงินอีก แต่ทั้งนี้ต้องรับก๊าซตามจำนวนเดิมที่ได้ระบุไว้ในสัญญาให้ครบถ้วนด้วย โดยสรุปก็คือ จะรับก๊าซส่วนที่ไม่ได้ใช้คืนได้ก็ต้องพยายามใช้ก๊าซในปีถัดๆ มาให้ได้มากกว่าที่ได้ระบุไว้ในแผนเท่านั้น
คำถามที่คนไทยในฐานะเป็นเจ้าของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ซึ่งถูกได้แปรรูปเป็นบริษัท ปตท. จำกัด มหาชน) ก็คือ (1) ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา เราได้เสียค่าไม่ซื้อก็ต้องจ่ายไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด รวมทั้งค่าดอกเบี้ยด้วย (2) ยังมีก๊าซเหลือในสองแหล่งนี้คือ แหล่งยาดานา และเยตากุน อีกจำนวนเท่าใด (3) ต้องใช้เวลาอีกกี่ปีจึงจะหมด และ (4) ถ้าอายุของโครงการต้องยืดออกไปนานกว่า 30 ปี ความปลอดภัยของท่อส่งก๊าซจะมีมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น
ปริมาณก๊าซตามสัญญากับการใช้ในความเป็นจริง
ก๊าซทั้ง 2 แหล่งมีปริมาณที่สำรวจได้รวมกัน จำนวน 11.92 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต จากข้อมูลที่รวบรวมได้จากกระทรวงพลังงาน (eppo) พบว่า นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนถึงเดือนเมษายน 2556 มีการใช้ไปแล้วรวมทั้งสิ้น 3.49 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็น 81% ของปริมาณที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเท่านั้น
ดังนั้น ถ้าใช้ก๊าซในอัตราเฉลี่ยของ 5 ปีสุดท้าย คือ 827 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก๊าซจาก 2 แหล่งนี้จะหมดในอีก 28 ปี ในขณะที่ได้เปิดใช้มาก่อนแล้ว 15 ปี (หมายเหตุ แหล่งยาดานา มีการใช้ในปี 2541 แต่แหล่งเยตากุน เริ่มใช้ปี 2543)
โดยปกติ การออกแบบอายุท่อก๊าซที่ปลอดภัยจะอยู่ที่ประมาณ 30 ปี นั่นหมายว่า ท่อก๊าซนี้จะถูกฝืนทนใช้ไปจนถึงอายุ 43 ปี ดังนั้น ความปลอดของท่อก๊าซก็ยิ่งน่าเป็นห่วงมากขึ้นอีก
อนึ่ง แหล่งก๊าซในอ่าวไทยที่ชื่อเอราวัณ เดิมทีเดียวมีการประเมินกันว่าจะใช้ก๊าซหมดภายใน 17 ปี แต่เมื่อเวลาผ่านไป 30 ปี ทั้งๆ ที่มีการใช้ในอัตราตามแผนทุกอย่าง ก๊าซก็ยังไม่หมด และมีการประเมินใหม่จะหมดในอีก 7 ปีข้างหน้า
ในทำนองเดียวกันกับกรณีแหล่งเอราวัณ มีความเป็นไปได้ว่าปริมาณก๊าซในทั้ง 2 แหล่งของพม่าจะมีมากกว่าที่ได้ประเมินกันไปแล้ว หากเป็นอย่างนี้จริง เนื่องจาก 2 ปัจจัย คือ (1) มีการใช้ก๊าซน้อยกว่าที่ได้สัญญา และ (2) ปริมาณก๊าซมีมากกว่าที่ประเมิน ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่า ท่อก๊าซนี้จะถูกใช้ต่อไปจากวันนี้อีก 35-40 ปี
ดังนั้น มีความเป็นไปได้ 2 ทางสำหรับผู้เป็นเจ้าของท่อ ก็คือ เปลี่ยนท่อใหม่เมื่ออายุเกิน 30-35 ปี หรือทนใช้ต่อไปจนท่อมีอายุถึง 45-55 ปี
