คอลัมน์ : คนคาบสมุทรมลายู
โดย...จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย
การเมืองการปกครองในระบบรัฐสภา ล้วนรับรูปแบบมาจากประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ เป็นการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายนิติบัญญัติ ต่างฝ่ายต่างต้องรับผิดชอบต่อกัน โดยฝ่ายบริหารในนามรัฐบาลจะต้องแถลงนโยบายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา และฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่กำกับ และตรวจสอบการบริหารของฝ่ายบริหาร โดยมีกติกาว่า ฝ่ายบริหารมาจากเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายเสียงข้างน้อยก็ทำหน้าที่เป็นฝ่ายตรวจสอบ
ปัญหาของระบบรัฐสภาไทยมาจากสปิริต หรือคุณภาพของนักการเมือง และพรรคการเมืองไทยมันต่ำกว่ามาตรฐาน หรือไม่มีมาตรฐานด้วยซ้ำไป เพราะนักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์หลายคนมองว่า ประเทศไทยไม่มีพรรคการเมืองอันเป็นสถาบันสำคัญทางการเมือง เพราะพรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่ไม่ใช่พรรคการเมืองตามนิยามของพรรคการเมืองในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น เป็นที่รวมของนักการเมืองที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกัน เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่รวบรวมปัญหา และความต้องการของกลุ่มผลประโยชน์ในสังคมที่ทั่วถึง เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน เป็นสถาบันที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นปากเสียงแทนประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ด้อยโอกาส เป็นต้น
จากการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาทั้งฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาลที่ผ่านมาโดยเฉพาะครั้งล่าสุด ในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีบางคน จะเห็นได้ว่า ระบบรัฐสภาไทยมีปัญหา และข้อจำกัดที่น่าเป็นห่วง และไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นในเร็ววัน ดังนี้
ประการแรก วุฒิภาวะของนักการเมืองตั้งแต่ประธานในที่ประชุม สมาชิกฝ่ายรัฐบาล สมาชิกฝ่ายค้าน และรัฐมนตรี ส่วนใหญ่ขาดวุฒิภาวะ และใช้ตรรกะแบบผิดๆ ในการมีส่วนร่วมในการอภิปราย เช่น ประธานในที่ประชุมที่มาจากพรรคร่วมรัฐบาลมักจะถูกกล่าวหาว่าไม่เป็นกลาง และยึดหลักการโดยไม่คำนึงถึงวิธีการ และรายละเอียดของแต่ละเรื่อง
โดยเฉพาะเวลาทำหน้าที่ชี้ขาดในประเด็นที่สมาชิกในที่ประชุมประท้วงท่านประธาน แล้วท่านประธานชี้ขาด แต่สมาชิกในที่ประชุมไม่เห็นด้วย ประธานมักจะยืนกระต่ายขาเดียวว่า “เมื่อประธานชี้ขาดถือว่าเป็นอันยุติ” จนทำให้สมาชิกบางคนเสนอให้ศึกษา วิจัยพฤติกรรมการวินิจฉัยของประธานในที่ประชุมแต่ละคน แต่ละยุคแต่ละสมัย
ในส่วนของสมาชิกฝ่ายรัฐบาลที่มักจะลุกขึ้นมาขัดจังหวะการอภิปรายของฝ่ายค้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการใช้ความรู้สึก และทำหน้าที่เป็นองครักษ์พิทักษ์นายมากกว่าจะทำหน้าที่ของสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ไม่ว่าจะสังกัดพรรคร่วมรัฐบาล หรือพรรคฝ่ายค้านก็ต้องทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลเช่นเดียวกัน
ส่วนรัฐมนตรีบางคนเวลาทำหน้าที่ชี้แจงตอบข้อกล่าวหาของฝ่ายค้าน แทนที่จะเอาข้อมูลที่น่าเชื่อถือกว่ามาหักล้างข้อกล่าวของฝ่ายค้าน กลับใช้วาทกรรมแบบโต้วาที ยอวาที กระแหนะกระแหนเหน็บแนมต่างๆ นานา เป็นการเยาะเย้ยถากถาง ขาดวุฒิภาวะของความเป็นผู้บริหารรับผิดชอบชาติบ้านเมือง และอนาคต หรือชะตากรรมของประชาชน