ผมจำได้ว่า ท่อก๊าซในสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในเขตป่าเคยระเบิดเพราะนักท่องเที่ยวไปตั้งแคมป์และจุดไฟประกอบอาหารจนท่อก๊าซระเบิดเป็นหลุมขนาดใหญ่ ผลการสอบสวนส่วนหนึ่งพบว่าเพราะท่อก๊าซอายุมากเกินไป ถ้าผมจำไม่ผิดก็ประมาณ 40 ปี
เราได้เสียค่าไม่ซื้อก็ต้องจ่ายไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด
ประเด็นนี้มีปัญหาเชิงมูลที่ไม่ค่อยจะตรงกันระหว่างข้อมูลที่เจ้าของโครงการ ได้เผยแพร่ไปแล้วกับข้อมูลที่ได้จากรายงานการตรวจสอบบัญชีโดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
ผมเองได้เก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เป็นไฟล์ แต่ไม่ได้เก็บเอกสารที่เป็นกระดาษ บางครั้งก็จดอ้างอิงที่มาที่ไปไว้ไม่ครบถ้วน และได้นำข้อมูลการรับก๊าซตามสัญญาของแต่ละแหล่งมารวมกัน (เพราะความสะดวกในการนำเสนอ) แต่ลืมคิดไปว่าการทำสัญญาเขาทำแยกกันทีละแปลง ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้ผมคิดค่าไม่ซื้อก็ต้องจ่ายเป็นรายแปลงไม่ได้ แต่สามารถคิดทั้ง 2 แหล่งได้แต่ก็จะคลาดเคลื่อนไปจากความจริงเล็กน้อย
นอกจากนี้ ผมยังได้เก็บเอกสารนำเสนอ (ในรูปเพาเวอร์พอยนต์) ของข้าราชการระดับสูงบางคนไว้ ซึ่งดูคร่าวๆ ก็พบว่าข้อมูลในสัญญาซื้อขายก็ตรงกับตัวเลขที่ผมได้เก็บไว้แล้ว แต่ที่เป็นปัญหาของผมก็คือ ข้อมูลของผู้ตรวจเงินแผ่นดินมีแต่เรื่องเงิน ไม่มีปริมาณก๊าซ ส่วนข้อมูลของผมก็มีแต่ปริมาณก๊าซแต่ไม่ทราบเรื่องเงิน
ผมขอนำเสนอผลการศึกษาเรื่องปริมาณก๊าซสะสมตามสัญญา ปริมาณก๊าซที่ได้รับไปใช้จริงและปริมาณก๊าซที่ได้จ่ายเงินไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ (ท่านที่ไม่คุ้นเคยกรุณาอย่ากลัวครับ ดูๆ ไปสักพักก็เจ้าใจได้เอง)
กราฟเส้นบนสุด (สีฟ้า) คือปริมาณก๊าซสะสมตามสัญญาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2541 ถึง 30 เมษายน 2556 เส้นถัดมาคือ ปริมาณก๊าซที่ได้ใช้สะสมตั้งแต่เริ่มโครงการ เราจะเห็นว่าในช่วง 2-3 ปีแรก เราแทบจะไม่ได้ใช้ก๊าซเลย (เพราะการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและท่อก๊าซล่าช้ากว่ากำหนด)
ถ้าเราใช้ก๊าซได้ตามแผนในสัญญาจริง กราฟ 2 เส้นนี้จะทับกันสนิท แต่อย่างที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าว่า ยิ่งนานวันความห่างของทั้ง 2 เส้นนี้ค่อยๆ กว้างขึ้นกว่าเดิม นั่นหมายความว่าประมาณก๊าซที่ถูกเรียกว่า “ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย” นั้นได้เพิ่มขึ้นมาทีละนิดๆ
ส่วนกราฟเส้นล่างสุด (สีเขียว) คือปริมาณก๊าซส่วนที่เรียกว่า “ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย” เราจะเห็นว่า ความสูงของกราฟจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น