ประการที่สอง จากเหตุผลในประการแรก เมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลงถึงเวลาลงมติไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจ มักจะปรากฏว่า ไม่ว่าฝ่ายค้านจะมีข้อมูลน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน นำเสนอข้อมูลได้ชัดเจนอย่างไร ผู้ที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจจะยังคงได้รับการรับรองให้บริหารบ้านเมืองต่อไปอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะได้คะแนนเสียงสนับสนุนเท่ากัน หรือมากน้อยกว่ากันอย่างไร
ในส่วนของนายกรัฐมนตรี ย่อมได้รับเสียงสนับสนุนมากกว่ารัฐมนตรีอื่นๆ เล็กน้อย แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะบริหารชาติบ้านเมืองจนได้รับความเสียหาย มีการทุจริตคอร์รัปชันมากน้อยอย่างไร ตราบใดที่เป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาย่อมได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายที่รอร่วมรัฐบาลตลอดกาล
ประการที่สาม เป็นธรรมชาติของฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาลในระบบรัฐสภาไทย ที่ใคร หรือพรรคไหนก็ตามเข้ามาเป็นรัฐบาล มักจะบอกว่าตนเองยึดมั่นในระบบรัฐสภา และหากมีปัญหาอะไรให้ใช้วิธีการทางรัฐสภาในการแก้ปัญหา แม้ว่าผู้พูดมักจะไม่ค่อยไปรัฐสภาเพื่อตอบกระทู้ของฝ่ายค้าน หรือฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ขณะเดียวกัน ธรรมชาติของนักการเมืองฝ่ายค้านในประเทศไทยก็มักจะเป็นฝ่ายที่เห็นด้วย (แม้ว่าจะไม่เอาด้วย) กับการเมืองข้างถนน หรือการเมืองนอกรัฐสภา เพราะมองว่าการเมืองในรัฐสภาพึ่งไม่ได้ แก้ปัญหาไม่ตรงจุด
ประการที่สี่ การเมืองในระบบรัฐสภาไทยเป็นการเมืองที่ยึดเอาผลของการเลือกตั้ง หรือเสียงข้างมากเป็นศูนย์กลางของจักรวาล หรือเป็นที่มาของความถูกต้อง (ตามความเข้าใจของพวกตน) เช่น เป็นฉันทมติของประชาชนที่ต้องการให้พรรคการเมืองพรรคนี้บริหารประเทศ หากใครต้องการการเปลี่ยนแปลง หรือไม่พอใจการบริหารของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคการเมืองพรรคนี้ก็ให้รอให้ถึงครบวาระตามกติกา ใครก็ตามที่ออกมาเคลื่อนไหววิพากษ์วิจารณ์ หรือขับไล่รัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมมักจะถูกมองว่าไม่ใช่นักประชาธิปไตย ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่รัฐบาล เป็นพวกรับจ้างมาล้มรัฐบาล ฯลฯ
ประการที่ห้า ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะชนชั้นกลางและชนชั้นล่างระดับสูงเบื่อหน่ายนักการเมือง ไม่เชื่อมั่นศรัทธาในระบบรัฐสภาที่ถูกมองว่าพวกมาลากไป การเลือกตั้งเต็มไปด้วยพวกซื้อสิทธิขายเสียง ชาวบ้านไม่ฉลาดที่ไปเลือกนักการเมืองเลวๆ ส่วนชาวบ้านก็กล่าวหาว่าชาวเมือง หรือคนกรุงเทพฯ ชอบนอนหลับทับสิทธิ ไม่ไปทำหน้าที่เลือกตั้ง หรือร่วมชุมนุมทางการเมือง เป็นต้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ การเมืองไทยในระบบรัฐสภาจึงน่าจะถึงทางตัน ไม่มีทางออกในช่วงเวลาอันใกล้ นอกจากรอให้คนรุ่นนี้ตายหมด หรือฟ้าผ่าทำเนียบรัฐบาลในวันทำการ หรือผ่ารัฐสภาในวันลงมติไม่ไว้วางใจซึ่งไม่ใช่ทางออกของระบบรัฐสภาที่ควรจะเป็น แต่สำหรับประเทศไทยอะไรๆ ก็ไม่อาจจะใช้หลักสากลมาอธิบายได้ ดังนั้น จึงต้องแสวงหาทางออกแบบไทยๆ อย่างที่ว่า หรือใครมีทางออกที่ดีกว่านี้กรุณาช่วยหน่อยเถอะครับ
โดย...จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย
การเมืองการปกครองในระบบรัฐสภา ล้วนรับรูปแบบมาจากประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ เป็นการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายนิติบัญญัติ ต่างฝ่ายต่างต้องรับผิดชอบต่อกัน โดยฝ่ายบริหารในนามรัฐบาลจะต้องแถลงนโยบายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา และฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่กำกับ และตรวจสอบการบริหารของฝ่ายบริหาร โดยมีกติกาว่า ฝ่ายบริหารมาจากเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายเสียงข้างน้อยก็ทำหน้าที่เป็นฝ่ายตรวจสอบ
ปัญหาของระบบรัฐสภาไทยมาจากสปิริต หรือคุณภาพของนักการเมือง และพรรคการเมืองไทยมันต่ำกว่ามาตรฐาน หรือไม่มีมาตรฐานด้วยซ้ำไป เพราะนักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์หลายคนมองว่า ประเทศไทยไม่มีพรรคการเมืองอันเป็นสถาบันสำคัญทางการเมือง เพราะพรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่ไม่ใช่พรรคการเมืองตามนิยามของพรรคการเมืองในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น เป็นที่รวมของนักการเมืองที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกัน เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่รวบรวมปัญหา และความต้องการของกลุ่มผลประโยชน์ในสังคมที่ทั่วถึง เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน เป็นสถาบันที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นปากเสียงแทนประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ด้อยโอกาส เป็นต้น
จากการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาทั้งฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาลที่ผ่านมาโดยเฉพาะครั้งล่าสุด ในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีบางคน จะเห็นได้ว่า ระบบรัฐสภาไทยมีปัญหา และข้อจำกัดที่น่าเป็นห่วง และไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นในเร็ววัน ดังนี้
ประการแรก วุฒิภาวะของนักการเมืองตั้งแต่ประธานในที่ประชุม สมาชิกฝ่ายรัฐบาล สมาชิกฝ่ายค้าน และรัฐมนตรี ส่วนใหญ่ขาดวุฒิภาวะ และใช้ตรรกะแบบผิดๆ ในการมีส่วนร่วมในการอภิปราย เช่น ประธานในที่ประชุมที่มาจากพรรคร่วมรัฐบาลมักจะถูกกล่าวหาว่าไม่เป็นกลาง และยึดหลักการโดยไม่คำนึงถึงวิธีการ และรายละเอียดของแต่ละเรื่อง
โดยเฉพาะเวลาทำหน้าที่ชี้ขาดในประเด็นที่สมาชิกในที่ประชุมประท้วงท่านประธาน แล้วท่านประธานชี้ขาด แต่สมาชิกในที่ประชุมไม่เห็นด้วย ประธานมักจะยืนกระต่ายขาเดียวว่า “เมื่อประธานชี้ขาดถือว่าเป็นอันยุติ” จนทำให้สมาชิกบางคนเสนอให้ศึกษา วิจัยพฤติกรรมการวินิจฉัยของประธานในที่ประชุมแต่ละคน แต่ละยุคแต่ละสมัย
ในส่วนของสมาชิกฝ่ายรัฐบาลที่มักจะลุกขึ้นมาขัดจังหวะการอภิปรายของฝ่ายค้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการใช้ความรู้สึก และทำหน้าที่เป็นองครักษ์พิทักษ์นายมากกว่าจะทำหน้าที่ของสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ไม่ว่าจะสังกัดพรรคร่วมรัฐบาล หรือพรรคฝ่ายค้านก็ต้องทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลเช่นเดียวกัน
ส่วนรัฐมนตรีบางคนเวลาทำหน้าที่ชี้แจงตอบข้อกล่าวหาของฝ่ายค้าน แทนที่จะเอาข้อมูลที่น่าเชื่อถือกว่ามาหักล้างข้อกล่าวของฝ่ายค้าน กลับใช้วาทกรรมแบบโต้วาที ยอวาที กระแหนะกระแหนเหน็บแนมต่างๆ นานา เป็นการเยาะเย้ยถากถาง ขาดวุฒิภาวะของความเป็นผู้บริหารรับผิดชอบชาติบ้านเมือง และอนาคต หรือชะตากรรมของประชาชน