สิ่งที่ผมแปลกใจมากก็คือ ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ส่วนที่ “ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย” เพิ่มขึ้นตลอด มีเพียงไม่ถึง 10 เดือนเท่านั้นที่การใช้จริงจะสูงกว่าที่ได้ระบุไว้ในสัญญา แต่ก็ไม่ครบทั้งปี (ที่จะเปิดให้มีการเรียกคืนหรือ make up) แต่จากรายงานประจำปี 2555 ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (หน้า 114) ระบุว่า ได้จ่ายค่า Take or Pay ให้แก่ทั้ง 2 แหล่ง แต่ได้รับก๊าซคืนในส่วนที่ Make Up จากแหล่งเยตากุนครบแล้ว ยังคงเหลือแต่จากแหล่งยาดานา
แต่จากการศึกษาของผมซึ่งใช้ข้อมูลของทางราชการล้วน (แต่ผิดพลาดตรงที่นำทั้ง 2 แหล่งมาคิดรวมกัน) พบว่าไม่น่าจะมีการเรียกคืนได้ (ในภาพรวม) ผมก็ไม่เข้าใจครับ
ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมเวทีเสวนาระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มนักวิชาการที่คัดค้านโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย (จัดโดยที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี หรือกลุ่ม 53 นายพล) เมื่อต้นปี 2545 ผมได้เก็บเอกสารไว้จึงขอนำมาเสนอในที่นี้
พบว่าในช่วง 3 ปีแรก ค่าไม่ซื้อก็ต้องจ่ายจาก 2 แหล่งในพม่าคิดเป็นจำนวน 31,054 ล้านบาท นั่นเป็นการคิดถึงสิ้นปี 2543 เท่านั้น หลังจากนั้นก็เกิดขึ้นทุกปี (ตามกราฟข้างต้น)
เอกสารในวันนั้นได้ระบุชัดเจนว่า ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเรียกก๊าซส่วนที่ได้จ่ายเงินไปแล้วคืนมาให้หมด (โดยใช้ก๊าซให้ได้มากกว่าแผน)
แต่ตอนนี้ผ่านมาแล้ว 15 ปี ก็ยังไม่สำเร็จตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญากับที่ประชุม
ผมได้พยายามค้นหาค่าไม่ใช้ก็ต้องจ่ายให้ครบทุกปี แต่ก็ได้มาจากรายงานประจำปีของบริษัท ปตท. จำกัด ดังสรุปในตาราง
จากตารางพบว่า ค่าไม่ใช้ก็ต้องจ่ายได้เพิ่มถึงระดับสูงสุดที่ 36,074 ล้านบาท ในปี 2544 อย่างที่ได้เรียนมาแล้วว่า ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมค่าไม่ใช้ก็ต้องจ่ายจึงลดลง ทั้งๆ ที่ทั้ง 2 แหล่งมีการใช้จริงต่ำกว่าในสัญญาเกือบทั้งหมด
เช่น ในเดือนมีนาคม เรามีสัญญาจะใช้ก๊าซในอัตรา 925 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่เรารับมาได้จริงเพียง 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เท่านั้น
ถ้าคิดในปี 2555 เราสัญญาจะรับ 925 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่รับได้จริงเพียง 820 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คำถามก็คือ เราจะรับส่วนที่เรียกว่า “เรียกคืน” หรือ Make Up ได้อย่างไร ผมไม่เข้าใจ หรือว่าสัญญาได้เปลี่ยนไปโดยที่ผมไม่ทราบ
สิ่งที่จะต้องเรียกร้องกันต่อไปก็คือ ขอความรับผิดชอบ และความโปร่งใสของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครับ อ้อ รวมถึงสื่อต่างๆ ด้วยโปรดสนใจติดตามกันหน่อย
ขอบคุณครับ