ประการที่สอง จากเหตุผลในประการแรก เมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลงถึงเวลาลงมติไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจ มักจะปรากฏว่า ไม่ว่าฝ่ายค้านจะมีข้อมูลน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน นำเสนอข้อมูลได้ชัดเจนอย่างไร ผู้ที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจจะยังคงได้รับการรับรองให้บริหารบ้านเมืองต่อไปอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะได้คะแนนเสียงสนับสนุนเท่ากัน หรือมากน้อยกว่ากันอย่างไร
ในส่วนของนายกรัฐมนตรี ย่อมได้รับเสียงสนับสนุนมากกว่ารัฐมนตรีอื่นๆ เล็กน้อย แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะบริหารชาติบ้านเมืองจนได้รับความเสียหาย มีการทุจริตคอร์รัปชันมากน้อยอย่างไร ตราบใดที่เป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาย่อมได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายที่รอร่วมรัฐบาลตลอดกาล
ประการที่สาม เป็นธรรมชาติของฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาลในระบบรัฐสภาไทย ที่ใคร หรือพรรคไหนก็ตามเข้ามาเป็นรัฐบาล มักจะบอกว่าตนเองยึดมั่นในระบบรัฐสภา และหากมีปัญหาอะไรให้ใช้วิธีการทางรัฐสภาในการแก้ปัญหา แม้ว่าผู้พูดมักจะไม่ค่อยไปรัฐสภาเพื่อตอบกระทู้ของฝ่ายค้าน หรือฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ขณะเดียวกัน ธรรมชาติของนักการเมืองฝ่ายค้านในประเทศไทยก็มักจะเป็นฝ่ายที่เห็นด้วย (แม้ว่าจะไม่เอาด้วย) กับการเมืองข้างถนน หรือการเมืองนอกรัฐสภา เพราะมองว่าการเมืองในรัฐสภาพึ่งไม่ได้ แก้ปัญหาไม่ตรงจุด
ประการที่สี่ การเมืองในระบบรัฐสภาไทยเป็นการเมืองที่ยึดเอาผลของการเลือกตั้ง หรือเสียงข้างมากเป็นศูนย์กลางของจักรวาล หรือเป็นที่มาของความถูกต้อง (ตามความเข้าใจของพวกตน) เช่น เป็นฉันทมติของประชาชนที่ต้องการให้พรรคการเมืองพรรคนี้บริหารประเทศ หากใครต้องการการเปลี่ยนแปลง หรือไม่พอใจการบริหารของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคการเมืองพรรคนี้ก็ให้รอให้ถึงครบวาระตามกติกา ใครก็ตามที่ออกมาเคลื่อนไหววิพากษ์วิจารณ์ หรือขับไล่รัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมมักจะถูกมองว่าไม่ใช่นักประชาธิปไตย ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่รัฐบาล เป็นพวกรับจ้างมาล้มรัฐบาล ฯลฯ
ประการที่ห้า ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะชนชั้นกลางและชนชั้นล่างระดับสูงเบื่อหน่ายนักการเมือง ไม่เชื่อมั่นศรัทธาในระบบรัฐสภาที่ถูกมองว่าพวกมาลากไป การเลือกตั้งเต็มไปด้วยพวกซื้อสิทธิขายเสียง ชาวบ้านไม่ฉลาดที่ไปเลือกนักการเมืองเลวๆ ส่วนชาวบ้านก็กล่าวหาว่าชาวเมือง หรือคนกรุงเทพฯ ชอบนอนหลับทับสิทธิ ไม่ไปทำหน้าที่เลือกตั้ง หรือร่วมชุมนุมทางการเมือง เป็นต้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ การเมืองไทยในระบบรัฐสภาจึงน่าจะถึงทางตัน ไม่มีทางออกในช่วงเวลาอันใกล้ นอกจากรอให้คนรุ่นนี้ตายหมด หรือฟ้าผ่าทำเนียบรัฐบาลในวันทำการ หรือผ่ารัฐสภาในวันลงมติไม่ไว้วางใจซึ่งไม่ใช่ทางออกของระบบรัฐสภาที่ควรจะเป็น แต่สำหรับประเทศไทยอะไรๆ ก็ไม่อาจจะใช้หลักสากลมาอธิบายได้ ดังนั้น จึงต้องแสวงหาทางออกแบบไทยๆ อย่างที่ว่า หรือใครมีทางออกที่ดีกว่านี้กรุณาช่วยหน่อยเถอะครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น